วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิธีดูหุ้นปั่น

โดย อ.โจ ลูกอีสาน

"หุ้นปั่นในนิยามของผม มี 2 จำพวก

- หุ้นพื้นฐานแย่มากๆ แล้วปั่น
- หุ้นพื้นฐานดี หรือพอมีพื้นฐานบ้าง ปั่นจนราคาแพงเว่อร์ เป็นการปั่นแบบเนียนๆ

ลักษณะร่วมของหุ้นปั่นมีหลายอย่าง
หุ้นบางตัว อาจเป็นหุ้นที่ดีก็ได้ ถึงแม้ตรงกับหุ้นปั่นบางประการ แต่ถ้ามีลักษณะร่วม ตรงกันหลายอย่าง โปรดระวัง

หุ้นปั่นมักเป็นอย่างไร

1. ประตูหน้ามีไม่เข้า ชอบเข้าประตูหลัง หน้าบ้านมี ชอบมุดเข้าประตูหลัง ไม่ปกติ หุ้นที่เข้าตลาดโดยการ backdoor listing ความเข้มงวดของกฎเกณฑ์อาจน้อยกว่า เข้าประตูหลัง ไม่เสียงดัง ไม่เอิกเกริก แต่ถ้าของดี ทำไมต้องทำลับลมคมใน ทำไมไม่เข้ามาอย่างสง่าผ่าเผย หุ้นของใคร ที่เข้าประตูหลัง อาจจะไม่ทุกตัว แต่ควรสงสัย

2. โปรดลืมฉัน

หุ้นบางตัว อยากให้นักลงทุนลืมๆ ชื่อเสียง (เน่าๆ) ในอดีต ทำอย่างไร วิธีที่นิยมคือเปลี่ยนชื่อบริษัท หุ้นบางตัว อยู่ๆโผล่ๆ ขึ้นมา ทั้งที่ไม่เคยมีการขาย ipo มันมาจากการเปลี่ยนชื่อ หวังว่าเปลี่ยนชื่อแล้ว จะเป็นสิริมงคล เป็นจุดเปลี่ยนของบริษัท ล้างเรื่องเน่าๆ ในอดีตให้ผ่านไป มันก็แค่ "เหล้าเก่าในขวดใหญ่" นิสัยกมล...ของผู้บริหาร มันไม่ได้เปลี่ยนตามชื่อบริษัท ลองดูหุ้นที่ถือ ถ้าเปลี่ยนชื่อแล้ว ชื่ออีก จนขุดหารากเหง้าไม่เจอ ท่านต้องระวังตัวแล้ว

3. หากำไรไม่เจอ

หรือมีก็บางๆ ก็ความมั่งคั่งหลักของผู้บริหาร ไม่ได้มาจากเงินปันผล แต่มาจากการหากินกับราคาหุ้น กับ"การดูด" ความมั่งคั่งจากบริษัท ผ่านรายจ่ายที่ถูกกฏหมาย เช่นเงินเดือน รถประจำตัวแหน่ง ค่าตอบแทนต่างๆ กับผลประโยชน์ที่ตกลงกับบุคคลที่ 3 ผ่านการซื้อสินค้าหรือบริการ ราคาแพงกว่าปกติ ส่วนที่จ่ายเกิน ก็ทอนกับมาสู่ผู้บริหารหรือเครือญาติ บริษัทเหล่านี้มีแต่ขาดทุนซ้ำซาก เพราะผู้บริหารร่วมใจกัน "ดูด" นั่นเอง หรือบางครั้งก็เลี้ยงให้บริษัทมีกำไรขาดทุนบางๆ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นด่ามาก แล้วเอาเวลามาหากินกับส่วนต่างราคาหุ้น เป็นพักๆ ท่านเห็นไหมบริษัทอย่างนี้ มีกี่บริษัทในตลาดหุ้นไทย

4. เพิ่มทุนเป็นนิจ

ต่อจากข้อที่แล้ว ในเมื่อกิจการขาดทุนเสมอๆ จากการดูดเงินของผู้บริหาร เมื่อผ่านไปนานเข้า เงินหมดบริษัท ส่วนทุนใกล้ติดลบ อาจโดนตลาดแขวน sp ย้ายเข้ากลุ่ม rehap ต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว นั่นคือการเพิ่มทุน จะเอาเงินจากใครดี ควักกระเป๋าเอง หรือดูดเงินจากรายย่อย แน่นอนต้องเป็นอย่างหลัง (บางบริษัทมีเงื่อนใขให้รายย่อยซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินสิทธิ์ได้ พอเม่าคนไหนใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นเกินสิทธิ์ ผลออกมา ได้ครบทุกคนเลย แต่ผู้บริหารไม่ซื้อสักหุ้น โอละพ่อ.. ก็วัตถุประสงค์คือดูดเงินจากรายย่อย นี่นา

5. ปั่นหุ้น ต้องมีสตอรี่

ต่อเนื่องจากการเพิ่มทุน ก็ถ้าไม่มีสตอรี่ ที่ตื่นเต้น ใคร้..จะยอมเพิ่มทุน คราวนี้ก็โหมประโคมข่าวตามหนังสือพิมพ์ โปรเจคโน้นนี้ เราจะทำพลังงานทดแทน เราจะหันไปทำธุรกิจใหม่ ยอดขายเราจะโตปีละ 50% บลาาๆ รายย่อยพอให้ฟังเรื่องราวน่าตื่นเต้น บวกกับการชงข่าว ออกข่าวของผู้บริหาร เกิดอาการอิน ความโลภเริ่มทำงาน สติเริ่มหาย โลกสดใสเหลือเกิน จัดไปเพิ่มทุน แถมซื้อเกินสิทธ์

6. ฝนตกขี้หมูไหล คน...มาพบกัน

สังเกตไหม หุ้นปั่นมักจะมีชื่อ นามสกุล ซ้ำๆไปมาไม่กี่ตระกูล ไม่กี่คน โยงใยกันไหมหมด ชาติที่แล้วอาจมีกรรมอะไรกัน ชาตินี้เลยต้องมาพบกัน (เพื่อปั่นหุ้น) หุ้นบางตัว รายชื่อผู้ถือหุ้นจะซ้ำๆ กับหุ้นอีกตัว หรืออีกหลายตัว เป็นไปได้ไหมว่า คนเหล่านี้ อาโนเนะ ไร้เดียงสา ไม่รู้จักกันจริ๊งๆ เราพบกันโดยบังเอิญ หรือที่จริงเป็นการสบคบคิด รวมหัว เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง แล้วแบ่งผลประโยชน์กัน เคยเห็นไหม หุ้นบางตัวเพิ่มทุน ได้เงินทุน แทนที่จะนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ กลับเอาไปซื้อหุ้นอีกตัวที่ราคาแพงๆ (แล้วไอ้โม่งที่ขายหุ้นให้คือใคร) หุ้นบางตัว swap หุ้นวุ่นวายกันไปหมด แต่สุดท้ายพวกเดียวกันทั้งน้านนนน

7. หุ้นดี ดันไม่มีเจ้าของ

บ้าหรือเปล่า บอกว่าหุ้นตัวเองดีนักหนา แต่ไปดูรายชื่อผู้ถือหุ้น ถือกันคนละไม่เกิน 5% ไหนบอกดีหนักหนา ทำไมไม่ถือหุ้น 50% ก็วัตถุประสงค์การถือหุ้นไม่ใช่ รอรับปันผล หรือส่วนแบ่งกำไร แต่คือการดูดและเอาส่วนต่างราคา ทำไมจะต้องไปถือหุ้นเยอะๆ ล่ะ ถือแค่ให้พอรวบอำนาจการบริหารก็พอ หุ้นปั่นแทบทุกตัวจะเป็นอย่างนี้ แต่หุ้นบางตัวถือกันคนละไม่เยอะจริง แต่ส่วนใหญ่ดันเป็น nominee คนกันเองทั้งนั้น อย่างนี้อาจไม่เข้าข่าย

8. ลูกรักของ กลต. ตลท.

