วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พื้นฐานหุ้นควรรู้

สายพื้นฐานสักหน่อยไหมจ๊ะ
Mcap (M) = มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด
P/E = อัตราส่วนราคาต่อกำไร ( Price / Earning per Share ) ยิ่งต่ำยิ่งดี
P/BV =อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (Price / Book Value) ยิ่งต่ำยิ่งดี
D/E =อัตราส่วนหนี้สิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt/Equity ) ยิ่งต่ำยิ่งดี
DPS =เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend Per Share) ยิ่งสูงยิ่งดี
EPS =กำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings Per Share) ยิ่งสูงยิ่งดี
ROA % =อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (Retrun On Assets) ยิ่งสูงยิ่งดี
ROE % =อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) ยิ่งสูงยิ่งดี
NPM % =อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ยิ่งสูงยิ่งดี
Yield% =อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ยิ่งสูงยิ่งดี
FFloat% =อัตราส่วนจำนวนหุ้นที่ซื้อขายในตลาด (Free Float%)
ROA= -47.21% ยิ่งสูงยิ่งดี อันนี้ติดลบถือว่าแย่นะ
ROE= -95.65% ยิ่งสูงยิ่งดี อันนี้ติดลบถือว่าแย่นะ
NPM= -24.31% ยิ่งสุงยิ่งดี อันนี้ติดลบถือว่าแย่นะ

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิธีใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average)

วิธีใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) ในการซื้อหุ้น

เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average สามารถเรียนสั้นๆ ได้ว่า เส้น MA เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางเทคนิคค่อนข้างเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักลงทุนเชิงเทคนิค ซึ่งสิ่งที่เราจะเห็นหลังจากเพิ่ม เส้นค่าเฉลี่ย ลงไปบนกราฟแล้วนั้นก็คือ เส้นที่เป็นค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยเราสามารถกำหนดได้ไม่ว่าจะเป็น 10 วัน, 20 นาที หรือ แล้วแต่จะกำหนด ซึ่งเส้น MA นั้นสามารถหยิบมาใช้ได้กับทุกช่วงเวลา และ เหมาะสำหรับทั้งนักลงทุนระยะยาว และ ระยะสั้น

ทำไมต้องใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) ?

เส้นค่าเฉลี่ย จะทำให้เรามองเห็นกราฟที่บางคร้ังอาจจะดูยึกยือ ดูค่อนข้างยาก ดูง่ายขึ้นดังภาพด้านล่าง เพราะเป็นการเฉลี่ยราคาตามระยะเวลาที่เราได้กำหนดไป เปรียบเสมือนการดูเทรนด์ว่าราคาจะไปในทางทิศทางไหน ขึ้น หรือ ลง

Moving Average ยังสามารถนำไปใช้เป็น เส้นแนวรับ (Support) และ เส้นแนวต้าน (Resistance) โดยใช้เส้น MA50 (ราคาหุ้นเฉลี่ย 50 วัน), MA100 (ราคาหุ้นเฉลี่ย 100 วัน) และ MA200 (ราคาหุ้นเฉลี่ย 200 วัน) ให้นึกภาพว่าเส้นแนวรับคือพื้น เส้นแนวต้านคือเพดาน และ ราคาหุ้นคือลูกบอล เมื่อ ลูกบอกตกลงไปแตะพื้นก็จะมีการเด้งกลับขึ้นข้างบน แต่หากเด้งสูงเกินไปก็จะชนเพดาน และ ตกลงมา ในกรณีด้านล่างเส้น MA นั้นได้ทำหน้าที่เป็นเส้นแนวรับดังนั้นสังเกตุที่ลูกศรเมื่อราคาแตะเส้นแนวรับก็จะมีการกลับตัว (Reversal)

