แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นักลงทุน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นักลงทุน แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561

งบกำไรขาดทุนเข้าใจง๊ายง่าย

 หากพูดถึงงบการเงินหลายคนคงจะเบือนหน้าหนีเพราะคิดว่าตัวเองไม่ถนัดเรื่องตัวเลข แต่ถ้าลองคิดดูดีๆ ในการลงทุนเราใช้แค่ + - x ÷ เท่านั้นเองครับ ปัญหาจึงไม่ใช่เราไม่ถนัดเรื่องตัวเลขหรอก แต่เรายังเชื่อมโยงคำศัพท์ต่างๆของงบการเงินไม่ถูกต่างหาก แถมยังไม่รู้อีกว่าจุดไหนสำคัญ จุดไหนไม่สำคัญ ...
สุดท้ายอ่านจบก็ยังงงอยู่ดีว่ากำไรตรงนี้ต่างจากกำไรตรงนั้นยังไง?? คำศัพท์ต่างๆนั้นมีที่มาที่ไปยังไง สุดท้ายก็เลยไม่อ่านมันซะเลย งั้นบทความนี้จะยกตัวอย่างให้เข้าใจที่มาที่ไปของงบกำไรขาดทุนแบบง๊ายง่ายอย่างนี้
สมมุติบริษัท Apble ผลิตโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ uPhone ขายเครื่องละ 10,000 บาท ซึ่งปี 2560 ขายได้ทั้งหมด 1 ล้านเครื่องเท่ากับบริษัทนี้มีรายได้(Revenue) 10,000 ล้านบาท
อันดับแรก นำรายได้มาหักออกด้วย #ต้นทุนสินค้าหรือวัตถุดิบ เช่น แบตเตอรี่ จอภาพ กล้อง ฯลฯ สมมุติว่าต้นทุนทั้งหมด 4,000 ลบ. ส่วนที่เหลือ 6,000 ลบ.จะเรียกว่า กำไรขั้นต้น(Gross profit) แต่ถ้าต้องการนำไปเทียบกับบริษัทอื่นๆ จะต้องแปลงหน่วยเป็น % ซึ่งเรียกว่า อัตรากำไรขั้นต้น(Gross profit margin) แค่เอา (กำไรขั้นต้น x 100) หารรายได้ = 60%
อันดับที่สอง หลังจากเราได้กำไรขั้นต้นมาแล้ว ก็นำมาหัก #ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร  เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าโฆษณาทำการตลาดต่างๆ สมมุติส่วนนี้ 2,000 ลบ. ก็เอา 6,000-2,000 จะเหลือ 4,000 ลบ.จะเรียกว่า กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี(ebit) เช่นเดิมหากต้องการนำไปเทียบก็แปลงเป็น % แล้วเติมคำว่า margin ต่อท้ายก็จะได้ ebit margin แค่เอา (ebit x 100) หารรายได้ = 40%
อันดับสาม นำ ebit มาลบ ดอกเบี้ยและภาษี สมมุติส่วนนี้ 500 ลบ. ก็เอา 4,000-500 จะเหลือ 3,500 ลบ. ถึงจะเรียกว่า กำไรสุทธิ(Net profit) เช่นเดิมแปลงเป็น % แล้วเติมคำว่า margin จะเรียกว่า อัตรากำไรสุทธิ(Net  profit margin) แค่เอา (กำไรสุทธิ x 100) หารรายได้ = 35%
อันดับสี่ บริษัทจะนำกำไรสุทธิเก็บไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรองเพื่อหมุนทำธุรกิจต่อไปหรือเผื่อจะขยายธุรกิจในอนาคต แล้วค่อยแบ่งส่วนที่เหลือให้ผู้ถือหุ้นถึงจะเรียกว่า เงินปันผล(Dividend yield)
 ถ้าเราเข้าใจแบบนี้ก่อนอ่านงบได้ละก็ เราจะเรียงออกมาเป็นภาพได้เลยว่าค่าใช้จ่ายแต่ละจุดมีความสำคัญยังไง แล้วที่ผู้บริหารบอกว่าจะลดค่าใช้จ่ายส่วนนั้น เพิ่มรายได้ส่วนนี้ มันจะส่งผลกับงบการเงินส่วนไหนบ้าง เรียกว่าเดางบได้ล่วงหน้าเลยด้วยซ้ำ ^^
แต่ปัญหาที่เราเชื่อมโยงงบการเงินไม่ถูกนั้น เกิดจากเราเรียนแบบเดิมๆ ที่ใช้วิธีท่องจำมายังไงล่ะ ฉะนั้นถ้าอยากเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้จริงได้แบบนี้ล่ะก็คอร์ส แกะงบเจาะหุ้นร้อนฯ ที่ efin School กันได้นะครับ เพราะคอร์สนี้จะบอกสิ่งที่นักลงทุนอย่างเราต้องรู้ แต่ดันไม่เคยรู้ ไม่งั้นเราจะกลายเป็นทฤษฎีปึ้ก ปฏิบัติแป้กไม่รู้ด้วยล่ะ !!!

ดูคอร์สเรียนต่างๆของ efin School ได้ที่ https://goo.gl/zCuxqU

ขอบคุณความรู้ดีๆอ่านแล้วชอบเข้าใจง่ายดีครับ


วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เอาไว้อ่านเพื่อเตือนตัวเอง


บทความนี้ผมจะขอนำเอาแนวคิดสำคัญ 5 ข้อสำหรับการพัฒนาเพื่อเป็นเทรดเดอร์ที่ดี ซึ่งถูกถ่ายทอดไว้ในหนังสือ One Good Trade ของคุณ Mike Bellafiore  มาสรุปให้พวกเราได้ลองเรียนรู้กันครับ

1. เตรียมตัวให้พร้อม

Mike Bellafiore สอนให้มองว่าการเทรดนั้นเป็นงานไม่ใช่กิจกรรมอดิเรก (แม้คุณจะนั่งเทรดอยู่ในห้องนอนที่บ้านก็ตาม) ดังนั้นเทรดเดอร์ต้องจริงจัง เตรียมตัวให้พร้อมมากที่สุด ทั้งการหาข้อมูล การทำความเข้าใจแผนระบบเทรด เตรียมร่างกาย และจิตใจ เพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดในตลาด แน่นอนว่าจะมีสิ่งที่เราคาดไม่ถึง

นอกจากนั้นเทรดเดอร์ต้องเตรียมรับมือกับความผิดพลาด ความผิดหวังล้มเหลว เพราะนั้นคือส่วนหนึ่งของเกมส์ สิ่งสำคัญคือการรับมือกับมัน ใช้ประโยชน์เรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิด แล้วก้าวต่อไป

2. ทำงานหนัก

เทรดเดอร์เป็นงานที่มีผลตอบแทนสูง รายได้สูง แม้ไม่ต้องทำงานหนัก 100 ชั่วโมงต่อส้ปดาห์แบบบางอาชีพหรือไม่ต้องหักโหมทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อทำแต้มเอาใจเจ้านาย  แต่ในระยะแรกของการฝึกฝนเพื่อพัฒนาตัวเอง เทรดเดอร์มือใหม่ก็จำเป็นต้องทุ่มเท ทำงานหนักโดยเฉพาะเรื่องการศึกษาหาความรู้ เช่นการอ่านหนังสือ การติดตามข่าวสาร รวมไปถึงการฝึกฝนการวิเคราะห์พฤติกรรมข้อมูลราคาของสินค้า เพื่อให้เกิดทักษะ เกิดการสั่งสมความรู้ที่มากเพียงพอในการพัฒนาต่อยอดต่อไป

3. มีความอดทน

ตลาดหุ้นมีความผันผวนเสมอเป็นธรรมชาติ เทรดเดอร์ต้องเทรดบนราคาที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้ตลอดเวลา ดังนั้นคุณสมบติเรื่องความอดทนจำเป็นต้องมีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การเทรดที่ดี บางกรณีอาจจะอดทนเพื่อรอโอกาส รอจังหวะที่ดีที่คุ้มค่ากับการเสี่ยง ถ้าเทรดเดอร์มีความอดทนต่ำ รอไม่เป็นการรีบเข้าตามอารมณ์ ตามกระแส สุดท้ายก็ผิดพลาด

เช่นเดียวกันแม้มองทิศทางราคาถูก เปิดสถานะได้เข้าถูกทางได้กำไรแต่ถ้าอดทนรอไม่เป็น ใจไม่นิ่งแกว่งไปตามราคาที่ผันผวนระหว่างวัน สุดท้ายไม่เทรดตามแผน  รีบออก ถือสถานะได้ไม่นาน แบบนี้ก็เสียโอกาสและทำให้ไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

4. ต้องมีแผนการเทรด

การเทรดหรือการเก็งกำไร ไม่ใช่การเสี่ยงโชควัดดวงหรือซื้อขายไปตามอารมณ์ ไปตามข่าวลือ เทรดเดอร์มืออาชีพจะต้องมีแผนการเทรด มีการวางแผนการเทรดล่วงหน้าก่อนเข้าไปซื้อขายในตลาดเสมอ เพราะการพัฒนาระบบเทรด การสร้างแผนการเทรดขึ้นมาจะทำให้เรา รู้ว่าควรจะตัดสินใจรับมือกับพฤติกรรมราคาอย่างไร อย่างน้อยต้องรู้จุดเข้า/จุดออก และการประเมินความเสี่ยง เพื่อคำนวณขนาด position size ที่แน่นอนก่อนเข้าไปเทรด

แผนการเทรดจำเป็นเพราะเราอาจจะพบเจอกับสิ่งที่ไม่คาดคิด เจอเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าไม่มีแผน หรือปล่อยให้ทุกอย่างตัดสินใจไปตามอารมณ์ ความผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย และนำมาซึ่งการขาดทุนสูญเสียเงินหนัก

5. มีวินัย

เมื่อพัฒนาแผนการเทรด หรือระบบเทรดขึ้นมาแล้ว สิ่งสำคัญคือเทรดเดอร์ต้องมีวินัยในการบังคับตัวเองให้ตัดสินใจลงมือทำตามแผนให้ได้ แน่นอนว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆในข้ามคืน โดยเฉพาะมือใหม่ ประสบการณ์น้อย เนื่องจากราคาสินค้าที่เคลื่อนไหวไปมาแต่ละวัน บวกกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมีผลต่ออารมณ์ของเทรดเดอร์ อาจจะทำให้เกิดความโลภ ความกลัว การตัดสินใจไปตามอารมณ์เกิดขึ้นได้ง่าย

แม้กระทั่งเรื่องของการจดบันทึกผลการเทรด งานพิเศษที่เป็นกิจวัตรหลังตลาดปิดที่เทรดเดอร์ต้องทำเพื่อทบทวนการเทรดของตัวเอง สิ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของกระบวนการฝึกฝนที่ต้องทำต่อเนื่องทำทุกวันในระยะเวลายาว อาจจะไม่เห็นผลอันสั้น จึงทำให้น้อยคนที่จะสามารถมีวินัยบังคับตัวเองให้ทำต่อเนื่องจนสำเร็จได้

ดังนั้น คุณ  Mike Bellafiore จึงย้ำให้เห็นหลายครั้งว่า การเป็นเทรดเดอร์อาชีพจำเป็นต้องฝึกเรื่องของวินัย การบังคับให้ตัวเองลงมือทำตามแผนตามระบบเทรด เอาชนะจิตใจของตัวเรา

ทั้ง 5 ข้อนี้เป็นแนวทางการพัฒนาไปสู่การเป็นเทรดเดอร์อาชีพ ที่คุณ  Mike Bellafiore ถ่ายทอดเอาไว้ในหนังสือ ที่ผมนำมาฝากให้ได้เรียนรู้กัน แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนในหนังสือ One Good Trade ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับการเป็นเทรดเดอร์ใน prop trading desks รวมถึงกรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนยกเป็นเรื่องเล่าตอนย่อยๆ ทำให้เราสามารถใช้เป็นแนวทางการศึกษาพัฒนาตัวเองให้ไปสู่การเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบสำเร็จได้ ถ้าสนใจลองหาหนังสือมาอ่านกันนะครับ…
Cr: ลืมบันทึก

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561

กองทุนหรือกองโจร?

ลูบคมตลาดทุน:ธนะชัย ณ นคร

เคยเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2560 ด้วยการตั้งข้อสังเกตว่า นักลงทุนสถาบัน หรือกองทุนต่างๆ ทำตัวเสมือนเป็น “เจ้ามือ” อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

หุ้นหลายๆ ตัวที่ราคาขึ้นและลงหวือหวา หรือมีแรงเหวี่ยงค่อนข้างมาก

หุ้นเหล่านี้จะมีกองทุนเข้าไปถือหุ้นอยู่

เช่น EA-BEAUTY-COM7–MTLS และหุ้นอื่นๆ อีกหลายตัว

ที่น่าสนใจ คือ หุ้นที่กองทุนเข้ามาถือนั้น

พบว่าหลายๆ บริษัทมีค่าพี/อี เรโช ค่อนข้างสูงมาก หรือมีตั้งแต่กว่า 30 เท่า ไปถึงเกือบ 50 เท่า

และบางตัวก็มีพี/อีมากกว่านั้น

แม้จะมีการบอกว่าการลงทุนของกองทุนไม่ได้ดูเพียงแค่พี/อี

ทว่าจะให้ความสำคัญกับ PEG มากกว่า เพราะแม้พี/อีจะสูง (มาก) แต่แนวโน้มผลประกอบการยังเติบโตสูง และเป็นการลงทุนระยะยาว

ก่อนหน้านี้ เวลานักลงทุนรู้มาว่ากองทุนเข้าหุ้นตัวไหน ก็พยายามวิ่งเข้าไปซื้อ

ผ่านมาถึงตอนนี้ชักไม่แน่ใจเสียแล้วว่า หากวิ่งตามไปแล้วจะ “โดนเท” หรือไม่

และเป็นเรื่องที่นักลงทุนรายย่อยต่างต้องระมัดระวังและจับทิศทางกันเอง

เช่น หุ้น MTLS ราคาเคยขึ้นไปใกล้เต็มมูลค่า

วันดีคืนดีราคาร่วงลงมาอย่างหนัก

ต่อมามีผู้บริหารกองทุนออกมายอมรับว่าได้ขายหุ้นออกไป หลังจากมองว่าราคาเริ่มเต็มมูลค่า หรือเป็นการปรับพอร์ตตามปกติ

พร้อมกับพูดแบบหวานๆ ต่อมาว่าเมื่อราคาปรับลงมาก็อาจเข้าไปรับซื้ออีกครั้ง

แต่ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ราคาหุ้น MTLS ปรับลงมาตลอด (ภาย) หลังมีข่าวเกี่ยวกับนโยบายของทางการที่จะเข้ามาควบคุมเรื่องอัตราดอกเบี้ย

เช่นเดียวกับหุ้นพลังงานไฟฟ้าบางตัว

ราคาเหมือนกับถูกดันขึ้นไปค่อนข้างสูง แล้วจู่ๆ หุ้นได้ถูกกองทุนเทขายออกมา ด้วยเหตุผลเหมือนกันว่า “ปรับพอร์ต” หรือขายทำกำไรตามปกติ

และยังตามด้วยคำพูดสวยๆ ว่าหุ้นนั้นๆ พื้นฐานยังดี และมีโอกาสก็จะเข้าซื้อภายหลัง

ต่อมาหุ้นตัวนั้น ราคายังคงปรับลงมาด้วยหลายปัจจัยและหนึ่งในนั้นคือมาจากนโยบายการรับซื้อไฟของทางการที่จะเปลี่ยนแปลงไป

มีการตั้งคำถามว่ากองทุนที่ขายหุ้นออกมาก่อนนั้น พวกเขารับรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็น “ปัจจัยลบ” ก่อนหรือเปล่า

เรื่องนี้ตอบยากจริงๆ

เพราะหากมองแบบให้ยุติธรรมหน่อย ก็ต้องรับทราบกันว่า ทางกองทุนเขาจะมีทีมงานที่คอยดูปัจจัยบวกและลบอยู่ตลอดเวลา

อย่างเมื่อวานนี้ ตลาดหุ้นไทยที่ปรับลงหนักๆ ก็ดูเหมือนว่ากองทุนอาจจะพอรับรู้กันล่วงหน้าแล้วว่า ตลาดหุ้นจะปรับฐานหรือร่วงลงอย่างแรง จึงทยอยขายหุ้นปรับพอร์ตกันไปแล้วบ้าง