เมื่อทางการเริ่มได้กลิ่นไม่ดี สิ่งแรกที่ทำคือให้บริษัทชี้แจง ซึ่งบริษัทก็จะตะแบงไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็แถจนผ่านละ เพราะที่ปรึกษาทางการเงินก็เตรียมข้อมูลมาแล้ว (รับเงินมาแล้วนี่) ตอนผ่านวาระประชุม ก็สบายเพราะผู้บริหารถือสัก 20% ก็ผ่านแล้ว รายย่อยที่มีเป็นหมื่นเป็นพัน แต่ไม่มีพลัง เพราะส่วนใหญ่ไม่ไปประชุมผู้ถือหุ้น ไม่รู้จักการพิทักษ์สิทธ์ตัวเองด้วยซ้ำ ทางการก็พยายามเตือนเท่าที่จะทำได้ บอกให้ไปประชุมผ่านวาระสำคัญ ใส่เทรดดิ้ง alert ใส่ turnover list ยังเอาไม่อยู่

9. ไม่ครบองค์ประชุม

ในเมื่อเป็นบริษัทไม่มีเจ้าของ ถือหุ้นเป็นเบี้ยหัวแตก รวมกันได้แค่ 20-30% พอนัดประชุมก็มัก "ไม่ครบองค์ประชุม" ต้องนัดใหม่ ซึ่งครั้งที่ 2 มักจะประชุมได้ เพราะใช้คนละเกณฑ์ วาระไหนที่น่าสงสัย ก็มักจะผ่านในการประชุมครั้งที่ 2 นี่เอง หุ้นตัวไหนที่ไม่ครบองค์ประชุม ต้องระวัง

10. ราคาที่หวือหวา

เป็นหุ้นปั่น ราคาต้องหวือหวา เพราะนี่คือเชื้อไฟอย่างดีเพื่อล่อ "แมงเม่า" ให้มาติดกับ ไฟหน้าจอหุ้นปั่นจะกระพริบตลอดเวลา เปรียบเสมือนไฟจากกองไฟที่ล่อแมงเม่า เม่าหลายคนแม้รู้ทั้งรู้ว่าเป็นหุ้นปั่น แต่ overconfidence bias มักคิดว่าตัวเองเจ๋งจะ "หนีทัน" ดันลืมไปว่า ถ้าจ้าวมือไม่เก่งจริง โดนเม่ากิน จะเป็นจ้าวมือได้อย่างไร ราคาหุ้นที่ขึ้นพร้อมบิดหนาๆ อย่าเพิ่งชะล่าใจว่ามีคนจะซื้อเยอะ เผลอเมื่อไหร่บิดหายทันที พร้อมกันห้าช่อง เหลือแต่บิดรายย่อย แล้วโยนโครมซ้าย ยัดหุ้นใส่มือเม่า offer ที่หนาๆ โดนเคาะ อย่าคิดว่าแรงซื้อจริง อาจเป็นของจ้าวมือหรือเครือขายซื้อหุ้นตัวเอง เพื่อทำเสมือนมีคนสนใจซื้อหุ้นเยอะ ในหุ้นปั่น อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น

11. เราจะ turnaround

เราเปลี่ยนชื่อบริษัท เราเปลี่ยนกรรมการ เราจะเปลี่ยนธุรกิจ เราจะเทินอราวด์ ถ้าธุรกิจมันเปลี่ยนกันง่ายๆก็ดีซิ หุ้นหลายตัวเอาให้ได้โครงการไว้ก่อน (ไว้หลอกนักลงทุนให้เพิ่มทุน) พอทำจริงๆ ขาดทุนบักโกรก จำบริษัททำป้ายโฆษณารถเมย์ได้ไหม เป็นตัวอย่างสูตรสำเร็จของการปั่นหุ้น สตอรี่เทินอราวด์ เอาไว้หลอกวีไอที่ฟังก็ชักเคลิ้ม

12. ขุดผีจากหลุม

บางครั้งลงทุนแม้กระทั่งขุดผีจากหลุม วิธีการก็ไปซื้อบริษัทเน่าๆที่อยู่ใน rehap นำมาปัดฝุ่น ใส่ธุรกิจใหม่ที่ดาดๆ พอผลประกอบการผ่านเกณฑ์ ก็ออกจากหลุม ปั่นราคาขึ้นไปเยอะ นัยว่าธุรกิจพื้นตัวแข็งแกร่งแล้ว ระหว่างก็รินขายตลอด จำบริษัท ภาพทางขวางของเอเชีย ได้ไหม นี่ก็เห็นบริษัทก่อสร้างอีก บริษัที่ผู้บริหารโดนคดียักยอก สุดท้ายต้องตัดขายหุ้นให้พวกขุดผี น่าแปลกว่าคนที่ไปขุดผี ดันเป็นกลุ่มเดิมๆ อีกแล้ว บังเอิญจริง ๆๆ

13. พื้นฐานวันนี้ ราคาชาติหน้า

เป็นหุ้นที่พอจะมีพื้นฐานบ้าง เป็นหุ้นที่อาจจะ turnaround ได้จริง จากขาดทุนซ้ำซาก มีกำไรนิดหน่อย แต่ราคาหุ้นโดนกระชากไป สะท้อนกำไรหลายๆปีข้างหน้าแล้ว หุ้นโรงไฟฟ้าเอย หุ้นลม หุ้นอาทิตย์

14. หุ้นปั่น วีไอ

บริษัทมีโปรเจคมากมาย เป็นโปรเจคจริง แต่ใช้เงินเยอะจังเลย จะหาเงินจากไหนดี เอ่อ...ได้ข่าวนักลงทุนวีไอรวยกันนักใช่ไหม เอางี้ ไปติดต่อให้มา company visit บริษัทเราเดี่ยวนี้ !! ให้ตัวเลขกำไรไปเลย อีก 5 ปีข้างหน้า เราจะกำไรเท่าไหร่ อัดแต่ข่าวดีๆ เอาให้เว่อร์ ๆหน่อย วีไอชอบ พอวีไอไล่ซื้อ ราคาดี เราก็ทยอยเพิ่มทุนไปเรื่อยๆ อย่าให้มาก เดี๋ยวแตกตื่น เท่านี้เราก็ได้เงินทุนมาใช้ เสียสัดส่วนหุ้นไม่เท่าไหร่ คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม (พอเพิ่มทุนเสร็จ ก็ไม่ต้องให้ข่าวดีแล้วนะ)

15. หุ้นปั่นไอพีโอ

หุ้นเก่าเป็นสนิม หุ้นใหม่หน้าตาจุ๋มจิ่ม นักลงทุนชอบของใหม่ บิ้วให้เยอะๆ ออกสื่อ road show ขายหุ้นให้แพงที่สุดเพื่อผลประโยชน์ของเจ้าของเดิม (ถ้าขายได้ถูกๆ ก็ไม่ต้องเข้าตลาดดีกว่า) หุ้นเก่าๆ พีอี 10 เท่าแพง หุ้นใหม่ๆพีอี 30 เท่าบอกถูก ยังไม่พอ เทรดวันแรกบิ้วไปเลย ข่าวดีอัดเข้าไป ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ให้ข่าวเยอะๆ ยังขึ้นได้อีก ทีอีตันยังขึ้นเยอะได้เลย นี่กองทุนมาร์คก็เข้ามาซื้ออีก บิ้วไป ขายไอพีโอว่าแพงแล้ว เข้าตลาดยังแพงได้อีกกกก นักลงทุนไทย สุดยอด (ดอยอีกแล้ว  )..

