เมื่อเร็วนี้หนังสือเกี่ยวกับเรื่องของประะวัติศาสตร์ชื่อ Yuval Noah Harari หนังสือสองเล่มนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมนุษย์และการทำนายอนาคตของมนุษยศาสตร์ตามลำดับ ทั้งสองเล่มเป็นหนังสือขายดี เป็น Best Seller ระดับนานาชาติ คนที่เขียนคำนิยมและยกย่องชมเชยให้กับหนังสือนั้นรวมถึงอดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา บิล เกต และมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ดังนั้น มันไม่ใช่หนังสือธรรมดา ๆ ที่คอหนังสือจะมองข้ามได้ โดยเฉพาะผมเองที่เป็นคนชอบศึกษาประวัติศาสตร์ผมจึงอ่านทั้งสองเล่มอย่าง “วางไม่ลง” ผมคิดว่ามันเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากเพราะมันเป็นประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นล้านเป็นแสนปีแต่เขียนให้จบภายในไม่กี่ร้อยหน้า ที่สำคัญ มันให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์อย่างลึกซึ้ง มันทำให้รู้ว่ามนุษย์มีวิวัฒนาการมาอย่างไรจนมาเป็นอย่างทุกวันนี้ที่เรามีสังกัดเป็นคนชาตินั้นชาตินี้ มีศาสนา มีวัฒนธรรม มีนิสัยใจคอ มีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ทั้งโลก อยู่กันในหมู่บ้านและเมือง มีเงินใช้ มีตลาดและการซื้อขายหุ้น และยังมีอะไรต่าง ๆ อีกมากมายที่มนุษย์ “สร้างและจินตนาการขึ้นมา” และทุกคนยอมรับ
หนังสือเล่มแรกที่เล่าประวัติศาสตร์ของมนุษย์ก็คือ Sapiens: A Brief History of Humankind เล่มนี้เริ่มเล่าตั้งแต่การที่มนุษย์เริ่มรู้จักคิดอย่างมีเหตุมีผลมีความเข้าใจและสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ ตั้งแต่เมื่อประมาณ 70,000 ปีก่อน ซึ่งเหตุผลที่มนุษย์เริ่มเป็นสัตว์ที่มีความคิดนี้ก็ยังไม่ชัดว่าเป็นเพราะอะไร เพราะก่อนหน้านั้นที่มนุษย์ยุคใหม่เริ่มปรากฏขึ้นเมื่อประมาณ 150,000 ปี นั้น พวกเราก็ยังคล้าย ๆ กับลิงชิมแปนซีที่เดินหากินอยู่ในป่าไปวัน ๆ ต่อมา ประมาณ 40,000 ปี ที่แล้ว มนุษย์ก็เดินทางจากอาฟริกาไปทั่วโลกซึ่งรวมถึงอเมริกาและออสเตรเลียที่ต้องข้ามทะเลกว้างแต่ในสมัยนั้นโลกยังเป็นยุคน้ำแข็งที่คนสามารถเดินข้ามทะเลที่เป็นน้ำแข็งต่อกันไปถึงแผ่นดินใหม่เหล่านั้นได้
มนุษย์เราเพิ่งจะเริ่มรู้จักปลูกพืชทำการเกษตรและอยู่กันเป็นหมู่บ้านประมาณ 11,000 ปีที่แล้วนี่เองหลังจากที่อาศัยอยู่ในถ้ำ หาของป่า ล่าสัตว์เลี้ยงชีพมาเป็นแสน ๆ ปี และนี่ก็เป็นการ “ปฏิวัติ” ครั้งสำคัญและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติที่ก่อให้เกิดอารยะธรรมที่ดำเนินมาอย่างรวดเร็วจนถึงทุกวันนี้
การที่มนุษย์เริ่มอยู่กับที่เป็นหลักเป็นแหล่งและมีอาหารอุดมสมบูรณ์ทำให้มนุษย์มีการขยายจำนวนประชากรขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเมืองและดังนั้นจึงต้องมี “สถาบัน” ที่จะควบคุมให้สังคมมีความสงบสุข นั่นทำให้มนุษย์เริ่มต้องมีผู้ปกครองและระบบการปกครอง เริ่มมีรัฐ มีกษัตริย์ มีศาสนา มีกฎหมายมีระบบความนึกคิดต่าง ๆ มีเงินเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าที่เริ่มมี “ผู้เชี่ยวชาญ” ที่ทำงานอาชีพต่าง ๆ นำสินค้าที่ตนเองผลิตมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ตนเองต้องการ อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้มนุษย์ในโลกก็ยังพัฒนาไปอย่าง “ช้า ๆ” เพราะทุกอย่างก็อาศัยกำลังคนและสัตว์ประกอบกับเครื่องมือที่ยังไม่ซับซ้อน
การ “ปฏิวัติครั้งที่สอง” ของมนุษยชาติ น่าจะเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปีมานี่เอง นี่คือการปฏิวัติทาง “วิทยาศาสตร์” ที่คนเริ่มมีความคิดว่าสิ่งและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลและการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องของ “ธรรมชาติ” ไม่ใช่เกิดจากการบัญชาของพระเจ้าหรือภูตผีปีศาจหรือความเชื่อที่ถูกปลูกฝังมานานโดยพระที่อ้างว่าเป็นผู้นำสารของพระเจ้า ยุคนี้น่าจะเริ่มประมาณสมัยกาลิเลโอที่พิสูจน์ว่าโลกกลม ไม่ได้แบนเหมือนอย่างที่คนเข้าใจ เป็นต้น