ข้อควรระวังคือ ราคา ไม่ได้เป็นไปตามกฏ หรือ ตัวอย่างที่โชว์ให้ดูเสมอไป อาจจะไม่มีการกลับตัว หรือ ราคาอาจจะลงยังไม่ถึงเส้นแนวรับแต่เกิดการกลับตัวก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน

อธิบายโดยง่ายคือหากราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) หุ้นตัวนั้นจะจัดว่าอาจจะอยู่ในขาขึ้น แต่ถ้าหากราคาอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยนั้นแปลว่าราคาอาจจะอยู่ในขาลง เส้นค่าเฉลี่ยยังคงมีค่าที่ไม่เท่ากันดังนั้นการที่เราเอาเส้นค่าเฉลี่ยสองเส้นมาวางไว้ด้วยกัน อันนึงอาจจะโชว์ว่าอยู่ในสภาวะขาขึ้น อีกอันอาจจะบอกว่าอยู่ในสภาวะขาลง ก็เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

ประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Averages)

เส้นค่าเฉลี่ยสามารถคำนวณได้หลายวิธียกตัวอย่าง Simple Moving Average (SMA) 5 วัน เราสามารถคำนวณได้โดยการนำ ราคาหุ้น ที่ปิดของ 5 วันล่าสุด มาบวกกัน แล้วนำผลลัพธ์ไปหารด้วย 5 (จำนวนวัน)

เส้น Moving Average อีกแบบที่เป็นที่นิยมก็คือ Exponential Moving Average หรือ EMA โดยวิธีการคำนวณจะค่อนข้างยากกว่าแต่ถ้าสรุปโดยง่านนั้นคือเป็นราคาเฉลี่ยของเหมือน SMA แต่ว่าให้น้ำหนักกับราคาล่าสุดเยอะกว่าราคาในตอนต้นที่นำมาคำนวณในสูตร

หากเรานำเส้น SMA50 (Simple Moving Average 50 วัน) กับ EMA50 (Exponential Moving Average 50 วัน) มาวางไว้บนกราฟเดียวกันจะเห็นได้ชัดว่าเส้น EMA50 นั้นตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงในราคามากกว่าเพราะมีการให้น้ำหนักในราคาล่าสุดมากกว่านั้นเอง

การหาค่าเฉลี่ยนั้นสามารถใช้โปรแกรมกราฟต่างๆ โดยไม่ต้องมานั่งคิดเองนะครับ

มีคำถามว่าแล้วอย่างงี้เส้นแบบ Simple Moving Average กับ Exponential Moving Average แบบไหนดีกว่ากัน ต้องขอตอบว่าไม่มีอย่างใดอย่างนึงที่ดีกว่ากันในบางครั้งเส้น EMA อาจจะทำงานได้ดี แต่บางช่วงเวลา SMA กลับมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า และ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการใช้เครื่องมือนี้ก็คือระยะเวลาที่เราจะกำหนดให้กับมัน

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับตั้ง เส้นค่าเฉลี่ย

ค่าที่เป็นที่นิยมในการใช้ตั้งเส้น MA น้ันมีอยู่ประมาณนี้ครับ 10, 20, 50, 100 และ 200 โดยระยะเวลาความยาวเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้กับกราฟทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแบบ นาที วัน หรือ อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละบุคคล

ช่วงเวลาที่เราเลือกมาใช้เป็นเหมือนการมองย้อนกลับไปว่าราคาในอดีตนั้นเป็นยังไง ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ยที่มีระยะสั้นก็จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในราคามากกว่าระยะยาว ในภาพด้านล่างเราจะเป็นเส้น MA(20) วิ่งไปตามราคา ไม่เหมือนกับเส้น MA(100)

ในมุมมองภาพรวมเส้นแบบช่วงเวลา 20 วันอาจจะมีประโยชน์กับ นักลงทุนระยะสั้น ดังนั้นคุณสามารถตั้งค่า MA ได้ตามที่ต้องการไม่ว่าจะเป็น 15, 28, 89 เพื่อค้นหาช่วงเวลาที่แม่นยำในการจับสัญญาณในอนาคต