16. ปันผลไม่เคยเห็น

จะเห็นได้ไง มีแต่การดูดเงิน (เพิ่มทุน) ไม่มีหน้าที่แจกเงิน (ปันผล) ส่วนใหญ่ขาดทุนซ้ำซาก ปันผลไม่ได้อยู่แล้ว แต่บางตัวมีกำไร ทำไมไม่จ่าย ก็จะแจกเงินให้รายย่อยทำไมล่ะ เราเข้ามาดูดเงินอย่างเดียว เงินอยู่ในบริษัท เดี๋ยวเราก็ดูดออกได้ แบ่งให้รายย่อยทำไม บางบริษัทต้องตุนเงินสดไว้ทำธุรกิจ ปันผลไม่ได้ เพราะแบงค์รู้ทัน ไม่ยอมปล่อยกู้ บริษัทปั่นหุ้น

17. อ๊อฟเดส์ไม่เคยโผล่

จะโผล่มาได้ไง มีแต่แผลทั้งนั้น มาให้นักลงทุนลากใส้หรือ วัวสันหลังหวะ คนทำผิด ย่อมไม่กล้าสู้หน้าคน กลัวโดนซักมาก เดี๋ยวจับได้ไล่ทัน ผิดกับทองแท้ ย่อมไม่กลัวไฟ มีหุ้นปั่นตัวไหน กล้ามาอ๊อฟเดส์บ้าง มีแต่ชอบออกหนังสือพิมพ์ปั่นหุ้น

18. สำเร็จกิจ ถีบหัวส่ง

การเพิ่มทุนเป็นเป็นกระบวนการที่สำคัญมากๆ ของการปั่นหุ้น เป็นการ "ดูดเงิน" ที่ถูกกฎหมาย อยู่ๆ จะเพิ่มทุน ใคร้รรจะมาซื้อหุ้น วิธีที่ได้ผลและทุกบริษัททำคือ ทำราคา+อัดสตอรี่ จ้างสปอนเซอร์มาทำราคา กระชากขึ้นไป พอราคาขึ้น ก็ถึงตาของผู้บริหารให้ข่าว สอดรับเป็นปี่เป็นขลุ่ย เราจะทำโปรเจคโน้นนี้ (ใช้เงินทั้งนั้นแหละ) ราคาที่ขึ้นไปเรื่อยๆ บวกสตอรี่ที่สดใส ฟ้าสีทอง ผ่องอำไพอยู่เบื้องหน้า ถึงจุดไครแม็ก ประกาศเพิ่มทุน (จะเอาไปทำโปรเจคที่ว่าไว้) เพิ่มทุนที่ราคาดอย = ดูดเงินได้สูงสุด พอเพิ่มทุนสำเร็จกิจ ก็แยกทาง ตัวใครตัวมัน สปอนเซอร์หมดหน้าที่ ราคาหุ้นจะค่อยๆไหลลง แม้แต่บริษัทที่พอมีพื้นฐานบ้างก็ทำอย่างนี้ ยังจำกลุ่มสื่อที่หันไปทำธุรกิจดิจิตอลได้ไหม pattern เหมือนที่เล่าเป๊ะๆหรือเปล่า

ใช้คำพูดแรงไปนิด พาดพิงใคร หรือหุ้นใครไปบ้างก็อภัยนะครับ จิ้งจกทักยังฟัง ก็ฟังผมบ่นบ้างละกัน แต่อยากย้ำนะครับ ไม่ใช่หุ้นทุกตัวที่มีคุณสมบัติเหล่านี้แล้วจะเป็นหุ้นปั่น

cr. โจ้ ลูกอีสาน

วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ติดดอยหาทางลงอย่างไรดี

😁ติดดอย หาทางลงอย่างไรดี😁

ดอยในการลงทุนนั้น มีหลายดอยคะ ไม่ว่าจะเป็นดอยหุ้น ดอยน้ำมัน ดอยทองคำ หรือแม้แต่ดอยหุ้น

ต่างประเทศ เรียกได้ว่าทุกสินทรัพย์ที่มีการซื้อขาย สามารถสร้างดอยได้ทั้งหมด เขาว่า ทองดีก็ซื้อ

บ้าง หุ้นตัวไหนแรงก็ตามไปด้วย พอมารู้ตัวอีกทีก็อยู่บนดอยเสียแล้ว ถึงแม้จะมีเพื่อนร่วมอาศัยบน

ดอยมากมาย ไม่ว่าจะอาศัยกันอยู่แถบเชิงดอย หรือยอดดอย ก็ไม่เคยทำให้เรารู้สึกอบอุ่นแต่อย่างใด

จริงไหมคะ เช่นนั้นแล้ว วันนี้ เรามาหาทางลงดอยกันดีกว่าคะ

ขั้นตอนแรกก่อนการลงดอย เรามาตั้งสติ พิจารณาดูกันอีกทีว่า สินทรัพย์ที่ดอยอยู่นั้น ยังมีอนาคตและสมควรเก็บไว้ในครอบครองหรือไม่ เช่น กรณีของดอยหุ้น หากพบว่ายังเป็นหุ้นที่ดี มีอนาคต โดยราคาที่ลดลงน่าจะเกิดจากความผันผวนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หรือเราอาจมองได้ว่า ราคาหุ้นตอนนี้เป็นเพียงดอยชั่วคราวเท่านั้น เช่นนี้ ให้ทำใจร่ม ๆ แล้วอดทนถือต่อไป ยิ่งถ้ามั่นใจในพื้นฐานหุ้นมาก ๆ รวมทั้งมั่นใจว่า ราคาหุ้นจะกลับมาในอนาคต การตัดสินใจซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนก็ไม่ว่ากันคะ

แต่ถ้าดูแล้วพบว่าเป็นเพียงหุ้นที่ “เคย” ดีก็ตัดใจเสียเถิดคะ อย่าลืมว่า พื้นฐานหุ้นมันเปลี่ยนไปได้ ไม่ว่าจะด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หรือการมีสินค้าอื่นทดแทน ซึ่งย่อมทำให้กำไรที่เคยได้เป็นกอบเป็นกำ กลับลดลงจนน่าใจหาย ซึ่งหากเจอกรณีเช่นนี้ นับว่ามีโอกาสของความเป็นดอยถาวรเสียแล้ว กรณีนี้ ให้สูดหายใจลึก ๆ แล้วเตรียมลงดอยกันเลยครับ

✔วิธีที่ 1 เนื้อร้ายต้องตัดทิ้ง (Cut Loss) เมื่อพื้นฐานมันเปลี่ยนไปแล้ว แถมแนวโน้มราคา มีแต่จะปักหัวดิ่งลง ยิ่งช้ำใจกว่านั้นเมื่อเห็นราคาหุ้นตัวอื่นวิ่งขึ้นทั้งตลาด ในสถานการณ์เช่นนี้ ตัดใจขายเอาเงินไปซื้อหุ้นตัวอื่นเพื่อมาสร้างกำไร ชดเชยขาดทุนดีกว่าครับ จริง ๆ แล้ว การ Cut Loss นั้น เป็นหนึ่งในหลักการพื้นฐานของนักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนสายเทคนิค ที่มักจะกำหนดลิมิตของการขาดทุนไว้ เช่น หากราคาหุ้น ลดลงไปจากราคาที่ซื้อไว้ 20% ต้องทำการ Cut Loss ทันที เพื่อจำกัดการขาดทุนนั่นเองคะ

✔วิธีที่ 2 ลดอาการบาดเจ็บด้วยการซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อลดราคาต้นทุนให้ต่ำลง โดยวิธีการนี้ต้องดูแนวโน้มราคาหุ้นประกอบการตัดสินใจด้วยครับ เพราะการซื้อถัวควรทำในแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น