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์นั้นเป็นจุดที่ก่อให้เกิดการ “ปฏิวัติทางอุตสาหกรรม” ที่เริ่มต้นมาประมาณ 250 ปีก่อนหน้านี้จากการคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ที่เปลี่ยนแปลงการผลิตของมนุษย์อย่างสิ้นเชิงจากการใช้แรงงานคนและสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่ใช้พลังความร้อนที่ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
การปฏิวัติครั้งล่าสุดนั้นเพิ่งจะเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 50-60 ปีมานี้เองนั่นก็คือการ “ปฏิวัติของข้อมูลและข่าวสาร” ที่เริ่มจากการใช้คอมพิวเตอร์มาประมวลผล และนี่ก็นำไปสู่การปฏิวัติทางด้านไบโอเท็คโนโลยีที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในตัวของมนุษย์และอาจจะนำไปสู่การทำลายมนุษยชาติเองในที่สุดตามความเชื่อของฮาราริ
จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ผมคิดว่ามาจากแนวทางการเขียนที่นำเอาธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่จริง ๆ แล้วก็เป็นเพียงสัตว์ชนิดหนึ่งที่ “บังเอิญ” มีวิวัฒนาการที่แตกต่างออกไป “เล็กน้อย” เช่นเรื่องของความสามารถในการพูดและภาษาซึ่งทำให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ดีขึ้นและใช้มันจนประสบความสำเร็จกลายเป็น “คนเหนือสัตว์” ที่สามารถเอาชนะสัตว์ทั้งมวลและทำอะไรต่าง ๆ ที่สัตว์ไม่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม ยีนของคนก็ยังเป็นแบบเดิม มีอารมณ์และนิสัยแบบเดิม ยังกินและทำลายสัตว์อื่นรวมทั้งพวกตัวเองที่เป็น “กลุ่มอื่น” เป็นต้น นอกจากนั้น การที่วิวัฒนาการก้าวหน้ามากขึ้นนั้นก็อาจจะไม่ได้ทำให้มนุษยชาติดีขึ้นแต่อย่างใดด้วย
หนังสือเล่มที่สองชื่อ Homo Deus: A Brief History of Tomorrow ซึ่งเป็นการทำนายถึงอนาคตของมนุษยชาติ ธีมของหนังสือเล่มนี้ดูเหมือนว่าจะมองเรื่องของวิวัฒนาการของมนุษยชาติในแง่ร้าย เขามองว่ามนุษย์พยายามสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อสร้างพลังอำนาจให้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และพยายามเอาชนะธรรมชาติและปราศจากการตระหนักรู้ถึงผลกระทบที่จะตามมาว่าวันหนึ่งสิ่งที่มนุษยชาติทำนั้นจะทำลายตัวเอง สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นรวมถึงการที่มนุษย์อาจจะรบกันเองจนโลกสลาย ทำลายสิ่งแวดล้อมจนอยู่ไม่ได้ หรืออาจจะสร้างหุ่นยนต์หรือ AI ขึ้นมามีความรู้ความสามารถสูงจนคนไม่มีความหมาย คนจำนวนมหาศาลอาจจะต้องตกงานและเกิดความยากลำบากจากการพัฒนาของหุ่นยนต์ คนอาจจะอยู่ได้เป็นอมตะแต่ชีวิตก็อาจจะไร้ความหมาย เขาคิดว่ามนุษย์จะต้องพยายามกลับมาคิดว่าจะพัฒนากันอย่างไรที่จะทำให้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะทำให้มนุษย์มีความสุขขึ้นแทนที่จะพยายามควบคุมทุกอย่างและเพิ่มศักยภาพขึ้นเรื่อย ๆ เขากลัวว่าวันหนึ่งมนุษย์ก็อาจจะเป็นแค่ “ระบบทางชีวภาพ” อีกระบบหนึ่งที่ถูกคุมด้วยระบบเครือข่ายใหญ่ของโลกที่จะคอยบอกว่าเราจะต้องทำอะไรนาทีต่อนาที
ถ้ามองถึงตัวฮาราริเองนั้น เขาเป็นคนยิวที่มีความคิด “สุดโต่ง” นอกจากประวัติศาสตร์แล้ว เขาน่าจะเป็นนักปรัชญาและออกจะมีแนวชีวิตแบบ “ตะวันออก” เช่น เขาเป็นนักวิปัสสนาตัวยง ต้องนั่งทำทุกวันและปีหนึ่งต้องสละเวลา บางทีเป็นเดือน เพื่อนั่งทำสมาธิโดยไม่ติดต่อกับผู้คน เขาบอกว่าการทำสมาธิเป็นส่วนหนึ่งของการทำวิจัยที่สำคัญมากของเขา เขาไม่กินเนื้อสัตว์เพราะเชื่อในเรื่อง “สิทธิของสัตว์” อย่างแรงกล้า เขาไม่คิดว่ามนุษย์นั้นควรมีสิทธิและอ้างสิทธิเหนือสัตว์ เขาแต่งงานอยู่กินกับผู้ชายและไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ เช่นเดียวกัน ดูเหมือนว่าหนังสือจำนวนมากมายที่เขาเขียนเองนั้น ก็ “สุดโต่ง” แต่ก็เต็มไปด้วยเหตุผล ผมเองคิดว่าเขาจะเป็น “ยักษ์” หรือผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่งของโลกในฐานะนักคิดที่มีความเป็นเอกลักษณ์ หนังสือ 2 เล่มที่สร้างชื่อให้ “ดังระเบิด” นี้ ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและอีกกว่า 30 ภาษาทั่วโลก ผมเองได้แต่หวังว่าวันหนึ่งจะมีแปลเป็นภาษาไทย
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
หลักการเลือกหุ้นของBuffett
หลักการเลือกหุ้นของ Buffett / ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
.