ประเด็นเรื่องนักลงทุนประเภทสถาบัน (กองทุน) กับนักลงทุนรายย่อย จึงเป็นเรื่องของการ “ชิงไหวชิงพริบ”

ทุกวันนี้รายย่อยเองก็เก่งมากขึ้น และทำการบ้านมาดีมาก เอาชนะได้ทั้งฟันด์โฟลว์และกองทุน

และหลายๆ ครั้ง กลยุทธ์ที่นำมาใช้ก็มักคล้ายๆ เทรดหุ้นแบบสงครามกองโจร

ปกติแล้ว การรบแบบสงครามกองโจร ฝ่ายที่นำมาใช้จะเป็นฝ่ายที่อ่อนแอกว่า หรือมีกำลังน้อยกว่า

แต่หากฝ่ายที่แข็งแรงกว่า นำการสู้รบแบบกองโจรมาใช้ ก็ (อาจ) ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร

เช่นเดียวกับกองทุนที่นำมาใช้ในเวลานี้

ตลาดหุ้นเป็นเรื่องของ Zero–Sum Game

มีผู้ชนะก็ต้องมีผู้แพ้

วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พื้นฐานหุ้นควรรู้

สายพื้นฐานสักหน่อยไหมจ๊ะ
Mcap (M) = มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด
P/E = อัตราส่วนราคาต่อกำไร ( Price / Earning per Share ) ยิ่งต่ำยิ่งดี
P/BV =อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (Price / Book Value) ยิ่งต่ำยิ่งดี
D/E =อัตราส่วนหนี้สิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt/Equity ) ยิ่งต่ำยิ่งดี
DPS =เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend Per Share) ยิ่งสูงยิ่งดี
EPS =กำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings Per Share) ยิ่งสูงยิ่งดี
ROA % =อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (Retrun On Assets) ยิ่งสูงยิ่งดี
ROE % =อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) ยิ่งสูงยิ่งดี
NPM % =อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ยิ่งสูงยิ่งดี
Yield% =อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ยิ่งสูงยิ่งดี
FFloat% =อัตราส่วนจำนวนหุ้นที่ซื้อขายในตลาด (Free Float%)
ROA= -47.21% ยิ่งสูงยิ่งดี อันนี้ติดลบถือว่าแย่นะ
ROE= -95.65% ยิ่งสูงยิ่งดี อันนี้ติดลบถือว่าแย่นะ
NPM= -24.31% ยิ่งสุงยิ่งดี อันนี้ติดลบถือว่าแย่นะ

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิธีใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average)

วิธีใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) ในการซื้อหุ้น

เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average สามารถเรียนสั้นๆ ได้ว่า เส้น MA เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางเทคนิคค่อนข้างเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักลงทุนเชิงเทคนิค ซึ่งสิ่งที่เราจะเห็นหลังจากเพิ่ม เส้นค่าเฉลี่ย ลงไปบนกราฟแล้วนั้นก็คือ เส้นที่เป็นค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยเราสามารถกำหนดได้ไม่ว่าจะเป็น 10 วัน, 20 นาที หรือ แล้วแต่จะกำหนด ซึ่งเส้น MA นั้นสามารถหยิบมาใช้ได้กับทุกช่วงเวลา และ เหมาะสำหรับทั้งนักลงทุนระยะยาว และ ระยะสั้น

ทำไมต้องใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) ?

เส้นค่าเฉลี่ย จะทำให้เรามองเห็นกราฟที่บางคร้ังอาจจะดูยึกยือ ดูค่อนข้างยาก ดูง่ายขึ้นดังภาพด้านล่าง เพราะเป็นการเฉลี่ยราคาตามระยะเวลาที่เราได้กำหนดไป เปรียบเสมือนการดูเทรนด์ว่าราคาจะไปในทางทิศทางไหน ขึ้น หรือ ลง

Moving Average ยังสามารถนำไปใช้เป็น เส้นแนวรับ (Support) และ เส้นแนวต้าน (Resistance) โดยใช้เส้น MA50 (ราคาหุ้นเฉลี่ย 50 วัน), MA100 (ราคาหุ้นเฉลี่ย 100 วัน) และ MA200 (ราคาหุ้นเฉลี่ย 200 วัน) ให้นึกภาพว่าเส้นแนวรับคือพื้น เส้นแนวต้านคือเพดาน และ ราคาหุ้นคือลูกบอล เมื่อ ลูกบอกตกลงไปแตะพื้นก็จะมีการเด้งกลับขึ้นข้างบน แต่หากเด้งสูงเกินไปก็จะชนเพดาน และ ตกลงมา ในกรณีด้านล่างเส้น MA นั้นได้ทำหน้าที่เป็นเส้นแนวรับดังนั้นสังเกตุที่ลูกศรเมื่อราคาแตะเส้นแนวรับก็จะมีการกลับตัว (Reversal)

ข้อควรระวังคือ ราคา ไม่ได้เป็นไปตามกฏ หรือ ตัวอย่างที่โชว์ให้ดูเสมอไป อาจจะไม่มีการกลับตัว หรือ ราคาอาจจะลงยังไม่ถึงเส้นแนวรับแต่เกิดการกลับตัวก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน

อธิบายโดยง่ายคือหากราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) หุ้นตัวนั้นจะจัดว่าอาจจะอยู่ในขาขึ้น แต่ถ้าหากราคาอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยนั้นแปลว่าราคาอาจจะอยู่ในขาลง เส้นค่าเฉลี่ยยังคงมีค่าที่ไม่เท่ากันดังนั้นการที่เราเอาเส้นค่าเฉลี่ยสองเส้นมาวางไว้ด้วยกัน อันนึงอาจจะโชว์ว่าอยู่ในสภาวะขาขึ้น อีกอันอาจจะบอกว่าอยู่ในสภาวะขาลง ก็เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

ประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Averages)

เส้นค่าเฉลี่ยสามารถคำนวณได้หลายวิธียกตัวอย่าง Simple Moving Average (SMA) 5 วัน เราสามารถคำนวณได้โดยการนำ ราคาหุ้น ที่ปิดของ 5 วันล่าสุด มาบวกกัน แล้วนำผลลัพธ์ไปหารด้วย 5 (จำนวนวัน)

เส้น Moving Average อีกแบบที่เป็นที่นิยมก็คือ Exponential Moving Average หรือ EMA โดยวิธีการคำนวณจะค่อนข้างยากกว่าแต่ถ้าสรุปโดยง่านนั้นคือเป็นราคาเฉลี่ยของเหมือน SMA แต่ว่าให้น้ำหนักกับราคาล่าสุดเยอะกว่าราคาในตอนต้นที่นำมาคำนวณในสูตร

หากเรานำเส้น SMA50 (Simple Moving Average 50 วัน) กับ EMA50 (Exponential Moving Average 50 วัน) มาวางไว้บนกราฟเดียวกันจะเห็นได้ชัดว่าเส้น EMA50 นั้นตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงในราคามากกว่าเพราะมีการให้น้ำหนักในราคาล่าสุดมากกว่านั้นเอง

การหาค่าเฉลี่ยนั้นสามารถใช้โปรแกรมกราฟต่างๆ โดยไม่ต้องมานั่งคิดเองนะครับ

มีคำถามว่าแล้วอย่างงี้เส้นแบบ Simple Moving Average กับ Exponential Moving Average แบบไหนดีกว่ากัน ต้องขอตอบว่าไม่มีอย่างใดอย่างนึงที่ดีกว่ากันในบางครั้งเส้น EMA อาจจะทำงานได้ดี แต่บางช่วงเวลา SMA กลับมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า และ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการใช้เครื่องมือนี้ก็คือระยะเวลาที่เราจะกำหนดให้กับมัน

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับตั้ง เส้นค่าเฉลี่ย

ค่าที่เป็นที่นิยมในการใช้ตั้งเส้น MA น้ันมีอยู่ประมาณนี้ครับ 10, 20, 50, 100 และ 200 โดยระยะเวลาความยาวเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้กับกราฟทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแบบ นาที วัน หรือ อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละบุคคล

ช่วงเวลาที่เราเลือกมาใช้เป็นเหมือนการมองย้อนกลับไปว่าราคาในอดีตนั้นเป็นยังไง ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ยที่มีระยะสั้นก็จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในราคามากกว่าระยะยาว ในภาพด้านล่างเราจะเป็นเส้น MA(20) วิ่งไปตามราคา ไม่เหมือนกับเส้น MA(100)

ในมุมมองภาพรวมเส้นแบบช่วงเวลา 20 วันอาจจะมีประโยชน์กับ นักลงทุนระยะสั้น ดังนั้นคุณสามารถตั้งค่า MA ได้ตามที่ต้องการไม่ว่าจะเป็น 15, 28, 89 เพื่อค้นหาช่วงเวลาที่แม่นยำในการจับสัญญาณในอนาคต

เทคนิคการเล่นหุ้นด้วย Crossovers

Crossovers หรือ จุดตัด เป็นหนึ่งในเทคนิคที่เป็นที่นิยมใช้กับ Moving Average ในแบบแรกคือ Price Crossover หรือ จุดตัดกับราคา อย่างที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้คือเมื่อราคามีการแตะเส้นหรือผ่านเส้นค่าเฉลี่ยอาจจะแสดงว่าเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์

อีกเทคนิคนึงคือนำเส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นมาวางไว้บนกราฟเดียวกันโดยเส้นนึงเป็นแบบระยะสั้นและอีกเส้นเป็นแบบระยะยาว เมื่อเส้น MA (ระยะสั้น) ตัดเหนือเส้น MA (ระยะยาว) นั้นคือสัญญาณซื้อ เพราะหุ้นตัวนั้นอาจจะกำลังเป็นขาขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “Golden Cross”

เมื่อเส้น MA (ระยะสั้น) ตัดต่ำกว่า เส้น MA (ระยะยาว) นั้นคือสัญญาณขายเพราะหุ้นอาจจะกำลังอยู่ในขาลง การตัดกันแบบนี้เรียกว่า “Dead/Death Cross”

ข้อเสียของ เส้นค่าเฉลี่ย

เส้นค่าเฉลี่ยนั้นถูกคำนวณโดยใช้ราคาในอดีตที่ผ่านมา โดยไม่ได้มีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วยเลยดังนั้นในบางทีผลของการใช้งานเส้นค่าเฉลี่ยจึงไม่ค่อยเป็นไปตามที่นักลงทุนหลายๆ ต้องการ แต่ก็มีบ่อยคร้ังที่ราคาหุ้นค่อนข้างจะเป็นไปตามกฏ และ หลักการแนวรับ แนวต้านของเส้นค่าเฉลี่ย

ปัญหาใหญ่เลยอาจจะเป็นในขณะที่ราคาอยู่ในช่วงสวิงขึ้นลงทำให้เกิด สัญญาณในการกลับตัวค่อนข้างบ่อย ดังนั้นคุณจึงควรที่จะเรียนรู้ Indicatorอื่นๆ เพื่อใช้ในการช่วยตัดสินใจ เช่นเดียวกันกับ Crossovers ซึ่งสามารถเกิดสัญญาณหลอกได้

เส้นค่าเฉลี่ยค่อนข้างใช้ได้ผลในขณะที่เทรนด์แสดงออกว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลงอย่างชัดเจน แต่จะใช้ไม่ค่อยได้กับช่วงที่ราคาค่อนข้างสวิง

บทสรุป

เส้นค่าเฉลี่ย Moving Average นั้นเป็นการทำให้เส้นราคานั้นดูง่ายขึ้น เพื่อที่จะคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคต เส้น EMA (Exponential Moving Averages) จะตอบสนองกับราคามากกว่าเส้น SMA (Simple Moving Average) ในบางกรณีเป็นสัญญาณที่ดีแต่ในบางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณหลอกได้เช่นกัน เส้นค่าเฉลี่ยที่มีระยะเวลาสั้นกว่ายกตัวอย่าง 20 วันจะมีผลกระทบมากกว่าเส้น 200 วันเมื่อราคาเปลี่ยนแปลง และ ยังทำหน้าที่เป็นเส้นแนวรับ และ แนวต้าน ส่วน Moving Average Crossovers จึงเป็นเทคนิคที่ใช้กันในการหาสัญญาณในการเข้าซื้อ หรือ ขายหุ้น โดยทั้งหมดอาจจะดูว่าหากใช้เครื่องมือนี้ราคาอาจจะเป็นที่คาดการณ์ได้ แต่ต้องอย่าลืมว่าเส้น MA นั้นไม่ว่าจะยังไงก็ตามยังคงถูกคำนวณโดยใช้แค่ราคาในอดีตมาเป็นปัจจัยเท่านั้น........cr: ก๊อบเค้ามาอีกที

หลักการอ่านค่า macd

หลักการอ่านค่า MACD
ข้อดีของ macd มีประโยชน์ต่อนักลงทุน โดยเป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการยืนยัน แนวโน้ม และทิศทางของราคาหุ้น ว่าจะไปทางทิศไหน ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ทำให้สามารถ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น กับการซื้อขาย
ข้อเสียของ macd บางครั้งวิ่งขึ้นลงแรง จะทำให้เกิดสัญญาณบ่อยครั้งเกินไป ก่อนที่จะแสดงทิศทาง ที่ชัดเจนให้เห็น เพราะ macd มีการตั้งค่าช้ากว่า indicator ตัวอื่นๆลักการมองง่ายๆเพื่อประกอบการตัดสินใจมีดังต่อไปนี้
1) ถ้า macd > 0 = เป็นแนวโน้มขาขึ้น
2) ถ้า macd < 0 =
เป็นแนวโน้มขาลง
3) ถ้า macd > 0 & ตัดเส้น signal ลง = ราคาอาจเกิดการพักฐาน
4) ถ้า macd < 0 ตัดเส้น signal ขึ้น = ราคากำลังขึ้น
5) ถ้า macd > 0 & ตัดเส้น signal ขึ้น = ราคาขึ้นแน่นอน
6) ถ้า macd < 0 & ตัดเส้น signal ลง = ราคาลงแน่นอน
7) ถ้า macd ตัด 0 ขึ้นไป เป็นสัญญาณซื้อ แน่นอน
8) ถ้า macd ตัด 0 ลงไป เป็นสัญญาณขาย แน่นอน
เส้น 0 = เส้น V Line
ทั้งหมดนี้ จะเป็นข้อมูลชี้แนะ ให้กับ เทรดเดอร์มือใหม่ แต่จะเป็นการ รบกวนก้านสมอง ของเทรดเดอร์มือเก่า หากเป็นการรบกวนเวลาของเทรดเดอร์มือเก่าต้องกราบขออภัยไว้ณที่นี้ ขอให้เพื่อนๆทุกคนโชคดีร่ำรวยจากการเทรดทุกวันนะครับ ผม 5555++++

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประเมินราคาพื้นฐานของหุ้น

วิธีเบสิคเลย คือ ใช้สูตร Price = PE x Eps/y เทียบปัจจุบันและอนาคตที่จะถึง

เช่น ในรูปคือ HMPRO
EPS ณ วันประกาศกำไร 9 เดือน คือ 0.26
สรุปคือ เฉลี่ยไตรมาศ ละ 0.086

ถ้าเรามองว่า HMPRO ยังค้าขายดีสม่ำเสมอเหมือน 9 เดือนที่ผ่านมา
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.086) x 35.97 = 12.23

แต่ถ้าคุณมองว่า HMPRO 3 เดือนที่เหลือ ขายดีขึ้นอีก ก็ปรับเอง เช่น
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.100) x 35.97 = 12.90

หรือจะเอา PE ค่าอื่นๆ โดยอ้างธุรกิจค้าปลีกแบบเดียวกันมาใช้ก็ได้ เช่น
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.100) x 40 = 14.32

ทั้งนี้มีปัจจัยอีกเยอะ เพราะพฤติกรรมและข้อมูลการเลือกซื้อหุ้นแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับว่าคุณประเมินกำไรไว้ยังไง กำไรจะมาเมื่อไหร่ จะซื้อรอเลยมั๊ย หรือ รอให้ดูเป็นไปได้มากกว่านี้แล้วค่อยซื้อ เป็นต้น

