แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผู้บริหาร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผู้บริหาร แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Content Marketing

ปัจจุบัน ใคร ๆ ก็สนใจ Content Marketing
หนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญ
เพราะมันคือการสร้างสรรค์
และแจกจ่าย Content ที่มี “คุณค่า”
กับกลุ่มเป้าหมาย
โดยต้องการให้กลุ่มเป้าหมาย
กลับมาสร้าง “รายได้” ให้กับเรา
.
5 เทคนิคง่าย ๆ ให้คนสนใจ Content
มีดังต่อไปนี้...
.
1) Content ต้องสนุก
ไม่ว่าเนื้อหา Content จะเป็นวิชาการ
หรือจริงจังแค่ไหน (แค่ไหนเรียกจริงจัง !?)
ถ้าอยากให้มีคนดู-คนอ่านเยอะ ๆ
ต้องปรับให้ “น่าสนใจ”
เช่น คนส่วนใหญ่คงไม่อยากดูคลิปสอนภาษา
ที่มีอาจารย์ใส่สูท ยืนสอนหน้ากระดาษ เสียงเรียบ ๆ
แต่อยากดูคลิปสอนภาษา ที่อาจารย์แต่งตัวแรง ๆ
สอนด้วยเทคนิคแพรวพราว มีลูกเล่น ขำ ๆ #จริงไหม?
.
.
2) Content ต้องเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย
การเลือกเนื้อหาให้ “เกี่ยวข้อง” นั้นสำคัญมาก
มีหลายครั้งที่แบรนด์ เน้นทำเนื้อหาตลกอย่างเดียว
ไม่เกี่ยวข้องกับ “กลุ่มเป้าหมาย” เลยสักนิด!
ถึงแม้จะได้ยอดวิวเยอะ ยอดไลค์สูง
แต่ก็จะได้จากกลุ่มคนที่เราไม่ต้องการ
พวกเขาไม่สนใจซื้อสินค้าของเราอยู่ดี!
.
.
3) Content ต้องสม่ำเสมอ
คำว่า “สม่ำเสมอ “ในที่นี้หมายถึง
ทั้งในแง่เนื้อหา และระยะเวลา
ของการนำเสนอ Content ใหม่ ๆ
คนส่วนใหญ่ชอบความสม่ำเสมอ
อย่าปล่อยให้แฟน ๆ ของคุณรอนาน
ไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่? #ไม่งั้นเค้าจะจากไป
.
.
4) Content ต้องจริงใจ
เนื้อหาของ Content
ต้องทำให้คนดู-คนอ่าน รู้สึกว่าเรา “จริงใจ”
ไม่ควรให้ข้อมูล Tie-in ยัดเยียดโฆษณา
ซึ่งจะทำให้รู้สึกไม่ดี เหมือนโดนหลอกมาฟังขายของ หรือถ้าจะขายของ ก็ทำให้เห็นชัดไปเลยว่า กำลังขายของข้อมูล/เนื้อหา Content กับ การขายของ ควรแยกจากกันผู้ชม/คนอ่าน จะรู้สึกชื่นชอบ เพราะรู้สึกว่าเรา “จริงใจ”
.
.
5) Content ต้องมีคุณค่า
หัวใจหลักของ Content Marketing
คือการสร้างสรรค์เนื้อหาที่มี “คุณค่า”
ตราบใดที่เราทำ Content โดยคำนึงถึง “คุณค่า”
กลุ่มเป้าหมายก็จะชื่นชมเนื้อหาเหล่านั้น
และติดตามคุณไปตลอด จนกลายเป็นลูกค้าในที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561

งบกำไรขาดทุนเข้าใจง๊ายง่าย

 หากพูดถึงงบการเงินหลายคนคงจะเบือนหน้าหนีเพราะคิดว่าตัวเองไม่ถนัดเรื่องตัวเลข แต่ถ้าลองคิดดูดีๆ ในการลงทุนเราใช้แค่ + - x ÷ เท่านั้นเองครับ ปัญหาจึงไม่ใช่เราไม่ถนัดเรื่องตัวเลขหรอก แต่เรายังเชื่อมโยงคำศัพท์ต่างๆของงบการเงินไม่ถูกต่างหาก แถมยังไม่รู้อีกว่าจุดไหนสำคัญ จุดไหนไม่สำคัญ ...
สุดท้ายอ่านจบก็ยังงงอยู่ดีว่ากำไรตรงนี้ต่างจากกำไรตรงนั้นยังไง?? คำศัพท์ต่างๆนั้นมีที่มาที่ไปยังไง สุดท้ายก็เลยไม่อ่านมันซะเลย งั้นบทความนี้จะยกตัวอย่างให้เข้าใจที่มาที่ไปของงบกำไรขาดทุนแบบง๊ายง่ายอย่างนี้
สมมุติบริษัท Apble ผลิตโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ uPhone ขายเครื่องละ 10,000 บาท ซึ่งปี 2560 ขายได้ทั้งหมด 1 ล้านเครื่องเท่ากับบริษัทนี้มีรายได้(Revenue) 10,000 ล้านบาท
อันดับแรก นำรายได้มาหักออกด้วย #ต้นทุนสินค้าหรือวัตถุดิบ เช่น แบตเตอรี่ จอภาพ กล้อง ฯลฯ สมมุติว่าต้นทุนทั้งหมด 4,000 ลบ. ส่วนที่เหลือ 6,000 ลบ.จะเรียกว่า กำไรขั้นต้น(Gross profit) แต่ถ้าต้องการนำไปเทียบกับบริษัทอื่นๆ จะต้องแปลงหน่วยเป็น % ซึ่งเรียกว่า อัตรากำไรขั้นต้น(Gross profit margin) แค่เอา (กำไรขั้นต้น x 100) หารรายได้ = 60%
อันดับที่สอง หลังจากเราได้กำไรขั้นต้นมาแล้ว ก็นำมาหัก #ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร  เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าโฆษณาทำการตลาดต่างๆ สมมุติส่วนนี้ 2,000 ลบ. ก็เอา 6,000-2,000 จะเหลือ 4,000 ลบ.จะเรียกว่า กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี(ebit) เช่นเดิมหากต้องการนำไปเทียบก็แปลงเป็น % แล้วเติมคำว่า margin ต่อท้ายก็จะได้ ebit margin แค่เอา (ebit x 100) หารรายได้ = 40%
อันดับสาม นำ ebit มาลบ ดอกเบี้ยและภาษี สมมุติส่วนนี้ 500 ลบ. ก็เอา 4,000-500 จะเหลือ 3,500 ลบ. ถึงจะเรียกว่า กำไรสุทธิ(Net profit) เช่นเดิมแปลงเป็น % แล้วเติมคำว่า margin จะเรียกว่า อัตรากำไรสุทธิ(Net  profit margin) แค่เอา (กำไรสุทธิ x 100) หารรายได้ = 35%
อันดับสี่ บริษัทจะนำกำไรสุทธิเก็บไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรองเพื่อหมุนทำธุรกิจต่อไปหรือเผื่อจะขยายธุรกิจในอนาคต แล้วค่อยแบ่งส่วนที่เหลือให้ผู้ถือหุ้นถึงจะเรียกว่า เงินปันผล(Dividend yield)
 ถ้าเราเข้าใจแบบนี้ก่อนอ่านงบได้ละก็ เราจะเรียงออกมาเป็นภาพได้เลยว่าค่าใช้จ่ายแต่ละจุดมีความสำคัญยังไง แล้วที่ผู้บริหารบอกว่าจะลดค่าใช้จ่ายส่วนนั้น เพิ่มรายได้ส่วนนี้ มันจะส่งผลกับงบการเงินส่วนไหนบ้าง เรียกว่าเดางบได้ล่วงหน้าเลยด้วยซ้ำ ^^
แต่ปัญหาที่เราเชื่อมโยงงบการเงินไม่ถูกนั้น เกิดจากเราเรียนแบบเดิมๆ ที่ใช้วิธีท่องจำมายังไงล่ะ ฉะนั้นถ้าอยากเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้จริงได้แบบนี้ล่ะก็คอร์ส แกะงบเจาะหุ้นร้อนฯ ที่ efin School กันได้นะครับ เพราะคอร์สนี้จะบอกสิ่งที่นักลงทุนอย่างเราต้องรู้ แต่ดันไม่เคยรู้ ไม่งั้นเราจะกลายเป็นทฤษฎีปึ้ก ปฏิบัติแป้กไม่รู้ด้วยล่ะ !!!

ดูคอร์สเรียนต่างๆของ efin School ได้ที่ https://goo.gl/zCuxqU

ขอบคุณความรู้ดีๆอ่านแล้วชอบเข้าใจง่ายดีครับ


วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เอาไว้อ่านเพื่อเตือนตัวเอง


บทความนี้ผมจะขอนำเอาแนวคิดสำคัญ 5 ข้อสำหรับการพัฒนาเพื่อเป็นเทรดเดอร์ที่ดี ซึ่งถูกถ่ายทอดไว้ในหนังสือ One Good Trade ของคุณ Mike Bellafiore  มาสรุปให้พวกเราได้ลองเรียนรู้กันครับ

1. เตรียมตัวให้พร้อม

Mike Bellafiore สอนให้มองว่าการเทรดนั้นเป็นงานไม่ใช่กิจกรรมอดิเรก (แม้คุณจะนั่งเทรดอยู่ในห้องนอนที่บ้านก็ตาม) ดังนั้นเทรดเดอร์ต้องจริงจัง เตรียมตัวให้พร้อมมากที่สุด ทั้งการหาข้อมูล การทำความเข้าใจแผนระบบเทรด เตรียมร่างกาย และจิตใจ เพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดในตลาด แน่นอนว่าจะมีสิ่งที่เราคาดไม่ถึง

นอกจากนั้นเทรดเดอร์ต้องเตรียมรับมือกับความผิดพลาด ความผิดหวังล้มเหลว เพราะนั้นคือส่วนหนึ่งของเกมส์ สิ่งสำคัญคือการรับมือกับมัน ใช้ประโยชน์เรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิด แล้วก้าวต่อไป

2. ทำงานหนัก

เทรดเดอร์เป็นงานที่มีผลตอบแทนสูง รายได้สูง แม้ไม่ต้องทำงานหนัก 100 ชั่วโมงต่อส้ปดาห์แบบบางอาชีพหรือไม่ต้องหักโหมทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อทำแต้มเอาใจเจ้านาย  แต่ในระยะแรกของการฝึกฝนเพื่อพัฒนาตัวเอง เทรดเดอร์มือใหม่ก็จำเป็นต้องทุ่มเท ทำงานหนักโดยเฉพาะเรื่องการศึกษาหาความรู้ เช่นการอ่านหนังสือ การติดตามข่าวสาร รวมไปถึงการฝึกฝนการวิเคราะห์พฤติกรรมข้อมูลราคาของสินค้า เพื่อให้เกิดทักษะ เกิดการสั่งสมความรู้ที่มากเพียงพอในการพัฒนาต่อยอดต่อไป

3. มีความอดทน

ตลาดหุ้นมีความผันผวนเสมอเป็นธรรมชาติ เทรดเดอร์ต้องเทรดบนราคาที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้ตลอดเวลา ดังนั้นคุณสมบติเรื่องความอดทนจำเป็นต้องมีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การเทรดที่ดี บางกรณีอาจจะอดทนเพื่อรอโอกาส รอจังหวะที่ดีที่คุ้มค่ากับการเสี่ยง ถ้าเทรดเดอร์มีความอดทนต่ำ รอไม่เป็นการรีบเข้าตามอารมณ์ ตามกระแส สุดท้ายก็ผิดพลาด

เช่นเดียวกันแม้มองทิศทางราคาถูก เปิดสถานะได้เข้าถูกทางได้กำไรแต่ถ้าอดทนรอไม่เป็น ใจไม่นิ่งแกว่งไปตามราคาที่ผันผวนระหว่างวัน สุดท้ายไม่เทรดตามแผน  รีบออก ถือสถานะได้ไม่นาน แบบนี้ก็เสียโอกาสและทำให้ไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

4. ต้องมีแผนการเทรด

การเทรดหรือการเก็งกำไร ไม่ใช่การเสี่ยงโชควัดดวงหรือซื้อขายไปตามอารมณ์ ไปตามข่าวลือ เทรดเดอร์มืออาชีพจะต้องมีแผนการเทรด มีการวางแผนการเทรดล่วงหน้าก่อนเข้าไปซื้อขายในตลาดเสมอ เพราะการพัฒนาระบบเทรด การสร้างแผนการเทรดขึ้นมาจะทำให้เรา รู้ว่าควรจะตัดสินใจรับมือกับพฤติกรรมราคาอย่างไร อย่างน้อยต้องรู้จุดเข้า/จุดออก และการประเมินความเสี่ยง เพื่อคำนวณขนาด position size ที่แน่นอนก่อนเข้าไปเทรด

แผนการเทรดจำเป็นเพราะเราอาจจะพบเจอกับสิ่งที่ไม่คาดคิด เจอเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าไม่มีแผน หรือปล่อยให้ทุกอย่างตัดสินใจไปตามอารมณ์ ความผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย และนำมาซึ่งการขาดทุนสูญเสียเงินหนัก

5. มีวินัย

เมื่อพัฒนาแผนการเทรด หรือระบบเทรดขึ้นมาแล้ว สิ่งสำคัญคือเทรดเดอร์ต้องมีวินัยในการบังคับตัวเองให้ตัดสินใจลงมือทำตามแผนให้ได้ แน่นอนว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆในข้ามคืน โดยเฉพาะมือใหม่ ประสบการณ์น้อย เนื่องจากราคาสินค้าที่เคลื่อนไหวไปมาแต่ละวัน บวกกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมีผลต่ออารมณ์ของเทรดเดอร์ อาจจะทำให้เกิดความโลภ ความกลัว การตัดสินใจไปตามอารมณ์เกิดขึ้นได้ง่าย

แม้กระทั่งเรื่องของการจดบันทึกผลการเทรด งานพิเศษที่เป็นกิจวัตรหลังตลาดปิดที่เทรดเดอร์ต้องทำเพื่อทบทวนการเทรดของตัวเอง สิ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของกระบวนการฝึกฝนที่ต้องทำต่อเนื่องทำทุกวันในระยะเวลายาว อาจจะไม่เห็นผลอันสั้น จึงทำให้น้อยคนที่จะสามารถมีวินัยบังคับตัวเองให้ทำต่อเนื่องจนสำเร็จได้

ดังนั้น คุณ  Mike Bellafiore จึงย้ำให้เห็นหลายครั้งว่า การเป็นเทรดเดอร์อาชีพจำเป็นต้องฝึกเรื่องของวินัย การบังคับให้ตัวเองลงมือทำตามแผนตามระบบเทรด เอาชนะจิตใจของตัวเรา

ทั้ง 5 ข้อนี้เป็นแนวทางการพัฒนาไปสู่การเป็นเทรดเดอร์อาชีพ ที่คุณ  Mike Bellafiore ถ่ายทอดเอาไว้ในหนังสือ ที่ผมนำมาฝากให้ได้เรียนรู้กัน แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนในหนังสือ One Good Trade ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับการเป็นเทรดเดอร์ใน prop trading desks รวมถึงกรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนยกเป็นเรื่องเล่าตอนย่อยๆ ทำให้เราสามารถใช้เป็นแนวทางการศึกษาพัฒนาตัวเองให้ไปสู่การเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบสำเร็จได้ ถ้าสนใจลองหาหนังสือมาอ่านกันนะครับ…
Cr: ลืมบันทึก

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

หุ้นขึ้นเครื่องหมาย?