การเลือกหุ้นลงทุนของ วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้นได้รับการติดตามและศึกษามากมาย หนังสือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีมากจนนับไม่ถ้วน แต่ละเล่มก็พยายามที่จะเขียนให้มีความ “ซับซ้อน” และยากที่จะปฎิบัติเพื่อที่จะทำให้รู้สึกว่าคนธรรมดาจะเลียนแบบได้ยาก มีแต่คนที่มีความสามารถแบบ วอเร็น บัฟเฟตต์ เท่านั้นที่จะทำได้หรือวิเคราะห์ได้ถูกต้องว่าหุ้นหรือบริษัทไหนที่ดีน่าลงทุน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ถ้าบอกว่าหลักการลงทุนของบัฟเฟตต์นั้นง่ายและธรรมดามาก ใครจะอยากซื้อหนังสือมาอ่าน นอกจากนั้น น้อยคนจะเชื่อว่าคนจะประสบความสำเร็จจากการลงทุนได้ด้วยสิ่งที่ “ทำได้ง่าย ๆ” ไม่อย่างนั้นคนก็คงจะ “รวยกันไปหมด” ซึ่งเป็นไปไม่ได้! แต่ทั้งหมดนั้นสำหรับผมแล้วมันก็คงจะเป็นเรื่องที่คล้าย ๆ กับหนังสือเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั้งหลายที่มักจะพูดถึงวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งมักรวมถึงการปฏิบัติตนด้วยวิธีการต่าง ๆ การกินอาหารและอาหารเสริม บางทีก็พูดถึงฮอร์โมนและเครื่องมือ “มหัศจรรย์” ต่าง ๆ ที่จะช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้น ทั้ง ๆ ที่ความจริงอาจจะเป็นว่าหลักการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดอาจจะง่ายมากและมีเพียง 3-4 เรื่องที่ต้องทำ เช่น กินอาหารครบหมู่ ออกกำลังพอประมาณ นอนให้พอ และอย่าเครียด เป็นต้น
.
จากการติดตามบัฟเฟตต์มานานรวมถึงอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับบัฟเฟตต์จำนวนมากผมกลับพบว่าที่จริงแล้วหลักการเลือกหุ้นลงทุนของบัฟเฟตต์นั้น “ธรรมดาและง่ายมาก” มันคล้าย ๆ กับการรักษาสุขภาพ ถ้าเราทำได้ 3-4 เรื่องอย่างที่กล่าว เราก็จะมีสุขภาพที่ดีเยี่ยมได้แล้ว ไม่ต้องไปหาสูตรอะไรที่ดู “ขลัง” หรือทำได้ยากเกินความสามารถ สิ่งที่ต้องทำดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องของ “วินัย” และการปรับใจหรือทัศนะคติมากกว่า มาดูกันว่าอะไรคือหลักการสำคัญที่บัฟเฟตต์ใช้จริง ๆ เกือบตลอดชีวิตการลงทุนของเขา ว่าที่จริงเขา “ประกาศ” มันอย่างเป็นทางการด้วยว่านี่คือสิ่งที่เขาต้องการจากหุ้นหรือกิจการที่เขาจะลงทุน และมันมีแค่ 4-5 ข้อเท่านั้น
.
