วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561

งบกำไรขาดทุนเข้าใจง๊ายง่าย

 หากพูดถึงงบการเงินหลายคนคงจะเบือนหน้าหนีเพราะคิดว่าตัวเองไม่ถนัดเรื่องตัวเลข แต่ถ้าลองคิดดูดีๆ ในการลงทุนเราใช้แค่ + - x ÷ เท่านั้นเองครับ ปัญหาจึงไม่ใช่เราไม่ถนัดเรื่องตัวเลขหรอก แต่เรายังเชื่อมโยงคำศัพท์ต่างๆของงบการเงินไม่ถูกต่างหาก แถมยังไม่รู้อีกว่าจุดไหนสำคัญ จุดไหนไม่สำคัญ ...
สุดท้ายอ่านจบก็ยังงงอยู่ดีว่ากำไรตรงนี้ต่างจากกำไรตรงนั้นยังไง?? คำศัพท์ต่างๆนั้นมีที่มาที่ไปยังไง สุดท้ายก็เลยไม่อ่านมันซะเลย งั้นบทความนี้จะยกตัวอย่างให้เข้าใจที่มาที่ไปของงบกำไรขาดทุนแบบง๊ายง่ายอย่างนี้
สมมุติบริษัท Apble ผลิตโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ uPhone ขายเครื่องละ 10,000 บาท ซึ่งปี 2560 ขายได้ทั้งหมด 1 ล้านเครื่องเท่ากับบริษัทนี้มีรายได้(Revenue) 10,000 ล้านบาท
อันดับแรก นำรายได้มาหักออกด้วย #ต้นทุนสินค้าหรือวัตถุดิบ เช่น แบตเตอรี่ จอภาพ กล้อง ฯลฯ สมมุติว่าต้นทุนทั้งหมด 4,000 ลบ. ส่วนที่เหลือ 6,000 ลบ.จะเรียกว่า กำไรขั้นต้น(Gross profit) แต่ถ้าต้องการนำไปเทียบกับบริษัทอื่นๆ จะต้องแปลงหน่วยเป็น % ซึ่งเรียกว่า อัตรากำไรขั้นต้น(Gross profit margin) แค่เอา (กำไรขั้นต้น x 100) หารรายได้ = 60%
อันดับที่สอง หลังจากเราได้กำไรขั้นต้นมาแล้ว ก็นำมาหัก #ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร  เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าโฆษณาทำการตลาดต่างๆ สมมุติส่วนนี้ 2,000 ลบ. ก็เอา 6,000-2,000 จะเหลือ 4,000 ลบ.จะเรียกว่า กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี(ebit) เช่นเดิมหากต้องการนำไปเทียบก็แปลงเป็น % แล้วเติมคำว่า margin ต่อท้ายก็จะได้ ebit margin แค่เอา (ebit x 100) หารรายได้ = 40%
อันดับสาม นำ ebit มาลบ ดอกเบี้ยและภาษี สมมุติส่วนนี้ 500 ลบ. ก็เอา 4,000-500 จะเหลือ 3,500 ลบ. ถึงจะเรียกว่า กำไรสุทธิ(Net profit) เช่นเดิมแปลงเป็น % แล้วเติมคำว่า margin จะเรียกว่า อัตรากำไรสุทธิ(Net  profit margin) แค่เอา (กำไรสุทธิ x 100) หารรายได้ = 35%
อันดับสี่ บริษัทจะนำกำไรสุทธิเก็บไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรองเพื่อหมุนทำธุรกิจต่อไปหรือเผื่อจะขยายธุรกิจในอนาคต แล้วค่อยแบ่งส่วนที่เหลือให้ผู้ถือหุ้นถึงจะเรียกว่า เงินปันผล(Dividend yield)
 ถ้าเราเข้าใจแบบนี้ก่อนอ่านงบได้ละก็ เราจะเรียงออกมาเป็นภาพได้เลยว่าค่าใช้จ่ายแต่ละจุดมีความสำคัญยังไง แล้วที่ผู้บริหารบอกว่าจะลดค่าใช้จ่ายส่วนนั้น เพิ่มรายได้ส่วนนี้ มันจะส่งผลกับงบการเงินส่วนไหนบ้าง เรียกว่าเดางบได้ล่วงหน้าเลยด้วยซ้ำ ^^
แต่ปัญหาที่เราเชื่อมโยงงบการเงินไม่ถูกนั้น เกิดจากเราเรียนแบบเดิมๆ ที่ใช้วิธีท่องจำมายังไงล่ะ ฉะนั้นถ้าอยากเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้จริงได้แบบนี้ล่ะก็คอร์ส แกะงบเจาะหุ้นร้อนฯ ที่ efin School กันได้นะครับ เพราะคอร์สนี้จะบอกสิ่งที่นักลงทุนอย่างเราต้องรู้ แต่ดันไม่เคยรู้ ไม่งั้นเราจะกลายเป็นทฤษฎีปึ้ก ปฏิบัติแป้กไม่รู้ด้วยล่ะ !!!

ดูคอร์สเรียนต่างๆของ efin School ได้ที่ https://goo.gl/zCuxqU

ขอบคุณความรู้ดีๆอ่านแล้วชอบเข้าใจง่ายดีครับ


cahttradingview

AAPL ชาร์ต โดย TradingView