เล่นหุ้นมือใหม่ต้องรู้จักเครื่องหมายต่าง ๆ ที่มีในระบบของตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วย ว่าแต่เครื่องหมายเหล่านี้หมายถึงอะไรกันนะ

มือใหม่หัดเล่นหุ้นอาจจะสงสัยว่า ทำไมบางวันมีหุ้นบางตัวขึ้นเครื่องหมายภาษาอังกฤษ เช่น XD XR XM H SP อยู่ข้างชื่อหุ้น แล้วเครื่องหมายเหล่านั้นคืออะไรล่ะ เกี่ยวกับเราไหม ถ้าอยากรู้ วันนี้ กระปุกดอทคอม จะพาไปรู้จักกับเครื่องหมายเหล่านี้ ซึ่งนักลงทุนมือใหม่ต้องเรียนรู้และจดจำให้ดีเลยค่ะ เพราะถ้าเป็นหุ้นที่เรามีอยู่ นั่นหมายถึงผลประโยชน์ที่เราจะได้หรือไม่ได้ด้วย

ก่อนอื่นมารู้จักกับเครื่องหมายตระกูล X กันก่อน เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แสดงไว้บนหลักทรัพย์นั้นเป็นเวลาล่วงหน้า 3 วันทำการก่อนวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหลักทรัพย์ ดังนั้น เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ติดเครื่องหมายประเภทดังกล่าวไว้บนหลักทรัพย์ใด หมายความว่า เราจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของหุ้นตัวนั้นในวันที่ขึ้นเครื่องหมาย

แล้วทำไมถึงต้อง 3 วันทำการล่ะ? เหตุผลก็เพราะปกติเวลาเราส่งคำสั่งซื้อหุ้น เราจะต้องจ่ายเงินในวันทำการที่ 3 เมื่อเราจ่ายเงินแล้ว ชื่อของเราถึงจะปรากฏอยู่ในรายชื่อผู้ถือหุ้น นั่นจึงต้องขึ้นเครื่องหมายก่อนวันปิดสมุดทะเบียน 3 วันทำการนั่นเอง

ทีนี้มาดูกันว่า มีเครื่องหมายอะไรบ้าง แล้วแต่ละตัวหมายถึงอะไร

XD (Excluding Dividend) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล

XR (Excluding Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่

XW (Excluding Warrant) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์

XS (Excluding Short-term Warrant) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น

XT (Excluding Transferable Subscription Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ โอนสิทธิได้

XI (Excluding Interest) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับดอกเบี้ย

XP (Excluding Principal) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินต้นที่บริษัทประกาศจ่ายคืนในคราวนั้น

XA (Excluding All Privileges) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น

XM (Exclude Meetings) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่มีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น

XN (Exclude Capital Return) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่มีสิทธิได้รับเงินคืนทุน

เห็นแล้วอย่าเพิ่งงงไปค่ะ ถ้าอธิบายง่าย ๆ ก็คือ หากเราอยากได้สิทธิประโยชน์ของหุ้นตัวนั้น เราจะต้องซื้อหุ้นก่อนวันที่จะขึ้นเครื่องหมายนั่นเอง เช่น หุ้น AAA ขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 หมายความว่า หากเราซื้อหุ้น AAA ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 เราจะไม่ได้รับเงินปันผลจากหุ้น AAA ในรอบนี้ แต่ถ้าเราต้องการเงินปันผล เราก็ต้องซื้อหุ้น AAA หรือมีหุ้น AAA ก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 นั่นเอง

ส่วนที่ว่าหุ้นตัวไหนจะขึ้นเครื่องหมายอะไร วันไหนบ้างนั้น สามารถตรวจสอบได้จาก ปฏิทินหลักทรัพย์ (ข้อมูลสิทธิประโยชน์) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เลย

นอกจากเครื่องหมายที่ขึ้นต้นด้วย X แล้ว ก็ยังมีเครื่องหมายอื่น ๆ อีกที่ต้องรู้ คือ

H ย่อมาจาก Trading Halt หมายถึงการหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว สาเหตุอาจเป็นเพราะมีข่าวสารที่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น แต่ทางบริษัทยังไม่ได้แจ้งมายังตลาดหลักทรัพย์ฯ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงสั่งให้หยุดซื้อขายไว้ก่อน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หรือกรณีที่มีข้อมูลบางอย่างอยู่ระหว่างรอการเปิดเผย หรือมีเหตุอื่นที่อาจกระทบต่อการซื้อขายอย่างร้ายแรง ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องสั่งให้หยุดการซื้อขายไว้ก่อน

SP ย่อมาจาก Trading Suspension หมายถึง การห้ามซื้อขายหุ้นเป็นการชั่วคราว เมื่อเกิดกรณีเช่นเดียวกับการขึ้นเครื่องหมาย H แต่บริษัทยังไม่สามารถชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ หรืออาจฝ่าฝืน ละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งไม่ส่งงบการเงินให้ภายในเวลากำหนด ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจะขึ้นเครื่องหมาย SP เพื่อหยุดการซื้อขายหุ้นชั่วคราว

NP ย่อมาจาก Notice Pending หมายถึง บริษัทมีข้อมูลที่ต้องรายงานตลาดหลักทรัพย์และอยู่ในช่วงรอข้อมูลจากบริษัท

NR ย่อมาจาก Notice Received หมายถึง ตลาดหลักทรัพย์ได้รับการชี้แจงข้อมูลจากบริษัทนั้นแล้ว

NC ย่อมาจาก Non-Compliance หมายถึง บริษัทที่เข้าข่ายการถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์

ST ย่อมาจาก Stabilization หมายถึง หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการซื้อหุ้นเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน

ได้ทำความรู้จักกับสัญลักษณ์เหล่านี้ก็จดจำกันไว้นะคะ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนของเราโดยตรงเลย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เว็บไซต์ Kapook

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประเมินราคาพื้นฐานของหุ้น

วิธีเบสิคเลย คือ ใช้สูตร Price = PE x Eps/y เทียบปัจจุบันและอนาคตที่จะถึง

เช่น ในรูปคือ HMPRO
EPS ณ วันประกาศกำไร 9 เดือน คือ 0.26
สรุปคือ เฉลี่ยไตรมาศ ละ 0.086

ถ้าเรามองว่า HMPRO ยังค้าขายดีสม่ำเสมอเหมือน 9 เดือนที่ผ่านมา
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.086) x 35.97 = 12.23

แต่ถ้าคุณมองว่า HMPRO 3 เดือนที่เหลือ ขายดีขึ้นอีก ก็ปรับเอง เช่น
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.100) x 35.97 = 12.90

หรือจะเอา PE ค่าอื่นๆ โดยอ้างธุรกิจค้าปลีกแบบเดียวกันมาใช้ก็ได้ เช่น
Price = (0.086 + 0.086 + 0.086 + 0.100) x 40 = 14.32

ทั้งนี้มีปัจจัยอีกเยอะ เพราะพฤติกรรมและข้อมูลการเลือกซื้อหุ้นแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับว่าคุณประเมินกำไรไว้ยังไง กำไรจะมาเมื่อไหร่ จะซื้อรอเลยมั๊ย หรือ รอให้ดูเป็นไปได้มากกว่านี้แล้วค่อยซื้อ เป็นต้น

เครดิต Smith Ung

วันเสาร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561

15 ข้อเตือนใจ ของ Trader

15 ข้อเตือนใจ ของ Trader
<><><><><><><><><><><><><><>
1) อาชีพเทรดเดอร์เป็นการตามหาเงิน ไม่ใช่อิสรภาพทางการเงิน ที่เข้าใจผิดมาตลอด เพราะเรายังต้องเจอ ความเครียดจาก Position ที่ถืออยู่ในมือ
2) กำไรเฉลี่ย 5 ถึง 10 % ของเทรดเดอร์ถือว่าโอเคแล้ว การจะกินคำใหญ่ <<<Big Trade  Size>>>เป็นเรื่องค่อนข้างยากไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆในตลาดอาจต้องรอเป็นเดือนหรือเป็นปี อย่าให้ความโลภความกลัวเข้าครอบงำโดยเด็ดขาด
3) เทรดเดอร์มีหน้าที่บันทึกข้อมูล จากการเทรดว่าจะได้มากน้อยขนาดไหน เราทำได้แค่ การคาดการณ์แนวโน้มของตลาดเท่านั้น ไม่มีใครสามารถที่จะสั่งการ ตลาดได้
4) ต้องไม่มีญาติโยมในตลาดการเงิน เพราะตลาด ขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์ 100%
5) เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่เสี่ยง และคาดหวัง ผลต่าง ของราคา แต่ละตัว เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ เป็นช่วงๆไปเท่านั้น
6) การเทรด ต้องมีวินัย ปล่อยให้พอร์ตเติบโตสะสมไปจากผลกำไรข้อควรจำต้องไม่เติมเงินเข้าไปในพอร์ตทุกกรณี
7) แนวรับและแนวต้าน ของหุ้นแต่ละตัว เป็นจุดที่ Trader ต้องให้ความสนใจและเฝ้าระวังติดตาม เป็นกรณีพิเศษ
8) การเอาชนะตลาด เป็นทฤษฎี และมโน ภาพ ของคนโง่ ควรรักษาตัวเองให้อยู่รอดในตลาดได้ยืนยาวตลอดไป
9) พยายามทำตามวินัยให้เคร่งครัดตั้งซื้อตั้งขายตรงไหน ให้ทำตามตรงนั้น ขายแล้วราคาขึ้นเด้งใส่หน้าช่างหัวมัน ซื้อแล้วราคาลงให้อดทนรอ ต้องเชื่อตามเทคนิคอลกราฟ
10) พยายามใช้เครื่องมือให้น้อยและเรียบง่ายเหมาะสมกับตัวเอง ถ้าใช้เครื่องมือมากเกินไป จะเกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกันทำให้เกิดความลังเลในการตัดสินใจ
11) ไม่ควรปล่อยให้พอร์ด ขาดสภาพคล่อง เมื่อซื้อหุ้น แล้วราคาถึงเป้าหมายควรขายออก อย่าเติมเงิน โดยเด็ดขาด ควรมีสภาพคล่องอย่างน้อย 40%
12) จากข้อ 11 จะทำให้เทรดเดอร์ได้เปรียบในกรณีที่ ตลาดเป็น<<< b e a r >>>จะมีคนเอาของถูกมาขาย เพราะเกิดแพนิคเซลล์ ขายด้วยเหตุผลความกลัว ขาดเงิน Cut loss ถูก Call margin เราจะสามารถรับของถูกได้โดยทันทีพราะเรายังเหลือเงินในพอร์ท
13) จงจำไว้ว่า ไม่มีใครสามารถซื้อของได้ถูกที่สุดและขายของได้แพงที่สุดแต่ถ้าเจอจังหวะที่ใช่ ให้จัดเต็ม ((All In))ในจังหวะนั้นๆ
14) ไม่ต้องกลัวตกรถ เพราะตลาดมักจะเกิดรูปแบบซ้ำซ้ำกันอยู่เสมอ ตรงกับบทความที่ว่า พฤติกรรมจะซ้ำซากประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย
15) การเทรดในตลาดเป็นเรื่องยาก จงอย่าประมาท ให้บันทึก พฤติกรรมของตัวเอง ทุกการกระทําได้ยิ่งดี สิ่งใดที่ถูกต้อง ให้ทำต่อ สิ่งใดที่ผิดพลาด ต้องกลับมาทบทวนข้อสำคัญ อย่าทำซ้ำอีก
<<< อรุณสวัสดิ์วันหยุดครับเพื่อนๆ วันนี้พาครอบครัวไปเรียนที่ไหนก็ตามขอให้มีความสุข กลับมาจากเที่ยวหากมีเวลาว่างบ้างพอสมควรอย่าลืมทำการบ้าน เพื่อการเทรดในอาทิตย์ ถัดไปนะครับผมโชคดีร่ำรวยทุกท่านครับ>>>5555++++
เครดิต:fackbook

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ข้อคิดจากการลงทุนในหุ้นมา 14 ปีคัดลอกเพิ่นมา