ข้อแรกก็คือ มันต้องเป็นธุรกิจธรรมดา ๆ ที่เราเข้าใจ และถ้ามันมีเรื่องเกี่ยวข้องกับเท็คโนโลยีมาก ๆ บัฟเฟตต์บอกว่าเขาจะไม่เข้าใจ ข้อนี้ ถ้าดูจากกิจการและหุ้นที่บัฟเฟตต์ลงทุนมานานหลายสิบปีก็จะพบว่าหุ้นส่วนใหญ่ที่เขาลงทุนนั้นมักจะเป็นกิจการธรรมดา ๆ จริง เช่น กิจการเกี่ยวกับอาหาร เช่น น้ำอัดลม ช็อกโกแล็ต ซอสมะเขือเทศ กิจการเครื่องใช้เช่นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งตัวเช่น เครื่องประดับเพชร รองเท้า ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ กิจการเดินทางเช่น รถไฟ เครื่องบิน ผู้ให้บริการเกี่ยวกับการงานคอมพิวเตอร์ของสำนักงานและบริษัท และที่เริ่มมากในระยะหลังก็คือพลังงานและพลังงานทดแทน เป็นต้น และแน่นอนก็คือ ธุรกิจประกันภัยที่เป็นฐานดั้งเดิมของบัฟเฟตต์
.
ประเด็นสำหรับนักลงทุนก็คือ บ่อยครั้งเรามักลงทุนซื้อหุ้นที่เราไม่เข้าใจธุรกิจอย่างแท้จริง คนจำนวนมากลงทุนซื้อหุ้นปิโตรเคมีทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้จักแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่เขาผลิต เราซื้อหุ้นอิเล็คโทรนิกส์ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่ามันเอาไปทำอะไร เรามักซื้อเพราะว่าหุ้นกำลังปรับตัวขึ้นแรงและมีคนเชียร์ว่ามันจะเติบโตขึ้นอีกมากในปีนี้ บัฟเฟตต์บอกว่าเราต้องมี Circle of Competence หรือความรอบรู้ของเราในแต่ละธุรกิจหรืออุตสาหกรรม เราไม่จำเป็นต้องรู้มากมายไปหมดในอุตสาหกรรมจำนวนมาก แต่เราต้องรู้ว่าขีดความรอบรู้ของเรามีแค่ไหน ตัวอย่างเช่น เราอาจจะบอกว่าเรารู้เรื่องของอาหาร ค้าปลีก บันเทิง เพราะเราเป็นคนที่บริโภคหรือใช้สินค้าเหล่านี้เป็นประจำ เป็นต้น และถ้าเป็นอย่างนั้น เราจะไม่ซื้อหุ้นในกลุ่มอื่นที่เราไม่รู้จักเลย อย่าไปห่วงว่านั่นจะจำกัดตัวหุ้นที่จะลงทุนไปมากและอาจทำให้ “เสียโอกาส” ในการลงทุน จำไว้ว่าสำหรับนักลงทุนรายย่อยนั้น เราต้องการหุ้นจำนวนน้อยมากที่จะทำให้เรารวยหรือประสบความสำเร็จ บัฟเฟตต์ถึงกับบอกว่าในชั่วชีวิตเรานั้น เราอาจจะต้องการหุ้นเพียงแค่ 20 ตัวเท่านั้น
.
ข้อสอง บริษัทจะต้องเป็นธุรกิจที่มีอนาคตระยะยาวที่ดี และคำว่าดีก็หมายความว่ามันมีความสม่ำเสมอของกำไร และกำไรนี้จะต้องมีความยั่งยืน และเหตุที่จะมีความยั่งยืนก็เพราะว่ามันมีความได้เปรียบที่ยั่งยืน หรือ Durable Competitive Advantage (DCA) ที่จะป้องกันไม่ให้คู่แข่งเข้ามาแย่งธุรกิจ บัฟเฟตต์เองไม่ค่อยเน้นเรื่องของการเติบโตของกำไรมากนัก มันแทบจะไม่ใช่เงื่อนไขของการลงทุนด้วยซ้ำ บัฟเฟตต์น่าจะมีความคิดว่าธุรกิจนั้นถ้าโตเร็วหรือมีกำไรดีมาก สุดท้ายก็จะต้องมีคนเข้ามาแข่ง และถ้าบริษัทไม่มี DCA ก็อาจจะพ่ายแพ้และสุดท้ายแม้แต่กำไรเท่าเดิมก็อาจจะรักษาไว้ไม่ได้ และเท่าที่สังเกตเห็น หุ้นที่บัฟเฟตต์ลงทุนนั้นมักจะมีกำไรที่แน่นอนและมีการเติบโตบ้างเท่านั้น ผมไม่ค่อยเห็นบัฟเฟตต์ลงทุนในหุ้นที่โตเร็วมากเลย
.
สิ่งที่บัฟเฟตต์ได้จากหุ้นที่ไม่ได้โตเร็วมากก็คือ กำไรที่แน่นอนและปันผลที่เขาจะนำไปลงทุน อาจจะในธุรกิจเดิมถ้ามันยังทำผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นได้สูงเกิน 10% ขึ้นไป หรือไม่ก็นำปันผลที่เป็นเงินสดไปลงทุนในธุรกิจอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยวิธี “ทบต้น” ด้วยผลตอบแทนที่สูงกว่า 10% ต่อปีไปเรื่อย ๆ นี้เองที่ทำให้ความมั่งคั่งของบัฟเฟตต์สูงขึ้นเรื่อย ๆ ติดต่อกันถึง 60 ปี
.
