วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Content Marketing

ปัจจุบัน ใคร ๆ ก็สนใจ Content Marketing
หนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญ
เพราะมันคือการสร้างสรรค์
และแจกจ่าย Content ที่มี “คุณค่า”
กับกลุ่มเป้าหมาย
โดยต้องการให้กลุ่มเป้าหมาย
กลับมาสร้าง “รายได้” ให้กับเรา
.
5 เทคนิคง่าย ๆ ให้คนสนใจ Content
มีดังต่อไปนี้...
.
1) Content ต้องสนุก
ไม่ว่าเนื้อหา Content จะเป็นวิชาการ
หรือจริงจังแค่ไหน (แค่ไหนเรียกจริงจัง !?)
ถ้าอยากให้มีคนดู-คนอ่านเยอะ ๆ
ต้องปรับให้ “น่าสนใจ”
เช่น คนส่วนใหญ่คงไม่อยากดูคลิปสอนภาษา
ที่มีอาจารย์ใส่สูท ยืนสอนหน้ากระดาษ เสียงเรียบ ๆ
แต่อยากดูคลิปสอนภาษา ที่อาจารย์แต่งตัวแรง ๆ
สอนด้วยเทคนิคแพรวพราว มีลูกเล่น ขำ ๆ #จริงไหม?
.
.
2) Content ต้องเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย
การเลือกเนื้อหาให้ “เกี่ยวข้อง” นั้นสำคัญมาก
มีหลายครั้งที่แบรนด์ เน้นทำเนื้อหาตลกอย่างเดียว
ไม่เกี่ยวข้องกับ “กลุ่มเป้าหมาย” เลยสักนิด!
ถึงแม้จะได้ยอดวิวเยอะ ยอดไลค์สูง
แต่ก็จะได้จากกลุ่มคนที่เราไม่ต้องการ
พวกเขาไม่สนใจซื้อสินค้าของเราอยู่ดี!
.
.
3) Content ต้องสม่ำเสมอ
คำว่า “สม่ำเสมอ “ในที่นี้หมายถึง
ทั้งในแง่เนื้อหา และระยะเวลา
ของการนำเสนอ Content ใหม่ ๆ
คนส่วนใหญ่ชอบความสม่ำเสมอ
อย่าปล่อยให้แฟน ๆ ของคุณรอนาน
ไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่? #ไม่งั้นเค้าจะจากไป
.
.
4) Content ต้องจริงใจ
เนื้อหาของ Content
ต้องทำให้คนดู-คนอ่าน รู้สึกว่าเรา “จริงใจ”
ไม่ควรให้ข้อมูล Tie-in ยัดเยียดโฆษณา
ซึ่งจะทำให้รู้สึกไม่ดี เหมือนโดนหลอกมาฟังขายของ หรือถ้าจะขายของ ก็ทำให้เห็นชัดไปเลยว่า กำลังขายของข้อมูล/เนื้อหา Content กับ การขายของ ควรแยกจากกันผู้ชม/คนอ่าน จะรู้สึกชื่นชอบ เพราะรู้สึกว่าเรา “จริงใจ”
.
.
5) Content ต้องมีคุณค่า
หัวใจหลักของ Content Marketing
คือการสร้างสรรค์เนื้อหาที่มี “คุณค่า”
ตราบใดที่เราทำ Content โดยคำนึงถึง “คุณค่า”
กลุ่มเป้าหมายก็จะชื่นชมเนื้อหาเหล่านั้น
และติดตามคุณไปตลอด จนกลายเป็นลูกค้าในที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561

งบกำไรขาดทุนเข้าใจง๊ายง่าย

 หากพูดถึงงบการเงินหลายคนคงจะเบือนหน้าหนีเพราะคิดว่าตัวเองไม่ถนัดเรื่องตัวเลข แต่ถ้าลองคิดดูดีๆ ในการลงทุนเราใช้แค่ + - x ÷ เท่านั้นเองครับ ปัญหาจึงไม่ใช่เราไม่ถนัดเรื่องตัวเลขหรอก แต่เรายังเชื่อมโยงคำศัพท์ต่างๆของงบการเงินไม่ถูกต่างหาก แถมยังไม่รู้อีกว่าจุดไหนสำคัญ จุดไหนไม่สำคัญ ...
สุดท้ายอ่านจบก็ยังงงอยู่ดีว่ากำไรตรงนี้ต่างจากกำไรตรงนั้นยังไง?? คำศัพท์ต่างๆนั้นมีที่มาที่ไปยังไง สุดท้ายก็เลยไม่อ่านมันซะเลย งั้นบทความนี้จะยกตัวอย่างให้เข้าใจที่มาที่ไปของงบกำไรขาดทุนแบบง๊ายง่ายอย่างนี้
สมมุติบริษัท Apble ผลิตโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ uPhone ขายเครื่องละ 10,000 บาท ซึ่งปี 2560 ขายได้ทั้งหมด 1 ล้านเครื่องเท่ากับบริษัทนี้มีรายได้(Revenue) 10,000 ล้านบาท
อันดับแรก นำรายได้มาหักออกด้วย #ต้นทุนสินค้าหรือวัตถุดิบ เช่น แบตเตอรี่ จอภาพ กล้อง ฯลฯ สมมุติว่าต้นทุนทั้งหมด 4,000 ลบ. ส่วนที่เหลือ 6,000 ลบ.จะเรียกว่า กำไรขั้นต้น(Gross profit) แต่ถ้าต้องการนำไปเทียบกับบริษัทอื่นๆ จะต้องแปลงหน่วยเป็น % ซึ่งเรียกว่า อัตรากำไรขั้นต้น(Gross profit margin) แค่เอา (กำไรขั้นต้น x 100) หารรายได้ = 60%
อันดับที่สอง หลังจากเราได้กำไรขั้นต้นมาแล้ว ก็นำมาหัก #ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร  เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าโฆษณาทำการตลาดต่างๆ สมมุติส่วนนี้ 2,000 ลบ. ก็เอา 6,000-2,000 จะเหลือ 4,000 ลบ.จะเรียกว่า กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี(ebit) เช่นเดิมหากต้องการนำไปเทียบก็แปลงเป็น % แล้วเติมคำว่า margin ต่อท้ายก็จะได้ ebit margin แค่เอา (ebit x 100) หารรายได้ = 40%
อันดับสาม นำ ebit มาลบ ดอกเบี้ยและภาษี สมมุติส่วนนี้ 500 ลบ. ก็เอา 4,000-500 จะเหลือ 3,500 ลบ. ถึงจะเรียกว่า กำไรสุทธิ(Net profit) เช่นเดิมแปลงเป็น % แล้วเติมคำว่า margin จะเรียกว่า อัตรากำไรสุทธิ(Net  profit margin) แค่เอา (กำไรสุทธิ x 100) หารรายได้ = 35%
อันดับสี่ บริษัทจะนำกำไรสุทธิเก็บไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรองเพื่อหมุนทำธุรกิจต่อไปหรือเผื่อจะขยายธุรกิจในอนาคต แล้วค่อยแบ่งส่วนที่เหลือให้ผู้ถือหุ้นถึงจะเรียกว่า เงินปันผล(Dividend yield)
 ถ้าเราเข้าใจแบบนี้ก่อนอ่านงบได้ละก็ เราจะเรียงออกมาเป็นภาพได้เลยว่าค่าใช้จ่ายแต่ละจุดมีความสำคัญยังไง แล้วที่ผู้บริหารบอกว่าจะลดค่าใช้จ่ายส่วนนั้น เพิ่มรายได้ส่วนนี้ มันจะส่งผลกับงบการเงินส่วนไหนบ้าง เรียกว่าเดางบได้ล่วงหน้าเลยด้วยซ้ำ ^^
แต่ปัญหาที่เราเชื่อมโยงงบการเงินไม่ถูกนั้น เกิดจากเราเรียนแบบเดิมๆ ที่ใช้วิธีท่องจำมายังไงล่ะ ฉะนั้นถ้าอยากเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้จริงได้แบบนี้ล่ะก็คอร์ส แกะงบเจาะหุ้นร้อนฯ ที่ efin School กันได้นะครับ เพราะคอร์สนี้จะบอกสิ่งที่นักลงทุนอย่างเราต้องรู้ แต่ดันไม่เคยรู้ ไม่งั้นเราจะกลายเป็นทฤษฎีปึ้ก ปฏิบัติแป้กไม่รู้ด้วยล่ะ !!!