ข้อคิดจากการลงทุนในหุ้นมา 14 ปี
1. พอร์ตเล็กมีโอกาสทำกำไรได้สูงกว่าพอร์ตใหญ่
2. ไม่ว่าจะ VI หรือเทคนิก จะเล่นสั้นหรือยาว ถ้าศึกษารู้จริงล้วนสามารถทำกำไรสูงๆจนเป็นอิสระทางการเงินได้ทั้งนั้น
3. ถ้าต้องการจะเป็นอิสระทางเวลา และสบายใจไม่ต้องเครียดทุกๆวัน ควรลงทุนระยะยาว มองที่มูลค่ากิจการไม่ใช่ราคา
4. การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (VI) กับการถือหุ้นยาวไม่เหมือนกัน การติดดอยไม่เรียกว่าการลงทุนแบบ VI ถ้าพื้นฐานแย่ลงก็ไม่ควรกอดหุ้นไว้
5. อดีตที่สวยหรูของบริษัท ไม่ได้รับประกันว่าอนาคตจะต้องดีด้วย การติดตามการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเสมอๆเป็นสิ่งจำเป็น
6. ไม่มีใครรู้จริง ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ราคาหุ้น สภาวะตลาด หรือแม้แต่ผลประกอบการได้อย่างแม่นยำทุกครั้งไป สิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ การเผื่อใจวางแผนเตรียมรับมือกรณีฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็น
7. หุ้นขึ้นแรงๆมีทุกวัน อย่าไปไล่ซื้อ เรารวยได้โดยไม่จำเป็นต้องไปมีส่วนร่วมในหุ้นทุกตัวที่ขึ้นแรง
8. ไม่มีงานสัมนาไหนที่จะเปลี่ยนคนให้ลงทุนเก่งขึ้นได้จริงแบบทันทีทันใด ดังนั้นอย่าเสียเงินแพงๆไปอบรมสัมนาหุ้นเพื่อหวังรวยเร็ว
9. การลงทุนคือการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่งร้อยเมตร ไม่มี Short cut ไม่มีวิธีรวยเร็ว มีแต่ต้องทุ่มเทศึกษา สะสมความรู้และประสบการณ์เป็นเวลาหลายๆปี ผลตอบแทนที่ได้จะแปรผันตามความขยันทุ่มเทที่เราใส่ลงไป
10. การแลกเปลี่ยนความเห็นกับเพื่อนนักลงทุนจะช่วยให้มีโอกาสพบบริษัทที่น่าสนใจมากขึ้น ดังนั้นควรจะหาโอกาสไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสัมนาฟรีบ้าง เพื่อเพิ่มความรู้และทำความรู้จักเพื่อนนักลงทุนใหม่ๆ
11. ภาพใหญ่ของธุรกิจสำคัญกว่าภาพเล็ก การเข้าไปจ้องมองระยะใกล้ๆในภาพเล็กเพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้มองไม่เห็นภัยคุกคามที่กำลังจะมาถึง ตรงกันข้ามถ้ามองภาพใหญ่ออก ถึงภาพเล็กจะมองผิดไปบ้างก็ไม่ได้เสียหายนัก
12. ซื้อหุ้นคือซื้ออนาคต ถ้ามองอนาคตไม่ออกก็ไม่ควรซื้อ
13. หุ้นขนาดใหญ่ไม่ได้แปลว่าเป็นหุ้นพื้นฐานดี
14 . หุ้นราคาต่ำบาทไม่ได้แปลว่าถูกกว่าหุ้นราคาหลักพัน ความถูกความแพงต้องเทียบราคาหุ้นกับมูลค่ากิจการที่ควรเป็น
15. จะลงทุนให้ได้ผลตอบแทนดีต้องลงทุนในหุ้นเติบโต การลงทุนในหุ้นที่เน้นปันผลแต่กำไรในอนาคตไม่เติบโตจะไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
16. หุ้นของกิจการที่ดี แข็งแกร่ง และเติบโตสูงๆ อาจจะให้ผลตอบแทนที่แย่ได้หากซื้อมาด้วยราคาที่แพง
17. ถึงแม้จะถือหุ้นครั้งละไม่กี่เดือน แต่ก็ต้องมองภาพอนาคต 2-3 ปีข้างหน้าให้ออก
18. อ่านบทวิเคราะห์ ไม่ต้องสนใจราคาเป้าหมาย ส่วนใหญ่เชื่อไม่ได้ ให้เลือกดูเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และนำมาประเมินราคาหุ้นที่เหมาะสมเอง
19. ยิ่งโลภยิ่งจน
20. "กล้าเมื่อคนส่วนใหญ่กลัว และกลัวเมื่อคนส่วนใหญ่กล้า" พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะคำว่า "ส่วนใหญ่" นั้นวัดยาก

ฝากไว้ด้วยนะจ้า😁😁
เครดิต T-DED

วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประโยชน์ของงบดุล

#ประโยชน์ของงบดุล ตอน #ลูกหนี้การค้า
.
ลูกหนี้การค้า เกิดจากการขายเชื่อคือการให้สินค้ากับไปก่อน และจะเรียกเก็บเงินค่าสินค้านั้นในอนาคต ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายการให้เครดิตของแต่ละบริษัท โดยรายการลูกหนี้การค้าที่แสดงในงบดุลนั้นที่เราเห็นกันได้หักรายการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ( หนี้ที่บริษัทคาดการณ์ว่าจะไม่สามารถเก็บได้ในอนาคต ซึ่งเป็นการประมาณการขึ้นส่วนใหญ่ใช้ประสบการณ์ในอดีตประกอบกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่างบการเงินที่เราอ่านนั้นมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมากแค่ไหน ให้เราเข้าไปดูหมายเหตุงบการเงินได้เลยครับ )
.
#ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ส่วนใหญ่มักจะประมาณการจากยอดขาย ไม่ก็ประมาณจากยอดลูกหนี้การค้ารวม
.
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่บริษัทคาดการณ์ไว้ จะนำมาหักลบกับ หนี้สงสัยจะสูญที่เกิดขึ้นจริง ถ้าหนี้ที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่า บริษัทต้องตั้งสำรองเพิ่มและบริษัทจะมีค่าจ่ายเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย กลับกันถ้าหนี้สูญที่ออกมาตอนสิ้นงวด ต่ำกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะกลับรายการที่ตั้งสำรองไว้กลับมาเป็นบวก นี้เป็นผลให้บริษัทมีเงินสดมากขึ้น เพราะบริษัทสำรองเงินนั้นมากเกินไปนั้นเอง ( จะแสดงอยู่ใน CFO )
.
สรุป ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ-สงสัยแต่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้นเป็นค่าประมาณการขึ้นมาแต่มีกับสินทรัพย์ทำให้สินทรัพย์โดยรวมลดลง แต่หนี้สูญคือเกิดขึ้นแล้วบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน  (มีผลต่อกำไรของบริษัท )
.
#อธิบายเสริมแยกธุรกิจ : ลูกหนี้การค้าแต่ละธุรกิจ
.
#ถ้าเป็นธุรกิจค้าปลีก สินค้ามักราคาถูก และเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต การขายมักจะขายเป็นเงินสด ดังนั้นลูกหนี้การค้าจะน้อย เช่น CPALL,HMPRO,ROBINS,BEATY
.
#ถ้าเป็นธุรกิจค้าส่ง ขายยกลัง ยกแพ็ค มักจะมีลูกหนี้การค้าเยอะเพราะลูกค้าจะสั่งที่ละมากๆ มักจะขายให้กับยี่ปั้ว ซาปั้ว เช่น CPF,TCCC,MEGA,ICHI,TKN
.
#ถ้าเป็นธุรกิจในการให้บริการ เช่น โรงพยาบาล โรงแรม จะมีลูกหนี้การค้าน้อยมาก เนื่องจากสินค้าหลักคือการให้บริการ
เช่น BH,BDMS,ERW,CENTEL ยกเว้นธุรกิจธนาคารเป็นธุรกิจในการให้บริการเหมือนกันแต่ ลูกหนี้ของธนาคารคือ ผู้ต้องการใช้เงินหรือผู้กู้นั้นเอง ดังนั้นธุรกิจประเภทธนาคารหรือสถานบันการเงินจะมีลูกหนี้มากเป็นพิเศษ แล้วแต่ cycle ธุรกิจ เศรษฐกิจดีคนกู้มาก เศรษฐกิจแย่คนก็กู้น้อย และขึ้นกับนโยบายภาครัฐเป็นสำคัญ การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของกิจการถือว่ามีความสำคัญมากเพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ เนื่องจากธุรกิจหลักที่มาซึ่งรายได้คือการปล่อยกู้ อย่างที่เราเห็นกันมักจะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ธนาคารต้องตั้งสำรองระหว่างการมากขึ้น จากปัญหาของบริษัทที่กู้เงินมีปัญหา เพราะอาจจะไม่สามารถเก็บหนี้ได้นั้นเอง และมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรในงวดบัญชีนั้น
.
#ถ้าเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือก่อสร้างลูกหนี้ก็จะน้อยหรือถ้ามีมักจะเป็นลูกหนี้การค้าของบริษัทในเครือ เนื่องจากสินค้าที่ขายมีราคาสูง และในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะใช้หลักบัญชีรับรู้รายได้ทั้งจำนวน ซึ่งไว้จะอธิบายต่อนะครับ มันจะยาวเกินไป จบแค่สินทรัพย์หนี้สินไปก่อน เพราะจะมีเรื่องของ Presale และ Backlog เข้ามาเกี่ยวข้อง
.
#ถ้าเป็นธุรกิจก่อสร้าง ส่วนใหญ่มักจะเป็น B2G ไม่ก็ B2B รับงานเป็นช่วงจากบริษัทใหญ่อีกต่อ แบบนี้ก็มักจะไม่มีลูกหนี้การค้าหรือมีน้อย เพราะไม่ได้ขายสินค้า แต่เป็นการก่อสร้างนั้นเอง
หลักการสำคัญในการวิเคราะห์ลูกหนี้คือ เราต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เป็นธุรกิจ ( B2B ) หรือเป็นผู้บริโภคหน่วยสุดท้าย ( B2C ) หรืออาจจะเป็นรัฐบาลก็ได้ในกรณีของธุรกิจก่อสร้าง ( B2G )  แล้วเจอกันใหม่ครับ

#ถ้าเป็นธุรกิจพลังงาน ส่วนใหญ่จะเป็น B2B ไม่ก็ B2G ลูกหนี้จะมากหรือจะน้อยนั้นขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ เพราะถ้าเศรษฐกิจธุรกิจต่างๆย่อมต้องการเพิ่มกำลังการผลิต ความต้องการใช้พลังงานก็มากตามไปด้วย ดังนั้นลูกหนี้ก็เพิ่มตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ลูกหนี้อยู่ในระดับกลางไม่มากไม่น้อย ถ้ายอดขายดี แต่ลูกหนี้น้อย ถือว่าอำนาจในการต่อรองของบริษัทนั้นสูง อาจจะเป็นเพราะมีเทคโนโลยีพิเศษที่แตกต่างจากคู่แข่ง แต่ในไทยไม่มีนะครับ คู่แข่งพอๆกันหมดสำหรับน้ำมัน แต่ถ้าเป็นพลังงานทดแทนการแข่งขันยังน้อย ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนภาครัฐเป็นสำคัญ
.
#หลักการดูงบการเงินในส่วนของหนี้สินของผมคือ จะให้ความสำคัญก็ต่อเมื่อบริษัทนั้นมีรายการลูกหนี้การค้าที่มีนัยสำคัญต่องบการเงิน จะเข้าไปดูรายละเอียดในหมายเหตุงบการเงินว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ของกิจการ เป็นลูกหนี้เก่า หรือ ลูกหนี้ใหม่อย่างไร นโยบายในการให้เครดิตเหมาะสมและทำได้จริงไหม การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้เป็นไปตามปกติหรือไม่ และนำไปเปรียบเทียบหนี้สูญที่เกิดขึ้นจริง ยิ่งบริษัทใช้เวลาในการเก็บหนี้นานยิ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องของสภาพคล่องได้ง่าย เป็นเพราะบริษัทอาจจะขายสินค้าได้จริง แต่กว่าจะได้เงินนาน จึงทำให้ต้องก่อภาระผูกพันธ์ในระยะสั้น ซึ่งถ้าหาได้ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าหาไม่ได้มีปัญหาแน่นอน
.
#Financialsecrets #ความลับทางการเงินที่คุณต้องรู้
.
ความลับทางการเงิน - FinancialSecrets

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เคล็ดลับในการเทรดDW

DW พื้นฐาน
เคล็ดลับในการเทรดDW มีเคล็ดลับอะไรบ้าง!
ถ้าเราคิดจะเล่นDW เราต้องหาหุ้นแม่ให้ได้ก่อน เราต้องวิเคราะห์หุ้นแม่ตัวนั้นๆก่อนที่เราจะเล่นDW
ยกตัวอย่าง=หุ้นIVL11C1808A
                 =หุ้นIVL11P1808A
IVL=ชื่อหุ้นอ้างอิง
11 =โบกเกอร์ของหลักทรัพย์(มีหลายค่าย)
C  =CAII(คลอ)ซื้อเมื่อคาดว่าหุ้นแม่จะปรับตัว  ขึ้น
P = PUT(พุท)ซื้อเมื่อคาดว่าหุ้นแม่จะปรับตัวลง
18 =หมดอายุปี2018
08A=หมดอายุเดือนที่8ของปี
DW แตกต่างจากวอแรนต์ทั่วไป อย่างวอแรนต์ทั่วไปอายุค่อนข้างยาว
แต่DWอายุค่อนข้างสั้นกว่า ปกติอายุDW3-6เดือน
ต่างจากวอแรนต์ทั่วไปยังงัย!!
ปกติDWอายุจะสั้น  DWมีมาค์เก็ตวอคเกอร์
มีมาค์เกตวอคเกอร์ คือ ทำราคาให้ตรงตามตัวหุ้นแม่
อย่างถ้าวอแรนต์บางทีหุ้นแม่ขึ้น ตัวลูกอาจจะไม่ขึ้น
หรือว่าบางทีหุ้นแม่อยู่เฉยๆ ตัวลูกวิ่งขึ้นวิ่งลงตลอดเวลา ซึ่งไม่มีมาค์เก็ตวอคเกอร์ วอแรนต์ขึ้นอยู่ดีมานซัพพลายของวอแรนต์ตัวนั้นๆเท่านั้น เพราะฉะนั้นคนที่เข้ามาเก็งกำไรตัววอแรนต์ สามารถเก็งกำไรได้แบบตามดีมานฯ คนเล่นกันเยอะ แห่ซื้อกันเข้าไป ราคากระฉูด
แต่ถ้าตัวDWมันจะอ้างอิงกับตัวหุ้นแม่ ถ้าแม่ไม่ขึ้น DWก็จะไม่ขึ้น!! ถ้าแม่ขึ้น DWก็จะขึ้น!!
คือDWมีมาค์เก็ตวอคเกอร์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลเลย บางคนกลัว น่ากลัวมาก เสี่ยง แต่กล้าเล่นหุ้นเล็กๆ กล้าเล่นวอแรนต์(ข้อมูลจากหลักทรัพยKGI)
จบ1โพสต์ตี2ขอนอนก่อนง่วงนอนแล้ว ยังไม่ได้โพสต์เรื่องเลือกค่ายไหนเล่นดี เลือกผิดค่ายมีหนาวน่ะครับ😴😴😪😪