นักลงทุนที่เน้นหุ้นที่โตเร็วแต่ไม่มีความสม่ำเสมอของกำไรและไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนนั้น ผมคิดว่าในบางช่วงโดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นบูมนั้น อาจจะทำกำไรได้ดีมาก แต่ในระยะยาวแล้ว โอกาสผิดพลาดก็อาจจะสูงและทำให้ขาดทุนหนัก โดยเฉลี่ยแล้ว ผลตอบแทนก็อาจจะต่ำกว่าการลงทุนแบบของ วอเร็น บัฟเฟตต์ ได้
.
ข้อสาม บริษัทจะต้องดำเนินการโดยผู้บริหารที่ซื่อสัตย์และมีความสามารถ แต่บัฟเฟตต์เองไม่ได้คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารไม่อยู่แล้วธุรกิจก็อาจจะมีปัญหาได้ เขาคิดว่าธุรกิจจะต้องดีโดยตัวของมันเองไม่ใช่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารคนใดคนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากพบว่าผู้บริหารโกงหรือมีการฉ้อฉลในบริษัท เขาก็คงไม่ลงทุนซื้อหุ้น สำหรับประเด็นเรื่องนี้นั้น ดูเหมือนว่าบัฟเฟตต์จะไม่มีเกณฑ์อะไรที่ชัดเจนว่าแบบไหนจึงจะเรียกว่า “ยอมรับไม่ได้” สิ่งที่เห็นก็คือ ถ้าเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเจ้าของบริษัทแล้วพบว่าผู้บริหาร “โกง” เขาก็มักจะ “บีบ” หรือปลดผู้บริหารรายนั้น
.
ข้อสุดท้ายสำหรับการเลือกซื้อหรือลงทุนในหุ้นก็คือ ราคาหุ้นต้องมีเหตุผลหรือยุติธรรม ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ ค่า PE ไม่ควรจะสูงเกินไป ในช่วงเร็ว ๆ นี้ดูเหมือนว่าค่า PE ที่บัฟเฟตต์จ่ายจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 20 เท่าเศษ ๆ ว่าที่จริงกฎข้อนี้ในอดีต บัฟเฟตต์ ใช้คำว่า “ราคาหุ้นต้องน่าสนใจมาก ๆ” นี่อาจจะเป็นเพราะว่าในระยะหลัง ๆ การหาหุ้นถูกที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายในการซื้อหรือเทคโอเวอร์นั้นยากมาก เขาจึงใช้คำว่าราคาต้องมีเหตุผลหรือไม่แพงแทนคำว่าราคาถูกหรือถูกมาก
.
ก่อนจะจบนั้น ผมอยากจะเสริมว่า ในกรณีที่เป็นการเทคโอเวอร์บริษัท สิ่งที่บัฟเฟตต์เน้นอีกข้อหนึ่งก็คือ เขาต้องการกิจการที่สามารถทำกำไรได้ดีวัดจากผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ต้องสูงพอและบริษัทควรจะไม่มีหนี้หรือมีหนี้น้อย ในกรณีของหุ้นจดทะเบียนในตลาดเองนั้น เขาอาจจะไม่ได้พูดย้ำหรือเน้น แต่ผมคิดว่าเกณฑ์หรือแนวความคิดก็คงคล้ายกัน อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ข้อนี้คงมีความยืดหยุ่นมากกว่าเรื่องอื่น
.
เกณฑ์ 4 ข้อของบัฟเฟตต์ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ดูแล้วก็ “ธรรมดาและง่ายมาก” แต่คนส่วนใหญ่หรือแม้แต่ “มืออาชีพ” เองก็ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ การถือหุ้นยาวแบบ “ไม่มีกำหนด” และไม่สนใจหรือไม่หวั่นไหวกับการขึ้นลงของราคาหุ้นและดัชนีตลาด ประเด็นก็คือ คนที่ใช้หลักการของบัฟเฟตต์นั้นมักจะมีเวลาที่กำหนด เช่น ต้องรายงานผลการลงทุนรายเดือนหรือรายปีหรือต้องการใช้เงินในเวลาที่กำหนด บางคนเมื่อลงทุนซื้อไปแล้วหุ้นไม่ขึ้นในระยะเวลาที่หวังก็เริ่มไม่แน่ใจว่าหลักการของบัฟเฟตต์ยังใช้ได้ไหมในช่วงเวลานี้ บางคนอาจจะเชื่อหลักการแต่คิดว่าตนเองวิเคราะห์ผิดหรือไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะบอกได้ว่าหุ้นหรือบริษัทนั้นเข้าเกณฑ์มีความได้เปรียบที่ยั่งยืนจริงไหม และสุดท้ายก็คือ คนจำนวนมากไม่แน่ใจเรื่องราคาหุ้นว่า PE เท่าไรจึงจะเรียกว่ายุติธรรมหรือมีเหตุผล ทั้งหมดนี้ทำให้คนจำนวนมากมักจะ “อ้าง” บัฟเฟตต์ แต่ไม่ปฏิบัติตาม เขารอไม่ได้หรือไม่อยากรอ และในเกมของการลงทุนนั้น คนรอไม่ได้ก็คือ “ผู้แพ้”
.