ดูคอร์สเรียนต่างๆของ efin School ได้ที่ https://goo.gl/zCuxqU

ขอบคุณความรู้ดีๆอ่านแล้วชอบเข้าใจง่ายดีครับ


วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เอาไว้อ่านเพื่อเตือนตัวเอง


บทความนี้ผมจะขอนำเอาแนวคิดสำคัญ 5 ข้อสำหรับการพัฒนาเพื่อเป็นเทรดเดอร์ที่ดี ซึ่งถูกถ่ายทอดไว้ในหนังสือ One Good Trade ของคุณ Mike Bellafiore  มาสรุปให้พวกเราได้ลองเรียนรู้กันครับ

1. เตรียมตัวให้พร้อม

Mike Bellafiore สอนให้มองว่าการเทรดนั้นเป็นงานไม่ใช่กิจกรรมอดิเรก (แม้คุณจะนั่งเทรดอยู่ในห้องนอนที่บ้านก็ตาม) ดังนั้นเทรดเดอร์ต้องจริงจัง เตรียมตัวให้พร้อมมากที่สุด ทั้งการหาข้อมูล การทำความเข้าใจแผนระบบเทรด เตรียมร่างกาย และจิตใจ เพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดในตลาด แน่นอนว่าจะมีสิ่งที่เราคาดไม่ถึง

นอกจากนั้นเทรดเดอร์ต้องเตรียมรับมือกับความผิดพลาด ความผิดหวังล้มเหลว เพราะนั้นคือส่วนหนึ่งของเกมส์ สิ่งสำคัญคือการรับมือกับมัน ใช้ประโยชน์เรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิด แล้วก้าวต่อไป

2. ทำงานหนัก

เทรดเดอร์เป็นงานที่มีผลตอบแทนสูง รายได้สูง แม้ไม่ต้องทำงานหนัก 100 ชั่วโมงต่อส้ปดาห์แบบบางอาชีพหรือไม่ต้องหักโหมทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อทำแต้มเอาใจเจ้านาย  แต่ในระยะแรกของการฝึกฝนเพื่อพัฒนาตัวเอง เทรดเดอร์มือใหม่ก็จำเป็นต้องทุ่มเท ทำงานหนักโดยเฉพาะเรื่องการศึกษาหาความรู้ เช่นการอ่านหนังสือ การติดตามข่าวสาร รวมไปถึงการฝึกฝนการวิเคราะห์พฤติกรรมข้อมูลราคาของสินค้า เพื่อให้เกิดทักษะ เกิดการสั่งสมความรู้ที่มากเพียงพอในการพัฒนาต่อยอดต่อไป

3. มีความอดทน

ตลาดหุ้นมีความผันผวนเสมอเป็นธรรมชาติ เทรดเดอร์ต้องเทรดบนราคาที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้ตลอดเวลา ดังนั้นคุณสมบติเรื่องความอดทนจำเป็นต้องมีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การเทรดที่ดี บางกรณีอาจจะอดทนเพื่อรอโอกาส รอจังหวะที่ดีที่คุ้มค่ากับการเสี่ยง ถ้าเทรดเดอร์มีความอดทนต่ำ รอไม่เป็นการรีบเข้าตามอารมณ์ ตามกระแส สุดท้ายก็ผิดพลาด

เช่นเดียวกันแม้มองทิศทางราคาถูก เปิดสถานะได้เข้าถูกทางได้กำไรแต่ถ้าอดทนรอไม่เป็น ใจไม่นิ่งแกว่งไปตามราคาที่ผันผวนระหว่างวัน สุดท้ายไม่เทรดตามแผน  รีบออก ถือสถานะได้ไม่นาน แบบนี้ก็เสียโอกาสและทำให้ไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