เครดิต Smith Ung

วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิธีดูหุ้นปั่น

โดย อ.โจ ลูกอีสาน

"หุ้นปั่นในนิยามของผม มี 2 จำพวก

- หุ้นพื้นฐานแย่มากๆ แล้วปั่น
- หุ้นพื้นฐานดี หรือพอมีพื้นฐานบ้าง ปั่นจนราคาแพงเว่อร์ เป็นการปั่นแบบเนียนๆ

ลักษณะร่วมของหุ้นปั่นมีหลายอย่าง
หุ้นบางตัว อาจเป็นหุ้นที่ดีก็ได้ ถึงแม้ตรงกับหุ้นปั่นบางประการ แต่ถ้ามีลักษณะร่วม ตรงกันหลายอย่าง โปรดระวัง

หุ้นปั่นมักเป็นอย่างไร

1. ประตูหน้ามีไม่เข้า ชอบเข้าประตูหลัง หน้าบ้านมี ชอบมุดเข้าประตูหลัง ไม่ปกติ หุ้นที่เข้าตลาดโดยการ backdoor listing ความเข้มงวดของกฎเกณฑ์อาจน้อยกว่า เข้าประตูหลัง ไม่เสียงดัง ไม่เอิกเกริก แต่ถ้าของดี ทำไมต้องทำลับลมคมใน ทำไมไม่เข้ามาอย่างสง่าผ่าเผย หุ้นของใคร ที่เข้าประตูหลัง อาจจะไม่ทุกตัว แต่ควรสงสัย

2. โปรดลืมฉัน

หุ้นบางตัว อยากให้นักลงทุนลืมๆ ชื่อเสียง (เน่าๆ) ในอดีต ทำอย่างไร วิธีที่นิยมคือเปลี่ยนชื่อบริษัท หุ้นบางตัว อยู่ๆโผล่ๆ ขึ้นมา ทั้งที่ไม่เคยมีการขาย ipo มันมาจากการเปลี่ยนชื่อ หวังว่าเปลี่ยนชื่อแล้ว จะเป็นสิริมงคล เป็นจุดเปลี่ยนของบริษัท ล้างเรื่องเน่าๆ ในอดีตให้ผ่านไป มันก็แค่ "เหล้าเก่าในขวดใหญ่" นิสัยกมล...ของผู้บริหาร มันไม่ได้เปลี่ยนตามชื่อบริษัท ลองดูหุ้นที่ถือ ถ้าเปลี่ยนชื่อแล้ว ชื่ออีก จนขุดหารากเหง้าไม่เจอ ท่านต้องระวังตัวแล้ว

3. หากำไรไม่เจอ

หรือมีก็บางๆ ก็ความมั่งคั่งหลักของผู้บริหาร ไม่ได้มาจากเงินปันผล แต่มาจากการหากินกับราคาหุ้น กับ"การดูด" ความมั่งคั่งจากบริษัท ผ่านรายจ่ายที่ถูกกฏหมาย เช่นเงินเดือน รถประจำตัวแหน่ง ค่าตอบแทนต่างๆ กับผลประโยชน์ที่ตกลงกับบุคคลที่ 3 ผ่านการซื้อสินค้าหรือบริการ ราคาแพงกว่าปกติ ส่วนที่จ่ายเกิน ก็ทอนกับมาสู่ผู้บริหารหรือเครือญาติ บริษัทเหล่านี้มีแต่ขาดทุนซ้ำซาก เพราะผู้บริหารร่วมใจกัน "ดูด" นั่นเอง หรือบางครั้งก็เลี้ยงให้บริษัทมีกำไรขาดทุนบางๆ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นด่ามาก แล้วเอาเวลามาหากินกับส่วนต่างราคาหุ้น เป็นพักๆ ท่านเห็นไหมบริษัทอย่างนี้ มีกี่บริษัทในตลาดหุ้นไทย

4. เพิ่มทุนเป็นนิจ

ต่อจากข้อที่แล้ว ในเมื่อกิจการขาดทุนเสมอๆ จากการดูดเงินของผู้บริหาร เมื่อผ่านไปนานเข้า เงินหมดบริษัท ส่วนทุนใกล้ติดลบ อาจโดนตลาดแขวน sp ย้ายเข้ากลุ่ม rehap ต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว นั่นคือการเพิ่มทุน จะเอาเงินจากใครดี ควักกระเป๋าเอง หรือดูดเงินจากรายย่อย แน่นอนต้องเป็นอย่างหลัง (บางบริษัทมีเงื่อนใขให้รายย่อยซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินสิทธิ์ได้ พอเม่าคนไหนใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นเกินสิทธิ์ ผลออกมา ได้ครบทุกคนเลย แต่ผู้บริหารไม่ซื้อสักหุ้น โอละพ่อ.. ก็วัตถุประสงค์คือดูดเงินจากรายย่อย นี่นา

5. ปั่นหุ้น ต้องมีสตอรี่

ต่อเนื่องจากการเพิ่มทุน ก็ถ้าไม่มีสตอรี่ ที่ตื่นเต้น ใคร้..จะยอมเพิ่มทุน คราวนี้ก็โหมประโคมข่าวตามหนังสือพิมพ์ โปรเจคโน้นนี้ เราจะทำพลังงานทดแทน เราจะหันไปทำธุรกิจใหม่ ยอดขายเราจะโตปีละ 50% บลาาๆ รายย่อยพอให้ฟังเรื่องราวน่าตื่นเต้น บวกกับการชงข่าว ออกข่าวของผู้บริหาร เกิดอาการอิน ความโลภเริ่มทำงาน สติเริ่มหาย โลกสดใสเหลือเกิน จัดไปเพิ่มทุน แถมซื้อเกินสิทธ์

6. ฝนตกขี้หมูไหล คน...มาพบกัน

สังเกตไหม หุ้นปั่นมักจะมีชื่อ นามสกุล ซ้ำๆไปมาไม่กี่ตระกูล ไม่กี่คน โยงใยกันไหมหมด ชาติที่แล้วอาจมีกรรมอะไรกัน ชาตินี้เลยต้องมาพบกัน (เพื่อปั่นหุ้น) หุ้นบางตัว รายชื่อผู้ถือหุ้นจะซ้ำๆ กับหุ้นอีกตัว หรืออีกหลายตัว เป็นไปได้ไหมว่า คนเหล่านี้ อาโนเนะ ไร้เดียงสา ไม่รู้จักกันจริ๊งๆ เราพบกันโดยบังเอิญ หรือที่จริงเป็นการสบคบคิด รวมหัว เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง แล้วแบ่งผลประโยชน์กัน เคยเห็นไหม หุ้นบางตัวเพิ่มทุน ได้เงินทุน แทนที่จะนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ กลับเอาไปซื้อหุ้นอีกตัวที่ราคาแพงๆ (แล้วไอ้โม่งที่ขายหุ้นให้คือใคร) หุ้นบางตัว swap หุ้นวุ่นวายกันไปหมด แต่สุดท้ายพวกเดียวกันทั้งน้านนนน

7. หุ้นดี ดันไม่มีเจ้าของ

บ้าหรือเปล่า บอกว่าหุ้นตัวเองดีนักหนา แต่ไปดูรายชื่อผู้ถือหุ้น ถือกันคนละไม่เกิน 5% ไหนบอกดีหนักหนา ทำไมไม่ถือหุ้น 50% ก็วัตถุประสงค์การถือหุ้นไม่ใช่ รอรับปันผล หรือส่วนแบ่งกำไร แต่คือการดูดและเอาส่วนต่างราคา ทำไมจะต้องไปถือหุ้นเยอะๆ ล่ะ ถือแค่ให้พอรวบอำนาจการบริหารก็พอ หุ้นปั่นแทบทุกตัวจะเป็นอย่างนี้ แต่หุ้นบางตัวถือกันคนละไม่เยอะจริง แต่ส่วนใหญ่ดันเป็น nominee คนกันเองทั้งนั้น อย่างนี้อาจไม่เข้าข่าย

8. ลูกรักของ กลต. ตลท.

เมื่อทางการเริ่มได้กลิ่นไม่ดี สิ่งแรกที่ทำคือให้บริษัทชี้แจง ซึ่งบริษัทก็จะตะแบงไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็แถจนผ่านละ เพราะที่ปรึกษาทางการเงินก็เตรียมข้อมูลมาแล้ว (รับเงินมาแล้วนี่) ตอนผ่านวาระประชุม ก็สบายเพราะผู้บริหารถือสัก 20% ก็ผ่านแล้ว รายย่อยที่มีเป็นหมื่นเป็นพัน แต่ไม่มีพลัง เพราะส่วนใหญ่ไม่ไปประชุมผู้ถือหุ้น ไม่รู้จักการพิทักษ์สิทธ์ตัวเองด้วยซ้ำ ทางการก็พยายามเตือนเท่าที่จะทำได้ บอกให้ไปประชุมผ่านวาระสำคัญ ใส่เทรดดิ้ง alert ใส่ turnover list ยังเอาไม่อยู่

9. ไม่ครบองค์ประชุม

ในเมื่อเป็นบริษัทไม่มีเจ้าของ ถือหุ้นเป็นเบี้ยหัวแตก รวมกันได้แค่ 20-30% พอนัดประชุมก็มัก "ไม่ครบองค์ประชุม" ต้องนัดใหม่ ซึ่งครั้งที่ 2 มักจะประชุมได้ เพราะใช้คนละเกณฑ์ วาระไหนที่น่าสงสัย ก็มักจะผ่านในการประชุมครั้งที่ 2 นี่เอง หุ้นตัวไหนที่ไม่ครบองค์ประชุม ต้องระวัง

10. ราคาที่หวือหวา

เป็นหุ้นปั่น ราคาต้องหวือหวา เพราะนี่คือเชื้อไฟอย่างดีเพื่อล่อ "แมงเม่า" ให้มาติดกับ ไฟหน้าจอหุ้นปั่นจะกระพริบตลอดเวลา เปรียบเสมือนไฟจากกองไฟที่ล่อแมงเม่า เม่าหลายคนแม้รู้ทั้งรู้ว่าเป็นหุ้นปั่น แต่ overconfidence bias มักคิดว่าตัวเองเจ๋งจะ "หนีทัน" ดันลืมไปว่า ถ้าจ้าวมือไม่เก่งจริง โดนเม่ากิน จะเป็นจ้าวมือได้อย่างไร ราคาหุ้นที่ขึ้นพร้อมบิดหนาๆ อย่าเพิ่งชะล่าใจว่ามีคนจะซื้อเยอะ เผลอเมื่อไหร่บิดหายทันที พร้อมกันห้าช่อง เหลือแต่บิดรายย่อย แล้วโยนโครมซ้าย ยัดหุ้นใส่มือเม่า offer ที่หนาๆ โดนเคาะ อย่าคิดว่าแรงซื้อจริง อาจเป็นของจ้าวมือหรือเครือขายซื้อหุ้นตัวเอง เพื่อทำเสมือนมีคนสนใจซื้อหุ้นเยอะ ในหุ้นปั่น อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น

11. เราจะ turnaround

เราเปลี่ยนชื่อบริษัท เราเปลี่ยนกรรมการ เราจะเปลี่ยนธุรกิจ เราจะเทินอราวด์ ถ้าธุรกิจมันเปลี่ยนกันง่ายๆก็ดีซิ หุ้นหลายตัวเอาให้ได้โครงการไว้ก่อน (ไว้หลอกนักลงทุนให้เพิ่มทุน) พอทำจริงๆ ขาดทุนบักโกรก จำบริษัททำป้ายโฆษณารถเมย์ได้ไหม เป็นตัวอย่างสูตรสำเร็จของการปั่นหุ้น สตอรี่เทินอราวด์ เอาไว้หลอกวีไอที่ฟังก็ชักเคลิ้ม

12. ขุดผีจากหลุม

บางครั้งลงทุนแม้กระทั่งขุดผีจากหลุม วิธีการก็ไปซื้อบริษัทเน่าๆที่อยู่ใน rehap นำมาปัดฝุ่น ใส่ธุรกิจใหม่ที่ดาดๆ พอผลประกอบการผ่านเกณฑ์ ก็ออกจากหลุม ปั่นราคาขึ้นไปเยอะ นัยว่าธุรกิจพื้นตัวแข็งแกร่งแล้ว ระหว่างก็รินขายตลอด จำบริษัท ภาพทางขวางของเอเชีย ได้ไหม นี่ก็เห็นบริษัทก่อสร้างอีก บริษัที่ผู้บริหารโดนคดียักยอก สุดท้ายต้องตัดขายหุ้นให้พวกขุดผี น่าแปลกว่าคนที่ไปขุดผี ดันเป็นกลุ่มเดิมๆ อีกแล้ว บังเอิญจริง ๆๆ

13. พื้นฐานวันนี้ ราคาชาติหน้า

เป็นหุ้นที่พอจะมีพื้นฐานบ้าง เป็นหุ้นที่อาจจะ turnaround ได้จริง จากขาดทุนซ้ำซาก มีกำไรนิดหน่อย แต่ราคาหุ้นโดนกระชากไป สะท้อนกำไรหลายๆปีข้างหน้าแล้ว หุ้นโรงไฟฟ้าเอย หุ้นลม หุ้นอาทิตย์

14. หุ้นปั่น วีไอ

บริษัทมีโปรเจคมากมาย เป็นโปรเจคจริง แต่ใช้เงินเยอะจังเลย จะหาเงินจากไหนดี เอ่อ...ได้ข่าวนักลงทุนวีไอรวยกันนักใช่ไหม เอางี้ ไปติดต่อให้มา company visit บริษัทเราเดี่ยวนี้ !! ให้ตัวเลขกำไรไปเลย อีก 5 ปีข้างหน้า เราจะกำไรเท่าไหร่ อัดแต่ข่าวดีๆ เอาให้เว่อร์ ๆหน่อย วีไอชอบ พอวีไอไล่ซื้อ ราคาดี เราก็ทยอยเพิ่มทุนไปเรื่อยๆ อย่าให้มาก เดี๋ยวแตกตื่น เท่านี้เราก็ได้เงินทุนมาใช้ เสียสัดส่วนหุ้นไม่เท่าไหร่ คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม (พอเพิ่มทุนเสร็จ ก็ไม่ต้องให้ข่าวดีแล้วนะ)

15. หุ้นปั่นไอพีโอ

หุ้นเก่าเป็นสนิม หุ้นใหม่หน้าตาจุ๋มจิ่ม นักลงทุนชอบของใหม่ บิ้วให้เยอะๆ ออกสื่อ road show ขายหุ้นให้แพงที่สุดเพื่อผลประโยชน์ของเจ้าของเดิม (ถ้าขายได้ถูกๆ ก็ไม่ต้องเข้าตลาดดีกว่า) หุ้นเก่าๆ พีอี 10 เท่าแพง หุ้นใหม่ๆพีอี 30 เท่าบอกถูก ยังไม่พอ เทรดวันแรกบิ้วไปเลย ข่าวดีอัดเข้าไป ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ให้ข่าวเยอะๆ ยังขึ้นได้อีก ทีอีตันยังขึ้นเยอะได้เลย นี่กองทุนมาร์คก็เข้ามาซื้ออีก บิ้วไป ขายไอพีโอว่าแพงแล้ว เข้าตลาดยังแพงได้อีกกกก นักลงทุนไทย สุดยอด (ดอยอีกแล้ว  )..