ซื้อหุ้น A ราคาหุ้นละ 1 บาท จำนวน 1,000 หุ้น ต้นทุน 1,000 บาท

ต่อมา หุ้น A ราคาหุ้นละ 0.65 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.65*1,000 = 650 บาท ขาดทุน 350 บาท

คาดการณ์ว่า 0.65 บาท เป็นราคาต่ำสุดของหุ้น A แล้ว ตัดสินใจซื้อหุ้น A เพิ่ม 1,000 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 0.65 บาท ทำให้ต้นทุนหุ้นในพอร์ตรวม 1,000 + 650 = 1,650 บาท โดยหุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.65*2,000 = 1,300 บาท หรือขาดทุน 350 บาท

ต่อมา หุ้น A ราคาหุ้นละ 0.80 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.8*2,000 = 1,600 บาท หรือขาดทุน 50 บาท จากตัวอย่าง การซื้อหุ้นในแนวโน้มขาขึ้นเพื่อถัวให้ราคาเฉลี่ยลดลง ช่วยลดความเสียหายของหุ้นในพอร์ตเหลือ 3% (ขาดทุน 50 บาท จากต้นทุน 1,650 บาท) แต่หากเราไม่ได้ทำอะไรเลย เราจะขาดทุน 20% (ขาดทุน 200 บาท จากต้นทุน 1000 บาท) ทั้งนี้ การคำนวณไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายนะคะ

ความเสี่ยงจากการแก้พอร์ตด้วยวิธีนี้ คือ หากการคาดการณ์เราผิดพลาดโดยไปซื้อหุ้นเพิ่มในแนวโน้มราคาขาลง พอร์ตเราจะยิ่งติดดอยหนักขึ้นไปอีกครับ ถึงแม้เราจะได้ราคาต้นทุนต่ำลงไปเรื่อย ๆ แต่อย่าลืมว่า มูลค่าหุ้นที่ถือในปัจจุบัน ก็จะยิ่งต่ำลงไปเช่นกัน

✔วิธีที่ 3 Short Against Port เป็นการขายหุ้นออกบางส่วน เพื่อนำเงินกลับไปซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาที่ถูกลงเพื่อให้มีจำนวนหุ้นในพอร์ตเพิ่มขึ้น วิธีนี้เป็นการลดความเสียหายของพอร์ต โดยไม่เพิ่มต้นทุน แต่ต้องอาศัยการคาดการณ์ที่แม่นยำของราคาแนวรับ แนวต้านคะเช่น

ซื้อหุ้น B ราคาหุ้นละ 1 บาท จำนวน 1,000 หุ้น ต้นทุนรวม 1,000 บาท

ต่อมา หุ้น B ราคาหุ้นละ 0.7 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.7*1,000 = 700 บาท ขาดทุน 300 บาท

คาดการณ์ว่า ราคาหุ้น B จะลดลงต่ำกว่าแนวรับแรกที่ 0.7 บาท ตัดสินใจขายหุ้น B ออกไปก่อน 500 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 0.7 บาท ได้เงิน 350 บาท ทำให้ต้นทุนเหลือ 1,000 -350 = 650 บาท โดยขณะนี้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.7* 500 = 350 บาท ขาดทุน 300 บาท

ต่อมา หุ้น B ราคาหุ้นละ 0.5 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.5*500 = 250 บาท ขาดทุน 400 บาท

วิเคราะห์ว่า หุ้น B ที่ราคา 0.5 บาทเป็นจุดต่ำสุด นำเงินที่ขายหุ้น B 350 บาท กลับเข้าซื้อหุ้น B ที่ราคา 0.5 บาท ได้ 350 / 0.5 = 700 หุ้น ต้นทุนกลับมาเป็น 650+350 = 1,000 บาท โดยพอร์ตมีมูลค่า 0.5*(500+700) = 600 บาท

หุ้น B ราคาเด้งกลับไปชนแนวต้านที่หุ้นละ 0.80 บาท ทำให้พอร์ตมีมูลค่า 0.8*1,200 = 960 บาท ขาดทุน 40 บาท

จากตัวอย่าง เราสามารถลดความเสียหายของพอร์ตเหลือ 4% (ขาดทุน 40 บาท จาก 1,000 บาท) แต่หากไม่ได้ทำอะไรเลย พอร์ตของเราจะขาดทุน 20% (ขาดทุน 200 บาท จาก 1,000 บาท) โดยวิธีนี้นอกจากการคาดการณ์ทิศทางแนวโน้มที่แม่นยำแล้ว การคาดการณ์แนวรับ แนวต้านก็สำคัญเช่นกันคะ

นี่เป็นเพียงแค่บางตัวอย่างสำหรับการแก้พอร์ตหุ้นด้วยหุ้น ยังมีวิธีที่เราสามารถนำ Derivative เข้ามาช่วยแก้พอร์ตได้ เช่น การ Short Futures ของหุ้นตัวที่เราถืออยู่ เพื่อให้กำไรจาก Futures มาหักล้างกับการขาดทุนจากราคาหุ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดอยสูงมาก ๆ การแก้พอร์ตอาจต้องใช้แรงงานและเวลาค่อนข้างมาก ดังนั้นแล้ว เราไม่ควรปล่อยให้พอร์ตขาดทุนมาก ๆ แล้วค่อยหาทางแก้ไข ถ้ารักจะเทรดหุ้นแล้ว อย่าลืมฝึกฝนตัวเองให้มีวินัยในการ Cut loss ด้วยนะ

cr:Line

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ข้อคิดจากการลงทุนในหุ้นมา 14 ปีคัดลอกเพิ่นมา