4. ต้องมีแผนการเทรด

การเทรดหรือการเก็งกำไร ไม่ใช่การเสี่ยงโชควัดดวงหรือซื้อขายไปตามอารมณ์ ไปตามข่าวลือ เทรดเดอร์มืออาชีพจะต้องมีแผนการเทรด มีการวางแผนการเทรดล่วงหน้าก่อนเข้าไปซื้อขายในตลาดเสมอ เพราะการพัฒนาระบบเทรด การสร้างแผนการเทรดขึ้นมาจะทำให้เรา รู้ว่าควรจะตัดสินใจรับมือกับพฤติกรรมราคาอย่างไร อย่างน้อยต้องรู้จุดเข้า/จุดออก และการประเมินความเสี่ยง เพื่อคำนวณขนาด position size ที่แน่นอนก่อนเข้าไปเทรด

แผนการเทรดจำเป็นเพราะเราอาจจะพบเจอกับสิ่งที่ไม่คาดคิด เจอเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าไม่มีแผน หรือปล่อยให้ทุกอย่างตัดสินใจไปตามอารมณ์ ความผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย และนำมาซึ่งการขาดทุนสูญเสียเงินหนัก

5. มีวินัย

เมื่อพัฒนาแผนการเทรด หรือระบบเทรดขึ้นมาแล้ว สิ่งสำคัญคือเทรดเดอร์ต้องมีวินัยในการบังคับตัวเองให้ตัดสินใจลงมือทำตามแผนให้ได้ แน่นอนว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆในข้ามคืน โดยเฉพาะมือใหม่ ประสบการณ์น้อย เนื่องจากราคาสินค้าที่เคลื่อนไหวไปมาแต่ละวัน บวกกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมีผลต่ออารมณ์ของเทรดเดอร์ อาจจะทำให้เกิดความโลภ ความกลัว การตัดสินใจไปตามอารมณ์เกิดขึ้นได้ง่าย

แม้กระทั่งเรื่องของการจดบันทึกผลการเทรด งานพิเศษที่เป็นกิจวัตรหลังตลาดปิดที่เทรดเดอร์ต้องทำเพื่อทบทวนการเทรดของตัวเอง สิ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของกระบวนการฝึกฝนที่ต้องทำต่อเนื่องทำทุกวันในระยะเวลายาว อาจจะไม่เห็นผลอันสั้น จึงทำให้น้อยคนที่จะสามารถมีวินัยบังคับตัวเองให้ทำต่อเนื่องจนสำเร็จได้

ดังนั้น คุณ  Mike Bellafiore จึงย้ำให้เห็นหลายครั้งว่า การเป็นเทรดเดอร์อาชีพจำเป็นต้องฝึกเรื่องของวินัย การบังคับให้ตัวเองลงมือทำตามแผนตามระบบเทรด เอาชนะจิตใจของตัวเรา

ทั้ง 5 ข้อนี้เป็นแนวทางการพัฒนาไปสู่การเป็นเทรดเดอร์อาชีพ ที่คุณ  Mike Bellafiore ถ่ายทอดเอาไว้ในหนังสือ ที่ผมนำมาฝากให้ได้เรียนรู้กัน แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนในหนังสือ One Good Trade ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับการเป็นเทรดเดอร์ใน prop trading desks รวมถึงกรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนยกเป็นเรื่องเล่าตอนย่อยๆ ทำให้เราสามารถใช้เป็นแนวทางการศึกษาพัฒนาตัวเองให้ไปสู่การเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบสำเร็จได้ ถ้าสนใจลองหาหนังสือมาอ่านกันนะครับ…
Cr: ลืมบันทึก

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

หุ้นขึ้นเครื่องหมาย?

เล่นหุ้นมือใหม่ต้องรู้จักเครื่องหมายต่าง ๆ ที่มีในระบบของตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วย ว่าแต่เครื่องหมายเหล่านี้หมายถึงอะไรกันนะ

มือใหม่หัดเล่นหุ้นอาจจะสงสัยว่า ทำไมบางวันมีหุ้นบางตัวขึ้นเครื่องหมายภาษาอังกฤษ เช่น XD XR XM H SP อยู่ข้างชื่อหุ้น แล้วเครื่องหมายเหล่านั้นคืออะไรล่ะ เกี่ยวกับเราไหม ถ้าอยากรู้ วันนี้ กระปุกดอทคอม จะพาไปรู้จักกับเครื่องหมายเหล่านี้ ซึ่งนักลงทุนมือใหม่ต้องเรียนรู้และจดจำให้ดีเลยค่ะ เพราะถ้าเป็นหุ้นที่เรามีอยู่ นั่นหมายถึงผลประโยชน์ที่เราจะได้หรือไม่ได้ด้วย

ก่อนอื่นมารู้จักกับเครื่องหมายตระกูล X กันก่อน เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แสดงไว้บนหลักทรัพย์นั้นเป็นเวลาล่วงหน้า 3 วันทำการก่อนวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหลักทรัพย์ ดังนั้น เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ติดเครื่องหมายประเภทดังกล่าวไว้บนหลักทรัพย์ใด หมายความว่า เราจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของหุ้นตัวนั้นในวันที่ขึ้นเครื่องหมาย

แล้วทำไมถึงต้อง 3 วันทำการล่ะ? เหตุผลก็เพราะปกติเวลาเราส่งคำสั่งซื้อหุ้น เราจะต้องจ่ายเงินในวันทำการที่ 3 เมื่อเราจ่ายเงินแล้ว ชื่อของเราถึงจะปรากฏอยู่ในรายชื่อผู้ถือหุ้น นั่นจึงต้องขึ้นเครื่องหมายก่อนวันปิดสมุดทะเบียน 3 วันทำการนั่นเอง

ทีนี้มาดูกันว่า มีเครื่องหมายอะไรบ้าง แล้วแต่ละตัวหมายถึงอะไร

XD (Excluding Dividend) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล

XR (Excluding Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่

XW (Excluding Warrant) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์

XS (Excluding Short-term Warrant) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น

XT (Excluding Transferable Subscription Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ โอนสิทธิได้

XI (Excluding Interest) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับดอกเบี้ย

XP (Excluding Principal) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินต้นที่บริษัทประกาศจ่ายคืนในคราวนั้น

XA (Excluding All Privileges) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น

XM (Exclude Meetings) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่มีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น

XN (Exclude Capital Return) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่มีสิทธิได้รับเงินคืนทุน