16. ปันผลไม่เคยเห็น

จะเห็นได้ไง มีแต่การดูดเงิน (เพิ่มทุน) ไม่มีหน้าที่แจกเงิน (ปันผล) ส่วนใหญ่ขาดทุนซ้ำซาก ปันผลไม่ได้อยู่แล้ว แต่บางตัวมีกำไร ทำไมไม่จ่าย ก็จะแจกเงินให้รายย่อยทำไมล่ะ เราเข้ามาดูดเงินอย่างเดียว เงินอยู่ในบริษัท เดี๋ยวเราก็ดูดออกได้ แบ่งให้รายย่อยทำไม บางบริษัทต้องตุนเงินสดไว้ทำธุรกิจ ปันผลไม่ได้ เพราะแบงค์รู้ทัน ไม่ยอมปล่อยกู้ บริษัทปั่นหุ้น

17. อ๊อฟเดส์ไม่เคยโผล่

จะโผล่มาได้ไง มีแต่แผลทั้งนั้น มาให้นักลงทุนลากใส้หรือ วัวสันหลังหวะ คนทำผิด ย่อมไม่กล้าสู้หน้าคน กลัวโดนซักมาก เดี๋ยวจับได้ไล่ทัน ผิดกับทองแท้ ย่อมไม่กลัวไฟ มีหุ้นปั่นตัวไหน กล้ามาอ๊อฟเดส์บ้าง มีแต่ชอบออกหนังสือพิมพ์ปั่นหุ้น

18. สำเร็จกิจ ถีบหัวส่ง

การเพิ่มทุนเป็นเป็นกระบวนการที่สำคัญมากๆ ของการปั่นหุ้น เป็นการ "ดูดเงิน" ที่ถูกกฎหมาย อยู่ๆ จะเพิ่มทุน ใคร้รรจะมาซื้อหุ้น วิธีที่ได้ผลและทุกบริษัททำคือ ทำราคา+อัดสตอรี่ จ้างสปอนเซอร์มาทำราคา กระชากขึ้นไป พอราคาขึ้น ก็ถึงตาของผู้บริหารให้ข่าว สอดรับเป็นปี่เป็นขลุ่ย เราจะทำโปรเจคโน้นนี้ (ใช้เงินทั้งนั้นแหละ) ราคาที่ขึ้นไปเรื่อยๆ บวกสตอรี่ที่สดใส ฟ้าสีทอง ผ่องอำไพอยู่เบื้องหน้า ถึงจุดไครแม็ก ประกาศเพิ่มทุน (จะเอาไปทำโปรเจคที่ว่าไว้) เพิ่มทุนที่ราคาดอย = ดูดเงินได้สูงสุด พอเพิ่มทุนสำเร็จกิจ ก็แยกทาง ตัวใครตัวมัน สปอนเซอร์หมดหน้าที่ ราคาหุ้นจะค่อยๆไหลลง แม้แต่บริษัทที่พอมีพื้นฐานบ้างก็ทำอย่างนี้ ยังจำกลุ่มสื่อที่หันไปทำธุรกิจดิจิตอลได้ไหม pattern เหมือนที่เล่าเป๊ะๆหรือเปล่า

ใช้คำพูดแรงไปนิด พาดพิงใคร หรือหุ้นใครไปบ้างก็อภัยนะครับ จิ้งจกทักยังฟัง ก็ฟังผมบ่นบ้างละกัน แต่อยากย้ำนะครับ ไม่ใช่หุ้นทุกตัวที่มีคุณสมบัติเหล่านี้แล้วจะเป็นหุ้นปั่น

cr. โจ้ ลูกอีสาน

วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ติดดอยหาทางลงอย่างไรดี

😁ติดดอย หาทางลงอย่างไรดี😁

ดอยในการลงทุนนั้น มีหลายดอยคะ ไม่ว่าจะเป็นดอยหุ้น ดอยน้ำมัน ดอยทองคำ หรือแม้แต่ดอยหุ้น

ต่างประเทศ เรียกได้ว่าทุกสินทรัพย์ที่มีการซื้อขาย สามารถสร้างดอยได้ทั้งหมด เขาว่า ทองดีก็ซื้อ

บ้าง หุ้นตัวไหนแรงก็ตามไปด้วย พอมารู้ตัวอีกทีก็อยู่บนดอยเสียแล้ว ถึงแม้จะมีเพื่อนร่วมอาศัยบน

ดอยมากมาย ไม่ว่าจะอาศัยกันอยู่แถบเชิงดอย หรือยอดดอย ก็ไม่เคยทำให้เรารู้สึกอบอุ่นแต่อย่างใด

จริงไหมคะ เช่นนั้นแล้ว วันนี้ เรามาหาทางลงดอยกันดีกว่าคะ

ขั้นตอนแรกก่อนการลงดอย เรามาตั้งสติ พิจารณาดูกันอีกทีว่า สินทรัพย์ที่ดอยอยู่นั้น ยังมีอนาคตและสมควรเก็บไว้ในครอบครองหรือไม่ เช่น กรณีของดอยหุ้น หากพบว่ายังเป็นหุ้นที่ดี มีอนาคต โดยราคาที่ลดลงน่าจะเกิดจากความผันผวนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หรือเราอาจมองได้ว่า ราคาหุ้นตอนนี้เป็นเพียงดอยชั่วคราวเท่านั้น เช่นนี้ ให้ทำใจร่ม ๆ แล้วอดทนถือต่อไป ยิ่งถ้ามั่นใจในพื้นฐานหุ้นมาก ๆ รวมทั้งมั่นใจว่า ราคาหุ้นจะกลับมาในอนาคต การตัดสินใจซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนก็ไม่ว่ากันคะ

แต่ถ้าดูแล้วพบว่าเป็นเพียงหุ้นที่ “เคย” ดีก็ตัดใจเสียเถิดคะ อย่าลืมว่า พื้นฐานหุ้นมันเปลี่ยนไปได้ ไม่ว่าจะด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หรือการมีสินค้าอื่นทดแทน ซึ่งย่อมทำให้กำไรที่เคยได้เป็นกอบเป็นกำ กลับลดลงจนน่าใจหาย ซึ่งหากเจอกรณีเช่นนี้ นับว่ามีโอกาสของความเป็นดอยถาวรเสียแล้ว กรณีนี้ ให้สูดหายใจลึก ๆ แล้วเตรียมลงดอยกันเลยครับ

✔วิธีที่ 1 เนื้อร้ายต้องตัดทิ้ง (Cut Loss) เมื่อพื้นฐานมันเปลี่ยนไปแล้ว แถมแนวโน้มราคา มีแต่จะปักหัวดิ่งลง ยิ่งช้ำใจกว่านั้นเมื่อเห็นราคาหุ้นตัวอื่นวิ่งขึ้นทั้งตลาด ในสถานการณ์เช่นนี้ ตัดใจขายเอาเงินไปซื้อหุ้นตัวอื่นเพื่อมาสร้างกำไร ชดเชยขาดทุนดีกว่าครับ จริง ๆ แล้ว การ Cut Loss นั้น เป็นหนึ่งในหลักการพื้นฐานของนักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนสายเทคนิค ที่มักจะกำหนดลิมิตของการขาดทุนไว้ เช่น หากราคาหุ้น ลดลงไปจากราคาที่ซื้อไว้ 20% ต้องทำการ Cut Loss ทันที เพื่อจำกัดการขาดทุนนั่นเองคะ

✔วิธีที่ 2 ลดอาการบาดเจ็บด้วยการซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อลดราคาต้นทุนให้ต่ำลง โดยวิธีการนี้ต้องดูแนวโน้มราคาหุ้นประกอบการตัดสินใจด้วยครับ เพราะการซื้อถัวควรทำในแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น

ซื้อหุ้น A ราคาหุ้นละ 1 บาท จำนวน 1,000 หุ้น ต้นทุน 1,000 บาท

ต่อมา หุ้น A ราคาหุ้นละ 0.65 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.65*1,000 = 650 บาท ขาดทุน 350 บาท

คาดการณ์ว่า 0.65 บาท เป็นราคาต่ำสุดของหุ้น A แล้ว ตัดสินใจซื้อหุ้น A เพิ่ม 1,000 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 0.65 บาท ทำให้ต้นทุนหุ้นในพอร์ตรวม 1,000 + 650 = 1,650 บาท โดยหุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.65*2,000 = 1,300 บาท หรือขาดทุน 350 บาท

ต่อมา หุ้น A ราคาหุ้นละ 0.80 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.8*2,000 = 1,600 บาท หรือขาดทุน 50 บาท จากตัวอย่าง การซื้อหุ้นในแนวโน้มขาขึ้นเพื่อถัวให้ราคาเฉลี่ยลดลง ช่วยลดความเสียหายของหุ้นในพอร์ตเหลือ 3% (ขาดทุน 50 บาท จากต้นทุน 1,650 บาท) แต่หากเราไม่ได้ทำอะไรเลย เราจะขาดทุน 20% (ขาดทุน 200 บาท จากต้นทุน 1000 บาท) ทั้งนี้ การคำนวณไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายนะคะ

ความเสี่ยงจากการแก้พอร์ตด้วยวิธีนี้ คือ หากการคาดการณ์เราผิดพลาดโดยไปซื้อหุ้นเพิ่มในแนวโน้มราคาขาลง พอร์ตเราจะยิ่งติดดอยหนักขึ้นไปอีกครับ ถึงแม้เราจะได้ราคาต้นทุนต่ำลงไปเรื่อย ๆ แต่อย่าลืมว่า มูลค่าหุ้นที่ถือในปัจจุบัน ก็จะยิ่งต่ำลงไปเช่นกัน

✔วิธีที่ 3 Short Against Port เป็นการขายหุ้นออกบางส่วน เพื่อนำเงินกลับไปซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาที่ถูกลงเพื่อให้มีจำนวนหุ้นในพอร์ตเพิ่มขึ้น วิธีนี้เป็นการลดความเสียหายของพอร์ต โดยไม่เพิ่มต้นทุน แต่ต้องอาศัยการคาดการณ์ที่แม่นยำของราคาแนวรับ แนวต้านคะเช่น

ซื้อหุ้น B ราคาหุ้นละ 1 บาท จำนวน 1,000 หุ้น ต้นทุนรวม 1,000 บาท

ต่อมา หุ้น B ราคาหุ้นละ 0.7 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.7*1,000 = 700 บาท ขาดทุน 300 บาท

คาดการณ์ว่า ราคาหุ้น B จะลดลงต่ำกว่าแนวรับแรกที่ 0.7 บาท ตัดสินใจขายหุ้น B ออกไปก่อน 500 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 0.7 บาท ได้เงิน 350 บาท ทำให้ต้นทุนเหลือ 1,000 -350 = 650 บาท โดยขณะนี้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.7* 500 = 350 บาท ขาดทุน 300 บาท

ต่อมา หุ้น B ราคาหุ้นละ 0.5 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.5*500 = 250 บาท ขาดทุน 400 บาท

วิเคราะห์ว่า หุ้น B ที่ราคา 0.5 บาทเป็นจุดต่ำสุด นำเงินที่ขายหุ้น B 350 บาท กลับเข้าซื้อหุ้น B ที่ราคา 0.5 บาท ได้ 350 / 0.5 = 700 หุ้น ต้นทุนกลับมาเป็น 650+350 = 1,000 บาท โดยพอร์ตมีมูลค่า 0.5*(500+700) = 600 บาท

หุ้น B ราคาเด้งกลับไปชนแนวต้านที่หุ้นละ 0.80 บาท ทำให้พอร์ตมีมูลค่า 0.8*1,200 = 960 บาท ขาดทุน 40 บาท

จากตัวอย่าง เราสามารถลดความเสียหายของพอร์ตเหลือ 4% (ขาดทุน 40 บาท จาก 1,000 บาท) แต่หากไม่ได้ทำอะไรเลย พอร์ตของเราจะขาดทุน 20% (ขาดทุน 200 บาท จาก 1,000 บาท) โดยวิธีนี้นอกจากการคาดการณ์ทิศทางแนวโน้มที่แม่นยำแล้ว การคาดการณ์แนวรับ แนวต้านก็สำคัญเช่นกันคะ

นี่เป็นเพียงแค่บางตัวอย่างสำหรับการแก้พอร์ตหุ้นด้วยหุ้น ยังมีวิธีที่เราสามารถนำ Derivative เข้ามาช่วยแก้พอร์ตได้ เช่น การ Short Futures ของหุ้นตัวที่เราถืออยู่ เพื่อให้กำไรจาก Futures มาหักล้างกับการขาดทุนจากราคาหุ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดอยสูงมาก ๆ การแก้พอร์ตอาจต้องใช้แรงงานและเวลาค่อนข้างมาก ดังนั้นแล้ว เราไม่ควรปล่อยให้พอร์ตขาดทุนมาก ๆ แล้วค่อยหาทางแก้ไข ถ้ารักจะเทรดหุ้นแล้ว อย่าลืมฝึกฝนตัวเองให้มีวินัยในการ Cut loss ด้วยนะ

cr:Line

วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

จิตของนักเล่นหุ้น

1. สำหรับการเล่นหุ้นแล้ว อีคิว สำคัญกว่า ไอคิว

2.  การมีหุ้นก็เหมือนการมีลูก คุณภาพ สำคัญกว่า ปริมาณ

3. ยอดมนุษย์ไวกิ้ง เกิดขึ้นได้เพราะท้องทะเลที่ปั่นป่วนฉันใด  ยอดมนุษย์นักลงทุน จะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะตลาดที่ปั่นป่วนฉันนั้น

4. คนคิดลบจะลุ้นให้หุ้นตก และเมื่อตกจริงๆเขาก็จะไม่กล้าซื้ออยู่ดีเพราะคิดลบ ส่วนคนคิดบวกจะลุ้นว่าหุ้นขึ้น และเมื่อขึ้นจริงๆเขาจะซื้อเพิ่มเพราะมองบวก

5. คนที่ถือคติว่า “ไม่ขาย ไม่ขาดทุน”  ลึกๆแล้วความรู้สึกในใจก็จะบอกว่า “ไม่ขาย ไม่กำไร” เช่นเดียวกัน  และคนที่คิดแบบนี้บทสรุปสุดท้ายจะจบลงที่  “ติดดอย”  และ “ขายหมู”

6. ในช่วงวัยต้นของชีวิต จงยอมให้เงินใช้เราทำงาน  แต่ในช่วงหลังของชีวิตจงใช้เงินทำงานให้เรา

7. ถ้ายังมีเงินเก็บไม่ถึงหนึ่งล้านบาท อย่าเพิ่งคิดเรื่องจะให้เงินทำงานแทน

8. คนที่เชื่อว่ามีโอกาสในวิกฤติ ก็จะพยายามมองหาจนเจอ แต่ถ้าไม่เชื่อก็ไม่เห็น

9. กรุงโรม ไม่ได้สร้างภายในวันเดียว แต่สามารถทำลายได้ภายในวันเดียว ตลาดหุ้นก็เช่นกัน

10.  เราต้องเป็นคนเล่นหุ้น อย่าปล่อยให้หุ้นเล่นเรา

11. การซื้อเฉลี่ยขาลง จะมีความทุกข์ทรมานมากกว่า การซื้อเฉลี่ยขาขึ้น

12. ความทุกข์ส่วนหนึ่งของคนเล่นหุ้น เกิดจากการไปนึกเสียดายถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว

13. การ Cut loss  เปรียบเสมือนการตัดหางจิ้งจก เพราะเงินสามารถงอกขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา

14. การ Cut loss คล้ายการวิ่งหนีสึนามิ แม้วิ่งเก้อสี่ครั้ง แต่ครั้งที่ห้าเกิดขึ้นจริง ทำให้รอดตาย

15. รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง แต่นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่มุ่งไปที่รู้เขา โดยละเลยการรู้เรา

16. แม้ย้อนเวลาได้ แต่จิตยังไม่เปลี่ยน การตัดสินใจก็จะเหมือนเดิม

17. สิ่งที่ต้องแก้ไขคือจิต ไม่ใช่การประดิษฐ์เครื่องย้อนเวลา

18. ไม่ต้องสนใจว่าหุ้นมาจากราคาไหน แต่จงสนใจว่ามันจะไปที่ราคาไหนมากกว่า

19. จากการวิจัยพบว่า เวลาขาดทุนในหุ้น ผู้หญิงจะเจ็บปวดมากกว่าผู้ชายอย่างน้อย 30%

20.  การซื้อหุ้นถูกตัว ไม่สำคัญเท่าการซื้อหุ้นถูกจังหวะ

21. ถ้าได้เงินมาแบบไม่ใช้สมอง ในที่สุดก็จะสูญเสียมันไปแบบไร้สมอง

22. มีเงินแต่ไม่มีเวลา ดีกว่ามีเวลาแต่ไม่มีเงิน

23. อิสรภาพทางจิตใจ ไม่ขึ้นกับอิสรภาพทางการเงิน

24. แนวต้านที่แข็งแกร่ง ถ้าทะลุผ่านไปได้ มันจะกลับกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง

25. ความสุขที่ได้จาก ศิลปะ ดนตรี และ กีฬา คือความสุขที่ไม่ต้องใช้เงินทองอะไรมากมาย