ข้อคิดจากการลงทุนในหุ้นมา 14 ปี
1. พอร์ตเล็กมีโอกาสทำกำไรได้สูงกว่าพอร์ตใหญ่
2. ไม่ว่าจะ VI หรือเทคนิก จะเล่นสั้นหรือยาว ถ้าศึกษารู้จริงล้วนสามารถทำกำไรสูงๆจนเป็นอิสระทางการเงินได้ทั้งนั้น
3. ถ้าต้องการจะเป็นอิสระทางเวลา และสบายใจไม่ต้องเครียดทุกๆวัน ควรลงทุนระยะยาว มองที่มูลค่ากิจการไม่ใช่ราคา
4. การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (VI) กับการถือหุ้นยาวไม่เหมือนกัน การติดดอยไม่เรียกว่าการลงทุนแบบ VI ถ้าพื้นฐานแย่ลงก็ไม่ควรกอดหุ้นไว้
5. อดีตที่สวยหรูของบริษัท ไม่ได้รับประกันว่าอนาคตจะต้องดีด้วย การติดตามการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเสมอๆเป็นสิ่งจำเป็น
6. ไม่มีใครรู้จริง ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ราคาหุ้น สภาวะตลาด หรือแม้แต่ผลประกอบการได้อย่างแม่นยำทุกครั้งไป สิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ การเผื่อใจวางแผนเตรียมรับมือกรณีฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็น
7. หุ้นขึ้นแรงๆมีทุกวัน อย่าไปไล่ซื้อ เรารวยได้โดยไม่จำเป็นต้องไปมีส่วนร่วมในหุ้นทุกตัวที่ขึ้นแรง
8. ไม่มีงานสัมนาไหนที่จะเปลี่ยนคนให้ลงทุนเก่งขึ้นได้จริงแบบทันทีทันใด ดังนั้นอย่าเสียเงินแพงๆไปอบรมสัมนาหุ้นเพื่อหวังรวยเร็ว
9. การลงทุนคือการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่งร้อยเมตร ไม่มี Short cut ไม่มีวิธีรวยเร็ว มีแต่ต้องทุ่มเทศึกษา สะสมความรู้และประสบการณ์เป็นเวลาหลายๆปี ผลตอบแทนที่ได้จะแปรผันตามความขยันทุ่มเทที่เราใส่ลงไป
10. การแลกเปลี่ยนความเห็นกับเพื่อนนักลงทุนจะช่วยให้มีโอกาสพบบริษัทที่น่าสนใจมากขึ้น ดังนั้นควรจะหาโอกาสไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสัมนาฟรีบ้าง เพื่อเพิ่มความรู้และทำความรู้จักเพื่อนนักลงทุนใหม่ๆ
11. ภาพใหญ่ของธุรกิจสำคัญกว่าภาพเล็ก การเข้าไปจ้องมองระยะใกล้ๆในภาพเล็กเพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้มองไม่เห็นภัยคุกคามที่กำลังจะมาถึง ตรงกันข้ามถ้ามองภาพใหญ่ออก ถึงภาพเล็กจะมองผิดไปบ้างก็ไม่ได้เสียหายนัก
12. ซื้อหุ้นคือซื้ออนาคต ถ้ามองอนาคตไม่ออกก็ไม่ควรซื้อ
13. หุ้นขนาดใหญ่ไม่ได้แปลว่าเป็นหุ้นพื้นฐานดี
14 . หุ้นราคาต่ำบาทไม่ได้แปลว่าถูกกว่าหุ้นราคาหลักพัน ความถูกความแพงต้องเทียบราคาหุ้นกับมูลค่ากิจการที่ควรเป็น
15. จะลงทุนให้ได้ผลตอบแทนดีต้องลงทุนในหุ้นเติบโต การลงทุนในหุ้นที่เน้นปันผลแต่กำไรในอนาคตไม่เติบโตจะไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
16. หุ้นของกิจการที่ดี แข็งแกร่ง และเติบโตสูงๆ อาจจะให้ผลตอบแทนที่แย่ได้หากซื้อมาด้วยราคาที่แพง
17. ถึงแม้จะถือหุ้นครั้งละไม่กี่เดือน แต่ก็ต้องมองภาพอนาคต 2-3 ปีข้างหน้าให้ออก
18. อ่านบทวิเคราะห์ ไม่ต้องสนใจราคาเป้าหมาย ส่วนใหญ่เชื่อไม่ได้ ให้เลือกดูเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และนำมาประเมินราคาหุ้นที่เหมาะสมเอง
19. ยิ่งโลภยิ่งจน
20. "กล้าเมื่อคนส่วนใหญ่กลัว และกลัวเมื่อคนส่วนใหญ่กล้า" พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะคำว่า "ส่วนใหญ่" นั้นวัดยาก

ฝากไว้ด้วยนะจ้า😁😁
เครดิต T-DED

วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประโยชน์ของงบดุล

#ประโยชน์ของงบดุล ตอน #ลูกหนี้การค้า
.
ลูกหนี้การค้า เกิดจากการขายเชื่อคือการให้สินค้ากับไปก่อน และจะเรียกเก็บเงินค่าสินค้านั้นในอนาคต ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายการให้เครดิตของแต่ละบริษัท โดยรายการลูกหนี้การค้าที่แสดงในงบดุลนั้นที่เราเห็นกันได้หักรายการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ( หนี้ที่บริษัทคาดการณ์ว่าจะไม่สามารถเก็บได้ในอนาคต ซึ่งเป็นการประมาณการขึ้นส่วนใหญ่ใช้ประสบการณ์ในอดีตประกอบกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่างบการเงินที่เราอ่านนั้นมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมากแค่ไหน ให้เราเข้าไปดูหมายเหตุงบการเงินได้เลยครับ )
.
#ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ส่วนใหญ่มักจะประมาณการจากยอดขาย ไม่ก็ประมาณจากยอดลูกหนี้การค้ารวม
.
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่บริษัทคาดการณ์ไว้ จะนำมาหักลบกับ หนี้สงสัยจะสูญที่เกิดขึ้นจริง ถ้าหนี้ที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่า บริษัทต้องตั้งสำรองเพิ่มและบริษัทจะมีค่าจ่ายเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย กลับกันถ้าหนี้สูญที่ออกมาตอนสิ้นงวด ต่ำกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะกลับรายการที่ตั้งสำรองไว้กลับมาเป็นบวก นี้เป็นผลให้บริษัทมีเงินสดมากขึ้น เพราะบริษัทสำรองเงินนั้นมากเกินไปนั้นเอง ( จะแสดงอยู่ใน CFO )
.
สรุป ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ-สงสัยแต่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้นเป็นค่าประมาณการขึ้นมาแต่มีกับสินทรัพย์ทำให้สินทรัพย์โดยรวมลดลง แต่หนี้สูญคือเกิดขึ้นแล้วบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน  (มีผลต่อกำไรของบริษัท )
.
#อธิบายเสริมแยกธุรกิจ : ลูกหนี้การค้าแต่ละธุรกิจ
.
#ถ้าเป็นธุรกิจค้าปลีก สินค้ามักราคาถูก และเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต การขายมักจะขายเป็นเงินสด ดังนั้นลูกหนี้การค้าจะน้อย เช่น CPALL,HMPRO,ROBINS,BEATY
.
#ถ้าเป็นธุรกิจค้าส่ง ขายยกลัง ยกแพ็ค มักจะมีลูกหนี้การค้าเยอะเพราะลูกค้าจะสั่งที่ละมากๆ มักจะขายให้กับยี่ปั้ว ซาปั้ว เช่น CPF,TCCC,MEGA,ICHI,TKN
.
#ถ้าเป็นธุรกิจในการให้บริการ เช่น โรงพยาบาล โรงแรม จะมีลูกหนี้การค้าน้อยมาก เนื่องจากสินค้าหลักคือการให้บริการ
เช่น BH,BDMS,ERW,CENTEL ยกเว้นธุรกิจธนาคารเป็นธุรกิจในการให้บริการเหมือนกันแต่ ลูกหนี้ของธนาคารคือ ผู้ต้องการใช้เงินหรือผู้กู้นั้นเอง ดังนั้นธุรกิจประเภทธนาคารหรือสถานบันการเงินจะมีลูกหนี้มากเป็นพิเศษ แล้วแต่ cycle ธุรกิจ เศรษฐกิจดีคนกู้มาก เศรษฐกิจแย่คนก็กู้น้อย และขึ้นกับนโยบายภาครัฐเป็นสำคัญ การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของกิจการถือว่ามีความสำคัญมากเพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ เนื่องจากธุรกิจหลักที่มาซึ่งรายได้คือการปล่อยกู้ อย่างที่เราเห็นกันมักจะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ธนาคารต้องตั้งสำรองระหว่างการมากขึ้น จากปัญหาของบริษัทที่กู้เงินมีปัญหา เพราะอาจจะไม่สามารถเก็บหนี้ได้นั้นเอง และมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรในงวดบัญชีนั้น
.
#ถ้าเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือก่อสร้างลูกหนี้ก็จะน้อยหรือถ้ามีมักจะเป็นลูกหนี้การค้าของบริษัทในเครือ เนื่องจากสินค้าที่ขายมีราคาสูง และในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะใช้หลักบัญชีรับรู้รายได้ทั้งจำนวน ซึ่งไว้จะอธิบายต่อนะครับ มันจะยาวเกินไป จบแค่สินทรัพย์หนี้สินไปก่อน เพราะจะมีเรื่องของ Presale และ Backlog เข้ามาเกี่ยวข้อง
.
#ถ้าเป็นธุรกิจก่อสร้าง ส่วนใหญ่มักจะเป็น B2G ไม่ก็ B2B รับงานเป็นช่วงจากบริษัทใหญ่อีกต่อ แบบนี้ก็มักจะไม่มีลูกหนี้การค้าหรือมีน้อย เพราะไม่ได้ขายสินค้า แต่เป็นการก่อสร้างนั้นเอง
หลักการสำคัญในการวิเคราะห์ลูกหนี้คือ เราต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เป็นธุรกิจ ( B2B ) หรือเป็นผู้บริโภคหน่วยสุดท้าย ( B2C ) หรืออาจจะเป็นรัฐบาลก็ได้ในกรณีของธุรกิจก่อสร้าง ( B2G )  แล้วเจอกันใหม่ครับ