เห็นแล้วอย่าเพิ่งงงไปค่ะ ถ้าอธิบายง่าย ๆ ก็คือ หากเราอยากได้สิทธิประโยชน์ของหุ้นตัวนั้น เราจะต้องซื้อหุ้นก่อนวันที่จะขึ้นเครื่องหมายนั่นเอง เช่น หุ้น AAA ขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 หมายความว่า หากเราซื้อหุ้น AAA ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 เราจะไม่ได้รับเงินปันผลจากหุ้น AAA ในรอบนี้ แต่ถ้าเราต้องการเงินปันผล เราก็ต้องซื้อหุ้น AAA หรือมีหุ้น AAA ก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 นั่นเอง

ส่วนที่ว่าหุ้นตัวไหนจะขึ้นเครื่องหมายอะไร วันไหนบ้างนั้น สามารถตรวจสอบได้จาก ปฏิทินหลักทรัพย์ (ข้อมูลสิทธิประโยชน์) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เลย

นอกจากเครื่องหมายที่ขึ้นต้นด้วย X แล้ว ก็ยังมีเครื่องหมายอื่น ๆ อีกที่ต้องรู้ คือ

H ย่อมาจาก Trading Halt หมายถึงการหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว สาเหตุอาจเป็นเพราะมีข่าวสารที่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น แต่ทางบริษัทยังไม่ได้แจ้งมายังตลาดหลักทรัพย์ฯ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงสั่งให้หยุดซื้อขายไว้ก่อน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หรือกรณีที่มีข้อมูลบางอย่างอยู่ระหว่างรอการเปิดเผย หรือมีเหตุอื่นที่อาจกระทบต่อการซื้อขายอย่างร้ายแรง ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องสั่งให้หยุดการซื้อขายไว้ก่อน

SP ย่อมาจาก Trading Suspension หมายถึง การห้ามซื้อขายหุ้นเป็นการชั่วคราว เมื่อเกิดกรณีเช่นเดียวกับการขึ้นเครื่องหมาย H แต่บริษัทยังไม่สามารถชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ หรืออาจฝ่าฝืน ละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งไม่ส่งงบการเงินให้ภายในเวลากำหนด ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจะขึ้นเครื่องหมาย SP เพื่อหยุดการซื้อขายหุ้นชั่วคราว

NP ย่อมาจาก Notice Pending หมายถึง บริษัทมีข้อมูลที่ต้องรายงานตลาดหลักทรัพย์และอยู่ในช่วงรอข้อมูลจากบริษัท

NR ย่อมาจาก Notice Received หมายถึง ตลาดหลักทรัพย์ได้รับการชี้แจงข้อมูลจากบริษัทนั้นแล้ว

NC ย่อมาจาก Non-Compliance หมายถึง บริษัทที่เข้าข่ายการถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์

ST ย่อมาจาก Stabilization หมายถึง หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการซื้อหุ้นเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน

ได้ทำความรู้จักกับสัญลักษณ์เหล่านี้ก็จดจำกันไว้นะคะ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนของเราโดยตรงเลย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เว็บไซต์ Kapook

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561

กองทุนหรือกองโจร?

ลูบคมตลาดทุน:ธนะชัย ณ นคร

เคยเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2560 ด้วยการตั้งข้อสังเกตว่า นักลงทุนสถาบัน หรือกองทุนต่างๆ ทำตัวเสมือนเป็น “เจ้ามือ” อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

หุ้นหลายๆ ตัวที่ราคาขึ้นและลงหวือหวา หรือมีแรงเหวี่ยงค่อนข้างมาก

หุ้นเหล่านี้จะมีกองทุนเข้าไปถือหุ้นอยู่

เช่น EA-BEAUTY-COM7–MTLS และหุ้นอื่นๆ อีกหลายตัว

ที่น่าสนใจ คือ หุ้นที่กองทุนเข้ามาถือนั้น

พบว่าหลายๆ บริษัทมีค่าพี/อี เรโช ค่อนข้างสูงมาก หรือมีตั้งแต่กว่า 30 เท่า ไปถึงเกือบ 50 เท่า

และบางตัวก็มีพี/อีมากกว่านั้น

แม้จะมีการบอกว่าการลงทุนของกองทุนไม่ได้ดูเพียงแค่พี/อี

ทว่าจะให้ความสำคัญกับ PEG มากกว่า เพราะแม้พี/อีจะสูง (มาก) แต่แนวโน้มผลประกอบการยังเติบโตสูง และเป็นการลงทุนระยะยาว

ก่อนหน้านี้ เวลานักลงทุนรู้มาว่ากองทุนเข้าหุ้นตัวไหน ก็พยายามวิ่งเข้าไปซื้อ

ผ่านมาถึงตอนนี้ชักไม่แน่ใจเสียแล้วว่า หากวิ่งตามไปแล้วจะ “โดนเท” หรือไม่

และเป็นเรื่องที่นักลงทุนรายย่อยต่างต้องระมัดระวังและจับทิศทางกันเอง

เช่น หุ้น MTLS ราคาเคยขึ้นไปใกล้เต็มมูลค่า

วันดีคืนดีราคาร่วงลงมาอย่างหนัก

ต่อมามีผู้บริหารกองทุนออกมายอมรับว่าได้ขายหุ้นออกไป หลังจากมองว่าราคาเริ่มเต็มมูลค่า หรือเป็นการปรับพอร์ตตามปกติ

พร้อมกับพูดแบบหวานๆ ต่อมาว่าเมื่อราคาปรับลงมาก็อาจเข้าไปรับซื้ออีกครั้ง

แต่ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ราคาหุ้น MTLS ปรับลงมาตลอด (ภาย) หลังมีข่าวเกี่ยวกับนโยบายของทางการที่จะเข้ามาควบคุมเรื่องอัตราดอกเบี้ย

เช่นเดียวกับหุ้นพลังงานไฟฟ้าบางตัว

ราคาเหมือนกับถูกดันขึ้นไปค่อนข้างสูง แล้วจู่ๆ หุ้นได้ถูกกองทุนเทขายออกมา ด้วยเหตุผลเหมือนกันว่า “ปรับพอร์ต” หรือขายทำกำไรตามปกติ