26. เมื่อวันสุดท้ายของชีวิตมาถึง ตัวเลขในสมุดบัญชีก็เป็นเพียงภาพมายา

27. มรดกที่ดีที่สุดสำหรับลูกหลาน คือมรดกทางปัญญาและอารมณ์

28. แทงหวยหลายๆตัวโอกาสถูกมากขึ้น แต่แทงหุ้นหลายๆตัวโอกาสผิดมากขึ้น

29. จำนวนหุ้นในพอร์ต 5 ตัวเหมาะสมที่สุด

30. ซื้อถูกขายแพง ไม่บาป ในทางกลับกันซื้อแพงขายถูก ก็ไม่ได้บุญ

31. ยิ่งดีใจมากเท่าไรตอนได้  ก็จะทุกข์มากเท่านั้นตอนเสีย

32. การเล่นหุ้น คือการต่อสู้กับใจของตัวเอง ไม่ใช่คนอื่น

33. ความโลภ คือเมล็ดพันธ์ที่นอนเนื่องในขันธสันดานของมนุษย์ทุกคน ตลาดหุ้นคือปุ๋ยชั้นดี

34. บางคนชอบเสียดายตอนหุ้นขึ้น และเสียใจตอนหุ้นตก แล้วอย่างนี้จะหาความสุขตอนไหน

35. อย่าเอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาเป็นอารมณ์ของตัวเอง

36. ถ้าเกิดมาเพื่อเป็นมวยแบบเขาทรายแล้วไปเลียนแบบการชกของสมรักษ์ ก็มีแต่แพ้

37. อิสรภาพทางการเงิน เริ่มต้นที่เงินสิบล้านบาท

38. คนที่รู้เรื่องดาบอย่างลึกซึ้ง ไม่จำเป็นต้องฟันดาบเก่งเสมอไป

39. ไม่มีใครเขามาสงสารนักมวยที่ถูกน็อก เช่นเดียวกับไม่สงสารนักเล่นหุ้นที่ขาดทุน

40. คนที่เคยลิ้มรสชาติของกำไรซึ่งได้มาง่ายๆ ยากที่จะเลิกเล่นหุ้น

41. นักเล่นหุ้นทุกคนควรมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ของตัวเอง

42. สติคือการรู้ตัวก่อนที่จะซื้อและรู้ถึงผลที่จะตามมา สัมปชัญญะคือความรู้ตัวขณะกำลังคลิกซื้อ

43. สติทำให้เฉลียว  สัมปชัญญะทำให้ฉลาด

44.ตลาดหุ้น มีโอกาสใหม่ๆเสมอ วันพระไม่ได้มีหนเดียว

45. จงตระหนักในวันที่ตลาดตระหนก   จงตื่นตัวในวันที่ตลาดตื่นกลัว

46.  ต้องวิเคราะห์มากกว่าวิจารณ์ และ แก้ไขมากกว่าแก้ตัว

47. ความคิดเป็นเรื่องของสมอง ความรู้สึกเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ

48. คนที่มีบุญเก่า แค่ซื้อหุ้นตามความรู้สึก ก็รวยได้

49. จงเล่นหุ้นอย่างเหยี่ยว ที่สายตากว้างไกลมององค์รวมก่อนจะโฉบลงล่าเหยื่อ

50. การสวนทิศทางความรู้สึก ทำได้ยากกว่าความคิด

51.ร้อยละ 70 ของคนรวยจากทั่วโลก ไม่ได้รวยเพราะมรดก

52.คนรวยจะมีรายได้มากกว่าหนึ่งทางเสมอ

53. รายได้มักจะมาจากสามทาง คือรายได้จากเงินเดือน รายได้จากพรสวรรค์ และรายได้จากดอกผล

54.คนที่เคยไปดิสนี่ย์แลนด์แล้ว จะไม่มีความสุขจากการไปดรีมเวิร์ลอีก

55.ธรรมชาติมอบความสุขให้อย่างยุติธรรมตามกำลังของแต่ละคน

56.ผึ้งก็สามารถหาความสุขแบบผึ้งได้ โดยที่ไม่ต้องไปอิจฉาพญาอินทรี

57. พระภิกษุ มีทั้งอิสรภาพทางการเงิน และอิสรภาพทางใจ

58. คนที่ชอบคิดย้อนอดีต จะไม่มีเวลาสำหรับการคิดถึงอนาคต

59. การทำบุญคือการลงทุนข้ามชาติ

60. ความบังเอิญไม่มีอยู่จริง โชคเกิดจากการเสวยบุญเก่า

61.    วิกฤติคือโอกาส  ตอนประท้วงปิดสนามบิน AOT ลงไปที่ 16 บาท
                         ตอนน้ำท่วมใหญ่ KCE ลงไป 4 บาท
                         ตอนมีข่าวรัฐจะซื้อดาวเทียมคืน Thcom ลงไป 5 บาท  ฯลฯ

62.    สอนให้ลูกรู้จักลงทุน ดีกว่าลงทุนไว้ให้ลูก

63.    ระหว่างบำเหน็จที่ได้ทันที 600,000 กับบำนาญที่ได้ตลอดชีวิตเดือนละ 6,000 ควรเลือกแบบไหน (เฉลยอยู่ในหนังสือจิตของนักเล่นหุ้น)

64.    บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์มักจะช้ากว่าตลาดก้าวหนึ่งเสมอ

65.    เงินเป็นทาสที่ซื่อสัตย์ แต่เป็นเจ้านายที่โหดร้าย

66.    การพยากรณ์หุ้น มีความแม่นยำน้อยกว่าการพยากรณ์อากาศ

67.    ในตลาดหุ้น เหตุผลมักแพ้อารมณ์เสมอ

68.    ซื้อหุ้น New High ดีกว่าซื้อหุ้น New Low ตัดขายหุ้น New Low ดีกว่าตัดขายหุ้น New High

69.    นักเล่นหุ้นที่ดีต้องเป็นได้ทั้งบ็อกเซอร์ตอนหุ้นลง และไฟท์เตอร์ตอนหุ้นขึ้น

70.    เล่นกีฬายังมีการขอเวลานอกตอนเพลี่ยงพล้ำ เล่นหุ้นก็ต้องรู้จักขอเวลานอกให้ตัวเอง

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เคล็ดลับในการเทรดDW

DW พื้นฐาน
เคล็ดลับในการเทรดDW มีเคล็ดลับอะไรบ้าง!
ถ้าเราคิดจะเล่นDW เราต้องหาหุ้นแม่ให้ได้ก่อน เราต้องวิเคราะห์หุ้นแม่ตัวนั้นๆก่อนที่เราจะเล่นDW
ยกตัวอย่าง=หุ้นIVL11C1808A
                 =หุ้นIVL11P1808A
IVL=ชื่อหุ้นอ้างอิง
11 =โบกเกอร์ของหลักทรัพย์(มีหลายค่าย)
C  =CAII(คลอ)ซื้อเมื่อคาดว่าหุ้นแม่จะปรับตัว  ขึ้น
P = PUT(พุท)ซื้อเมื่อคาดว่าหุ้นแม่จะปรับตัวลง
18 =หมดอายุปี2018
08A=หมดอายุเดือนที่8ของปี
DW แตกต่างจากวอแรนต์ทั่วไป อย่างวอแรนต์ทั่วไปอายุค่อนข้างยาว
แต่DWอายุค่อนข้างสั้นกว่า ปกติอายุDW3-6เดือน
ต่างจากวอแรนต์ทั่วไปยังงัย!!
ปกติDWอายุจะสั้น  DWมีมาค์เก็ตวอคเกอร์
มีมาค์เกตวอคเกอร์ คือ ทำราคาให้ตรงตามตัวหุ้นแม่
อย่างถ้าวอแรนต์บางทีหุ้นแม่ขึ้น ตัวลูกอาจจะไม่ขึ้น
หรือว่าบางทีหุ้นแม่อยู่เฉยๆ ตัวลูกวิ่งขึ้นวิ่งลงตลอดเวลา ซึ่งไม่มีมาค์เก็ตวอคเกอร์ วอแรนต์ขึ้นอยู่ดีมานซัพพลายของวอแรนต์ตัวนั้นๆเท่านั้น เพราะฉะนั้นคนที่เข้ามาเก็งกำไรตัววอแรนต์ สามารถเก็งกำไรได้แบบตามดีมานฯ คนเล่นกันเยอะ แห่ซื้อกันเข้าไป ราคากระฉูด
แต่ถ้าตัวDWมันจะอ้างอิงกับตัวหุ้นแม่ ถ้าแม่ไม่ขึ้น DWก็จะไม่ขึ้น!! ถ้าแม่ขึ้น DWก็จะขึ้น!!
คือDWมีมาค์เก็ตวอคเกอร์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลเลย บางคนกลัว น่ากลัวมาก เสี่ยง แต่กล้าเล่นหุ้นเล็กๆ กล้าเล่นวอแรนต์(ข้อมูลจากหลักทรัพยKGI)
จบ1โพสต์ตี2ขอนอนก่อนง่วงนอนแล้ว ยังไม่ได้โพสต์เรื่องเลือกค่ายไหนเล่นดี เลือกผิดค่ายมีหนาวน่ะครับ😴😴😪😪

DW พื้นฐาน (โพสต์สุดท้าย)
•ความเสี่ยงด้านราคาอ้างอิง
ความเสี่ยงปกติคือ สมมุติเราซื้อบนกระดานหุ้นทั่วไป ซื้อหุ้นแม่ปตท. เกิดมันไม่ขึ้นตามที่เราตั้งใจ อันนี้เรียกว่าความเสี่ยงปกติ
ความเสี่ยงของDWหลักๆคือราคาอ้างอิง
•ความเสี่ยงด้านมูลค่าทางเวลา
อันนี้ทุกคนให้ความสำคัญนิดนึง เพราะว่าบางที เราซื้อเข้าไป เกิดหุ้นตัวแม่ไม่ไปไหน ราคาDWจะลงมา
สมมุติ วันนี้เราซื้อไว้หุ้นปตท.ราคาอยู่ที่240บาทซื้อDWไป1บาท เกิดผ่านไปอาทิตย์นึง
ปตท.ยังราคา240บาทอยู่ แต่DWอาจจะเหลือ99สต.
เหลือ98สต. อันนี้เค้าเรียกว่ามูลค่าทางเวลา หรือบางทีถ้าเราถือหมดอายุ บางทีDWอาจเป็นศูนย์บ. ดูน่ากลัวมั้ยครับ พูดอย่างงี้อาจดูน่ากลัว แต่จริงๆแล้วเรามีเครื่องมือในการช่วยให้นักลงทุนสามารถจัดการกับตัวมูลค่าทางเวลาได้
•ความเสี่ยงสภาพคล่อง(เลือกค่าย)
ถ้าเราเทรดDWกับจ้าวที่คนไม่ค่อยเล่น เป็นจ้าวเล็กๆ ไม่ค่อยมีมูลค่าการซื้อขายกันเท่าไหร่ อาจจะน่ากลัว!!
แต่ถ้าเป็นจ้าวหลักๆ ตรงนี้ไม่น่ากลัว คนเล่นกันเยอะ
(ข้อมูลจากหลักทรัพย์KGI  (SkillLane.com)
ผมไม่อยากให้นักลงทุนหน้าใหม่และคนเก่าเล่นน่ะครับ
ถ้ายังเทรดหุ้นบนกระดานยังไม่เก่งนัก!! ยังเสียอยู่!!
เหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากมีรายได้อย่างรวดเร็วได้100%ต่อปีหรือมากกว่านั้น ต้องยอมรับความเสี่ยงให้ได้ด้วย สมมุติว่าเราเล่นหุ้นตัวใหญ่ หุ้นแม่ขึ้น1ช่อง ลูกขยับขึ้น3ช่อง ถ้าแม่ขยับขึ้น10ช่อง ลูกขยับขึ้น30ช่อง แต่ในทางกลับกัน ถ้าแม่ลง10ช่อง ลูกก็ลง30ช่องเหมือนกัน การลงทุนมีความเสี่ยงควรศึกษาก่อนการลงทุน😎😎😴😴😪😪💞💗💞💗💘💟

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

EMA

ชุดเส้นค่าเฉลี่ย EMA ที่ใช้มี

10,25,50,75,200

EMA10/25

เส้นน้อยตัดเส้นมากขึ้นเป็นสัญญานซื้อระยะสั้น

เส้นน้อยตัดเส้นมากลงเป็นสัญญานขายระยะสั้น

EMA50/75

เส้นน้อยตัดเส้นมากขึ้นเป็นสัญญานซื้อระยะกลาง(Goldencross ระดับที่ 1)

เส้นน้อยตัดเส้นมากลงเป็นสัญญานขายระยะกลาง(Deadcross ระดับที่ 1)

EMA50/200

เส้นน้อยตัดเส้นมากขึ้นเป็นสัญญานซื้อระยะยาว(Goldencross ระดับที่ 2)

เส้นน้อยตัดเส้นมากลงเป็นสัญญานขายระยะยาว
(Deadcross ระดับที่ 2)

กรณีดูราคาปิด

EMA10-EMA25
หุ้นที่พักตัวในขาขึ้น มักจะอยู่ในกรอบไม่หลุด

EMA25
 ถ้าหลุดเป็นสัญญาน Warning ควรจะเริ่มขายหุ้นออกมา(ขาขึ้น/ขาลง ระยะสั้น)

EMA50
ตีความว่า ถ้าเหนือเส้นนี้ เป็นขาขึ้น ถ้าต่ำกว่าเส้นนี้เริ่มเป็นขาลง(ขาขึ้น/ขาลง ลงระยะกลาง 1)

EMA75
ถ้าถึงแนวรับนี้มีโอกาสเด้ง/ร่วง(ขาขึ้น/ขาลง ระยะกลาง 2)

-กรณีหุ้นลง ลงไปชน EMA75 แล้วมีโอกาสเด้งขึ้นไปแถวๆ EMA50
-กรณีหุ้นลง ถ้าลงไปแล้วไม่เด้ง แล้วหลุด EMA75 เตรียมใจลงแรงไปเจอกันที่ EMA200

-กรณีหุ้นขึ้น เริ่มขึ้นมาชน EMA75 แล้วมีโอกาสร่วงลงไปที่ EMA50

EMA200 แนวรับสุดท้าย(ขาขึ้น/ขาลง ระยะยาว)ถ้าหลุดแล้วไม่เด้งกลับมายืนเหนือ EMA200ได้ภายในระยะเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ เตรียมทำใจลงแรง

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

RSI

RSI > 66.66
= แรงซื้อมากกว่าแรงขายในอัตราส่วน 2:1

RSI > 55
= เทรนขาขึ้นเริ่มต้น

RSI >= 40
= อยูในช่วงพักตัว

RSI < 33.33
= แรงขายมากกว่าแรงซื้อในอัตราส่วน 2:1

------------------------------------------

RSI

เมื่อ RSI < 50 Momentum ของหุ้นตัวนั้นๆจะเริ่มเสีย

เมื่อ RSI < 33.33 ข่าวร้ายมักจะตามมาและจะเกิด Panic Sell

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ธรรมะกับ"การเล่นหุ้น"

การเล่นหุ้นคือการแข่งกับตัวเอง
ต่อสู้กับใจของตัวเอง
ไม่ใช่แข่งกับเพื่อนๆๆ
หรือคนอื่นๆๆ
การเล่นหุ้นแบบมีธรรมะเป็นหลัก ประจำใจจะทำให้เกิดปีติ (ความอิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ) ปราโมทย์ (ความร่าเริงเบิกบานใจ) ปัสสัทธิ (ผ่อนคลาย สงบ) สุข (ฉ้ำชื่นใจ) และสมาธิ (มีใจมั่นคง) แต่ถ้าเป็นการเล่นด้วยตัณหาเช่น อยากรวย อยากได้ จะมีแต่ความร้อนรุ่ม ความรู้สึกดีๆๆ เหล่านั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย มีความทุกข์จากสิ่งที่ตัวเองไม่มี ส่วนฉันทะ คือ ความชอบ รู้สึกมีความสุขจากสิ่งที่ตัวเองมี