เทคนิคการเล่นหุ้นด้วย Crossovers

Crossovers หรือ จุดตัด เป็นหนึ่งในเทคนิคที่เป็นที่นิยมใช้กับ Moving Average ในแบบแรกคือ Price Crossover หรือ จุดตัดกับราคา อย่างที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้คือเมื่อราคามีการแตะเส้นหรือผ่านเส้นค่าเฉลี่ยอาจจะแสดงว่าเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์

อีกเทคนิคนึงคือนำเส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นมาวางไว้บนกราฟเดียวกันโดยเส้นนึงเป็นแบบระยะสั้นและอีกเส้นเป็นแบบระยะยาว เมื่อเส้น MA (ระยะสั้น) ตัดเหนือเส้น MA (ระยะยาว) นั้นคือสัญญาณซื้อ เพราะหุ้นตัวนั้นอาจจะกำลังเป็นขาขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “Golden Cross”

เมื่อเส้น MA (ระยะสั้น) ตัดต่ำกว่า เส้น MA (ระยะยาว) นั้นคือสัญญาณขายเพราะหุ้นอาจจะกำลังอยู่ในขาลง การตัดกันแบบนี้เรียกว่า “Dead/Death Cross”

ข้อเสียของ เส้นค่าเฉลี่ย

เส้นค่าเฉลี่ยนั้นถูกคำนวณโดยใช้ราคาในอดีตที่ผ่านมา โดยไม่ได้มีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วยเลยดังนั้นในบางทีผลของการใช้งานเส้นค่าเฉลี่ยจึงไม่ค่อยเป็นไปตามที่นักลงทุนหลายๆ ต้องการ แต่ก็มีบ่อยคร้ังที่ราคาหุ้นค่อนข้างจะเป็นไปตามกฏ และ หลักการแนวรับ แนวต้านของเส้นค่าเฉลี่ย

ปัญหาใหญ่เลยอาจจะเป็นในขณะที่ราคาอยู่ในช่วงสวิงขึ้นลงทำให้เกิด สัญญาณในการกลับตัวค่อนข้างบ่อย ดังนั้นคุณจึงควรที่จะเรียนรู้ Indicatorอื่นๆ เพื่อใช้ในการช่วยตัดสินใจ เช่นเดียวกันกับ Crossovers ซึ่งสามารถเกิดสัญญาณหลอกได้

เส้นค่าเฉลี่ยค่อนข้างใช้ได้ผลในขณะที่เทรนด์แสดงออกว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลงอย่างชัดเจน แต่จะใช้ไม่ค่อยได้กับช่วงที่ราคาค่อนข้างสวิง

บทสรุป

เส้นค่าเฉลี่ย Moving Average นั้นเป็นการทำให้เส้นราคานั้นดูง่ายขึ้น เพื่อที่จะคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคต เส้น EMA (Exponential Moving Averages) จะตอบสนองกับราคามากกว่าเส้น SMA (Simple Moving Average) ในบางกรณีเป็นสัญญาณที่ดีแต่ในบางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณหลอกได้เช่นกัน เส้นค่าเฉลี่ยที่มีระยะเวลาสั้นกว่ายกตัวอย่าง 20 วันจะมีผลกระทบมากกว่าเส้น 200 วันเมื่อราคาเปลี่ยนแปลง และ ยังทำหน้าที่เป็นเส้นแนวรับ และ แนวต้าน ส่วน Moving Average Crossovers จึงเป็นเทคนิคที่ใช้กันในการหาสัญญาณในการเข้าซื้อ หรือ ขายหุ้น โดยทั้งหมดอาจจะดูว่าหากใช้เครื่องมือนี้ราคาอาจจะเป็นที่คาดการณ์ได้ แต่ต้องอย่าลืมว่าเส้น MA นั้นไม่ว่าจะยังไงก็ตามยังคงถูกคำนวณโดยใช้แค่ราคาในอดีตมาเป็นปัจจัยเท่านั้น........cr: ก๊อบเค้ามาอีกที