และยังตามด้วยคำพูดสวยๆ ว่าหุ้นนั้นๆ พื้นฐานยังดี และมีโอกาสก็จะเข้าซื้อภายหลัง

ต่อมาหุ้นตัวนั้น ราคายังคงปรับลงมาด้วยหลายปัจจัยและหนึ่งในนั้นคือมาจากนโยบายการรับซื้อไฟของทางการที่จะเปลี่ยนแปลงไป

มีการตั้งคำถามว่ากองทุนที่ขายหุ้นออกมาก่อนนั้น พวกเขารับรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็น “ปัจจัยลบ” ก่อนหรือเปล่า

เรื่องนี้ตอบยากจริงๆ

เพราะหากมองแบบให้ยุติธรรมหน่อย ก็ต้องรับทราบกันว่า ทางกองทุนเขาจะมีทีมงานที่คอยดูปัจจัยบวกและลบอยู่ตลอดเวลา

อย่างเมื่อวานนี้ ตลาดหุ้นไทยที่ปรับลงหนักๆ ก็ดูเหมือนว่ากองทุนอาจจะพอรับรู้กันล่วงหน้าแล้วว่า ตลาดหุ้นจะปรับฐานหรือร่วงลงอย่างแรง จึงทยอยขายหุ้นปรับพอร์ตกันไปแล้วบ้าง

ประเด็นเรื่องนักลงทุนประเภทสถาบัน (กองทุน) กับนักลงทุนรายย่อย จึงเป็นเรื่องของการ “ชิงไหวชิงพริบ”

ทุกวันนี้รายย่อยเองก็เก่งมากขึ้น และทำการบ้านมาดีมาก เอาชนะได้ทั้งฟันด์โฟลว์และกองทุน

และหลายๆ ครั้ง กลยุทธ์ที่นำมาใช้ก็มักคล้ายๆ เทรดหุ้นแบบสงครามกองโจร

ปกติแล้ว การรบแบบสงครามกองโจร ฝ่ายที่นำมาใช้จะเป็นฝ่ายที่อ่อนแอกว่า หรือมีกำลังน้อยกว่า

แต่หากฝ่ายที่แข็งแรงกว่า นำการสู้รบแบบกองโจรมาใช้ ก็ (อาจ) ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร

เช่นเดียวกับกองทุนที่นำมาใช้ในเวลานี้

ตลาดหุ้นเป็นเรื่องของ Zero–Sum Game

มีผู้ชนะก็ต้องมีผู้แพ้

วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พื้นฐานหุ้นควรรู้

สายพื้นฐานสักหน่อยไหมจ๊ะ
Mcap (M) = มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด
P/E = อัตราส่วนราคาต่อกำไร ( Price / Earning per Share ) ยิ่งต่ำยิ่งดี
P/BV =อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (Price / Book Value) ยิ่งต่ำยิ่งดี
D/E =อัตราส่วนหนี้สิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt/Equity ) ยิ่งต่ำยิ่งดี
DPS =เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend Per Share) ยิ่งสูงยิ่งดี
EPS =กำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings Per Share) ยิ่งสูงยิ่งดี
ROA % =อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (Retrun On Assets) ยิ่งสูงยิ่งดี
ROE % =อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) ยิ่งสูงยิ่งดี
NPM % =อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ยิ่งสูงยิ่งดี
Yield% =อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ยิ่งสูงยิ่งดี
FFloat% =อัตราส่วนจำนวนหุ้นที่ซื้อขายในตลาด (Free Float%)
ROA= -47.21% ยิ่งสูงยิ่งดี อันนี้ติดลบถือว่าแย่นะ
ROE= -95.65% ยิ่งสูงยิ่งดี อันนี้ติดลบถือว่าแย่นะ
NPM= -24.31% ยิ่งสุงยิ่งดี อันนี้ติดลบถือว่าแย่นะ

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิธีใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average)

วิธีใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) ในการซื้อหุ้น

เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average สามารถเรียนสั้นๆ ได้ว่า เส้น MA เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางเทคนิคค่อนข้างเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักลงทุนเชิงเทคนิค ซึ่งสิ่งที่เราจะเห็นหลังจากเพิ่ม เส้นค่าเฉลี่ย ลงไปบนกราฟแล้วนั้นก็คือ เส้นที่เป็นค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยเราสามารถกำหนดได้ไม่ว่าจะเป็น 10 วัน, 20 นาที หรือ แล้วแต่จะกำหนด ซึ่งเส้น MA นั้นสามารถหยิบมาใช้ได้กับทุกช่วงเวลา และ เหมาะสำหรับทั้งนักลงทุนระยะยาว และ ระยะสั้น

ทำไมต้องใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) ?

เส้นค่าเฉลี่ย จะทำให้เรามองเห็นกราฟที่บางคร้ังอาจจะดูยึกยือ ดูค่อนข้างยาก ดูง่ายขึ้นดังภาพด้านล่าง เพราะเป็นการเฉลี่ยราคาตามระยะเวลาที่เราได้กำหนดไป เปรียบเสมือนการดูเทรนด์ว่าราคาจะไปในทางทิศทางไหน ขึ้น หรือ ลง

Moving Average ยังสามารถนำไปใช้เป็น เส้นแนวรับ (Support) และ เส้นแนวต้าน (Resistance) โดยใช้เส้น MA50 (ราคาหุ้นเฉลี่ย 50 วัน), MA100 (ราคาหุ้นเฉลี่ย 100 วัน) และ MA200 (ราคาหุ้นเฉลี่ย 200 วัน) ให้นึกภาพว่าเส้นแนวรับคือพื้น เส้นแนวต้านคือเพดาน และ ราคาหุ้นคือลูกบอล เมื่อ ลูกบอกตกลงไปแตะพื้นก็จะมีการเด้งกลับขึ้นข้างบน แต่หากเด้งสูงเกินไปก็จะชนเพดาน และ ตกลงมา ในกรณีด้านล่างเส้น MA นั้นได้ทำหน้าที่เป็นเส้นแนวรับดังนั้นสังเกตุที่ลูกศรเมื่อราคาแตะเส้นแนวรับก็จะมีการกลับตัว (Reversal)