DW พื้นฐาน (โพสต์สุดท้าย)
•ความเสี่ยงด้านราคาอ้างอิง
ความเสี่ยงปกติคือ สมมุติเราซื้อบนกระดานหุ้นทั่วไป ซื้อหุ้นแม่ปตท. เกิดมันไม่ขึ้นตามที่เราตั้งใจ อันนี้เรียกว่าความเสี่ยงปกติ
ความเสี่ยงของDWหลักๆคือราคาอ้างอิง
•ความเสี่ยงด้านมูลค่าทางเวลา
อันนี้ทุกคนให้ความสำคัญนิดนึง เพราะว่าบางที เราซื้อเข้าไป เกิดหุ้นตัวแม่ไม่ไปไหน ราคาDWจะลงมา
สมมุติ วันนี้เราซื้อไว้หุ้นปตท.ราคาอยู่ที่240บาทซื้อDWไป1บาท เกิดผ่านไปอาทิตย์นึง
ปตท.ยังราคา240บาทอยู่ แต่DWอาจจะเหลือ99สต.
เหลือ98สต. อันนี้เค้าเรียกว่ามูลค่าทางเวลา หรือบางทีถ้าเราถือหมดอายุ บางทีDWอาจเป็นศูนย์บ. ดูน่ากลัวมั้ยครับ พูดอย่างงี้อาจดูน่ากลัว แต่จริงๆแล้วเรามีเครื่องมือในการช่วยให้นักลงทุนสามารถจัดการกับตัวมูลค่าทางเวลาได้
•ความเสี่ยงสภาพคล่อง(เลือกค่าย)
ถ้าเราเทรดDWกับจ้าวที่คนไม่ค่อยเล่น เป็นจ้าวเล็กๆ ไม่ค่อยมีมูลค่าการซื้อขายกันเท่าไหร่ อาจจะน่ากลัว!!
แต่ถ้าเป็นจ้าวหลักๆ ตรงนี้ไม่น่ากลัว คนเล่นกันเยอะ
(ข้อมูลจากหลักทรัพย์KGI  (SkillLane.com)
ผมไม่อยากให้นักลงทุนหน้าใหม่และคนเก่าเล่นน่ะครับ
ถ้ายังเทรดหุ้นบนกระดานยังไม่เก่งนัก!! ยังเสียอยู่!!
เหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากมีรายได้อย่างรวดเร็วได้100%ต่อปีหรือมากกว่านั้น ต้องยอมรับความเสี่ยงให้ได้ด้วย สมมุติว่าเราเล่นหุ้นตัวใหญ่ หุ้นแม่ขึ้น1ช่อง ลูกขยับขึ้น3ช่อง ถ้าแม่ขยับขึ้น10ช่อง ลูกขยับขึ้น30ช่อง แต่ในทางกลับกัน ถ้าแม่ลง10ช่อง ลูกก็ลง30ช่องเหมือนกัน การลงทุนมีความเสี่ยงควรศึกษาก่อนการลงทุน😎😎😴😴😪😪💞💗💞💗💘💟

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

EMA

ชุดเส้นค่าเฉลี่ย EMA ที่ใช้มี

10,25,50,75,200

EMA10/25

เส้นน้อยตัดเส้นมากขึ้นเป็นสัญญานซื้อระยะสั้น

เส้นน้อยตัดเส้นมากลงเป็นสัญญานขายระยะสั้น

EMA50/75

เส้นน้อยตัดเส้นมากขึ้นเป็นสัญญานซื้อระยะกลาง(Goldencross ระดับที่ 1)

เส้นน้อยตัดเส้นมากลงเป็นสัญญานขายระยะกลาง(Deadcross ระดับที่ 1)

EMA50/200

เส้นน้อยตัดเส้นมากขึ้นเป็นสัญญานซื้อระยะยาว(Goldencross ระดับที่ 2)

เส้นน้อยตัดเส้นมากลงเป็นสัญญานขายระยะยาว
(Deadcross ระดับที่ 2)

กรณีดูราคาปิด

EMA10-EMA25
หุ้นที่พักตัวในขาขึ้น มักจะอยู่ในกรอบไม่หลุด

EMA25
 ถ้าหลุดเป็นสัญญาน Warning ควรจะเริ่มขายหุ้นออกมา(ขาขึ้น/ขาลง ระยะสั้น)

EMA50
ตีความว่า ถ้าเหนือเส้นนี้ เป็นขาขึ้น ถ้าต่ำกว่าเส้นนี้เริ่มเป็นขาลง(ขาขึ้น/ขาลง ลงระยะกลาง 1)

EMA75
ถ้าถึงแนวรับนี้มีโอกาสเด้ง/ร่วง(ขาขึ้น/ขาลง ระยะกลาง 2)

-กรณีหุ้นลง ลงไปชน EMA75 แล้วมีโอกาสเด้งขึ้นไปแถวๆ EMA50
-กรณีหุ้นลง ถ้าลงไปแล้วไม่เด้ง แล้วหลุด EMA75 เตรียมใจลงแรงไปเจอกันที่ EMA200

-กรณีหุ้นขึ้น เริ่มขึ้นมาชน EMA75 แล้วมีโอกาสร่วงลงไปที่ EMA50

EMA200 แนวรับสุดท้าย(ขาขึ้น/ขาลง ระยะยาว)ถ้าหลุดแล้วไม่เด้งกลับมายืนเหนือ EMA200ได้ภายในระยะเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ เตรียมทำใจลงแรง

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

RSI

RSI > 66.66
= แรงซื้อมากกว่าแรงขายในอัตราส่วน 2:1

RSI > 55
= เทรนขาขึ้นเริ่มต้น

RSI >= 40
= อยูในช่วงพักตัว

RSI < 33.33
= แรงขายมากกว่าแรงซื้อในอัตราส่วน 2:1

------------------------------------------

RSI

เมื่อ RSI < 50 Momentum ของหุ้นตัวนั้นๆจะเริ่มเสีย

เมื่อ RSI < 33.33 ข่าวร้ายมักจะตามมาและจะเกิด Panic Sell

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

นักลงทุนควรรู้

1.สำหรับการเล่นหุ้นแล้ว อีคิวสำคัญกว่าไอคิว
2.การมีหุ้นก็เหมือนมีลูก คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ
3.ยอดมนุษย์ไวกิ้ง เกิดขึ้นได้เพราะท้องทะเลที่ปั่นป่วนฉันใด
ยอดมนุษย์นักลงทุน จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะตลาดที่ปั่นป่วนฉันนั้น
4.คนคิดลบจะลุ้นให้หุ้นตก และเมื่อตกจริงๆๆ เขาก็จะไม่กล้าซื้ออยู่ดีเพราะคิดลบ ส่วนคนคิดบวกจะลุ้นว่าหุ้นขึ้น และเมื่อขึ้นจริงๆๆ เขาจะซื้อเพิ่มเพราะมองบวก
5.คนที่ถือคติว่า ไม่ขาย ไม่ขาดทุน ลึกๆๆ แล้วความรู้สึกในใจ
ก็จะบอกว่า ไม่ขาย ไม่กำไร เช่นเดียวกัน และคนที่คิดแบบนี้
บทสรุปสุดท้ายจะจบลงที่ ติดดอย และ ขาหมู
6.ในช่วงวัยต้นของชีวิต จงยอมให้เงินใช้เราทำงาน แต่ในช่วงหลังของชีวิตจงใช้เงินทำงานให้เรา
7.ถ้ายังมีเงินเก็บไม่ถึงหนึ่งล้านบาท อย่างเพิ่งคดเรื่องจะให้เงินทำงานแทน
8.คนที่เชื่อว่ามีโอกาสในวิกฤติ ก็จะพยายามมองหาจนเจอ
ภายในวันเดียว ตลาดหุ้นก็เช่นกัน
9.กรุงโรม ไม่ได้สร้างภายในวันเดียว
10.เราต้องเป็นคนเล่นหุ้น อย่าปล่อยให้หุ้นเล่นเรา
11.การซื้อเฉลี่ยขาลง จะมีความทุกข์ทรมานมากกว่า การซื้อเฉลี่ยขาขึ้น
12.ความทุกข์ส่วนหนึ่งของคนเล่นหุ้น เกิดจากการไปนึกเสียดายถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว
13.การ Cut loss เปรียบเสมือนการตัดหางจิ้งจก เพราะเงินสามารถงอกขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา
14.การ Cut loss คล้ายการวิ่งหนีสินามิ แม้วิ่งเก้อสี่ครั้ง
แต่ครั้งที่ห้าเกิดขึ้นจริง ทำให้รอดตาย
15.รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง แต่นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่
มุ่งไปที่รู้เขา โดยละเลยการรู้เรา
16.แม้ย้อนเวลาได้ แต่จิตยังไม่เปลี่ยน การตัดสินใจก็จะเหมือนเดิม
17.สิ่งที่ต้องแก้ไขคือจิต ไม่ใช่การประดิษฐ์เครื่องย้อนเวลา
18.ไม่ต้องสนใจว่าหุ้นมาจากราคาไหน แต่จงสนใจว่ามันจะไปที่ราคาไหนมากกว่า
19.จากการวิจัยพบว่า เวลาขาดทุนในหุ้นผู้หญิงจะเจ็บปวดมากกว่าผู้ชายอย่างน้อย 30%
20.การซื้อหุ้นถูกตัว ไม่สำคัญเท่าการซื้อหุ้นถูกจังหวะ
21.ถ้าได้เงินมาแบบไม่ใช้สมอง ในที่สุดก็จะสูญเสียมันไปแบบไร้สมอง
22.มีเงินแต่ไม่มีเวลา ดีกว่ามีเวลาแต่ไม่มีเงิน
23.อิสรภาพทางจิตใจ ไม่ขึ้นกับอิสรภาพทางการเงิน
24.แนวต้านที่แข็งแกร่ง ถ้าทะลุผ่านไปได้
มันจะกลับกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง
25.ความสุขที่ได้จาก ศิลปะ ดนตรี และ กีฬา คือความสุข
ที่ไม่ต้องใช้เงินทองอะไรมากมาย
26.เมื่อวันสุดท้ายของชีวิตมาถึง ตัวเลขในสมุดบัญชี
ก็เป็นเพียงภาพมายา
27.มรดกที่ดีที่สุดสำหรับลูกหลาน คือมรดกทางปัญญาและอารมณ์
28.แทงหวยหลายๆๆ ตัวโอกาสถูกมากขึ้น แต่แทงหุ้นหลายๆๆ ตัวโอกาสผิดมากขึ้น
29.จำนวนหุ้นในพอร์ต 5 ตัวเหมาะสมที่สุด
30.ซื้อถูกขายแพง ไม่บาป ในทางกลับกันซื้อแพงขายถูก ก็ไม่ได้บุญ
31.ยิ่งดีใจมากเท่าไรตอนได้ ก็จะทุกข์มากเท่านั้นตอนเสีย
32.การเล่นหุ้น คือการต่อสู้กับใจของตัวเอง ไม่ใช่คนอื่น
33.ความโลภ คือเมล็ดพันธ์ที่นอนเนื่องในขันธสันดานของมนุษย์ทุกคนตลาดหุ้นคือปุ๋ยชั้นดี
34.บางคนชอบเสียดายตอนหุ้นขึ้น และเสียใจตอนหุ้นตก
แล้วอย่างนี้จะหาความสุขตอนไหน
35.อย่าเอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาเป็นอารมณ์ของตัวเอง
36.ถ้าเกิดมาเพื่อเป็นมวยแบบเขาทรายแล้วไปเลียนแบบการชกของสมรักษ์ ก็มีแต่แพ้
37.อิสรภาพทางการเงิน เริ่มต้นที่เงินสิบล้านบาท
38.คนที่รู้เรื่องดาบอย่างลึกซึ้ง ไม่จำเป็นต้องฟันดาบเก่งเสมอไป
39.ไม่มีใครเขามาสงสารนักมวยที่ถูกน็อก เช่นเดียวกับไม่สงสารนักเล่นหุ้นที่ขาดทุน
40.คนที่เคยลิ้มรสชาติของกำไรซึ่งได้มาง่ายๆๆ ยากที่จะเลิกเล่นหุ้น
41.นักเล่นหุ้นทุกคนควรมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ของตัวเอง
42.สติคือการรู้ตัวก่อนที่จะซื้อและรู้ถึงผลที่จะตามมา
สัมปชัญญะ คือความรู้ตัวขณะกำลังคลิกซื้อ
43.สิตทำให้เฉลียว สัมปชัญญะทำให้ฉลาด
44.ตลาดหุ้น มีโอกาสใหม่ๆๆ เสมอ วันพระไม่ได้มีหนเดียว
45.จงตระหนักในวันที่ตลาดตระหนก จึงตื่นตัวในวันที่ตลาดตื่นกลัว
46.ต้องวิเคราะห์มากกว่าวิจารณ์ และแก้ไขมมากกว่าแก้ตัว
47.ความคิดเป็นเรื่องของสมอง ความรู้สึกเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ
48.คนที่มีบุญเก่า แค่ซื้อหุ้นตามความรู้สึก ก็รวยได้
49.จงเล่นหุ้นอย่างเหยี่ยว ที่สายตากว้างไกลมององค์รวม
ก่อนจะโฉบลงล่าเหยื่อ
50.การสวนทิศทางความรู้สึก ทำได้ยากกว่าความคิด
51.ร้อยละ 70 ของคนรวยากทั่วโลก ไม่ได้รวยเพราะมรดก
52.คนรวยจะมีรายได้มากกว่าหนึ่งทางเสมอ
53.รายได้มักจะมาจากสามทาง คือรายได้จากเงินเดือน
รายได้จากพรสวรรค์ และรายได้จากดอกผล
54.คนที่เคยไปดิสนี่ย์แลนด์แล้ว จะไม่มีความสุขจากการไปดรีมเวิร์ลอีก
55.ธรรมชาติมอบความสุขให้อย่างยุติธรรมตามกำลังของแต่ละคน
56.ผึ้งก็สามารถหาความสุขแบบผึ้งได้ โดยที่ไม่ต้องไปอิจฉาพญาอินทรี
57.พระภิกษุ มีทั้งอิสรภาพทางการเงิน และอิสรภาพทางใจ
58.คนที่ชอบคิดย้อนอดีต จะไม่มีเวลาสำหรับการคิดถึงอนาคต
59.การทำบุญคือการลงทุนข้ามชาติ
60.ความบังเอิญไม่มีอยู่จริง โชคเกิดจากการเสวยบุญเก่า
61.วิกฤติคือโอกาส ตอนประท้วงปิดสนามบิน AOT ลงไปที่ 16 บาท ตอนน้ำท่วมใหญ่ KCE ลงไป 4 บาท
ตอนวิกฤติน้ำมัน PTT ตกไปที่ 198 บาท
62.สอนให้ลูกรู้จักลงทุน ดีกว่าลงทุนไว้ให้ลูก
63.ระหว่างบำเหน็จที่ได้ทันที 600,000 กับบำนาญที่ได้ตลอดชีวิตเดือนละ 6,000 คนกล้าเสี่ยงจะเลือกบำเหน็จ
64.บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์มักจะช้ากว่าตลาดก้าวหนึ่งเสมอ
65.เงินเป็นทาสที่ซื่อสัตย์ แต่เป็นเจ้านายที่โหดร้าย
66.การพยากรณ์หุ้น มีความแม่นยำน้อยกว่าการพยากรณ์อากาศ
67.ในตลาดหุ้น เหตุผลมักแพ้อารมณ์
68.ซื้อหุ้น New High ดีกว่าซื้อหุ้น New Low
ตัดขายหุ้น New Low ดีกว่าตัดขายหุ้น New High
69.นักเล่นหุ้นที่ดีต้องเป็นได้ทั้งบ๊อกเซอร์ตอนหุ้นลง
และไฟท์เตอร์ตอนหุ้นขึ้น
70.เล่นกีฬายังมีการขอเวลานอกตอนเพลี่ยงพล้ำ
เล่นหุ้นก็ต้องรู้จักขอเวลานอกให้ตัวเอง
71.ไม่มีกีฬาใดที่จำนวนผู้เล่นมากกว่า 11 คน เพราะโค้ชดูแลไม่ทั่วถึงหุ้นก็เช่นเดียวกัน 12 ตัวในพอร์ตมากเกินไป
72.ระดับการศึกษาไม่ได้แปรผันตามความสามารถในการเล่นหุ้น
73.เวลาลงทุนพลาดให้โทษตัวเอง แม้ว่าสิ่งแวดล้อมจะมีส่วนบ้างก็ตาม
74.อดีตเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่อนาคตอยู่ในกำมือ
75.ศึกษาอดีต ทำให้หยั่งรู้อนาคต
76.ทุกๆๆ ปี ตลาดหุ้นจะมีช่วงที่หุ้นตกหนัก รอสวนช่วงนั้นปลอดภัยที่สุด
77.ในการซื้อหรือขายหุ้น ควรแบ่งออกเป็นสามจังหวะ
และเหลือไว้ซื้อหรือขายในจังหวะที่สาม 50%
78.ทุกครั้งที่ขายหุ้นที่ได้กำไรออกไป ต้องตัดขายหุ้นในพอร์ตที่ขาดทุนออกไปด้วย
79.ตลาดขาขึ้นต้องซื้อให้เร็วที่สุด ตลาดขาลงต้องขายออกให้เร็วที่สุด
80.คนคิดบวก จะระวังแต่ไม่ระแวง จะตะหนักแต่ไม่ตระหนก
81.นักวิ่งมาราธอนมาวิ่ง 100 เมตรก็แพ้ นักลงทุนระยะยาวมาเล่นระยะสั้นก็พลาด
82.นักเล่นหุ้นควรมีงานอดิเรกประจำตัว เพื่อใช้เบี่ยงเบนจิตออกจากตลาด
83.ควรประเมินผลงานการลงทุนของตัวเอง ทุกๆๆ สามเดือน
84เงินเก็บล้านแรกยากที่สุด ล้านต่อๆๆไปจะง่ายขึ้นเรื่อยๆๆ
85.แนวรับ แนวต้าน เป็นเรื่องสำคัญมากในทางจิตวิทยาการเล่นหุ้น
86.อย่าไปพยายามแก้ตัวกับหุ้นที่เคยขาดทุน แต่ให้ไปเอาคืนกับหุ้นที่เคยกำไร
87.หุ้นบางตัวเหมือนภูเขาไฟฟูจี ดูสวยแต่เนื้อในไม่มีอะไรเลย
88.เงินที่อยู่นิ่งไม่มีพลัง เหมือนน้ำที่อยู่ในเขื่อน ถ้าต้องการให้เงินทำงาน ต้องให้มันเคลื่อนไหว
89.คนรวยได้ดอกผล คนจนเสียดอกเบี้ย
90.อย่าคร่ำครวญ เสียดายน้ำนมที่หกลงพื้นไปแล้ว
91.การยึดติดกับราคาในอดีต คือกับดักของนักเล่นหุ้น
92.สปริงที่ทนการหดตัว 10% ไม่ได้ ก็จะทนการยืดตัว 10% ไม่ได้เช่นกัน
93.นักมวยต้องเก็บแรงไว้รอสวนเสมอ นักลงทุนต้องเก็บเงินสดไว้บ้างเผื่อจังหวะดีๆๆ
94.คนเล่นหุ้นจะมีภพชาติย่อยๆๆ อยู่ตลอดเวลา บางวันขึ้นสวรรค์ บางวันลงนรก
95.เมื่อ "ขายหมู" จงยินดีที่คนซื้อต่อจากเราไป ได้กำไร
96.ช่วงที่รู้สึกว่ามือตก สติหาย ให้หยุดลงทุน
97.วิกฤติหนักจะมาทุก ๆๆ 10-12 ปีป หุ้นจะตกมากกว่า 50%
98.กล้าได้ ต้องกล้าเสีย ไม่ใช่หวังจะได้อย่างเดียว
Credit : หนังสือจิตของนักเล่นหุ้น โดยทันตแพทย์สม สุจีรา

วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กฏธรรมชาติของหุ้นที่จะขึ้น

1)  หุ้นจะขึ้นเมื่อมีการซื้อ Offer ในราคาที่ผิดธรรมชาติ
   แนวคิด:  ทำไม อยู่ดีๆ ถึงมีคนยอมซื้อแพง ทั้งๆที่ สามารถซื้อถูกได้
   สาเหตุ :  เวลาคนจะสร้างราคา เขาจะต้องทำให้ราคาขึ้น ถ้าไม่ยอมซื้อขวา ราคาก็ไม่มีวันขึ้น

2) ในจังหวะหุ้นที่จะขึ้นจริง คนสร้างราคา เขาจะไม่ทำให้เราได้ซื้อง่ายๆ เพราะเราจะมักไม่เคยซื้อได้ทัน สำหรับราคาที่ดี
     แนวคิด:  ทำไม มีการรวบ  offer  ไม้ใหญ่ๆ ยกช่อง หรือ การรวบแล้ว เติม Bid โดยทันที
      สาเหตุ :  เวลาคนจะสร้างราคา ถ้าเมื่อเป็นจังหวะที่จะเล่นเร็ว เขาจะต้องทำให้ ราคาขึ้นเร็วที่สุดเพื่อให้ห่างจากทุนในการทำราคา เพราะ ถ้าเป็นเรา เราคงอยากให้ ไปไกลจากทุนเรามากที่สุด ในเวลาสั้น ก่อนมีใครจะมาทิ้งหุ้นใส่

3) เวลาหุ้นก่อนจะขึ้นเป็น trend ยาวๆ กราฟเทคนิค มันจะบอกว่า ให้ขายสะ

       แนวคิด :  ทำไม มีการสร้างกราฟเทคนิคให้ขายก่อนขึ้น
       สาเหตุ :  ของดีมักไม่มีใครอยากแบ่ง อยากได้ของให้อยู่ในมือมากที่สุด แล้วค่อยไปขายให้ได้ราคาสูง ในจำนวนที่พอใจ

4) เวลาหุ้นขึ้นแรง มักเปิดราคากระโดด

       แนวคิด : หุ้นที่ขึ้นแรงๆ มักราคาเปิดกระโดด ผ่าน ราคาที่ผิดธรรมชาติ อย่างแนวต้านที่ไม่เคยผ่าน
        สาเหตุ :  กฎการสร้างราคา คนสร้างราคา ต้องทำให้ ราคาขึ้นอย่างรวดเร็ว ป้องกันการขายหุ้นใส่ ถ้ายิ่งมีคนขายใส่มากเท่าไหร่ ภาระของคนทำราคา จะเหนื่อยมากเท่านั้น ในการจะทำราคาขึ้น เพราะ ต้นทุนจะสูงขึ้นไปด้วยโดยทันทีกับการรับของคนที่ขายใส่เพื่อทำราคาไม่ให้ลง

  กฎให้ท่องจำและฝึกฝน
         
             " อย่ากลัวหุ้นเปิดโดด อย่ากลัวการซื้อแบบหวดขวาที่ offer  เพราะ มันคือ กฎธรรมชาติ เวลาที่หุ้นจะขึ้น  แต่เพียงแค่เราจะควบคุมความเสี่ยงอย่างไรกับ การซื้อแบบพฤติกรรมหุ้นขึ้น

Cr โค้ชเหว่ง super trader republic

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หุ้นปลิดชีวิต

หุ้นปลิดชีวิต โดย วีระพงษ์ ธัม

การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น นักลงทุนจะใช้เวลาส่วนใหญ่มุ่งหา “หุ้นดี” ที่สามารถทำกำไรสูง ๆ เพื่อซื้อเข้าพอร์ต อย่างไรก็ดีประสบการณ์ผมพบว่าการพยายามเลี่ยง “หุ้นอันตราย” นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า เพราะนอกจากจะเสียทั้งเงิน เรายังเสียเวลาติดตาม เสียสุขภาพอีกด้วย และนี่คือลักษณะหุ้นปลิดชีวิตที่ผมพยายามระวังหรือหลีกเลี่ยง

1.”หุ้นผู้บริหารสีเทา” การลงทุนเป็นกิจกรรมที่เราต้องพึ่งพาผู้บริหาร 100% ผู้บริหารที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง และผู้บริหารสีเทาก็สร้างปัญหามากกว่าที่เราคิดมาก ศิลปะในการดูผู้บริหารนั้นถูกพูดถึงอยู่ในบทความมากมายหลายครั้ง แต่ผมขอเอาจากงานวิจัยจากหนังสือเลี้ยงลูกเล่มหนึ่งที่ชื่อ How Children Succeed ที่พูดว่าเด็กที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตสูง ต้องมีคุณสมบัติเด่น 7 ข้อ คือ มีความมุ่งมั่น รู้จักควบคุมตนเองรู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ มีความกระตือรือร้น รู้จักเข้าหาสังคม มีความกตัญญูยึดในความดี มองโลกในแง่บวก มีความสงสัยใคร่รู้และชอบค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งผู้บริหารที่ดีก็น่าจะมีลักษณะนี้เช่นเดียวกัน และบทสรุปหนึ่งที่ใช้ได้เสมอคือ ผู้บริหารที่ดีควรจริงจังกับธุรกิจมากกว่าตลาดหุ้น

2.”หุ้นหนี้สูงท่วมหัว” ในตำราการเงิน การก่อหนี้ให้ผลที่ดีเสมอในเชิงตัวเลขให้ผลลัพธ์ที่นักลงทุนชอบ คือเพิ่มกำไรได้ง่าย เพิ่มอัตราส่วนทางการเงินให้ดูสวยงาม แต่หุ้นที่มีหนี้จำนวนมาก คือหุ้นที่เราควรจะหลีกเลี่ยง บริษัทคุณภาพดีจำนวนไม่น้อยก็ประสบปัญหาล้มละลายเพราะหนี้ เพราะในเวลาทุกอย่างดูดี เจ้าหนี้จะไม่ค่อยมายุ่งกับธุรกิจ แต่พอทุกสิ่งเข้าสู่ช่วงยากลำบาก เจ้าหนี้เริ่มตั้งข้อสงสัยและจะดึงเงินกลับอย่างรวดเร็ว วิกฤตเศรษฐกิจจนถึงวิกฤตบริษัทส่วนมากมักเกิดจากปัญหา “สภาพคล่องและหนี้” เช่นกรณีวิกฤตตั๋ว B/E ในปีนี้ก็ทำให้หุ้นหลายตัวเป็นหุ้นปลิดชีวิต

3.”หุ้นล้าสมัย” ในยุคนี้ ความล้าสมัยไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจเติบโตไม่ได้ แต่อาจทำให้ธุรกิจล้มหายไปเลย เพราะการแข่งขันที่ “ข้ามสนาม” สมัยนี้ธุรกิจใหญ่ ๆ หรือหลาย ๆ สินค้าจะเป็นลักษณะกินรวบมากขึ้น และหุ้นล้าสมัยมีลักษณะหนึ่งที่คล้ายกันคือ ลูกค้าใหม่ไม่ปรากฏ ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่อยู่มานาน และเป็นกลุ่มคนสูงอายุ หุ้นลักษณะนี้จะค่อย ๆ ปลิดชีวิตเราอย่างช้า ๆ ผลประกอบการจะทรงและทรุด จนถึงวันที่บริษัทกลายเป็นหุ้นราคาถูกเรื้อรัง

4.”หุ้นบินก่อนผ่อนที่หลัง” หุ้นที่ธุรกิจสบายในวันนี้แต่จะลำบากในอนาคต เป็นหุ้นที่ควรระวัง เช่นธุรกิจที่เลียนแบบได้ง่าย คนทำคนแรกก็จะสบายก่อนและลำบากทีหลังเมื่อคู่แข่งใหม่เข้ามา หุ้นที่หลาย ๆอย่างดูดี โตสูง ต้องระวังว่าอนาคตจะยั่งยืนต่อไปได้หรือไม่ เหมือนกับคำพูดที่ว่าแชมป์เป็นง่ายแต่รักษาแชมป์ยากกว่า หรือธุรกิจวัฏจักรหรือหุ้นโภคภัณฑ์ในวันที่ทุกอย่างสวยหรู คือหุ้นที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากเมื่อวงจรขาลงมาถึง หุ้นประมูล หุ้นโครงการ ก็มีโอกาสเข้าข่ายลักษณะนี้ถ้าแข่งขันกันสูง หรือธุรกิจมุ่งแต่จะคว้างาน ผลสุดท้ายธุรกิจได้งานจำนวนมาก แต่ไม่สร้างกำไร ธุรกิจที่ดีควรจะลำบากในวันนี้ แต่ “สบายสุด ๆ” อย่างถาวรในอนาคต