ที่มา : https://goo.gl/od3Rsz
.
การเลือกหุ้นลงทุนของ วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้นได้รับการติดตามและศึกษามากมาย หนังสือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีมากจนนับไม่ถ้วน แต่ละเล่มก็พยายามที่จะเขียนให้มีความ “ซับซ้อน” และยากที่จะปฎิบัติเพื่อที่จะทำให้รู้สึกว่าคนธรรมดาจะเลียนแบบได้ยาก มีแต่คนที่มีความสามารถแบบ วอเร็น บัฟเฟตต์ เท่านั้นที่จะทำได้หรือวิเคราะห์ได้ถูกต้องว่าหุ้นหรือบริษัทไหนที่ดีน่าลงทุน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ถ้าบอกว่าหลักการลงทุนของบัฟเฟตต์นั้นง่ายและธรรมดามาก ใครจะอยากซื้อหนังสือมาอ่าน นอกจากนั้น น้อยคนจะเชื่อว่าคนจะประสบความสำเร็จจากการลงทุนได้ด้วยสิ่งที่ “ทำได้ง่าย ๆ” ไม่อย่างนั้นคนก็คงจะ “รวยกันไปหมด” ซึ่งเป็นไปไม่ได้! แต่ทั้งหมดนั้นสำหรับผมแล้วมันก็คงจะเป็นเรื่องที่คล้าย ๆ กับหนังสือเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั้งหลายที่มักจะพูดถึงวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งมักรวมถึงการปฏิบัติตนด้วยวิธีการต่าง ๆ การกินอาหารและอาหารเสริม บางทีก็พูดถึงฮอร์โมนและเครื่องมือ “มหัศจรรย์” ต่าง ๆ ที่จะช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้น ทั้ง ๆ ที่ความจริงอาจจะเป็นว่าหลักการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดอาจจะง่ายมากและมีเพียง 3-4 เรื่องที่ต้องทำ เช่น กินอาหารครบหมู่ ออกกำลังพอประมาณ นอนให้พอ และอย่าเครียด เป็นต้น
.
จากการติดตามบัฟเฟตต์มานานรวมถึงอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับบัฟเฟตต์จำนวนมากผมกลับพบว่าที่จริงแล้วหลักการเลือกหุ้นลงทุนของบัฟเฟตต์นั้น “ธรรมดาและง่ายมาก” มันคล้าย ๆ กับการรักษาสุขภาพ ถ้าเราทำได้ 3-4 เรื่องอย่างที่กล่าว เราก็จะมีสุขภาพที่ดีเยี่ยมได้แล้ว ไม่ต้องไปหาสูตรอะไรที่ดู “ขลัง” หรือทำได้ยากเกินความสามารถ สิ่งที่ต้องทำดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องของ “วินัย” และการปรับใจหรือทัศนะคติมากกว่า มาดูกันว่าอะไรคือหลักการสำคัญที่บัฟเฟตต์ใช้จริง ๆ เกือบตลอดชีวิตการลงทุนของเขา ว่าที่จริงเขา “ประกาศ” มันอย่างเป็นทางการด้วยว่านี่คือสิ่งที่เขาต้องการจากหุ้นหรือกิจการที่เขาจะลงทุน และมันมีแค่ 4-5 ข้อเท่านั้น
.
ข้อแรกก็คือ มันต้องเป็นธุรกิจธรรมดา ๆ ที่เราเข้าใจ และถ้ามันมีเรื่องเกี่ยวข้องกับเท็คโนโลยีมาก ๆ บัฟเฟตต์บอกว่าเขาจะไม่เข้าใจ ข้อนี้ ถ้าดูจากกิจการและหุ้นที่บัฟเฟตต์ลงทุนมานานหลายสิบปีก็จะพบว่าหุ้นส่วนใหญ่ที่เขาลงทุนนั้นมักจะเป็นกิจการธรรมดา ๆ จริง เช่น กิจการเกี่ยวกับอาหาร เช่น น้ำอัดลม ช็อกโกแล็ต ซอสมะเขือเทศ กิจการเครื่องใช้เช่นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งตัวเช่น เครื่องประดับเพชร รองเท้า ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ กิจการเดินทางเช่น รถไฟ เครื่องบิน ผู้ให้บริการเกี่ยวกับการงานคอมพิวเตอร์ของสำนักงานและบริษัท และที่เริ่มมากในระยะหลังก็คือพลังงานและพลังงานทดแทน เป็นต้น และแน่นอนก็คือ ธุรกิจประกันภัยที่เป็นฐานดั้งเดิมของบัฟเฟตต์
.