ข้อควรระวังคือ ราคา ไม่ได้เป็นไปตามกฏ หรือ ตัวอย่างที่โชว์ให้ดูเสมอไป อาจจะไม่มีการกลับตัว หรือ ราคาอาจจะลงยังไม่ถึงเส้นแนวรับแต่เกิดการกลับตัวก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน

อธิบายโดยง่ายคือหากราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) หุ้นตัวนั้นจะจัดว่าอาจจะอยู่ในขาขึ้น แต่ถ้าหากราคาอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยนั้นแปลว่าราคาอาจจะอยู่ในขาลง เส้นค่าเฉลี่ยยังคงมีค่าที่ไม่เท่ากันดังนั้นการที่เราเอาเส้นค่าเฉลี่ยสองเส้นมาวางไว้ด้วยกัน อันนึงอาจจะโชว์ว่าอยู่ในสภาวะขาขึ้น อีกอันอาจจะบอกว่าอยู่ในสภาวะขาลง ก็เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

ประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Averages)

เส้นค่าเฉลี่ยสามารถคำนวณได้หลายวิธียกตัวอย่าง Simple Moving Average (SMA) 5 วัน เราสามารถคำนวณได้โดยการนำ ราคาหุ้น ที่ปิดของ 5 วันล่าสุด มาบวกกัน แล้วนำผลลัพธ์ไปหารด้วย 5 (จำนวนวัน)

เส้น Moving Average อีกแบบที่เป็นที่นิยมก็คือ Exponential Moving Average หรือ EMA โดยวิธีการคำนวณจะค่อนข้างยากกว่าแต่ถ้าสรุปโดยง่านนั้นคือเป็นราคาเฉลี่ยของเหมือน SMA แต่ว่าให้น้ำหนักกับราคาล่าสุดเยอะกว่าราคาในตอนต้นที่นำมาคำนวณในสูตร

หากเรานำเส้น SMA50 (Simple Moving Average 50 วัน) กับ EMA50 (Exponential Moving Average 50 วัน) มาวางไว้บนกราฟเดียวกันจะเห็นได้ชัดว่าเส้น EMA50 นั้นตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงในราคามากกว่าเพราะมีการให้น้ำหนักในราคาล่าสุดมากกว่านั้นเอง

การหาค่าเฉลี่ยนั้นสามารถใช้โปรแกรมกราฟต่างๆ โดยไม่ต้องมานั่งคิดเองนะครับ

มีคำถามว่าแล้วอย่างงี้เส้นแบบ Simple Moving Average กับ Exponential Moving Average แบบไหนดีกว่ากัน ต้องขอตอบว่าไม่มีอย่างใดอย่างนึงที่ดีกว่ากันในบางครั้งเส้น EMA อาจจะทำงานได้ดี แต่บางช่วงเวลา SMA กลับมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า และ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการใช้เครื่องมือนี้ก็คือระยะเวลาที่เราจะกำหนดให้กับมัน

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับตั้ง เส้นค่าเฉลี่ย

ค่าที่เป็นที่นิยมในการใช้ตั้งเส้น MA น้ันมีอยู่ประมาณนี้ครับ 10, 20, 50, 100 และ 200 โดยระยะเวลาความยาวเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้กับกราฟทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแบบ นาที วัน หรือ อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละบุคคล

ช่วงเวลาที่เราเลือกมาใช้เป็นเหมือนการมองย้อนกลับไปว่าราคาในอดีตนั้นเป็นยังไง ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ยที่มีระยะสั้นก็จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในราคามากกว่าระยะยาว ในภาพด้านล่างเราจะเป็นเส้น MA(20) วิ่งไปตามราคา ไม่เหมือนกับเส้น MA(100)

ในมุมมองภาพรวมเส้นแบบช่วงเวลา 20 วันอาจจะมีประโยชน์กับ นักลงทุนระยะสั้น ดังนั้นคุณสามารถตั้งค่า MA ได้ตามที่ต้องการไม่ว่าจะเป็น 15, 28, 89 เพื่อค้นหาช่วงเวลาที่แม่นยำในการจับสัญญาณในอนาคต

เทคนิคการเล่นหุ้นด้วย Crossovers

Crossovers หรือ จุดตัด เป็นหนึ่งในเทคนิคที่เป็นที่นิยมใช้กับ Moving Average ในแบบแรกคือ Price Crossover หรือ จุดตัดกับราคา อย่างที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้คือเมื่อราคามีการแตะเส้นหรือผ่านเส้นค่าเฉลี่ยอาจจะแสดงว่าเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์

อีกเทคนิคนึงคือนำเส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นมาวางไว้บนกราฟเดียวกันโดยเส้นนึงเป็นแบบระยะสั้นและอีกเส้นเป็นแบบระยะยาว เมื่อเส้น MA (ระยะสั้น) ตัดเหนือเส้น MA (ระยะยาว) นั้นคือสัญญาณซื้อ เพราะหุ้นตัวนั้นอาจจะกำลังเป็นขาขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “Golden Cross”

เมื่อเส้น MA (ระยะสั้น) ตัดต่ำกว่า เส้น MA (ระยะยาว) นั้นคือสัญญาณขายเพราะหุ้นอาจจะกำลังอยู่ในขาลง การตัดกันแบบนี้เรียกว่า “Dead/Death Cross”

ข้อเสียของ เส้นค่าเฉลี่ย

เส้นค่าเฉลี่ยนั้นถูกคำนวณโดยใช้ราคาในอดีตที่ผ่านมา โดยไม่ได้มีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วยเลยดังนั้นในบางทีผลของการใช้งานเส้นค่าเฉลี่ยจึงไม่ค่อยเป็นไปตามที่นักลงทุนหลายๆ ต้องการ แต่ก็มีบ่อยคร้ังที่ราคาหุ้นค่อนข้างจะเป็นไปตามกฏ และ หลักการแนวรับ แนวต้านของเส้นค่าเฉลี่ย

ปัญหาใหญ่เลยอาจจะเป็นในขณะที่ราคาอยู่ในช่วงสวิงขึ้นลงทำให้เกิด สัญญาณในการกลับตัวค่อนข้างบ่อย ดังนั้นคุณจึงควรที่จะเรียนรู้ Indicatorอื่นๆ เพื่อใช้ในการช่วยตัดสินใจ เช่นเดียวกันกับ Crossovers ซึ่งสามารถเกิดสัญญาณหลอกได้