5.”หุ้นอริเทคโนโลยี” เพื่อนที่จำเป็นที่สุดของธุรกิจในยุคนี้ น่าจะชื่อว่า “เทคโนโลยี” ธุรกิจไหนที่นำเทคโนโลยีมาใช้ได้ดีที่สุดคือผู้ชนะ ยุคนี้คำว่า disruptive technology หรือเทคโนโลยีที่ทำลายล้างนั้นถูกพูดถึงบ่อย แต่ถ้าสังเกตจะพบว่าเทคโนโลยีประจำวันที่เราใช้อยู่ปัจจุบันล้วนทำลายล้างสิ่งเก่า ๆ ทั้งสิ้น หุ้นที่ต่อต้านเทคโนโลยี ส่วนมากจะมีจุดจบที่ไม่ดี ดังนั้นเทคโนโลยีนอกจากต้องไม่เป็นภัยต่อสินค้าบริการ ธุรกิจ กระบวนการ เครื่องจักร บริษัทยังต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดีกว่าคู่แข่ง เทคโนโลยีคือโอกาสและความเสี่ยงที่สุดอย่างหนึ่งของโลกธุรกิจยุคนี้

6.”หุ้นเบี้ยล่าง” บ่อยครั้งนักลงทุนมักให้ราคากับหุ้นผู้ตามมากกว่าผู้นำ เนื่องจากหุ้นผู้ตามมีขนาดเล็กกว่า โอกาสการเติบโตจึงสูงกว่า หุ้นเบี้ยล่างมักมีขนาด market cap ไม่ใหญ่ นักลงทุนก็หวังกำไรโตก้าวกระโดดรายไตรมาส หุ้นเหล่านี้ในสนามธุรกิจเป็นเบี้ย แต่ราคาหุ้นเหมือนเป็นขุน ธุรกิจที่แข่งขันกันหนัก ๆ เราจะรู้ว่าไม่ใช่ง่ายที่ธุรกิจเล็กจะแข่งขันชนะธุรกิจใหญ่กว่าได้ หุ้นเบี้ยล่างที่ประสบความสำเร็จได้ ต้องไม่ถูกธุรกิจใหญ่บีบให้อยู่ในเกมการแข่งขัน แต่ต้องสามารถ “หนี” ไปทำในสิ่งที่ธุรกิจใหญ่ทำไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนในกระดานหมากรุก คือเบี้ยมักจะตายก่อน

7.”หุ้นพึ่งคนอื่น” หุ้นที่ต้องพึ่งปัจจัยบางอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ ย่อมมีเหตุให้เกิดเหตุการณ์ “ที่พักพิง” นั้นหายไป แม้ว่าทุกธุรกิจต้องพึ่งพาคนอื่น แต่จุดสำคัญคือ ธุรกิจที่มี “ทางเลือก” ในการพึ่งคนหลาย ๆ คนย่อมได้เปรียบกว่า เช่น ลูกค้ามีพันคน ย่อมปลอดภัยกว่าลูกค้าไม่กี่คน มีซัพพลายเออร์หลายรายย่อมปลอดภัยกว่ามีรายเดียว พึ่งพาใบอนุญาตเพียงใบเดียวที่ออกจากรัฐ ย่อมเสี่ยงกว่าธุรกิจที่ไม่ต้องพึ่งพาใบอนุญาต

8.”หุ้นเด่นราคาฟ้าประทาน” ไม่ว่าหุ้นจะดีขนาดไหน การซื้อหุ้นในราคาแพงย่อมทำให้ผลตอบแทนเงินลงทุนเราแย่ลง หุ้นกลุ่มนี้มักจะมี story ยอดเยี่ยม ราคาหุ้นขึ้นตลอด มีคนพูดถึงมาก ยิ่งหุ้นขึ้นรุนแรงเท่าไร ยิ่งมีความเสี่ยงเท่านั้น หุ้นน่าเบื่อไม่เคยปลิดชีวิต สิ่งที่หวือหวาต่างหากที่อันตราย

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หุ้นยักษ์แห่งวอลสตรีท

 ผมมักถูกถามอยู่เนือง ๆ  ว่าทำไมไม่ไปลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐที่มีบริษัทที่โดดเด่นระดับโลกมากมายที่น่าจะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก”  ที่เป็นหุ้นที่ผมชอบลงทุน  คำตอบของผมมีหลายข้อซึ่งมักจะรวมถึง  ความจริงที่ว่า  มันเป็นตลาดที่ผมไม่มีความรู้มากพอในการที่จะเลือกหุ้นลงทุน  จริงอยู่  ผมก็อาจจะมีความคิดอยู่บ้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเหล่านั้นผลิตและขายให้กับคนทั่วโลกรวมถึงผม  แต่เมื่อเทียบกับคนหนุ่มสาวโดยเฉพาะที่เป็นนักลงทุนมืออาชีพทั่วโลกแล้ว  ผมก็เป็น  “หมู” ดี ๆ  นั่นเอง  ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่อยากทำ  ผมชอบแข่งในตลาดที่ผมมีความรู้และความสามารถมากกว่าคนอื่นเช่นในตลาดที่กำลังพัฒนามากกว่า   ประเด็นต่อมาก็คือ  ตลาดหุ้นที่วอลสตรีทนั้น  ผมคิดว่ามันเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก  นั่นก็คือ  ราคาหุ้นส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีราคาที่เหมาะสม  เป็นเรื่องยากมากที่จะหาหุ้นราคาถูกซื้อแล้วกำไรงดงาม  การที่เราจะสามารถลงทุนแล้วทำผลตอบแทนดีกว่าตลาดหรือดัชนีในระยะยาวเป็นไปได้ยาก

    แต่คนก็มักจะสงสัยว่าสิ่งที่ผมพูดข้างต้นอาจจะไม่ถูกในโลก “ยุคใหม่”  เหตุผลก็คือ  คนที่ไปลงทุนซื้อหุ้นเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ในตลาดหุ้นนิวยอร์คเมื่อเร็ว ๆ  นี้หรือที่ทำมาแล้วหลาย ๆ ปี  ต่างก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ  ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านั้นต่างก็ขึ้นไปสูงมากและว่าที่จริงมันก็สูงลิ่วมาเป็นสิบปีแล้ว  ดูเหมือนว่ามันไม่ใช่เรื่อง ฟลุ๊กหรือบังเอิญ  เพราะเทคโนโลยีจะเป็นเรื่องของชีวิตในอนาคตของคนทั้งโลก  การลงทุนถือหุ้นเหล่านั้นยาวนานน่าจะเป็นวิธีที่จะให้ผลตอบแทนสูงและมีความมั่นคงและมันเป็นการลงทุนตามหลักการของ Value Investing อย่างแน่นอน  คนที่ไม่ยอมลงทุนในหุ้นเหล่านั้นในที่สุดก็จะ  “แพ้”  เพราะหุ้น  “ยุคเก่า”  นั้น  นับวันจะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ  แม้แต่ วอเร็น บัฟเฟตต์ เองก็เริ่มลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี  เริ่มตั้งแต่ ไอบีเอ็ม  และล่าสุดก็คือหุ้นแอปเปิล

    ผมเองไม่สามารถที่จะตอบได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร  แต่เมื่อ 3-4 วันที่ผ่านมา  ผมได้อ่านงานวิจัยของ GOBankingRates ซึ่งแสดงผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นยักษ์ใหญ่ที่เป็น  “ซุปเปอร์สต็อก” ของตลาดหุ้นอเมริกาที่เราคุ้นเคยกว่าสิบบริษัท  เพื่อแสดงว่าถ้าเราซื้อหุ้นลงทุนย้อนหลังไป 10 ปี  เราจะได้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละกี่เปอร์เซ็นต์  ผมคิดว่าน่าสนใจและมันอาจจะเป็นบทเรียนที่ดีได้

    หุ้นตัวแรกก็คือ  หุ้นแอปเปิล  “สุดยอดหุ้น” ที่กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกในวันนี้  ถ้าเราลงทุนซื้อหุ้นเมื่อสิบปีที่แล้วและถือมาจนถึงวันนี้  ผลตอบแทนต่อปีแบบทบต้นของเราจะเท่ากับปีละ 24.32%  เงิน 1,000 เหรียญจะกลายเป็น 8,818 เหรียญ หรือเงินโตขึ้นเกือบ 9 เท่าในเวลา 10 ปี   นี่สำหรับผมแล้วก็เป็นเรื่อง Surprise! หรือความผิดคาด  เพราะผมเองเคยตั้งเกณฑ์ว่าหุ้นที่จะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก”  นั้น  จะต้องโตขึ้นอย่างน้อย 10 เท่าในเวลา 10 ปี หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 26%   และก็เคยแสดงให้เห็นว่าในตลาดหุ้นไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น  มีหุ้นแบบนี้กว่า 10 ตัว  ดังนั้น  ถ้าถือตามเกณฑ์นี้  หุ้นแอปเปิลก็ไม่ถึงจุดที่เป็นซุปเปอร์สต็อกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

    หุ้นตัวที่สองคือหุ้น NETFLIX ที่กำลังโด่งดังจากการให้บริการภาพยนตร์ซีรีผ่านโปรแกรม Streaming แบบบอกรับเป็นสมาชิก  ถ้าเราลงทุนเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่บริษัทยังเล็ก  เงิน 1,000 เหรียญจะกลายเป็น 69,835 เหรียญ หรือโตขึ้น เกือบ 70 เท่า  หรือคิดเป็นผลตอบแทนแบบทบต้นต่อปีถึง 52.9%  อย่างไรก็ตาม  คงเป็นเรื่องไม่ง่ายนักสำหรับเราที่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักบริษัทเลยเมื่อ 10 ปีก่อนที่จะเข้าไปเลือกหุ้นตัวนี้ได้ถูกต้องเมื่อเทียบกับหุ้นแอปเปิลที่ดังมากแล้วตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน

    หุ้นตัวที่สามคือหุ้นกูเกิลที่หลายคนบอกว่าไม่มีใครทาบได้ในแง่ความสามารถในการแข่งขัน  10 ปีที่ผ่านมาเงิน 1,000 เหรียญโตขึ้นเป็นเพียง 2,940 เหรียญ ให้ผลตอบแทนเพียงปีละ 11.39% ซึ่งน่าจะน้อยยิ่งกว่าซื้อกองทุนรวมอิงดัชนีในตลาดหุ้นไทย  และนี่ก็คือการลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่และโด่งดังมากจนคนรู้จักไปทั่วโลกแล้ว

    ตัวที่ 4 คือหุ้นวอลท์ดิสนีย์  หุ้นธุรกิจยุคเก่าที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมานาน  เงิน 1,000 เหรียญกลายเป็น 3,273 หรือให้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 12.59% นี่ก็เป็นผลงานที่น่าทึ่งมากโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับบริษัทสื่อจำนวนมากที่ต้องล้มหายตายจากไป

    ตัวที่ห้าคือ โค๊ก  หุ้นหลักเก่าแก่ตัวหนึ่งของบัฟเฟตต์ที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นโตขึ้นจาก 1,000 เป็น 2,095 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนปีละแค่ 7.68% พอ ๆ กับดัชนีตลาดหุ้น S&P ของสหรัฐ  ดูเหมือนว่าโค๊กอาจจะกำลังกลายเป็น “อดีต” ซุปเปอร์สต็อกตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว

    ตัวที่ 6 คือหุ้นวอลมาร์ท ที่กำลังต้องต่อสู้กับการถูก Disrupted หรือทำลายโดย E-Commerce  ช่วง 10 ปี เงิน 1,000 ที่ลงทุนในหุ้นวอลมาร์ท ก็ยังโตขึ้นเป็น 2,158 เหรียญ หรือได้ผลตอบแทนปีละ 8% แบบทบต้น  และนี่ก็อาจจะแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของอดีตซุปเปอร์สต็อกที่  “ตายยาก” หรืออาจจะตายอย่างช้า ๆ  มีเวลาให้คนขายหุ้นได้ทัน

    ตัวที่ 7 คือไมโครซอฟท์ “ยักษ์ดิจิตอล” ที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่ง  เงินลงทุน 1,000 เหรียญในช่วง 10 ปีโตขึ้นเป็น 2,893 เหรียญ ให้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 11.21%  ไม่โดดเด่นมากแต่ก็ไม่เลวนักสำหรับหุ้นยักษ์ที่คนถือแล้ว “สบายใจ” เพราะยังไงเสียไม่มีใครมาแทนวินโดว์ได้

    ตัวที่ 8 คือหุ้น ไนกี้  ที่เป็นหุ้น “ยุคเก่า” ที่นักลงทุน “New Gen” อาจจะเบือนหน้าหนีเมื่อ 10 ปีก่อน  แต่ถ้าลงทุน  เงิน 1,000 เหรียญจะกลายเป็น 4,091 เหรียญ หรือได้ผลตอบแทน  “สุดยอด” ถึงปีละ 15.13% แบบทบต้นเป็นเวลา 10 ปี

    ตัวที่ 9 คือหุ้น GE บริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่และ  “เปลี่ยนโลก”  เข้าสู่ยุคเครื่องใช้ไฟฟ้า  แต่เมื่อ 10 ปีที่แล้วถ้านักลงทุนคิดว่ามันจะ “กลับมา” ยิ่งใหญ่ หรือคิดว่าราคาหุ้น “ถูกมาก” พวกเขาก็คิดผิด  เพราะเงิน 1,000 เหรียญจะเหลือเพียง 857 เหรียญ ใน 10 ปี  หรือขาดทุนเฉลี่ยปีละ1.52%

    ตัวที่ 10 คือหุ้น อเมซอน ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นทุกวันและกำลังเปลี่ยนวิถีชีวิตการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนจำนวนมากในโลก  เมื่อ 10 ปีที่แล้วที่บริษัทกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วแต่ขาดทุนอย่างหนักคงมี VI จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถจะลงทุนกับบริษัทที่มี Market Cap. สูงลิ่วแต่ไม่มีกำไรได้  แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผิด  เพราะ เงินลงทุน 1,000 เหรียญโตขึ้นเป็น 12,246 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 28.47% ใน 10 ปี  ถือว่าเป็นซุปเปอร์สต็อกอย่างสมบูรณ์