ประเด็นสำหรับนักลงทุนก็คือ บ่อยครั้งเรามักลงทุนซื้อหุ้นที่เราไม่เข้าใจธุรกิจอย่างแท้จริง คนจำนวนมากลงทุนซื้อหุ้นปิโตรเคมีทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้จักแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่เขาผลิต เราซื้อหุ้นอิเล็คโทรนิกส์ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่ามันเอาไปทำอะไร เรามักซื้อเพราะว่าหุ้นกำลังปรับตัวขึ้นแรงและมีคนเชียร์ว่ามันจะเติบโตขึ้นอีกมากในปีนี้ บัฟเฟตต์บอกว่าเราต้องมี Circle of Competence หรือความรอบรู้ของเราในแต่ละธุรกิจหรืออุตสาหกรรม เราไม่จำเป็นต้องรู้มากมายไปหมดในอุตสาหกรรมจำนวนมาก แต่เราต้องรู้ว่าขีดความรอบรู้ของเรามีแค่ไหน ตัวอย่างเช่น เราอาจจะบอกว่าเรารู้เรื่องของอาหาร ค้าปลีก บันเทิง เพราะเราเป็นคนที่บริโภคหรือใช้สินค้าเหล่านี้เป็นประจำ เป็นต้น และถ้าเป็นอย่างนั้น เราจะไม่ซื้อหุ้นในกลุ่มอื่นที่เราไม่รู้จักเลย อย่าไปห่วงว่านั่นจะจำกัดตัวหุ้นที่จะลงทุนไปมากและอาจทำให้ “เสียโอกาส” ในการลงทุน จำไว้ว่าสำหรับนักลงทุนรายย่อยนั้น เราต้องการหุ้นจำนวนน้อยมากที่จะทำให้เรารวยหรือประสบความสำเร็จ บัฟเฟตต์ถึงกับบอกว่าในชั่วชีวิตเรานั้น เราอาจจะต้องการหุ้นเพียงแค่ 20 ตัวเท่านั้น
.
ข้อสอง บริษัทจะต้องเป็นธุรกิจที่มีอนาคตระยะยาวที่ดี และคำว่าดีก็หมายความว่ามันมีความสม่ำเสมอของกำไร และกำไรนี้จะต้องมีความยั่งยืน และเหตุที่จะมีความยั่งยืนก็เพราะว่ามันมีความได้เปรียบที่ยั่งยืน หรือ Durable Competitive Advantage (DCA) ที่จะป้องกันไม่ให้คู่แข่งเข้ามาแย่งธุรกิจ บัฟเฟตต์เองไม่ค่อยเน้นเรื่องของการเติบโตของกำไรมากนัก มันแทบจะไม่ใช่เงื่อนไขของการลงทุนด้วยซ้ำ บัฟเฟตต์น่าจะมีความคิดว่าธุรกิจนั้นถ้าโตเร็วหรือมีกำไรดีมาก สุดท้ายก็จะต้องมีคนเข้ามาแข่ง และถ้าบริษัทไม่มี DCA ก็อาจจะพ่ายแพ้และสุดท้ายแม้แต่กำไรเท่าเดิมก็อาจจะรักษาไว้ไม่ได้ และเท่าที่สังเกตเห็น หุ้นที่บัฟเฟตต์ลงทุนนั้นมักจะมีกำไรที่แน่นอนและมีการเติบโตบ้างเท่านั้น ผมไม่ค่อยเห็นบัฟเฟตต์ลงทุนในหุ้นที่โตเร็วมากเลย
.
สิ่งที่บัฟเฟตต์ได้จากหุ้นที่ไม่ได้โตเร็วมากก็คือ กำไรที่แน่นอนและปันผลที่เขาจะนำไปลงทุน อาจจะในธุรกิจเดิมถ้ามันยังทำผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นได้สูงเกิน 10% ขึ้นไป หรือไม่ก็นำปันผลที่เป็นเงินสดไปลงทุนในธุรกิจอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยวิธี “ทบต้น” ด้วยผลตอบแทนที่สูงกว่า 10% ต่อปีไปเรื่อย ๆ นี้เองที่ทำให้ความมั่งคั่งของบัฟเฟตต์สูงขึ้นเรื่อย ๆ ติดต่อกันถึง 60 ปี
.
นักลงทุนที่เน้นหุ้นที่โตเร็วแต่ไม่มีความสม่ำเสมอของกำไรและไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนนั้น ผมคิดว่าในบางช่วงโดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นบูมนั้น อาจจะทำกำไรได้ดีมาก แต่ในระยะยาวแล้ว โอกาสผิดพลาดก็อาจจะสูงและทำให้ขาดทุนหนัก โดยเฉลี่ยแล้ว ผลตอบแทนก็อาจจะต่ำกว่าการลงทุนแบบของ วอเร็น บัฟเฟตต์ ได้
.