เส้นค่าเฉลี่ยค่อนข้างใช้ได้ผลในขณะที่เทรนด์แสดงออกว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลงอย่างชัดเจน แต่จะใช้ไม่ค่อยได้กับช่วงที่ราคาค่อนข้างสวิง

บทสรุป

เส้นค่าเฉลี่ย Moving Average นั้นเป็นการทำให้เส้นราคานั้นดูง่ายขึ้น เพื่อที่จะคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคต เส้น EMA (Exponential Moving Averages) จะตอบสนองกับราคามากกว่าเส้น SMA (Simple Moving Average) ในบางกรณีเป็นสัญญาณที่ดีแต่ในบางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณหลอกได้เช่นกัน เส้นค่าเฉลี่ยที่มีระยะเวลาสั้นกว่ายกตัวอย่าง 20 วันจะมีผลกระทบมากกว่าเส้น 200 วันเมื่อราคาเปลี่ยนแปลง และ ยังทำหน้าที่เป็นเส้นแนวรับ และ แนวต้าน ส่วน Moving Average Crossovers จึงเป็นเทคนิคที่ใช้กันในการหาสัญญาณในการเข้าซื้อ หรือ ขายหุ้น โดยทั้งหมดอาจจะดูว่าหากใช้เครื่องมือนี้ราคาอาจจะเป็นที่คาดการณ์ได้ แต่ต้องอย่าลืมว่าเส้น MA นั้นไม่ว่าจะยังไงก็ตามยังคงถูกคำนวณโดยใช้แค่ราคาในอดีตมาเป็นปัจจัยเท่านั้น........cr: ก๊อบเค้ามาอีกที

หลักการอ่านค่า macd

หลักการอ่านค่า MACD
ข้อดีของ macd มีประโยชน์ต่อนักลงทุน โดยเป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการยืนยัน แนวโน้ม และทิศทางของราคาหุ้น ว่าจะไปทางทิศไหน ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ทำให้สามารถ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น กับการซื้อขาย
ข้อเสียของ macd บางครั้งวิ่งขึ้นลงแรง จะทำให้เกิดสัญญาณบ่อยครั้งเกินไป ก่อนที่จะแสดงทิศทาง ที่ชัดเจนให้เห็น เพราะ macd มีการตั้งค่าช้ากว่า indicator ตัวอื่นๆลักการมองง่ายๆเพื่อประกอบการตัดสินใจมีดังต่อไปนี้
1) ถ้า macd > 0 = เป็นแนวโน้มขาขึ้น
2) ถ้า macd < 0 =
เป็นแนวโน้มขาลง
3) ถ้า macd > 0 & ตัดเส้น signal ลง = ราคาอาจเกิดการพักฐาน
4) ถ้า macd < 0 ตัดเส้น signal ขึ้น = ราคากำลังขึ้น
5) ถ้า macd > 0 & ตัดเส้น signal ขึ้น = ราคาขึ้นแน่นอน
6) ถ้า macd < 0 & ตัดเส้น signal ลง = ราคาลงแน่นอน
7) ถ้า macd ตัด 0 ขึ้นไป เป็นสัญญาณซื้อ แน่นอน
8) ถ้า macd ตัด 0 ลงไป เป็นสัญญาณขาย แน่นอน
เส้น 0 = เส้น V Line
ทั้งหมดนี้ จะเป็นข้อมูลชี้แนะ ให้กับ เทรดเดอร์มือใหม่ แต่จะเป็นการ รบกวนก้านสมอง ของเทรดเดอร์มือเก่า หากเป็นการรบกวนเวลาของเทรดเดอร์มือเก่าต้องกราบขออภัยไว้ณที่นี้ ขอให้เพื่อนๆทุกคนโชคดีร่ำรวยจากการเทรดทุกวันนะครับ ผม 5555++++

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประเมินราคาพื้นฐานของหุ้น

วิธีเบสิคเลย คือ ใช้สูตร Price = PE x Eps/y เทียบปัจจุบันและอนาคตที่จะถึง

เช่น ในรูปคือ HMPRO
EPS ณ วันประกาศกำไร 9 เดือน คือ 0.26
สรุปคือ เฉลี่ยไตรมาศ ละ 0.086

ถ้าเรามองว่า HMPRO ยังค้าขายดีสม่ำเสมอเหมือน 9 เดือนที่ผ่านมา
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.086) x 35.97 = 12.23

แต่ถ้าคุณมองว่า HMPRO 3 เดือนที่เหลือ ขายดีขึ้นอีก ก็ปรับเอง เช่น
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.100) x 35.97 = 12.90

หรือจะเอา PE ค่าอื่นๆ โดยอ้างธุรกิจค้าปลีกแบบเดียวกันมาใช้ก็ได้ เช่น
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.100) x 40 = 14.32

ทั้งนี้มีปัจจัยอีกเยอะ เพราะพฤติกรรมและข้อมูลการเลือกซื้อหุ้นแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับว่าคุณประเมินกำไรไว้ยังไง กำไรจะมาเมื่อไหร่ จะซื้อรอเลยมั๊ย หรือ รอให้ดูเป็นไปได้มากกว่านี้แล้วค่อยซื้อ เป็นต้น