    ตัวที่ 11 คือหุ้นไฟเซอร์ หุ้นยาที่เป็นเมกาเทรนด์แห่งอนาคต  แต่ถ้าใครลงทุนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เงิน 1,000 เหรียญก็โตขึ้นเป็นเพียง 1,772 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนปีละ 5.89%  บางทีนี่อาจจะไม่ใช่บริษัทที่จะเป็นผู้ชนะในธุรกิจแห่งอนาคตก็เป็นได้ เหนือสิ่งอื่นใด  มันใหญ่มากอยู่แล้วเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

    ตัวที่ 12 คือหุ้นแม็คโดนัลด์  หุ้นอาหารที่ดิจิตัลไม่สามารถทำลายมันได้ เงินลงทุน 1,000 เหรียญ เติบโตขึ้นเป็น 3,836 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 14.39% ในเวลา 10 ปี และนี่ก็คือหุ้นอาหารที่ให้ผลตอบแทนสูงและ  “ไม่เสี่ยง”  ในยุคดิจิตอล

    หุ้นตัวสุดท้ายก็คือหุ้นที่ไม่สนกระแสของดิจิตอลนั่นก็คือหุ้น สตาร์บักส์ ที่กลายเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ในสายตาของคนจำนวนมาก  จากสินค้าพื้น ๆ ที่ “ทุกคนทำได้”   เงิน 1,000 เหรียญที่ลงทุนกับบริษัทกลายเป็น 4,283 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนปีละ 15.66% ในเวลา 10 ปี

    ข้อสรุปที่เป็นภาพใหญ่ที่สุดของผมจากผลตอบแทนของ “หุ้นยักษ์” ในตลาดหุ้นอเมริกาก็คือ  มันไม่สามารถโตเร็วมากเท่ากับซุปเปอร์สต็อกในตลาดที่กำลังพัฒนาได้แม้ว่ามันกำลังจะ “ครองโลก”  ดังนั้น  หากจะลงทุนหุ้นซุปเปอร์สต็อกระดับโลกเพื่อหวังผลตอบแทนสูง ๆ    เราคงจะต้องรู้ก่อนที่บริษัทเหล่านั้นจะดังและใหญ่คับฟ้าแล้ว  อย่างเช่นหุ้น NETFLIX เมื่อ 10 ปีที่แล้ว  เป็นต้น

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-----------------------

วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560

5 สิ่งที่มือใหม่ลงทุนหุ้น?

5 สิ่งที่มือใหม่ลงทุนหุ้น..มักประสบพอเจอก่อนจะพลาด !!
1. จังหวะการลงทุนไม่ดี
ใครที่ซื้อพร้อมๆ คนอื่นในตลาด ซื้อตอนใกล้ดอย จังหวะข่าวดี เพื่อนเล่นหุ้นแล้วเขาบอกมาว่าทำกำไรง่าย ได้กำไรเยอะ (แต่พอตอนที่เล่นยากขาดทุนนะ เราไม่เคยได้รู้..เพราะเขาไม่ได้บอกเราไง 555) ซื้อตามเพื่อน ซื้อตามข่าววงใน ต้องระวังให้ดี เพราะ ข่าววงในที่มาถึงเราอาจจะกลายเป็นข่าว วงนอกสุดแล้วก็ได้ !!
2. อยากรวยเร็วๆ
กลุ่มนี้มักเอาเงินทั้งหมดที่มีมาเทรดดิ้งเร็วๆ อยากได้เร็วๆ อยากรวยไวๆ ซึ่งมันเป็นการฝืนธรรมชาติ อาจเพราะ ยังไม่เข้าใจกลไกตลาดหุ้นดีพอ การลงทุนที่ดี เราต้องรู้จักการกระจายความเสี่ยง รักษาเงินต้น และ วาง Money Management ให้ดี
3. หาความรู้ไม่พอ
การเล่นตามคนอื่น พอติดหุ้นก็ยังเชื่อคนอื่น วิธีแก้ คือ ต้องเรียนรู้วิธีค้นหาคัดเลือกหุ้นได้ด้วยตัวเอง เช่น ศึกษาพื้นฐานกิจการหุ้นตัวนั้น ฝึกดูงบการเงินกิจการเบื้องต้น ฝึกดูกราฟเทคนิคอลเพื่อดูรอบและจังหวะลงทุนในหุ้นตัวที่เราสนใจ อ่านหนังสือด้านการลงทุน และติดตามข่าวสาร
4. ขี้กลัวเกินไป
คนที่กลัวเสียเงิน หรือ งก ไม่ควรลงทุนในอะไรที่เสี่ยง เพราะจะทำใจได้ยาก เวลาลงทุนราคาหุ้น อาจจะมีการแกว่งขึ้น และ ลง เดี๋ยวกำไร เดี๋ยวขาดทุน ถ้าใจเราไม่นิ่งพออาจทำให้การตัดสินใจของเราผิดพลาดได้ เช่น กำไรได้นิดเดียวดีใจรีบขาย พอขาดทุนดันขาดทุนเยอะ คิดว่าเดี๋ยวยังไงหุ้นก็ขึ้น ยิ่งถือราคาหุ้นยิ่งลง เพราะไม่รู้จักวิธีการตั้ง "Stop loss"
5. ยอมแพ้ง่ายไป
คนที่เล่นหุ้นผ่านอะไรมาเยอะ จะปล่อยวางกับความผิดหวังได้เก่ง คนพวกนี้ไม่ค่อยใช้อารมณ์นั้นเอง ตอนได้ไม่ดีใจเวอร์ ตอนเสียก็ทำใจเรียนรู้ได้ การลงทุนในหุ้นแบบระยะยาว ถ้าเริ่มตั้งแต่เปิดตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีตลาดจะให้ผลตอบแทนถึงปีละ 10% โดยเฉลี่ย

เพราะฉะนั้นเริ่มลงทุน ต้องใจเย็นๆ ... อยากได้ 5 เด้ง 10 เด้ง มันทำได้ แต่ต้องใช้เวลานะ !!!

วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แนวทาง 7 ประการในการลงทุน

แนวทาง 7 ประการในการลงทุน โดยมีตัวย่อ C-A-N-S-L-I-M ดังนี้


C = ผลกำไรไตรมาสก่อน (Current quarterly earnings) มองหาบริษัทที่เพิ่งประกาศผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 40-500%

A = กำไรต่อปีเพิ่มขึ้น (Annual earnings increases) มองหาบริษัทที่มีความเติบโตติดต่อกัน 5 ปี โดยมีอัตราเติบโตที่ไม่ต่ำกว่า 25% ต่อปี ถ้าหุ้นมีลักษณะอย่างนี้เราไม่จำเป็นต้องสนใจ P/E Ratio ซึ่งช่วงของ P/E อาจจะอยู่ที่ 20 ขึ้นไป

N = สินค้าใหม่ ทีมบริหารใหม่ จุดสูงสุดใหม่ (New products, new management, new highs) หุ้นที่ดีมักจะมีเรื่องราวใหม่ๆอยู่เบื้องหลังมัน เช่น สินค้าใหม่ที่น่าสนใจ หรือ ผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดจุดสูงสุดใหม่

S = อุปสงค์ และ อุปทาน (Supply and demand) หากหุ้นที่มีขนาดเล็กมีปริมาณการซื้อขายสูงๆ จะทำให้โอกาสที่ราคาหุ้นจะถูกขับเคลื่อนสูงขึ้นได้

L = ผู้นำ และ ผู้ตาม (Leaders and laggards) เลือกลงทุนในหุ้นที่มีความเข้มแข็งในอันดับต้นของหมวดนั้นๆ สัก 2-3 บริษัท หุ้นเหล่านี้มักจะปรับตัวดีกว่าหุ้นอื่นๆในหมวดเดียวกันในอัตรา 80-90% ภายใน 12 เดือน อยู่ให้ห่างหุ้นที่ปรับตัวแย่ลงในระยะ 7 เดือน

I = ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบัน (Institutional sponsorship) หาให้ได้ว่าหุ้นตัวใดที่นักลงทุนสถาบันนิยมซื้อ หากเป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนดีและนักลงทุนสถาบันยังมีอยู่น้อย เราอาจจะนำมาเป็นหุ้นที่เราจะเข้าซื้อ

M = ทิศทางของตลาด (Market direction) ตรวจสอบตลาดทุกวันเพื่อหาสัญญาณของการปรับตัวลง และให้ระวังการเข้าซื้อในขณะนั้น
เขาแนะนำให้ทำการขายหุ้นตัดขาดทุนเมื่อหุ้นนั้นตกลงต่ำกว่า 7-8% จากราคาที่ซื้อมาโดยไม่ต้องมีคำถาม และให้ขายหุ้นที่ขึ้นไม่ถึง 20% ภายใน 13 สัปดาห์ ให้ถือหุ้นที่ขึ้นเกิน 20% ภายใน 4-5 สัปดาห์ หุ้นพวกนี้มักจะเป็นหุ้นที่ทำกำไรมากที่สุด
ในกรณีที่หุ้นที่ซื้อมาและมีการปรับตัวขึ้น 25% อย่างรวดเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าอาจจะมีข่าวดี ทำให้นักลงทุนในตลาดแห่กันเข้าเก็บหุ้นอย่างเร่งร้อน เราควรรีบทำกำไรเช่นเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การลงทุนเกมน่าเบื่อ

'การลงทุน-เกมน่าเบื่อ'

เวลาพูดถึงเรื่องของการลงทุน  คนทั่วไปรวมถึงนักลงทุนหรือคนเล่นหุ้นที่ยังเป็นมือใหม่มักจะคิดถึงกิจกรรมหรือการเล่นที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ  เป็นกิจกรรมที่ “ดุเดือดเลือดพล่าน” ที่นักลงทุนหรือคนเล่นหุ้นต้องมีไหวพริบและกลยุทธ์หรือกลเม็ดเด็ดพรายรอบตัวที่เหนือกว่าคนอื่น  นอกจากนั้น  พวกเขาก็ยังต้องมีความรวดเร็วตัดสินใจเด็ดขาดได้แบบนาทีต่อนาที  จิตใจต้องเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว  บางทีก็ต้องพร้อมที่จะ “ตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต”  บางครั้งก็สามารถ “ทุ่มสุดตัว”  ได้ทันทีเมื่อ  “โอกาสมาถึง”   เรื่องราวหรือ Story ของการลงทุนแต่ละครั้งของนักลงทุนแต่ละคนโดยเฉพาะที่เป็น  “เซียน”  ดูมีสีสันน่าตื่นเต้น  บางครั้งทำกำไรมโหฬารในเวลาอันสั้น  บางคนก็พลาดเสียหายหนัก  ทั้งหมดนั้นดูเหมือนว่าเป็นเรื่องของฝีมือและ/หรือโชคบ้าง  เกมของการลงทุนนั้นดูเหมือนไม่มีใครคิดว่าน่าเบื่อเลย  คนคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนุกและคนจำนวนมากอยากทำ  อยากเลือกหุ้นลงทุน  สนุกกับการ  “ลุ้น” ว่าหุ้นจะขึ้นไปแค่ไหนและจะได้กำไรเท่าไร

    แต่ความเป็นจริงก็คือ  ภาพที่เห็นอาจจะไมตรงกับความเป็นจริง  ความน่าตื่นเต้นเร้าใจอาจจะไม่ได้แปลงออกมาเป็นผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน  คนลงทุนที่ตื่นเต้นและสนุกกับการลงทุนอาจจะแพ้คนที่ลงทุนแบบน่าเบื่อหน่าย  เซียนหุ้นที่ดูน่าตื่นเต้นมีเรื่องราวการลงทุนที่โดดเด่นน่าติดตามมากกรณีนั้นอาจจะแพ้เซียนที่ดูเงียบเหงาน่าเบื่อหน่ายไม่เคยมี “หุ้นเด็ด” ที่ลงแล้ว “เปลี่ยนชีวิต” ภายในปีสองปีหรือน้อยกว่านั้น  ประวัติศาสตร์ของการลงทุนและนักลงทุนนั้นบอกให้เรารู้ว่า  การลงทุนนั้นเป็นเกมที่เชื่องช้าน่าเบื่อ  วอเร็น บัฟเฟตต์ บอกว่าเหมือนตัวสล็อตที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคลื่อนไหวช้าที่สุดในโลก  ผมเองคิดว่ามันเป็นเรื่องของเต่าที่เดินช้าแต่มีกระดองที่ไม่มีใครทำอะไรมันได้   ถ้าเปรียบเทียบกับสงคราม  มันคือสงครามยืดเยื้อที่น่าเบื่อหน่ายไม่ใช่สงครามสายฟ้าแล็บ  ถ้าเปรียบกับการแข่งขันกีฬามันก็เป็นการแข่งวิ่งมาราธอนไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร  มันไม่ตื่นเต้นยกเว้นเฉพาะตอนได้ชัยชนะหรือถึงเส้นชัย  แต่ในระหว่างทางนั้นบางทีก็มีแต่อุปสรรค  หลายครั้งเราหมดหวัง  ความอดทนกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เรายังอยู่ในสนามหรืออยู่ในเกม    การ  “เอาตัวรอด” เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดส่วนหนึ่ง  กลยุทธ์ส่วนใหญ่ที่เราใช้ก็เป็นไปตามนั้น  ไม่ค่อยมีอะไรน่าตื่นเต้นในระหว่างทางที่ยาวไกล

    เรื่องราวของวอเร็น บัฟเฟตต์ นั้นดูมีสีสันและน่าตื่นเต้น  คนอาจจะคิดว่านี่คือสิ่งที่บอกว่าเกมการลงทุนเป็นเกมที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ  แต่นี่เกิดขึ้นเพราะเขารวยมากแล้วและดังระดับโลกเพราะผลงานที่สะสมมานานจนเป็นที่ประจักษ์   แต่ถ้าดูผลงานการลงทุนเฉพาะตัวหุ้นหรือผลงานของพอร์ตของเขาเราก็อาจจะได้เห็นอีกภาพหนึ่งว่าจริง ๆ  แล้ว  หุ้นที่เขาลงและผลงานของพอร์ตของบัฟเฟตต์เองนั้น  ไม่ได้หวือหวาอย่างเซียนในระดับเดียวกันเลย  หุ้นแต่ละตัวที่เขาลงทุนนั้นดูธรรมดามาก  เป็นหุ้นเก่า ๆ  ที่อยู่มานานมีคนซื้อขายกันจนไม่มีอะไรน่าสนใจแล้ว  ราคาหุ้นก็ไม่ได้หวือหวาอะไรเลยก่อนหน้านั้นรวมทั้งผลประกอบการของบริษัทเองก็เป็นแบบเดียวกัน   ตัวอย่างเช่นหุ้นโค๊ก หุ้นใบมีดโกนยิลเล็ต  หุ้นซอสมะเขือเทศไฮนน์ ที่เขาซื้อหลังจากที่บริษัทอยู่มาหลายสิบปีและกิจการก็โตมาจนน่าจะ  “อิ่มตัว”  แล้วในสายตาของคนทั่วไป  เป็นต้น