#ถ้าเป็นธุรกิจพลังงาน ส่วนใหญ่จะเป็น B2B ไม่ก็ B2G ลูกหนี้จะมากหรือจะน้อยนั้นขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ เพราะถ้าเศรษฐกิจธุรกิจต่างๆย่อมต้องการเพิ่มกำลังการผลิต ความต้องการใช้พลังงานก็มากตามไปด้วย ดังนั้นลูกหนี้ก็เพิ่มตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ลูกหนี้อยู่ในระดับกลางไม่มากไม่น้อย ถ้ายอดขายดี แต่ลูกหนี้น้อย ถือว่าอำนาจในการต่อรองของบริษัทนั้นสูง อาจจะเป็นเพราะมีเทคโนโลยีพิเศษที่แตกต่างจากคู่แข่ง แต่ในไทยไม่มีนะครับ คู่แข่งพอๆกันหมดสำหรับน้ำมัน แต่ถ้าเป็นพลังงานทดแทนการแข่งขันยังน้อย ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนภาครัฐเป็นสำคัญ
.
#หลักการดูงบการเงินในส่วนของหนี้สินของผมคือ จะให้ความสำคัญก็ต่อเมื่อบริษัทนั้นมีรายการลูกหนี้การค้าที่มีนัยสำคัญต่องบการเงิน จะเข้าไปดูรายละเอียดในหมายเหตุงบการเงินว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ของกิจการ เป็นลูกหนี้เก่า หรือ ลูกหนี้ใหม่อย่างไร นโยบายในการให้เครดิตเหมาะสมและทำได้จริงไหม การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้เป็นไปตามปกติหรือไม่ และนำไปเปรียบเทียบหนี้สูญที่เกิดขึ้นจริง ยิ่งบริษัทใช้เวลาในการเก็บหนี้นานยิ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องของสภาพคล่องได้ง่าย เป็นเพราะบริษัทอาจจะขายสินค้าได้จริง แต่กว่าจะได้เงินนาน จึงทำให้ต้องก่อภาระผูกพันธ์ในระยะสั้น ซึ่งถ้าหาได้ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าหาไม่ได้มีปัญหาแน่นอน
.
#Financialsecrets #ความลับทางการเงินที่คุณต้องรู้
.
ความลับทางการเงิน - FinancialSecrets

วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

จิตของนักเล่นหุ้น

1. สำหรับการเล่นหุ้นแล้ว อีคิว สำคัญกว่า ไอคิว

2.  การมีหุ้นก็เหมือนการมีลูก คุณภาพ สำคัญกว่า ปริมาณ

3. ยอดมนุษย์ไวกิ้ง เกิดขึ้นได้เพราะท้องทะเลที่ปั่นป่วนฉันใด  ยอดมนุษย์นักลงทุน จะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะตลาดที่ปั่นป่วนฉันนั้น

4. คนคิดลบจะลุ้นให้หุ้นตก และเมื่อตกจริงๆเขาก็จะไม่กล้าซื้ออยู่ดีเพราะคิดลบ ส่วนคนคิดบวกจะลุ้นว่าหุ้นขึ้น และเมื่อขึ้นจริงๆเขาจะซื้อเพิ่มเพราะมองบวก

5. คนที่ถือคติว่า “ไม่ขาย ไม่ขาดทุน”  ลึกๆแล้วความรู้สึกในใจก็จะบอกว่า “ไม่ขาย ไม่กำไร” เช่นเดียวกัน  และคนที่คิดแบบนี้บทสรุปสุดท้ายจะจบลงที่  “ติดดอย”  และ “ขายหมู”

6. ในช่วงวัยต้นของชีวิต จงยอมให้เงินใช้เราทำงาน  แต่ในช่วงหลังของชีวิตจงใช้เงินทำงานให้เรา

7. ถ้ายังมีเงินเก็บไม่ถึงหนึ่งล้านบาท อย่าเพิ่งคิดเรื่องจะให้เงินทำงานแทน

8. คนที่เชื่อว่ามีโอกาสในวิกฤติ ก็จะพยายามมองหาจนเจอ แต่ถ้าไม่เชื่อก็ไม่เห็น

9. กรุงโรม ไม่ได้สร้างภายในวันเดียว แต่สามารถทำลายได้ภายในวันเดียว ตลาดหุ้นก็เช่นกัน

10.  เราต้องเป็นคนเล่นหุ้น อย่าปล่อยให้หุ้นเล่นเรา

11. การซื้อเฉลี่ยขาลง จะมีความทุกข์ทรมานมากกว่า การซื้อเฉลี่ยขาขึ้น

12. ความทุกข์ส่วนหนึ่งของคนเล่นหุ้น เกิดจากการไปนึกเสียดายถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว

13. การ Cut loss  เปรียบเสมือนการตัดหางจิ้งจก เพราะเงินสามารถงอกขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา

14. การ Cut loss คล้ายการวิ่งหนีสึนามิ แม้วิ่งเก้อสี่ครั้ง แต่ครั้งที่ห้าเกิดขึ้นจริง ทำให้รอดตาย

15. รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง แต่นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่มุ่งไปที่รู้เขา โดยละเลยการรู้เรา

16. แม้ย้อนเวลาได้ แต่จิตยังไม่เปลี่ยน การตัดสินใจก็จะเหมือนเดิม

17. สิ่งที่ต้องแก้ไขคือจิต ไม่ใช่การประดิษฐ์เครื่องย้อนเวลา

18. ไม่ต้องสนใจว่าหุ้นมาจากราคาไหน แต่จงสนใจว่ามันจะไปที่ราคาไหนมากกว่า

19. จากการวิจัยพบว่า เวลาขาดทุนในหุ้น ผู้หญิงจะเจ็บปวดมากกว่าผู้ชายอย่างน้อย 30%

20.  การซื้อหุ้นถูกตัว ไม่สำคัญเท่าการซื้อหุ้นถูกจังหวะ

21. ถ้าได้เงินมาแบบไม่ใช้สมอง ในที่สุดก็จะสูญเสียมันไปแบบไร้สมอง

22. มีเงินแต่ไม่มีเวลา ดีกว่ามีเวลาแต่ไม่มีเงิน

23. อิสรภาพทางจิตใจ ไม่ขึ้นกับอิสรภาพทางการเงิน

24. แนวต้านที่แข็งแกร่ง ถ้าทะลุผ่านไปได้ มันจะกลับกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง

25. ความสุขที่ได้จาก ศิลปะ ดนตรี และ กีฬา คือความสุขที่ไม่ต้องใช้เงินทองอะไรมากมาย

26. เมื่อวันสุดท้ายของชีวิตมาถึง ตัวเลขในสมุดบัญชีก็เป็นเพียงภาพมายา

27. มรดกที่ดีที่สุดสำหรับลูกหลาน คือมรดกทางปัญญาและอารมณ์

28. แทงหวยหลายๆตัวโอกาสถูกมากขึ้น แต่แทงหุ้นหลายๆตัวโอกาสผิดมากขึ้น

29. จำนวนหุ้นในพอร์ต 5 ตัวเหมาะสมที่สุด

30. ซื้อถูกขายแพง ไม่บาป ในทางกลับกันซื้อแพงขายถูก ก็ไม่ได้บุญ

31. ยิ่งดีใจมากเท่าไรตอนได้  ก็จะทุกข์มากเท่านั้นตอนเสีย

32. การเล่นหุ้น คือการต่อสู้กับใจของตัวเอง ไม่ใช่คนอื่น

33. ความโลภ คือเมล็ดพันธ์ที่นอนเนื่องในขันธสันดานของมนุษย์ทุกคน ตลาดหุ้นคือปุ๋ยชั้นดี