เครดิต Smith Ung

วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

MACD

หลักการอ่านค่า MACD
ข้อดีของ macd มีประโยชน์ต่อนักลงทุน โดยเป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการยืนยัน แนวโน้ม และทิศทางของราคาหุ้น ว่าจะไปทางทิศไหน ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ทำให้สามารถ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น กับการซื้อขาย
ข้อเสียของ macd บางครั้งวิ่งขึ้นลงแรง จะทำให้เกิดสัญญาณบ่อยครั้งเกินไป ก่อนที่จะแสดงทิศทาง ที่ชัดเจนให้เห็น เพราะ macd มีการตั้งค่าช้ากว่า indicator ตัวอื่นๆลักการมองง่ายๆเพื่อประกอบการตัดสินใจมีดังต่อไปนี้
1) ถ้า macd > 0 = เป็นแนวโน้มขาขึ้น
2) ถ้า macd < 0 =
เป็นแนวโน้มขาลง
3) ถ้า macd > 0 & ตัดเส้น signal ลง = ราคาอาจเกิดการพักฐาน
4) ถ้า macd < 0 ตัดเส้น signal ขึ้น = ราคากำลังขึ้น
5) ถ้า macd > 0 & ตัดเส้น signal ขึ้น = ราคาขึ้นแน่นอน
6) ถ้า macd < 0 & ตัดเส้น signal ลง = ราคาลงแน่นอน
7) ถ้า macd ตัด 0 ขึ้นไป เป็นสัญญาณซื้อ แน่นอน
8) ถ้า macd ตัด 0 ลงไป เป็นสัญญาณขาย แน่นอน
เส้น 0 = เส้น V Line
ทั้งหมดนี้ จะเป็นข้อมูลชี้แนะ ให้กับ เทรดเดอร์มือใหม่ แต่จะเป็นการ รบกวนก้านสมอง ของเทรดเดอร์มือเก่า หากเป็นการรบกวนเวลาของเทรดเดอร์มือเก่าต้องกราบขออภัยไว้ณที่นี้ ขอให้เพื่อนๆทุกคนโชคดีร่ำรวยจากการเทรดทุกวันนะครับ ผม 5555++++

เครดิต เซียนขงหมิง


วันเสาร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561

15 ข้อเตือนใจ ของ Trader

15 ข้อเตือนใจ ของ Trader
<><><><><><><><><><><><><><>
1) อาชีพเทรดเดอร์เป็นการตามหาเงิน ไม่ใช่อิสรภาพทางการเงิน ที่เข้าใจผิดมาตลอด เพราะเรายังต้องเจอ ความเครียดจาก Position ที่ถืออยู่ในมือ
2) กำไรเฉลี่ย 5 ถึง 10 % ของเทรดเดอร์ถือว่าโอเคแล้ว การจะกินคำใหญ่ <<<Big Trade  Size>>>เป็นเรื่องค่อนข้างยากไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆในตลาดอาจต้องรอเป็นเดือนหรือเป็นปี อย่าให้ความโลภความกลัวเข้าครอบงำโดยเด็ดขาด
3) เทรดเดอร์มีหน้าที่บันทึกข้อมูล จากการเทรดว่าจะได้มากน้อยขนาดไหน เราทำได้แค่ การคาดการณ์แนวโน้มของตลาดเท่านั้น ไม่มีใครสามารถที่จะสั่งการ ตลาดได้
4) ต้องไม่มีญาติโยมในตลาดการเงิน เพราะตลาด ขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์ 100%
5) เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่เสี่ยง และคาดหวัง ผลต่าง ของราคา แต่ละตัว เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ เป็นช่วงๆไปเท่านั้น
6) การเทรด ต้องมีวินัย ปล่อยให้พอร์ตเติบโตสะสมไปจากผลกำไรข้อควรจำต้องไม่เติมเงินเข้าไปในพอร์ตทุกกรณี
7) แนวรับและแนวต้าน ของหุ้นแต่ละตัว เป็นจุดที่ Trader ต้องให้ความสนใจและเฝ้าระวังติดตาม เป็นกรณีพิเศษ
8) การเอาชนะตลาด เป็นทฤษฎี และมโน ภาพ ของคนโง่ ควรรักษาตัวเองให้อยู่รอดในตลาดได้ยืนยาวตลอดไป
9) พยายามทำตามวินัยให้เคร่งครัดตั้งซื้อตั้งขายตรงไหน ให้ทำตามตรงนั้น ขายแล้วราคาขึ้นเด้งใส่หน้าช่างหัวมัน ซื้อแล้วราคาลงให้อดทนรอ ต้องเชื่อตามเทคนิคอลกราฟ
10) พยายามใช้เครื่องมือให้น้อยและเรียบง่ายเหมาะสมกับตัวเอง ถ้าใช้เครื่องมือมากเกินไป จะเกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกันทำให้เกิดความลังเลในการตัดสินใจ
11) ไม่ควรปล่อยให้พอร์ด ขาดสภาพคล่อง เมื่อซื้อหุ้น แล้วราคาถึงเป้าหมายควรขายออก อย่าเติมเงิน โดยเด็ดขาด ควรมีสภาพคล่องอย่างน้อย 40%
12) จากข้อ 11 จะทำให้เทรดเดอร์ได้เปรียบในกรณีที่ ตลาดเป็น<<< b e a r >>>จะมีคนเอาของถูกมาขาย เพราะเกิดแพนิคเซลล์ ขายด้วยเหตุผลความกลัว ขาดเงิน Cut loss ถูก Call margin เราจะสามารถรับของถูกได้โดยทันทีพราะเรายังเหลือเงินในพอร์ท
13) จงจำไว้ว่า ไม่มีใครสามารถซื้อของได้ถูกที่สุดและขายของได้แพงที่สุดแต่ถ้าเจอจังหวะที่ใช่ ให้จัดเต็ม ((All In))ในจังหวะนั้นๆ
14) ไม่ต้องกลัวตกรถ เพราะตลาดมักจะเกิดรูปแบบซ้ำซ้ำกันอยู่เสมอ ตรงกับบทความที่ว่า พฤติกรรมจะซ้ำซากประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย
15) การเทรดในตลาดเป็นเรื่องยาก จงอย่าประมาท ให้บันทึก พฤติกรรมของตัวเอง ทุกการกระทําได้ยิ่งดี สิ่งใดที่ถูกต้อง ให้ทำต่อ สิ่งใดที่ผิดพลาด ต้องกลับมาทบทวนข้อสำคัญ อย่าทำซ้ำอีก
<<< อรุณสวัสดิ์วันหยุดครับเพื่อนๆ วันนี้พาครอบครัวไปเรียนที่ไหนก็ตามขอให้มีความสุข กลับมาจากเที่ยวหากมีเวลาว่างบ้างพอสมควรอย่าลืมทำการบ้าน เพื่อการเทรดในอาทิตย์ ถัดไปนะครับผมโชคดีร่ำรวยทุกท่านครับ>>>5555++++
เครดิต:fackbook

cahttradingview

AAPL ชาร์ต โดย TradingView