หลักการอ่านค่า macd

หลักการอ่านค่า MACD
ข้อดีของ macd มีประโยชน์ต่อนักลงทุน โดยเป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการยืนยัน แนวโน้ม และทิศทางของราคาหุ้น ว่าจะไปทางทิศไหน ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ทำให้สามารถ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น กับการซื้อขาย
ข้อเสียของ macd บางครั้งวิ่งขึ้นลงแรง จะทำให้เกิดสัญญาณบ่อยครั้งเกินไป ก่อนที่จะแสดงทิศทาง ที่ชัดเจนให้เห็น เพราะ macd มีการตั้งค่าช้ากว่า indicator ตัวอื่นๆลักการมองง่ายๆเพื่อประกอบการตัดสินใจมีดังต่อไปนี้
1) ถ้า macd > 0 = เป็นแนวโน้มขาขึ้น
2) ถ้า macd < 0 =
เป็นแนวโน้มขาลง
3) ถ้า macd > 0 & ตัดเส้น signal ลง = ราคาอาจเกิดการพักฐาน
4) ถ้า macd < 0 ตัดเส้น signal ขึ้น = ราคากำลังขึ้น
5) ถ้า macd > 0 & ตัดเส้น signal ขึ้น = ราคาขึ้นแน่นอน
6) ถ้า macd < 0 & ตัดเส้น signal ลง = ราคาลงแน่นอน
7) ถ้า macd ตัด 0 ขึ้นไป เป็นสัญญาณซื้อ แน่นอน
8) ถ้า macd ตัด 0 ลงไป เป็นสัญญาณขาย แน่นอน
เส้น 0 = เส้น V Line
ทั้งหมดนี้ จะเป็นข้อมูลชี้แนะ ให้กับ เทรดเดอร์มือใหม่ แต่จะเป็นการ รบกวนก้านสมอง ของเทรดเดอร์มือเก่า หากเป็นการรบกวนเวลาของเทรดเดอร์มือเก่าต้องกราบขออภัยไว้ณที่นี้ ขอให้เพื่อนๆทุกคนโชคดีร่ำรวยจากการเทรดทุกวันนะครับ ผม 5555++++

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประเมินราคาพื้นฐานของหุ้น

วิธีเบสิคเลย คือ ใช้สูตร Price = PE x Eps/y เทียบปัจจุบันและอนาคตที่จะถึง

เช่น ในรูปคือ HMPRO
EPS ณ วันประกาศกำไร 9 เดือน คือ 0.26
สรุปคือ เฉลี่ยไตรมาศ ละ 0.086

ถ้าเรามองว่า HMPRO ยังค้าขายดีสม่ำเสมอเหมือน 9 เดือนที่ผ่านมา
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.086) x 35.97 = 12.23

แต่ถ้าคุณมองว่า HMPRO 3 เดือนที่เหลือ ขายดีขึ้นอีก ก็ปรับเอง เช่น
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.100) x 35.97 = 12.90

หรือจะเอา PE ค่าอื่นๆ โดยอ้างธุรกิจค้าปลีกแบบเดียวกันมาใช้ก็ได้ เช่น
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.100) x 40 = 14.32

ทั้งนี้มีปัจจัยอีกเยอะ เพราะพฤติกรรมและข้อมูลการเลือกซื้อหุ้นแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับว่าคุณประเมินกำไรไว้ยังไง กำไรจะมาเมื่อไหร่ จะซื้อรอเลยมั๊ย หรือ รอให้ดูเป็นไปได้มากกว่านี้แล้วค่อยซื้อ เป็นต้น

เครดิต Smith Ung

cahttradingview

AAPL ชาร์ต โดย TradingView