ในหมู่การลงทุนทั้งหมด การลงทุนในหุ้นสร้างกิเลสได้มากที่สุด ทำให้จิตกระเพื่อมมากที่สุด ผัสสะ (จากข่าว ราคาหุ้น) ทำให้เกิด เวทนา (สุข ทุกข์) และก่อตัวเป็น ตัณหา (อยากซื้อ อยากขาย) พัฒนากลายเป็นอุปาทาน (ตัวกูของกู) ตามวงจร ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพชาติ มนุษย์สามารถใช้กำลังสติ ไปสกัดความรู้สึกช่วงระหว่างที่ผัสสะทำให้เกิดเป็นเวทนา หรือเวทนาเปลี่ยนเป็นตัณหาได้ เช่น เมื่อหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นจะเกิดสุขเวทนา และเกิดตัณหาอยากซื้อเพิ่ม เมื่อสั่งซื้อสำเร็จ ก็จะเกิดอุปาทาน หุ้นของกู ทำให้เกิด ภพ ชาติ ย่อยๆๆ ขึ้น จิตจะผูกพันกับราคาหุ้นตัวนั้นไปเรื่อยๆๆ จนได้พบกับอนิจจัง ทุกขังของราคาหุ้น และสุดท้ายจบลงด้วยการตัดสินใจขายหุ้นตัวนั้นออกไป หมดสิ้นภพชาติย่อยลงไปครั้งหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะขายด้วยสาเหตุใดก็ตาม กำไรหรือขาดทุน ก็จะเกิดอวิชชา คือสัญญาที่เจือไปด้วยกิเลสและอารมณ์ตามมา สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้เกิด สังขาร วิญญาณ และนามรูป เพื่อการเข้ามารับผัสสะในครั้งต่อไป คนที่เคยลิ้มรสชาติของการได้กำไรมาแล้วยากที่จะเลิกเล่นหุ้น และสำหรับคนที่ขาดทุนก็จะหาทางเอาคืน ดังนั้นคนที่หลงเข้ามาในวังวนนี้แล้ว ยากที่จะหลุดพ้นออกไปได้

คนเล่นหุ้นมีภพชาติย่อยๆๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา วันที่หุ้นพุ่งก็มีความสุขราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ บางวันก็ร้อนรุ่มปานอยู่ในนรก ส่วนวันที่ราคาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง หรือวันเสาร์ บางวันก็ร้อนรุ่มปานอยู่ในนรก ส่วนวันที่ราคาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง หรือวันเสาร์ วันอาทิตย์ก็กลับมาอยู่โลกมนุษย์ ได้เล่นกับลูก สังสรรค์กับเพื่อน พุ่งน้อยหน่อยก็ขึ้นชั้นดาวดึงส์ แต่ถ้าวันไหนหุ้นตกติดฟลอร์ จะได้ลงนรกขุมลึกสุดคืออเวจี วิธีแก้ไขก็คือ วันไหน ที่มีความสุขมากให้แยกสติออกมาเป็นผู้ดู สุขหนอ กำไรหนอ ก็แค่นั้นเอง ไม่เอาใจเข้าไปดื่มด่ำ เมื่อสามารถแยกตัวออกจากสุขได้ วันไหนทุกข์ก็จะแยกตัวออกมาจากมันได้เช่นกัน ยิ่งหลงไปกับสุขเวทนาตอนหุ้นขึ้นมากเท่าไร ก็จะเกิดทุกขเวทยสตอนหุ้นตกมากเท่านั้น คนเจ้าอารมณ์ที่ควบคุมความรู้สึกตัวเองไม่ได้ ไม่ควรเล่นหุ้น เพราะจะทนทุกข์ทรมานราวกับอยู่ในนรกทุกวัน วันไหนหุ้นขึ้นก็จะเสียดายจนทุกข์ วันไหนหุ้นตกก็จะเสียใจ คนส่วนใหญ่หมดตัวกับหุ้นก็เพราะอารมณ์โลภ โกรธ หลง อิจฉาริษยา เสียดาย เสียใจ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ตัดสินใจผิดจังหวะ ตลาดหุ้นในแต่ละวันก็มีอารมณ์เป็นของตัวเอง บางวันตลาดตื่นตระหนก บางวันอารมณ์ดี บางวันอารมณ์แปรปรวน คุณสมบัิตที่สำคัญของนักเล่นหุ้นคืออย่าเอาอารมณ์ตลาดเข้ามาเป็นอารมณ์ของตัวเอง อุเบกขาจึงเป็นหลักธรรมในพรหมวิหาร 4 ที่สำคัยของนักเล่นหุ้น ทำให้ไม่ปล่อยใจไปตามอารมณ์ของตลาด

พรหมวิหาร 4 คือ
อุเบกขา คือการรู้จักที่จะปล่อยวาง ในบางครั้งชีวิตของคนเราก็ต้องพบกับส่ิงที่ไม่อาจเข้าไปแก้ไขได้ เมื่อถึงเวลาต้องปล่อยก็ต้องปล่อย บางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้น เป็นไปตามเหตุปัจจัยตามกฎแห่งกรรม เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องรู้จักปล่อยวางไม่เอาใจเข้าไปรับ
Credit : หนังสือจิตของนักเล่นหุ้น โดยทันตแพทย์สม สุจีรา

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

นักลงทุนควรรู้

1.สำหรับการเล่นหุ้นแล้ว อีคิวสำคัญกว่าไอคิว
2.การมีหุ้นก็เหมือนมีลูก คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ
3.ยอดมนุษย์ไวกิ้ง เกิดขึ้นได้เพราะท้องทะเลที่ปั่นป่วนฉันใด
ยอดมนุษย์นักลงทุน จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะตลาดที่ปั่นป่วนฉันนั้น
4.คนคิดลบจะลุ้นให้หุ้นตก และเมื่อตกจริงๆๆ เขาก็จะไม่กล้าซื้ออยู่ดีเพราะคิดลบ ส่วนคนคิดบวกจะลุ้นว่าหุ้นขึ้น และเมื่อขึ้นจริงๆๆ เขาจะซื้อเพิ่มเพราะมองบวก
5.คนที่ถือคติว่า ไม่ขาย ไม่ขาดทุน ลึกๆๆ แล้วความรู้สึกในใจ
ก็จะบอกว่า ไม่ขาย ไม่กำไร เช่นเดียวกัน และคนที่คิดแบบนี้
บทสรุปสุดท้ายจะจบลงที่ ติดดอย และ ขาหมู
6.ในช่วงวัยต้นของชีวิต จงยอมให้เงินใช้เราทำงาน แต่ในช่วงหลังของชีวิตจงใช้เงินทำงานให้เรา
7.ถ้ายังมีเงินเก็บไม่ถึงหนึ่งล้านบาท อย่างเพิ่งคดเรื่องจะให้เงินทำงานแทน
8.คนที่เชื่อว่ามีโอกาสในวิกฤติ ก็จะพยายามมองหาจนเจอ
ภายในวันเดียว ตลาดหุ้นก็เช่นกัน
9.กรุงโรม ไม่ได้สร้างภายในวันเดียว
10.เราต้องเป็นคนเล่นหุ้น อย่าปล่อยให้หุ้นเล่นเรา
11.การซื้อเฉลี่ยขาลง จะมีความทุกข์ทรมานมากกว่า การซื้อเฉลี่ยขาขึ้น
12.ความทุกข์ส่วนหนึ่งของคนเล่นหุ้น เกิดจากการไปนึกเสียดายถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว
13.การ Cut loss เปรียบเสมือนการตัดหางจิ้งจก เพราะเงินสามารถงอกขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา
14.การ Cut loss คล้ายการวิ่งหนีสินามิ แม้วิ่งเก้อสี่ครั้ง
แต่ครั้งที่ห้าเกิดขึ้นจริง ทำให้รอดตาย
15.รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง แต่นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่
มุ่งไปที่รู้เขา โดยละเลยการรู้เรา
16.แม้ย้อนเวลาได้ แต่จิตยังไม่เปลี่ยน การตัดสินใจก็จะเหมือนเดิม
17.สิ่งที่ต้องแก้ไขคือจิต ไม่ใช่การประดิษฐ์เครื่องย้อนเวลา
18.ไม่ต้องสนใจว่าหุ้นมาจากราคาไหน แต่จงสนใจว่ามันจะไปที่ราคาไหนมากกว่า
19.จากการวิจัยพบว่า เวลาขาดทุนในหุ้นผู้หญิงจะเจ็บปวดมากกว่าผู้ชายอย่างน้อย 30%
20.การซื้อหุ้นถูกตัว ไม่สำคัญเท่าการซื้อหุ้นถูกจังหวะ
21.ถ้าได้เงินมาแบบไม่ใช้สมอง ในที่สุดก็จะสูญเสียมันไปแบบไร้สมอง
22.มีเงินแต่ไม่มีเวลา ดีกว่ามีเวลาแต่ไม่มีเงิน
23.อิสรภาพทางจิตใจ ไม่ขึ้นกับอิสรภาพทางการเงิน
24.แนวต้านที่แข็งแกร่ง ถ้าทะลุผ่านไปได้
มันจะกลับกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง
25.ความสุขที่ได้จาก ศิลปะ ดนตรี และ กีฬา คือความสุข
ที่ไม่ต้องใช้เงินทองอะไรมากมาย
26.เมื่อวันสุดท้ายของชีวิตมาถึง ตัวเลขในสมุดบัญชี
ก็เป็นเพียงภาพมายา
27.มรดกที่ดีที่สุดสำหรับลูกหลาน คือมรดกทางปัญญาและอารมณ์
28.แทงหวยหลายๆๆ ตัวโอกาสถูกมากขึ้น แต่แทงหุ้นหลายๆๆ ตัวโอกาสผิดมากขึ้น
29.จำนวนหุ้นในพอร์ต 5 ตัวเหมาะสมที่สุด
30.ซื้อถูกขายแพง ไม่บาป ในทางกลับกันซื้อแพงขายถูก ก็ไม่ได้บุญ
31.ยิ่งดีใจมากเท่าไรตอนได้ ก็จะทุกข์มากเท่านั้นตอนเสีย
32.การเล่นหุ้น คือการต่อสู้กับใจของตัวเอง ไม่ใช่คนอื่น
33.ความโลภ คือเมล็ดพันธ์ที่นอนเนื่องในขันธสันดานของมนุษย์ทุกคนตลาดหุ้นคือปุ๋ยชั้นดี
34.บางคนชอบเสียดายตอนหุ้นขึ้น และเสียใจตอนหุ้นตก
แล้วอย่างนี้จะหาความสุขตอนไหน
35.อย่าเอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาเป็นอารมณ์ของตัวเอง
36.ถ้าเกิดมาเพื่อเป็นมวยแบบเขาทรายแล้วไปเลียนแบบการชกของสมรักษ์ ก็มีแต่แพ้
37.อิสรภาพทางการเงิน เริ่มต้นที่เงินสิบล้านบาท
38.คนที่รู้เรื่องดาบอย่างลึกซึ้ง ไม่จำเป็นต้องฟันดาบเก่งเสมอไป
39.ไม่มีใครเขามาสงสารนักมวยที่ถูกน็อก เช่นเดียวกับไม่สงสารนักเล่นหุ้นที่ขาดทุน
40.คนที่เคยลิ้มรสชาติของกำไรซึ่งได้มาง่ายๆๆ ยากที่จะเลิกเล่นหุ้น
41.นักเล่นหุ้นทุกคนควรมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ของตัวเอง
42.สติคือการรู้ตัวก่อนที่จะซื้อและรู้ถึงผลที่จะตามมา
สัมปชัญญะ คือความรู้ตัวขณะกำลังคลิกซื้อ
43.สิตทำให้เฉลียว สัมปชัญญะทำให้ฉลาด
44.ตลาดหุ้น มีโอกาสใหม่ๆๆ เสมอ วันพระไม่ได้มีหนเดียว
45.จงตระหนักในวันที่ตลาดตระหนก จึงตื่นตัวในวันที่ตลาดตื่นกลัว
46.ต้องวิเคราะห์มากกว่าวิจารณ์ และแก้ไขมมากกว่าแก้ตัว
47.ความคิดเป็นเรื่องของสมอง ความรู้สึกเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ
48.คนที่มีบุญเก่า แค่ซื้อหุ้นตามความรู้สึก ก็รวยได้
49.จงเล่นหุ้นอย่างเหยี่ยว ที่สายตากว้างไกลมององค์รวม
ก่อนจะโฉบลงล่าเหยื่อ
50.การสวนทิศทางความรู้สึก ทำได้ยากกว่าความคิด
51.ร้อยละ 70 ของคนรวยากทั่วโลก ไม่ได้รวยเพราะมรดก
52.คนรวยจะมีรายได้มากกว่าหนึ่งทางเสมอ
53.รายได้มักจะมาจากสามทาง คือรายได้จากเงินเดือน
รายได้จากพรสวรรค์ และรายได้จากดอกผล
54.คนที่เคยไปดิสนี่ย์แลนด์แล้ว จะไม่มีความสุขจากการไปดรีมเวิร์ลอีก
55.ธรรมชาติมอบความสุขให้อย่างยุติธรรมตามกำลังของแต่ละคน
56.ผึ้งก็สามารถหาความสุขแบบผึ้งได้ โดยที่ไม่ต้องไปอิจฉาพญาอินทรี
57.พระภิกษุ มีทั้งอิสรภาพทางการเงิน และอิสรภาพทางใจ
58.คนที่ชอบคิดย้อนอดีต จะไม่มีเวลาสำหรับการคิดถึงอนาคต
59.การทำบุญคือการลงทุนข้ามชาติ
60.ความบังเอิญไม่มีอยู่จริง โชคเกิดจากการเสวยบุญเก่า
61.วิกฤติคือโอกาส ตอนประท้วงปิดสนามบิน AOT ลงไปที่ 16 บาท ตอนน้ำท่วมใหญ่ KCE ลงไป 4 บาท
ตอนวิกฤติน้ำมัน PTT ตกไปที่ 198 บาท
62.สอนให้ลูกรู้จักลงทุน ดีกว่าลงทุนไว้ให้ลูก
63.ระหว่างบำเหน็จที่ได้ทันที 600,000 กับบำนาญที่ได้ตลอดชีวิตเดือนละ 6,000 คนกล้าเสี่ยงจะเลือกบำเหน็จ
64.บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์มักจะช้ากว่าตลาดก้าวหนึ่งเสมอ
65.เงินเป็นทาสที่ซื่อสัตย์ แต่เป็นเจ้านายที่โหดร้าย
66.การพยากรณ์หุ้น มีความแม่นยำน้อยกว่าการพยากรณ์อากาศ
67.ในตลาดหุ้น เหตุผลมักแพ้อารมณ์
68.ซื้อหุ้น New High ดีกว่าซื้อหุ้น New Low
ตัดขายหุ้น New Low ดีกว่าตัดขายหุ้น New High
69.นักเล่นหุ้นที่ดีต้องเป็นได้ทั้งบ๊อกเซอร์ตอนหุ้นลง
และไฟท์เตอร์ตอนหุ้นขึ้น
70.เล่นกีฬายังมีการขอเวลานอกตอนเพลี่ยงพล้ำ
เล่นหุ้นก็ต้องรู้จักขอเวลานอกให้ตัวเอง
71.ไม่มีกีฬาใดที่จำนวนผู้เล่นมากกว่า 11 คน เพราะโค้ชดูแลไม่ทั่วถึงหุ้นก็เช่นเดียวกัน 12 ตัวในพอร์ตมากเกินไป
72.ระดับการศึกษาไม่ได้แปรผันตามความสามารถในการเล่นหุ้น
73.เวลาลงทุนพลาดให้โทษตัวเอง แม้ว่าสิ่งแวดล้อมจะมีส่วนบ้างก็ตาม
74.อดีตเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่อนาคตอยู่ในกำมือ
75.ศึกษาอดีต ทำให้หยั่งรู้อนาคต
76.ทุกๆๆ ปี ตลาดหุ้นจะมีช่วงที่หุ้นตกหนัก รอสวนช่วงนั้นปลอดภัยที่สุด
77.ในการซื้อหรือขายหุ้น ควรแบ่งออกเป็นสามจังหวะ
และเหลือไว้ซื้อหรือขายในจังหวะที่สาม 50%
78.ทุกครั้งที่ขายหุ้นที่ได้กำไรออกไป ต้องตัดขายหุ้นในพอร์ตที่ขาดทุนออกไปด้วย
79.ตลาดขาขึ้นต้องซื้อให้เร็วที่สุด ตลาดขาลงต้องขายออกให้เร็วที่สุด
80.คนคิดบวก จะระวังแต่ไม่ระแวง จะตะหนักแต่ไม่ตระหนก
81.นักวิ่งมาราธอนมาวิ่ง 100 เมตรก็แพ้ นักลงทุนระยะยาวมาเล่นระยะสั้นก็พลาด
82.นักเล่นหุ้นควรมีงานอดิเรกประจำตัว เพื่อใช้เบี่ยงเบนจิตออกจากตลาด
83.ควรประเมินผลงานการลงทุนของตัวเอง ทุกๆๆ สามเดือน
84เงินเก็บล้านแรกยากที่สุด ล้านต่อๆๆไปจะง่ายขึ้นเรื่อยๆๆ
85.แนวรับ แนวต้าน เป็นเรื่องสำคัญมากในทางจิตวิทยาการเล่นหุ้น
86.อย่าไปพยายามแก้ตัวกับหุ้นที่เคยขาดทุน แต่ให้ไปเอาคืนกับหุ้นที่เคยกำไร
87.หุ้นบางตัวเหมือนภูเขาไฟฟูจี ดูสวยแต่เนื้อในไม่มีอะไรเลย
88.เงินที่อยู่นิ่งไม่มีพลัง เหมือนน้ำที่อยู่ในเขื่อน ถ้าต้องการให้เงินทำงาน ต้องให้มันเคลื่อนไหว
89.คนรวยได้ดอกผล คนจนเสียดอกเบี้ย
90.อย่าคร่ำครวญ เสียดายน้ำนมที่หกลงพื้นไปแล้ว
91.การยึดติดกับราคาในอดีต คือกับดักของนักเล่นหุ้น
92.สปริงที่ทนการหดตัว 10% ไม่ได้ ก็จะทนการยืดตัว 10% ไม่ได้เช่นกัน
93.นักมวยต้องเก็บแรงไว้รอสวนเสมอ นักลงทุนต้องเก็บเงินสดไว้บ้างเผื่อจังหวะดีๆๆ
94.คนเล่นหุ้นจะมีภพชาติย่อยๆๆ อยู่ตลอดเวลา บางวันขึ้นสวรรค์ บางวันลงนรก
95.เมื่อ "ขายหมู" จงยินดีที่คนซื้อต่อจากเราไป ได้กำไร
96.ช่วงที่รู้สึกว่ามือตก สติหาย ให้หยุดลงทุน
97.วิกฤติหนักจะมาทุก ๆๆ 10-12 ปีป หุ้นจะตกมากกว่า 50%
98.กล้าได้ ต้องกล้าเสีย ไม่ใช่หวังจะได้อย่างเดียว
Credit : หนังสือจิตของนักเล่นหุ้น โดยทันตแพทย์สม สุจีรา

วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กฏธรรมชาติของหุ้นที่จะขึ้น

1)  หุ้นจะขึ้นเมื่อมีการซื้อ Offer ในราคาที่ผิดธรรมชาติ
   แนวคิด:  ทำไม อยู่ดีๆ ถึงมีคนยอมซื้อแพง ทั้งๆที่ สามารถซื้อถูกได้
   สาเหตุ :  เวลาคนจะสร้างราคา เขาจะต้องทำให้ราคาขึ้น ถ้าไม่ยอมซื้อขวา ราคาก็ไม่มีวันขึ้น

2) ในจังหวะหุ้นที่จะขึ้นจริง คนสร้างราคา เขาจะไม่ทำให้เราได้ซื้อง่ายๆ เพราะเราจะมักไม่เคยซื้อได้ทัน สำหรับราคาที่ดี
     แนวคิด:  ทำไม มีการรวบ  offer  ไม้ใหญ่ๆ ยกช่อง หรือ การรวบแล้ว เติม Bid โดยทันที
      สาเหตุ :  เวลาคนจะสร้างราคา ถ้าเมื่อเป็นจังหวะที่จะเล่นเร็ว เขาจะต้องทำให้ ราคาขึ้นเร็วที่สุดเพื่อให้ห่างจากทุนในการทำราคา เพราะ ถ้าเป็นเรา เราคงอยากให้ ไปไกลจากทุนเรามากที่สุด ในเวลาสั้น ก่อนมีใครจะมาทิ้งหุ้นใส่

3) เวลาหุ้นก่อนจะขึ้นเป็น trend ยาวๆ กราฟเทคนิค มันจะบอกว่า ให้ขายสะ

       แนวคิด :  ทำไม มีการสร้างกราฟเทคนิคให้ขายก่อนขึ้น
       สาเหตุ :  ของดีมักไม่มีใครอยากแบ่ง อยากได้ของให้อยู่ในมือมากที่สุด แล้วค่อยไปขายให้ได้ราคาสูง ในจำนวนที่พอใจ

4) เวลาหุ้นขึ้นแรง มักเปิดราคากระโดด

       แนวคิด : หุ้นที่ขึ้นแรงๆ มักราคาเปิดกระโดด ผ่าน ราคาที่ผิดธรรมชาติ อย่างแนวต้านที่ไม่เคยผ่าน
        สาเหตุ :  กฎการสร้างราคา คนสร้างราคา ต้องทำให้ ราคาขึ้นอย่างรวดเร็ว ป้องกันการขายหุ้นใส่ ถ้ายิ่งมีคนขายใส่มากเท่าไหร่ ภาระของคนทำราคา จะเหนื่อยมากเท่านั้น ในการจะทำราคาขึ้น เพราะ ต้นทุนจะสูงขึ้นไปด้วยโดยทันทีกับการรับของคนที่ขายใส่เพื่อทำราคาไม่ให้ลง

  กฎให้ท่องจำและฝึกฝน
         
             " อย่ากลัวหุ้นเปิดโดด อย่ากลัวการซื้อแบบหวดขวาที่ offer  เพราะ มันคือ กฎธรรมชาติ เวลาที่หุ้นจะขึ้น  แต่เพียงแค่เราจะควบคุมความเสี่ยงอย่างไรกับ การซื้อแบบพฤติกรรมหุ้นขึ้น

Cr โค้ชเหว่ง super trader republic

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หุ้นปลิดชีวิต

หุ้นปลิดชีวิต โดย วีระพงษ์ ธัม

การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น นักลงทุนจะใช้เวลาส่วนใหญ่มุ่งหา “หุ้นดี” ที่สามารถทำกำไรสูง ๆ เพื่อซื้อเข้าพอร์ต อย่างไรก็ดีประสบการณ์ผมพบว่าการพยายามเลี่ยง “หุ้นอันตราย” นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า เพราะนอกจากจะเสียทั้งเงิน เรายังเสียเวลาติดตาม เสียสุขภาพอีกด้วย และนี่คือลักษณะหุ้นปลิดชีวิตที่ผมพยายามระวังหรือหลีกเลี่ยง

1.”หุ้นผู้บริหารสีเทา” การลงทุนเป็นกิจกรรมที่เราต้องพึ่งพาผู้บริหาร 100% ผู้บริหารที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง และผู้บริหารสีเทาก็สร้างปัญหามากกว่าที่เราคิดมาก ศิลปะในการดูผู้บริหารนั้นถูกพูดถึงอยู่ในบทความมากมายหลายครั้ง แต่ผมขอเอาจากงานวิจัยจากหนังสือเลี้ยงลูกเล่มหนึ่งที่ชื่อ How Children Succeed ที่พูดว่าเด็กที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตสูง ต้องมีคุณสมบัติเด่น 7 ข้อ คือ มีความมุ่งมั่น รู้จักควบคุมตนเองรู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ มีความกระตือรือร้น รู้จักเข้าหาสังคม มีความกตัญญูยึดในความดี มองโลกในแง่บวก มีความสงสัยใคร่รู้และชอบค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งผู้บริหารที่ดีก็น่าจะมีลักษณะนี้เช่นเดียวกัน และบทสรุปหนึ่งที่ใช้ได้เสมอคือ ผู้บริหารที่ดีควรจริงจังกับธุรกิจมากกว่าตลาดหุ้น

2.”หุ้นหนี้สูงท่วมหัว” ในตำราการเงิน การก่อหนี้ให้ผลที่ดีเสมอในเชิงตัวเลขให้ผลลัพธ์ที่นักลงทุนชอบ คือเพิ่มกำไรได้ง่าย เพิ่มอัตราส่วนทางการเงินให้ดูสวยงาม แต่หุ้นที่มีหนี้จำนวนมาก คือหุ้นที่เราควรจะหลีกเลี่ยง บริษัทคุณภาพดีจำนวนไม่น้อยก็ประสบปัญหาล้มละลายเพราะหนี้ เพราะในเวลาทุกอย่างดูดี เจ้าหนี้จะไม่ค่อยมายุ่งกับธุรกิจ แต่พอทุกสิ่งเข้าสู่ช่วงยากลำบาก เจ้าหนี้เริ่มตั้งข้อสงสัยและจะดึงเงินกลับอย่างรวดเร็ว วิกฤตเศรษฐกิจจนถึงวิกฤตบริษัทส่วนมากมักเกิดจากปัญหา “สภาพคล่องและหนี้” เช่นกรณีวิกฤตตั๋ว B/E ในปีนี้ก็ทำให้หุ้นหลายตัวเป็นหุ้นปลิดชีวิต

3.”หุ้นล้าสมัย” ในยุคนี้ ความล้าสมัยไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจเติบโตไม่ได้ แต่อาจทำให้ธุรกิจล้มหายไปเลย เพราะการแข่งขันที่ “ข้ามสนาม” สมัยนี้ธุรกิจใหญ่ ๆ หรือหลาย ๆ สินค้าจะเป็นลักษณะกินรวบมากขึ้น และหุ้นล้าสมัยมีลักษณะหนึ่งที่คล้ายกันคือ ลูกค้าใหม่ไม่ปรากฏ ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่อยู่มานาน และเป็นกลุ่มคนสูงอายุ หุ้นลักษณะนี้จะค่อย ๆ ปลิดชีวิตเราอย่างช้า ๆ ผลประกอบการจะทรงและทรุด จนถึงวันที่บริษัทกลายเป็นหุ้นราคาถูกเรื้อรัง

4.”หุ้นบินก่อนผ่อนที่หลัง” หุ้นที่ธุรกิจสบายในวันนี้แต่จะลำบากในอนาคต เป็นหุ้นที่ควรระวัง เช่นธุรกิจที่เลียนแบบได้ง่าย คนทำคนแรกก็จะสบายก่อนและลำบากทีหลังเมื่อคู่แข่งใหม่เข้ามา หุ้นที่หลาย ๆอย่างดูดี โตสูง ต้องระวังว่าอนาคตจะยั่งยืนต่อไปได้หรือไม่ เหมือนกับคำพูดที่ว่าแชมป์เป็นง่ายแต่รักษาแชมป์ยากกว่า หรือธุรกิจวัฏจักรหรือหุ้นโภคภัณฑ์ในวันที่ทุกอย่างสวยหรู คือหุ้นที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากเมื่อวงจรขาลงมาถึง หุ้นประมูล หุ้นโครงการ ก็มีโอกาสเข้าข่ายลักษณะนี้ถ้าแข่งขันกันสูง หรือธุรกิจมุ่งแต่จะคว้างาน ผลสุดท้ายธุรกิจได้งานจำนวนมาก แต่ไม่สร้างกำไร ธุรกิจที่ดีควรจะลำบากในวันนี้ แต่ “สบายสุด ๆ” อย่างถาวรในอนาคต

5.”หุ้นอริเทคโนโลยี” เพื่อนที่จำเป็นที่สุดของธุรกิจในยุคนี้ น่าจะชื่อว่า “เทคโนโลยี” ธุรกิจไหนที่นำเทคโนโลยีมาใช้ได้ดีที่สุดคือผู้ชนะ ยุคนี้คำว่า disruptive technology หรือเทคโนโลยีที่ทำลายล้างนั้นถูกพูดถึงบ่อย แต่ถ้าสังเกตจะพบว่าเทคโนโลยีประจำวันที่เราใช้อยู่ปัจจุบันล้วนทำลายล้างสิ่งเก่า ๆ ทั้งสิ้น หุ้นที่ต่อต้านเทคโนโลยี ส่วนมากจะมีจุดจบที่ไม่ดี ดังนั้นเทคโนโลยีนอกจากต้องไม่เป็นภัยต่อสินค้าบริการ ธุรกิจ กระบวนการ เครื่องจักร บริษัทยังต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดีกว่าคู่แข่ง เทคโนโลยีคือโอกาสและความเสี่ยงที่สุดอย่างหนึ่งของโลกธุรกิจยุคนี้

6.”หุ้นเบี้ยล่าง” บ่อยครั้งนักลงทุนมักให้ราคากับหุ้นผู้ตามมากกว่าผู้นำ เนื่องจากหุ้นผู้ตามมีขนาดเล็กกว่า โอกาสการเติบโตจึงสูงกว่า หุ้นเบี้ยล่างมักมีขนาด market cap ไม่ใหญ่ นักลงทุนก็หวังกำไรโตก้าวกระโดดรายไตรมาส หุ้นเหล่านี้ในสนามธุรกิจเป็นเบี้ย แต่ราคาหุ้นเหมือนเป็นขุน ธุรกิจที่แข่งขันกันหนัก ๆ เราจะรู้ว่าไม่ใช่ง่ายที่ธุรกิจเล็กจะแข่งขันชนะธุรกิจใหญ่กว่าได้ หุ้นเบี้ยล่างที่ประสบความสำเร็จได้ ต้องไม่ถูกธุรกิจใหญ่บีบให้อยู่ในเกมการแข่งขัน แต่ต้องสามารถ “หนี” ไปทำในสิ่งที่ธุรกิจใหญ่ทำไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนในกระดานหมากรุก คือเบี้ยมักจะตายก่อน

7.”หุ้นพึ่งคนอื่น” หุ้นที่ต้องพึ่งปัจจัยบางอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ ย่อมมีเหตุให้เกิดเหตุการณ์ “ที่พักพิง” นั้นหายไป แม้ว่าทุกธุรกิจต้องพึ่งพาคนอื่น แต่จุดสำคัญคือ ธุรกิจที่มี “ทางเลือก” ในการพึ่งคนหลาย ๆ คนย่อมได้เปรียบกว่า เช่น ลูกค้ามีพันคน ย่อมปลอดภัยกว่าลูกค้าไม่กี่คน มีซัพพลายเออร์หลายรายย่อมปลอดภัยกว่ามีรายเดียว พึ่งพาใบอนุญาตเพียงใบเดียวที่ออกจากรัฐ ย่อมเสี่ยงกว่าธุรกิจที่ไม่ต้องพึ่งพาใบอนุญาต

8.”หุ้นเด่นราคาฟ้าประทาน” ไม่ว่าหุ้นจะดีขนาดไหน การซื้อหุ้นในราคาแพงย่อมทำให้ผลตอบแทนเงินลงทุนเราแย่ลง หุ้นกลุ่มนี้มักจะมี story ยอดเยี่ยม ราคาหุ้นขึ้นตลอด มีคนพูดถึงมาก ยิ่งหุ้นขึ้นรุนแรงเท่าไร ยิ่งมีความเสี่ยงเท่านั้น หุ้นน่าเบื่อไม่เคยปลิดชีวิต สิ่งที่หวือหวาต่างหากที่อันตราย

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หุ้นยักษ์แห่งวอลสตรีท

 ผมมักถูกถามอยู่เนือง ๆ  ว่าทำไมไม่ไปลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐที่มีบริษัทที่โดดเด่นระดับโลกมากมายที่น่าจะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก”  ที่เป็นหุ้นที่ผมชอบลงทุน  คำตอบของผมมีหลายข้อซึ่งมักจะรวมถึง  ความจริงที่ว่า  มันเป็นตลาดที่ผมไม่มีความรู้มากพอในการที่จะเลือกหุ้นลงทุน  จริงอยู่  ผมก็อาจจะมีความคิดอยู่บ้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเหล่านั้นผลิตและขายให้กับคนทั่วโลกรวมถึงผม  แต่เมื่อเทียบกับคนหนุ่มสาวโดยเฉพาะที่เป็นนักลงทุนมืออาชีพทั่วโลกแล้ว  ผมก็เป็น  “หมู” ดี ๆ  นั่นเอง  ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่อยากทำ  ผมชอบแข่งในตลาดที่ผมมีความรู้และความสามารถมากกว่าคนอื่นเช่นในตลาดที่กำลังพัฒนามากกว่า   ประเด็นต่อมาก็คือ  ตลาดหุ้นที่วอลสตรีทนั้น  ผมคิดว่ามันเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก  นั่นก็คือ  ราคาหุ้นส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีราคาที่เหมาะสม  เป็นเรื่องยากมากที่จะหาหุ้นราคาถูกซื้อแล้วกำไรงดงาม  การที่เราจะสามารถลงทุนแล้วทำผลตอบแทนดีกว่าตลาดหรือดัชนีในระยะยาวเป็นไปได้ยาก