34. บางคนชอบเสียดายตอนหุ้นขึ้น และเสียใจตอนหุ้นตก แล้วอย่างนี้จะหาความสุขตอนไหน

35. อย่าเอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาเป็นอารมณ์ของตัวเอง

36. ถ้าเกิดมาเพื่อเป็นมวยแบบเขาทรายแล้วไปเลียนแบบการชกของสมรักษ์ ก็มีแต่แพ้

37. อิสรภาพทางการเงิน เริ่มต้นที่เงินสิบล้านบาท

38. คนที่รู้เรื่องดาบอย่างลึกซึ้ง ไม่จำเป็นต้องฟันดาบเก่งเสมอไป

39. ไม่มีใครเขามาสงสารนักมวยที่ถูกน็อก เช่นเดียวกับไม่สงสารนักเล่นหุ้นที่ขาดทุน

40. คนที่เคยลิ้มรสชาติของกำไรซึ่งได้มาง่ายๆ ยากที่จะเลิกเล่นหุ้น

41. นักเล่นหุ้นทุกคนควรมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ของตัวเอง

42. สติคือการรู้ตัวก่อนที่จะซื้อและรู้ถึงผลที่จะตามมา สัมปชัญญะคือความรู้ตัวขณะกำลังคลิกซื้อ

43. สติทำให้เฉลียว  สัมปชัญญะทำให้ฉลาด

44.ตลาดหุ้น มีโอกาสใหม่ๆเสมอ วันพระไม่ได้มีหนเดียว

45. จงตระหนักในวันที่ตลาดตระหนก   จงตื่นตัวในวันที่ตลาดตื่นกลัว

46.  ต้องวิเคราะห์มากกว่าวิจารณ์ และ แก้ไขมากกว่าแก้ตัว

47. ความคิดเป็นเรื่องของสมอง ความรู้สึกเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ

48. คนที่มีบุญเก่า แค่ซื้อหุ้นตามความรู้สึก ก็รวยได้

49. จงเล่นหุ้นอย่างเหยี่ยว ที่สายตากว้างไกลมององค์รวมก่อนจะโฉบลงล่าเหยื่อ

50. การสวนทิศทางความรู้สึก ทำได้ยากกว่าความคิด

51.ร้อยละ 70 ของคนรวยจากทั่วโลก ไม่ได้รวยเพราะมรดก

52.คนรวยจะมีรายได้มากกว่าหนึ่งทางเสมอ

53. รายได้มักจะมาจากสามทาง คือรายได้จากเงินเดือน รายได้จากพรสวรรค์ และรายได้จากดอกผล

54.คนที่เคยไปดิสนี่ย์แลนด์แล้ว จะไม่มีความสุขจากการไปดรีมเวิร์ลอีก

55.ธรรมชาติมอบความสุขให้อย่างยุติธรรมตามกำลังของแต่ละคน

56.ผึ้งก็สามารถหาความสุขแบบผึ้งได้ โดยที่ไม่ต้องไปอิจฉาพญาอินทรี

57. พระภิกษุ มีทั้งอิสรภาพทางการเงิน และอิสรภาพทางใจ

58. คนที่ชอบคิดย้อนอดีต จะไม่มีเวลาสำหรับการคิดถึงอนาคต

59. การทำบุญคือการลงทุนข้ามชาติ

60. ความบังเอิญไม่มีอยู่จริง โชคเกิดจากการเสวยบุญเก่า

61.    วิกฤติคือโอกาส  ตอนประท้วงปิดสนามบิน AOT ลงไปที่ 16 บาท
                         ตอนน้ำท่วมใหญ่ KCE ลงไป 4 บาท
                         ตอนมีข่าวรัฐจะซื้อดาวเทียมคืน Thcom ลงไป 5 บาท  ฯลฯ

62.    สอนให้ลูกรู้จักลงทุน ดีกว่าลงทุนไว้ให้ลูก

63.    ระหว่างบำเหน็จที่ได้ทันที 600,000 กับบำนาญที่ได้ตลอดชีวิตเดือนละ 6,000 ควรเลือกแบบไหน (เฉลยอยู่ในหนังสือจิตของนักเล่นหุ้น)

64.    บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์มักจะช้ากว่าตลาดก้าวหนึ่งเสมอ

65.    เงินเป็นทาสที่ซื่อสัตย์ แต่เป็นเจ้านายที่โหดร้าย

66.    การพยากรณ์หุ้น มีความแม่นยำน้อยกว่าการพยากรณ์อากาศ

67.    ในตลาดหุ้น เหตุผลมักแพ้อารมณ์เสมอ

68.    ซื้อหุ้น New High ดีกว่าซื้อหุ้น New Low ตัดขายหุ้น New Low ดีกว่าตัดขายหุ้น New High

69.    นักเล่นหุ้นที่ดีต้องเป็นได้ทั้งบ็อกเซอร์ตอนหุ้นลง และไฟท์เตอร์ตอนหุ้นขึ้น

70.    เล่นกีฬายังมีการขอเวลานอกตอนเพลี่ยงพล้ำ เล่นหุ้นก็ต้องรู้จักขอเวลานอกให้ตัวเอง

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เคล็ดลับในการเทรดDW

DW พื้นฐาน
เคล็ดลับในการเทรดDW มีเคล็ดลับอะไรบ้าง!
ถ้าเราคิดจะเล่นDW เราต้องหาหุ้นแม่ให้ได้ก่อน เราต้องวิเคราะห์หุ้นแม่ตัวนั้นๆก่อนที่เราจะเล่นDW
ยกตัวอย่าง=หุ้นIVL11C1808A
                 =หุ้นIVL11P1808A
IVL=ชื่อหุ้นอ้างอิง
11 =โบกเกอร์ของหลักทรัพย์(มีหลายค่าย)
C  =CAII(คลอ)ซื้อเมื่อคาดว่าหุ้นแม่จะปรับตัว  ขึ้น
P = PUT(พุท)ซื้อเมื่อคาดว่าหุ้นแม่จะปรับตัวลง
18 =หมดอายุปี2018
08A=หมดอายุเดือนที่8ของปี
DW แตกต่างจากวอแรนต์ทั่วไป อย่างวอแรนต์ทั่วไปอายุค่อนข้างยาว
แต่DWอายุค่อนข้างสั้นกว่า ปกติอายุDW3-6เดือน
ต่างจากวอแรนต์ทั่วไปยังงัย!!
ปกติDWอายุจะสั้น  DWมีมาค์เก็ตวอคเกอร์
มีมาค์เกตวอคเกอร์ คือ ทำราคาให้ตรงตามตัวหุ้นแม่
อย่างถ้าวอแรนต์บางทีหุ้นแม่ขึ้น ตัวลูกอาจจะไม่ขึ้น
หรือว่าบางทีหุ้นแม่อยู่เฉยๆ ตัวลูกวิ่งขึ้นวิ่งลงตลอดเวลา ซึ่งไม่มีมาค์เก็ตวอคเกอร์ วอแรนต์ขึ้นอยู่ดีมานซัพพลายของวอแรนต์ตัวนั้นๆเท่านั้น เพราะฉะนั้นคนที่เข้ามาเก็งกำไรตัววอแรนต์ สามารถเก็งกำไรได้แบบตามดีมานฯ คนเล่นกันเยอะ แห่ซื้อกันเข้าไป ราคากระฉูด
แต่ถ้าตัวDWมันจะอ้างอิงกับตัวหุ้นแม่ ถ้าแม่ไม่ขึ้น DWก็จะไม่ขึ้น!! ถ้าแม่ขึ้น DWก็จะขึ้น!!
คือDWมีมาค์เก็ตวอคเกอร์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลเลย บางคนกลัว น่ากลัวมาก เสี่ยง แต่กล้าเล่นหุ้นเล็กๆ กล้าเล่นวอแรนต์(ข้อมูลจากหลักทรัพยKGI)
จบ1โพสต์ตี2ขอนอนก่อนง่วงนอนแล้ว ยังไม่ได้โพสต์เรื่องเลือกค่ายไหนเล่นดี เลือกผิดค่ายมีหนาวน่ะครับ😴😴😪😪