    หุ้นที่บัฟเฟตต์ซื้อเองนั้น  ก่อนที่เขาจะดังระเบิดอย่างในวันนี้  ราคาหุ้นก็มักจะไม่ได้ปรับตัวขึ้นหวือหวา  และในเวลาต่อมามันก็ไม่เคยปรับตัวขึ้นรุนแรงกลายเป็นหุ้น “ขวัญใจ”  ที่ทุกคนหันมาเล่นกันและราคาขึ้นเป็นเท่า ๆ  หรือหลาย ๆ เท่าในเวลาอันสั้น  หุ้นที่เขาซื้อนั้นมักจะขึ้นไปเรื่อย ๆ  ช้า ๆ  แต่ไม่ค่อยลงเพราะมันเป็นกิจการที่เข้มแข็งมีความสามารถในการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่งอย่างยั่งยืน  ดังนั้น  กำไรมันมั่นคงแน่นอนซึ่งทำให้ราคาหุ้นยืนอยู่ได้ในเกือบทุกสถานการณ์  เวลาผ่านไปยิ่งนาน  ราคาก็ยิ่งขึ้นไป  พอถึงวันหนึ่งคนค่อยตระหนักว่ามันคือหุ้น “สุดยอด”  ที่ไม่เคยดังจริง ๆ  เลย  ไม่เคยขึ้นหวือหวาและคนกล่าวขวัญถึง  คนส่วนใหญ่ไม่เคยคิดจะซื้อในระหว่างทางเพราะมันดูนิ่ง ๆ  ไม่น่าสนใจไม่มีเรื่องราวโดดเด่น  นี่คือหุ้นน่าเบื่อแต่มันทำเงินในระยะยาว  “ที่เส้นชัย”

    พอร์ตของบัฟเฟตต์เองนั้น  ดูน่าประทับใจมาก  แต่นี่เกิดขึ้นหลังจากเวลาผ่านมานานมากหลายสิบปี  ในระหว่างทางนั้นมันก็ไม่น่าตื่นเต้นอะไรนัก  แต่ละปีมีหุ้นน้อยตัวในพอร์ตที่วิ่งขึ้นเป็น “กระทิงดุ”  ดังนั้นมันจึงไม่มีข่าวอะไรที่มีสีสันเหมือนกับเซียนคนอื่น ๆ  หลายคน  ผลงานการลงทุนของพอร์ตของบัฟเฟตต์ที่น่าสนใจแต่ไม่น่าตื่นเต้นก็คือ  เขาไม่ค่อยจะขาดทุนเลยไม่ว่าตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร  ประมาณ 60 ปีที่ผ่านมาพอร์ตของเขาน่าจะขาดทุนไม่เกิน 6 ครั้ง  เช่นเดียวกัน  การเติบโตของพอร์ตของเขาปีต่อปีก็สูงแต่ไม่น่าตื่นเต้นที่ประมาณ 20% บวกลบ แต่แทบจะไม่มีเลยที่พอร์ตจะกำไรเกิน 50% ต่อปี

    เวลาจะซื้อหุ้นหรือเทคโอเวอร์บริษัทเองนั้น  สำหรับบัฟเฟตต์เองก็ดูเหมือนว่ามันไม่ได้ดูตื่นเต้นอะไร  เขานั่งทำงานอยู่ในออฟฟิสตั้งแต่เช้ายันเย็นเป็นส่วนใหญ่  ใช้เวลากับการอ่านเป็นหลัก  เขาไม่เคยดิ้นรนวิ่งไปหาผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการเพื่อหาข้อมูลลึกแนว  Inside หรือขอซื้อหุ้นหรือกิจการในราคาพิเศษ  เขา “รอ”  ไปเรื่อย ๆ  รอให้มีคนเสนอขายกิจการหรือรอให้หุ้นที่เขาสนใจมีราคาที่เหมาะสมแล้วก็ตัดสินใจลงมือทำ  เขาไม่เสนอตัวไปแข่งกับใครหรือพยายามเข้าไปคุยหาดีลกับบริษัท  ดังนั้นเขาจึงค่อนข้างจะมีเวลาว่างมากกว่าทรัพย์สินหรือสถานะของเขามาก  ชีวิตประจำวันของเขานั้น  แม้ว่าส่วนตัวเขาเองจะคิดว่าไม่เป็นชีวิตที่น่าเบื่อเพราะเขาบอกว่าเขารักงานของเขาและมีความสุขทุกวันที่ไปทำงาน  แต่มองจากภายนอกแล้ว  เราคงรู้สึกว่า  “น่าเบื่อ”  เพราะวัน ๆ  ดูเหมือนว่าเขาจะไม่ได้ทำอะไรนัก

    ประสบการณ์ของผมจากการศึกษานักลงทุนที่เป็นหรือเคยเป็น “เซียน”  ทั้งในระดับโลกและในตลาดหุ้นไทยผมคิดว่ามีบทเรียนที่น่าสนใจก็คือ  นักลงทุนส่วนใหญ่และคนในแวดวงตลาดหุ้นต่างก็ชอบลงทุนหรือเล่นหุ้นที่น่าตื่นเต้น  เป็นหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก ๆ  ทั้งในเรื่องของพื้นฐานของกิจการและราคาหุ้น  พวกเขาจะเชียร์กันสนั่นเมื่อมีหุ้นที่เข้าเกณฑ์หรือมีคุณสมบัติดังกล่าว  และก็จะเข้ามาซื้อขายหุ้นหรือลงทุนอย่างหนัก  นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น  “ขาใหญ่” ที่เข้าไปโหมซื้อจนมีสถานะเป็น “ผู้ถือหุ้นใหญ่”  เมื่อมีการประกาศในข้อมูลของบริษัทเขาก็จะได้รับการสรรเสริญชื่นชมว่ามีความสามารถในการวิเคราะห์หุ้นได้ดีเด่นและ “ทำกำไร”  เมื่อหุ้นปรับตัวขึ้นไปแรง  จากนั้นก็อาจจะมีคนซื้อตามและส่งเสริมให้หุ้นได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น  คนจำนวนมากที่เข้าไปซื้อก่อนหน้านั้นได้กำไรและก็รู้สึกถึงความตื่นเต้นและพึงพอใจ   เวลาต่อมาหุ้นตัวนั้นก็อาจจะตกลงมาแรงเมื่อผลประกอบการอาจจะไม่ดีตามที่คาด  หรือบางทีก็อาจจะดีแต่ราคาหุ้นแพงเกินพื้นฐานไปมากทำให้นักลงทุนบางส่วนรวมถึงรายใหญ่อาจจะขายหุ้นทิ้งทำให้ราคาลดลงมามาก  คนจำนวนมากที่เข้าไปทีหลังขาดทุนอย่างหนัก  บางครั้งนักลงทุนรายใหญ่ก็ขาดทุนเช่นกันหาก “ปล่อยของ” ไม่ทัน   โดยรวมแล้วคนที่กำไรและคนที่ขาดทุนอาจจะพอ ๆ  กันหรือแตกต่างกันก็ได้แต่คนที่ขาดทุนมักไม่พูดแต่คนที่กำไรพูดไปแล้วทั้ง ๆ  ที่ต่อมาอาจจะขาดทุนทีหลัง

    ผมเองเห็นคนที่ทำผลงานเป็นกรณี ๆ  หรือหุ้นเป็นตัว ๆ  ได้น่าประทับใจอยู่พอสมควร  ซึ่งก็เกิดความรู้สึกว่ากำไรของพอร์ตโดยรวมน่าจะดีมาก—ทุกปี  อย่างไรก็ตาม  เวลาผ่านไปหลาย ๆ  ปี  ผมเองก็ไม่ได้เห็นว่าเขาเหล่านั้นมีผลการลงทุนแบบทบต้นที่โดดเด่นมาก ๆ  อย่างที่คิด  แน่นอนว่าคนที่ลงทุนหรือแม้แต่เก็งกำไรแบบ Aggressive ในช่วง  “ยุคทอง”  ที่ผ่านมาต่างก็รวยในระดับหนึ่งทั้งนั้น  แต่ก็ดูเหมือนว่าพวกเขาก็ไม่ได้ทำได้เหนือกว่านักลงทุนที่ “ลงทุนเต็มร้อย”  แบบ  “น่าเบื่อ”  เช่นเดียวกัน  ดังนั้น  ผมจึงสรุปโดยอาศัยประสบการณ์การอ่านจากต่างประเทศว่า  การลงทุนแบบที่รู้สึกว่า “น่าเบื่อ”  นั้น  ดีกว่าการลงทุนที่รู้สึกตื่นเต้นตลอดเวลา

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
--------------------

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

แนวทางการลงทุนแต่ละคนไม่เหมือนกัน?

Irwin Duran นักลงทุนท้องถิ่นไม่มีชื่อเสียง แต่เป็นนักลงทุนพันธ์แท้ใช้ชิวิตแบบสมถะ บริจาคเงินแบบเงียบๆ ให้แก่บ้านเกิด เมื่อง Leesburg, Virginia มากกว่า USD30 Million  เขามีเงินมากกว่า 17,000 ล้านบาท แต่ไม่เป็นที่รู้จักแม้แต่คนในเมืองนั้น ความรำ่รวยของเขามาจากการลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก (หุ้นเติบโตที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนัก) และทำกำไรมหาศาลเมื่อบริษัทที่ลงทุนกลายเป็นหุ้นขนาดกลาง (จงให้ความสำคัญแก่ Market Cap เมื่อลงทุนระยะปานกลางและยาว)   กลยุทธในการลงทุน

1. ลงทุนเฉพาะหุ้นขนาดเล็ก แต่ละหุ้นถือไม่น้อยกว่า 3-5 ปี ขายเมื่อบริษัทเติบโตถึงจุดหนึ่งที่ผ่านช่วงขาขึ้นมาแล้ว  2. ลงทุนเฉพาะบริษัทที่เขารู้จักและเข้าธุรกิจเป็นอย่างดี แต่ละตัวลงทุนด้วยปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการจะทำอย่างนั้นได้จะต้องเข้าใจบริษัทที่ลงทุนอย่างลึกซึ้ง 3. ลงทุนแบบไม่สนใจภาวะตลาด ไม่เก็งว่าตลาดจะขึ้นหรือลง สนใจเฉพาะปัจจัยพื้นฐานของหุ้นที่ลงทุน เมื่อราคาหุ้นตกลงโดยไม่มีเหตุผลจะถือเป็นโอกาสให้ลงทุน 4. เมื่อลงทุนผิดพลาด พื้นฐานเปลี่ยน จะขายทิ้งทันที ส่วนหุ้นที่ลงทุนไปแล้วผลการดำเนินงานดีขึ้นเรื่อยๆ ตามคาดจะถูกเก็บไว้ยาวนาน หลายตัวกำไรเป็นสิบเท่าก็ยังไม่ขาย (หุ้นเติบโตที่ดีมักเริ่มต้นจากฐานกำไรที่ต่ำ กำไรค่อยๆ ขยับขึ้นตามแหล่งที่มาของกำไรที่ขยายฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนแบ่งตลาดค่อยๆเพิ่ม ขณะที่ค่าใช้จ่ายคงที่ หรือลดลง)  5.ให้ความสำคัญต่อการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุน การผึกฝน และ ประสบการณ์ในการลงทุนมีความสำคัญ โดยที่นักลงทุนไม่จำเป็นต้องฉลาด หรือ เก่งคำนวณ แต่จำเป็นต้องเข้าใจธุรกิจ และ มองแนวโน้มของการเติบโตในระยะยาวว่ากำไรส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้จากธุรกิจส่วนไหน

นักลงทุนปกติจะกลัวมาก กับ สภาพตลาดหุ้น 2 ลักษณะ:- 1. กลัวว่าดัชนีจะตกต่ำลง และ หุ้นที่เข้าไปลงทุนจะตกตามไปด้วย  ถ้าพอมีกำไรก็รีบชิงขาย กะว่าเมื่อขายไปแล้วจะกลับมาช้อนกลับ  ถ้าเราได้ยินนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตลาดหุ้นจะตกต่ำลง โอกาสตกจริงๆจะมีเพียง 50% ทำนองเดียวกันถ้าคาดการณ์ว่าจะวิ่งขึ้นไป 200 จุดในปีนี้ โอกาสที่มันจะขึ้นไปอย่างนั้นจริงๆคงมีน้อยกว่า 50% สรุป กลยุทธของเราคือ เราไม่ได้ซื้อดัชนี เราซื้อตัวหุ้น  ถ้าตลาดตกจะเป็นผลดีที่จะซื้อหุ้นที่อยู่ใน Watch List ของเราในราคาถูกลง

2. เราจะกลัวหุ้นที่มีราคาสูง ส่วนใหญ่คิดว่าหุ้นคงเหมือนกับต้นไม้ คือ ถ้าสูงแล้วจะสูงไปอีกไม่ได้มาก  ซึ่งเป็นเรื่องของจิตวิทยาโดยแท้ ในความเป็นจริงราคาหุ้นจะขึ้นลงตามปัจจัยพื้นฐานในระยะยาว เมื่อเราสามารถซื้อไม้แรกได้ในราคาต่ำแล้ว  ทำไมเราจะขายออกและหวังช้อนกลับ ในเมื่อความจริงทุกครั้งเราจะซื้อกลับน้อยลงเรื่อยๆ    หุ้นเติบโตที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนัก มักจะมีกำไรที่เติบโตไม่มากในช่วงแรก มันจะเร่งทะยานเมื่อถึงจุดหนึ่ง ที่กำไรจะโตแบบก้าวกระโดด ตามแหล่งที่มาของรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากธุรกิจเดิม และ ธุรกิจใหม่ (ให้ความสำคัญต่อ Demand Trend ของแหล่งธุรกิจ)

Cr:line


ภาพคลิปไม่เกี่ยวกะเนื้อเรื่อง..เด็กทาแป้งเองคับ5555


cahttradingview

AAPL ชาร์ต โดย TradingView