    แต่คนก็มักจะสงสัยว่าสิ่งที่ผมพูดข้างต้นอาจจะไม่ถูกในโลก “ยุคใหม่”  เหตุผลก็คือ  คนที่ไปลงทุนซื้อหุ้นเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ในตลาดหุ้นนิวยอร์คเมื่อเร็ว ๆ  นี้หรือที่ทำมาแล้วหลาย ๆ ปี  ต่างก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ  ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านั้นต่างก็ขึ้นไปสูงมากและว่าที่จริงมันก็สูงลิ่วมาเป็นสิบปีแล้ว  ดูเหมือนว่ามันไม่ใช่เรื่อง ฟลุ๊กหรือบังเอิญ  เพราะเทคโนโลยีจะเป็นเรื่องของชีวิตในอนาคตของคนทั้งโลก  การลงทุนถือหุ้นเหล่านั้นยาวนานน่าจะเป็นวิธีที่จะให้ผลตอบแทนสูงและมีความมั่นคงและมันเป็นการลงทุนตามหลักการของ Value Investing อย่างแน่นอน  คนที่ไม่ยอมลงทุนในหุ้นเหล่านั้นในที่สุดก็จะ  “แพ้”  เพราะหุ้น  “ยุคเก่า”  นั้น  นับวันจะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ  แม้แต่ วอเร็น บัฟเฟตต์ เองก็เริ่มลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี  เริ่มตั้งแต่ ไอบีเอ็ม  และล่าสุดก็คือหุ้นแอปเปิล

    ผมเองไม่สามารถที่จะตอบได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร  แต่เมื่อ 3-4 วันที่ผ่านมา  ผมได้อ่านงานวิจัยของ GOBankingRates ซึ่งแสดงผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นยักษ์ใหญ่ที่เป็น  “ซุปเปอร์สต็อก” ของตลาดหุ้นอเมริกาที่เราคุ้นเคยกว่าสิบบริษัท  เพื่อแสดงว่าถ้าเราซื้อหุ้นลงทุนย้อนหลังไป 10 ปี  เราจะได้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละกี่เปอร์เซ็นต์  ผมคิดว่าน่าสนใจและมันอาจจะเป็นบทเรียนที่ดีได้

    หุ้นตัวแรกก็คือ  หุ้นแอปเปิล  “สุดยอดหุ้น” ที่กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกในวันนี้  ถ้าเราลงทุนซื้อหุ้นเมื่อสิบปีที่แล้วและถือมาจนถึงวันนี้  ผลตอบแทนต่อปีแบบทบต้นของเราจะเท่ากับปีละ 24.32%  เงิน 1,000 เหรียญจะกลายเป็น 8,818 เหรียญ หรือเงินโตขึ้นเกือบ 9 เท่าในเวลา 10 ปี   นี่สำหรับผมแล้วก็เป็นเรื่อง Surprise! หรือความผิดคาด  เพราะผมเองเคยตั้งเกณฑ์ว่าหุ้นที่จะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก”  นั้น  จะต้องโตขึ้นอย่างน้อย 10 เท่าในเวลา 10 ปี หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 26%   และก็เคยแสดงให้เห็นว่าในตลาดหุ้นไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น  มีหุ้นแบบนี้กว่า 10 ตัว  ดังนั้น  ถ้าถือตามเกณฑ์นี้  หุ้นแอปเปิลก็ไม่ถึงจุดที่เป็นซุปเปอร์สต็อกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

    หุ้นตัวที่สองคือหุ้น NETFLIX ที่กำลังโด่งดังจากการให้บริการภาพยนตร์ซีรีผ่านโปรแกรม Streaming แบบบอกรับเป็นสมาชิก  ถ้าเราลงทุนเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่บริษัทยังเล็ก  เงิน 1,000 เหรียญจะกลายเป็น 69,835 เหรียญ หรือโตขึ้น เกือบ 70 เท่า  หรือคิดเป็นผลตอบแทนแบบทบต้นต่อปีถึง 52.9%  อย่างไรก็ตาม  คงเป็นเรื่องไม่ง่ายนักสำหรับเราที่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักบริษัทเลยเมื่อ 10 ปีก่อนที่จะเข้าไปเลือกหุ้นตัวนี้ได้ถูกต้องเมื่อเทียบกับหุ้นแอปเปิลที่ดังมากแล้วตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน

    หุ้นตัวที่สามคือหุ้นกูเกิลที่หลายคนบอกว่าไม่มีใครทาบได้ในแง่ความสามารถในการแข่งขัน  10 ปีที่ผ่านมาเงิน 1,000 เหรียญโตขึ้นเป็นเพียง 2,940 เหรียญ ให้ผลตอบแทนเพียงปีละ 11.39% ซึ่งน่าจะน้อยยิ่งกว่าซื้อกองทุนรวมอิงดัชนีในตลาดหุ้นไทย  และนี่ก็คือการลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่และโด่งดังมากจนคนรู้จักไปทั่วโลกแล้ว

    ตัวที่ 4 คือหุ้นวอลท์ดิสนีย์  หุ้นธุรกิจยุคเก่าที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมานาน  เงิน 1,000 เหรียญกลายเป็น 3,273 หรือให้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 12.59% นี่ก็เป็นผลงานที่น่าทึ่งมากโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับบริษัทสื่อจำนวนมากที่ต้องล้มหายตายจากไป

    ตัวที่ห้าคือ โค๊ก  หุ้นหลักเก่าแก่ตัวหนึ่งของบัฟเฟตต์ที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นโตขึ้นจาก 1,000 เป็น 2,095 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนปีละแค่ 7.68% พอ ๆ กับดัชนีตลาดหุ้น S&P ของสหรัฐ  ดูเหมือนว่าโค๊กอาจจะกำลังกลายเป็น “อดีต” ซุปเปอร์สต็อกตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว

    ตัวที่ 6 คือหุ้นวอลมาร์ท ที่กำลังต้องต่อสู้กับการถูก Disrupted หรือทำลายโดย E-Commerce  ช่วง 10 ปี เงิน 1,000 ที่ลงทุนในหุ้นวอลมาร์ท ก็ยังโตขึ้นเป็น 2,158 เหรียญ หรือได้ผลตอบแทนปีละ 8% แบบทบต้น  และนี่ก็อาจจะแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของอดีตซุปเปอร์สต็อกที่  “ตายยาก” หรืออาจจะตายอย่างช้า ๆ  มีเวลาให้คนขายหุ้นได้ทัน

    ตัวที่ 7 คือไมโครซอฟท์ “ยักษ์ดิจิตอล” ที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่ง  เงินลงทุน 1,000 เหรียญในช่วง 10 ปีโตขึ้นเป็น 2,893 เหรียญ ให้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 11.21%  ไม่โดดเด่นมากแต่ก็ไม่เลวนักสำหรับหุ้นยักษ์ที่คนถือแล้ว “สบายใจ” เพราะยังไงเสียไม่มีใครมาแทนวินโดว์ได้

    ตัวที่ 8 คือหุ้น ไนกี้  ที่เป็นหุ้น “ยุคเก่า” ที่นักลงทุน “New Gen” อาจจะเบือนหน้าหนีเมื่อ 10 ปีก่อน  แต่ถ้าลงทุน  เงิน 1,000 เหรียญจะกลายเป็น 4,091 เหรียญ หรือได้ผลตอบแทน  “สุดยอด” ถึงปีละ 15.13% แบบทบต้นเป็นเวลา 10 ปี

    ตัวที่ 9 คือหุ้น GE บริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่และ  “เปลี่ยนโลก”  เข้าสู่ยุคเครื่องใช้ไฟฟ้า  แต่เมื่อ 10 ปีที่แล้วถ้านักลงทุนคิดว่ามันจะ “กลับมา” ยิ่งใหญ่ หรือคิดว่าราคาหุ้น “ถูกมาก” พวกเขาก็คิดผิด  เพราะเงิน 1,000 เหรียญจะเหลือเพียง 857 เหรียญ ใน 10 ปี  หรือขาดทุนเฉลี่ยปีละ1.52%

    ตัวที่ 10 คือหุ้น อเมซอน ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นทุกวันและกำลังเปลี่ยนวิถีชีวิตการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนจำนวนมากในโลก  เมื่อ 10 ปีที่แล้วที่บริษัทกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วแต่ขาดทุนอย่างหนักคงมี VI จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถจะลงทุนกับบริษัทที่มี Market Cap. สูงลิ่วแต่ไม่มีกำไรได้  แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผิด  เพราะ เงินลงทุน 1,000 เหรียญโตขึ้นเป็น 12,246 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 28.47% ใน 10 ปี  ถือว่าเป็นซุปเปอร์สต็อกอย่างสมบูรณ์

    ตัวที่ 11 คือหุ้นไฟเซอร์ หุ้นยาที่เป็นเมกาเทรนด์แห่งอนาคต  แต่ถ้าใครลงทุนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เงิน 1,000 เหรียญก็โตขึ้นเป็นเพียง 1,772 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนปีละ 5.89%  บางทีนี่อาจจะไม่ใช่บริษัทที่จะเป็นผู้ชนะในธุรกิจแห่งอนาคตก็เป็นได้ เหนือสิ่งอื่นใด  มันใหญ่มากอยู่แล้วเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

    ตัวที่ 12 คือหุ้นแม็คโดนัลด์  หุ้นอาหารที่ดิจิตัลไม่สามารถทำลายมันได้ เงินลงทุน 1,000 เหรียญ เติบโตขึ้นเป็น 3,836 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 14.39% ในเวลา 10 ปี และนี่ก็คือหุ้นอาหารที่ให้ผลตอบแทนสูงและ  “ไม่เสี่ยง”  ในยุคดิจิตอล

    หุ้นตัวสุดท้ายก็คือหุ้นที่ไม่สนกระแสของดิจิตอลนั่นก็คือหุ้น สตาร์บักส์ ที่กลายเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ในสายตาของคนจำนวนมาก  จากสินค้าพื้น ๆ ที่ “ทุกคนทำได้”   เงิน 1,000 เหรียญที่ลงทุนกับบริษัทกลายเป็น 4,283 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนปีละ 15.66% ในเวลา 10 ปี

    ข้อสรุปที่เป็นภาพใหญ่ที่สุดของผมจากผลตอบแทนของ “หุ้นยักษ์” ในตลาดหุ้นอเมริกาก็คือ  มันไม่สามารถโตเร็วมากเท่ากับซุปเปอร์สต็อกในตลาดที่กำลังพัฒนาได้แม้ว่ามันกำลังจะ “ครองโลก”  ดังนั้น  หากจะลงทุนหุ้นซุปเปอร์สต็อกระดับโลกเพื่อหวังผลตอบแทนสูง ๆ    เราคงจะต้องรู้ก่อนที่บริษัทเหล่านั้นจะดังและใหญ่คับฟ้าแล้ว  อย่างเช่นหุ้น NETFLIX เมื่อ 10 ปีที่แล้ว  เป็นต้น

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-----------------------

วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แนวทาง 7 ประการในการลงทุน

แนวทาง 7 ประการในการลงทุน โดยมีตัวย่อ C-A-N-S-L-I-M ดังนี้


C = ผลกำไรไตรมาสก่อน (Current quarterly earnings) มองหาบริษัทที่เพิ่งประกาศผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 40-500%

A = กำไรต่อปีเพิ่มขึ้น (Annual earnings increases) มองหาบริษัทที่มีความเติบโตติดต่อกัน 5 ปี โดยมีอัตราเติบโตที่ไม่ต่ำกว่า 25% ต่อปี ถ้าหุ้นมีลักษณะอย่างนี้เราไม่จำเป็นต้องสนใจ P/E Ratio ซึ่งช่วงของ P/E อาจจะอยู่ที่ 20 ขึ้นไป

N = สินค้าใหม่ ทีมบริหารใหม่ จุดสูงสุดใหม่ (New products, new management, new highs) หุ้นที่ดีมักจะมีเรื่องราวใหม่ๆอยู่เบื้องหลังมัน เช่น สินค้าใหม่ที่น่าสนใจ หรือ ผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดจุดสูงสุดใหม่

S = อุปสงค์ และ อุปทาน (Supply and demand) หากหุ้นที่มีขนาดเล็กมีปริมาณการซื้อขายสูงๆ จะทำให้โอกาสที่ราคาหุ้นจะถูกขับเคลื่อนสูงขึ้นได้

L = ผู้นำ และ ผู้ตาม (Leaders and laggards) เลือกลงทุนในหุ้นที่มีความเข้มแข็งในอันดับต้นของหมวดนั้นๆ สัก 2-3 บริษัท หุ้นเหล่านี้มักจะปรับตัวดีกว่าหุ้นอื่นๆในหมวดเดียวกันในอัตรา 80-90% ภายใน 12 เดือน อยู่ให้ห่างหุ้นที่ปรับตัวแย่ลงในระยะ 7 เดือน

I = ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบัน (Institutional sponsorship) หาให้ได้ว่าหุ้นตัวใดที่นักลงทุนสถาบันนิยมซื้อ หากเป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนดีและนักลงทุนสถาบันยังมีอยู่น้อย เราอาจจะนำมาเป็นหุ้นที่เราจะเข้าซื้อ

M = ทิศทางของตลาด (Market direction) ตรวจสอบตลาดทุกวันเพื่อหาสัญญาณของการปรับตัวลง และให้ระวังการเข้าซื้อในขณะนั้น
เขาแนะนำให้ทำการขายหุ้นตัดขาดทุนเมื่อหุ้นนั้นตกลงต่ำกว่า 7-8% จากราคาที่ซื้อมาโดยไม่ต้องมีคำถาม และให้ขายหุ้นที่ขึ้นไม่ถึง 20% ภายใน 13 สัปดาห์ ให้ถือหุ้นที่ขึ้นเกิน 20% ภายใน 4-5 สัปดาห์ หุ้นพวกนี้มักจะเป็นหุ้นที่ทำกำไรมากที่สุด
ในกรณีที่หุ้นที่ซื้อมาและมีการปรับตัวขึ้น 25% อย่างรวดเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าอาจจะมีข่าวดี ทำให้นักลงทุนในตลาดแห่กันเข้าเก็บหุ้นอย่างเร่งร้อน เราควรรีบทำกำไรเช่นเดียวกัน

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การขึ้นเครื่องหมายของบริษัทจดทะเบียน

XA, XD, XE, XI, XM, XR, XW, XS, XT (เครื่องหมายแสดงการไม่ได้รับสิทธิต่างๆ) เครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์แสดงไว้บนหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาล่วงหน้า 3 วันทำการก่อนวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหลักทรัพย์นั้น เมื่อตลาดหลักทรัพย์ติดเครื่องหมายประเภทดังกล่าวไว้บนหลักทรัพย์ใด หมายความว่าในวันนั้นผู้ซื้อหลักทรัพย์นี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ประเภทที่ระบุจากการปิดสมุดทะเบียนการพักโอนหุ้นที่กำลังจะเกิดขึ้น 


เครื่องหมาย    ความหมาย
XA    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น
XD    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิเงินปันผล
XE    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิในการแปลงสภาพหลักทรัพย์
XI    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิรับดอกเบี้ย
XM    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
XR    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองหุ้นออกใหม่
XR-CD    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพ
XR-CD/W    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพและใบสำคัญแสดงสิทธิ
XR-D    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นกู้
XR-D/W    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นกู้และใบสำคัญแสดงสิทธิ
XW    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์
XS    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อ หลักทรัพย์ระยะสั้น่
XT    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิรับใบแสดงสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได

cahttradingview

AAPL ชาร์ต โดย TradingView