ข้อสาม บริษัทจะต้องดำเนินการโดยผู้บริหารที่ซื่อสัตย์และมีความสามารถ แต่บัฟเฟตต์เองไม่ได้คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารไม่อยู่แล้วธุรกิจก็อาจจะมีปัญหาได้ เขาคิดว่าธุรกิจจะต้องดีโดยตัวของมันเองไม่ใช่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารคนใดคนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากพบว่าผู้บริหารโกงหรือมีการฉ้อฉลในบริษัท เขาก็คงไม่ลงทุนซื้อหุ้น สำหรับประเด็นเรื่องนี้นั้น ดูเหมือนว่าบัฟเฟตต์จะไม่มีเกณฑ์อะไรที่ชัดเจนว่าแบบไหนจึงจะเรียกว่า “ยอมรับไม่ได้” สิ่งที่เห็นก็คือ ถ้าเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเจ้าของบริษัทแล้วพบว่าผู้บริหาร “โกง” เขาก็มักจะ “บีบ” หรือปลดผู้บริหารรายนั้น
.
ข้อสุดท้ายสำหรับการเลือกซื้อหรือลงทุนในหุ้นก็คือ ราคาหุ้นต้องมีเหตุผลหรือยุติธรรม ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ ค่า PE ไม่ควรจะสูงเกินไป ในช่วงเร็ว ๆ นี้ดูเหมือนว่าค่า PE ที่บัฟเฟตต์จ่ายจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 20 เท่าเศษ ๆ ว่าที่จริงกฎข้อนี้ในอดีต บัฟเฟตต์ ใช้คำว่า “ราคาหุ้นต้องน่าสนใจมาก ๆ” นี่อาจจะเป็นเพราะว่าในระยะหลัง ๆ การหาหุ้นถูกที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายในการซื้อหรือเทคโอเวอร์นั้นยากมาก เขาจึงใช้คำว่าราคาต้องมีเหตุผลหรือไม่แพงแทนคำว่าราคาถูกหรือถูกมาก
.
ก่อนจะจบนั้น ผมอยากจะเสริมว่า ในกรณีที่เป็นการเทคโอเวอร์บริษัท สิ่งที่บัฟเฟตต์เน้นอีกข้อหนึ่งก็คือ เขาต้องการกิจการที่สามารถทำกำไรได้ดีวัดจากผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ต้องสูงพอและบริษัทควรจะไม่มีหนี้หรือมีหนี้น้อย ในกรณีของหุ้นจดทะเบียนในตลาดเองนั้น เขาอาจจะไม่ได้พูดย้ำหรือเน้น แต่ผมคิดว่าเกณฑ์หรือแนวความคิดก็คงคล้ายกัน อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ข้อนี้คงมีความยืดหยุ่นมากกว่าเรื่องอื่น
.
เกณฑ์ 4 ข้อของบัฟเฟตต์ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ดูแล้วก็ “ธรรมดาและง่ายมาก” แต่คนส่วนใหญ่หรือแม้แต่ “มืออาชีพ” เองก็ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ การถือหุ้นยาวแบบ “ไม่มีกำหนด” และไม่สนใจหรือไม่หวั่นไหวกับการขึ้นลงของราคาหุ้นและดัชนีตลาด ประเด็นก็คือ คนที่ใช้หลักการของบัฟเฟตต์นั้นมักจะมีเวลาที่กำหนด เช่น ต้องรายงานผลการลงทุนรายเดือนหรือรายปีหรือต้องการใช้เงินในเวลาที่กำหนด บางคนเมื่อลงทุนซื้อไปแล้วหุ้นไม่ขึ้นในระยะเวลาที่หวังก็เริ่มไม่แน่ใจว่าหลักการของบัฟเฟตต์ยังใช้ได้ไหมในช่วงเวลานี้ บางคนอาจจะเชื่อหลักการแต่คิดว่าตนเองวิเคราะห์ผิดหรือไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะบอกได้ว่าหุ้นหรือบริษัทนั้นเข้าเกณฑ์มีความได้เปรียบที่ยั่งยืนจริงไหม และสุดท้ายก็คือ คนจำนวนมากไม่แน่ใจเรื่องราคาหุ้นว่า PE เท่าไรจึงจะเรียกว่ายุติธรรมหรือมีเหตุผล ทั้งหมดนี้ทำให้คนจำนวนมากมักจะ “อ้าง” บัฟเฟตต์ แต่ไม่ปฏิบัติตาม เขารอไม่ได้หรือไม่อยากรอ และในเกมของการลงทุนนั้น คนรอไม่ได้ก็คือ “ผู้แพ้”
.
ที่มา : https://goo.gl/od3Rsz
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
cahttradingview
AAPL ชาร์ต โดย TradingView
-
นิทานการตลาด ตอนที่ 19 ทำไมต้องเลข 7 จะเป็นเลขอื่นได้หรือไม่ ? ถ้าสมมุติว่าจะเปลี่ยนชื่อร้านเป็น 8-24 แทนที่จะเป็น 7-11 จะสำเร็จได้หรือไม่...
-
นิทานการตลาด ตอนที่ 35 CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือเรียกว่า การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กั...
-
วิธีใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) ในการซื้อหุ้น เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average สามารถเรียนสั้นๆ ได้ว่า เส้น MA เป็นหนึ่งในเครื่องม...