DW พื้นฐาน (โพสต์สุดท้าย)
•ความเสี่ยงด้านราคาอ้างอิง
ความเสี่ยงปกติคือ สมมุติเราซื้อบนกระดานหุ้นทั่วไป ซื้อหุ้นแม่ปตท. เกิดมันไม่ขึ้นตามที่เราตั้งใจ อันนี้เรียกว่าความเสี่ยงปกติ
ความเสี่ยงของDWหลักๆคือราคาอ้างอิง
•ความเสี่ยงด้านมูลค่าทางเวลา
อันนี้ทุกคนให้ความสำคัญนิดนึง เพราะว่าบางที เราซื้อเข้าไป เกิดหุ้นตัวแม่ไม่ไปไหน ราคาDWจะลงมา
สมมุติ วันนี้เราซื้อไว้หุ้นปตท.ราคาอยู่ที่240บาทซื้อDWไป1บาท เกิดผ่านไปอาทิตย์นึง
ปตท.ยังราคา240บาทอยู่ แต่DWอาจจะเหลือ99สต.
เหลือ98สต. อันนี้เค้าเรียกว่ามูลค่าทางเวลา หรือบางทีถ้าเราถือหมดอายุ บางทีDWอาจเป็นศูนย์บ. ดูน่ากลัวมั้ยครับ พูดอย่างงี้อาจดูน่ากลัว แต่จริงๆแล้วเรามีเครื่องมือในการช่วยให้นักลงทุนสามารถจัดการกับตัวมูลค่าทางเวลาได้
•ความเสี่ยงสภาพคล่อง(เลือกค่าย)
ถ้าเราเทรดDWกับจ้าวที่คนไม่ค่อยเล่น เป็นจ้าวเล็กๆ ไม่ค่อยมีมูลค่าการซื้อขายกันเท่าไหร่ อาจจะน่ากลัว!!
แต่ถ้าเป็นจ้าวหลักๆ ตรงนี้ไม่น่ากลัว คนเล่นกันเยอะ
(ข้อมูลจากหลักทรัพย์KGI  (SkillLane.com)
ผมไม่อยากให้นักลงทุนหน้าใหม่และคนเก่าเล่นน่ะครับ
ถ้ายังเทรดหุ้นบนกระดานยังไม่เก่งนัก!! ยังเสียอยู่!!
เหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากมีรายได้อย่างรวดเร็วได้100%ต่อปีหรือมากกว่านั้น ต้องยอมรับความเสี่ยงให้ได้ด้วย สมมุติว่าเราเล่นหุ้นตัวใหญ่ หุ้นแม่ขึ้น1ช่อง ลูกขยับขึ้น3ช่อง ถ้าแม่ขยับขึ้น10ช่อง ลูกขยับขึ้น30ช่อง แต่ในทางกลับกัน ถ้าแม่ลง10ช่อง ลูกก็ลง30ช่องเหมือนกัน การลงทุนมีความเสี่ยงควรศึกษาก่อนการลงทุน😎😎😴😴😪😪💞💗💞💗💘💟

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

EMA

ชุดเส้นค่าเฉลี่ย EMA ที่ใช้มี

10,25,50,75,200

EMA10/25

เส้นน้อยตัดเส้นมากขึ้นเป็นสัญญานซื้อระยะสั้น

เส้นน้อยตัดเส้นมากลงเป็นสัญญานขายระยะสั้น

EMA50/75

เส้นน้อยตัดเส้นมากขึ้นเป็นสัญญานซื้อระยะกลาง(Goldencross ระดับที่ 1)

เส้นน้อยตัดเส้นมากลงเป็นสัญญานขายระยะกลาง(Deadcross ระดับที่ 1)

EMA50/200

เส้นน้อยตัดเส้นมากขึ้นเป็นสัญญานซื้อระยะยาว(Goldencross ระดับที่ 2)

เส้นน้อยตัดเส้นมากลงเป็นสัญญานขายระยะยาว
(Deadcross ระดับที่ 2)

กรณีดูราคาปิด

EMA10-EMA25
หุ้นที่พักตัวในขาขึ้น มักจะอยู่ในกรอบไม่หลุด

EMA25
 ถ้าหลุดเป็นสัญญาน Warning ควรจะเริ่มขายหุ้นออกมา(ขาขึ้น/ขาลง ระยะสั้น)

EMA50
ตีความว่า ถ้าเหนือเส้นนี้ เป็นขาขึ้น ถ้าต่ำกว่าเส้นนี้เริ่มเป็นขาลง(ขาขึ้น/ขาลง ลงระยะกลาง 1)

EMA75
ถ้าถึงแนวรับนี้มีโอกาสเด้ง/ร่วง(ขาขึ้น/ขาลง ระยะกลาง 2)

-กรณีหุ้นลง ลงไปชน EMA75 แล้วมีโอกาสเด้งขึ้นไปแถวๆ EMA50
-กรณีหุ้นลง ถ้าลงไปแล้วไม่เด้ง แล้วหลุด EMA75 เตรียมใจลงแรงไปเจอกันที่ EMA200

-กรณีหุ้นขึ้น เริ่มขึ้นมาชน EMA75 แล้วมีโอกาสร่วงลงไปที่ EMA50

EMA200 แนวรับสุดท้าย(ขาขึ้น/ขาลง ระยะยาว)ถ้าหลุดแล้วไม่เด้งกลับมายืนเหนือ EMA200ได้ภายในระยะเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ เตรียมทำใจลงแรง

วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อสังหาริมทรัพย์: เรียนรู้-ลงมือทำ-สำเร็จ

  สอนหลายปีพบว่าคนสำเร็จในเครื่องมือที่ชื่อ “อสังหาริมทรัพย์ให้เช่า” มีจุดร่วมเหมือนกันในหลายๆเรื่อง เท่าที่พอนึกออกและอยากหยิบมาเล่าให้ฟังกัน มีดังนี้
.
1) มีเป้าหมายการลงทุนชัดเจน
.
คนกลุ่มนี้วาดภาพไว้ในใจแล้วว่า ปลายทางพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการ หน้าตาเป็นอย่างไร แค่ไหนถึงพอ ถึงตอบโจทย์ชีวิต ที่สำคัญพวกเขามีเหตุผล (Why?) อยู่เบื้องหลังเป้าหมายด้วยว่า ทำไม? เป้าหมายของพวกเขาจึงเป็นเช่นนั้น
.
การตั้งเป้าหมายประเภท จะซื้อลงทุนให้มากที่สุด แบบนี้จะทำให้การลงทุนสะเปะสะปะมาก หรือบางครั้งทำให้ไม่หยิบจับทำอะไรเลย ในขณะเดียวกัน คนที่ต้ังเป้าหมายจะทำอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า 100 ห้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ดีรองรับ พวกนี้ก็ไปไม่ถึงเป้าหมายเช่นกัน
.
อีกเรื่องคือ ขนาดเป้าหมาย กับการลงมือทำที่ไม่สอดคล้องกัน เช่น คนๆ หนึ่งตั้งเป้าหมาย Passive Income 100,000 บาทต่อเดือน แต่เริ่มลงทุนทรัพย์สินขนาด 300,000 กระแสเงินสดบวก 500 บาท การที่เป้าหมายและการลงมือทำห่างไกลกันขนาดนี้ ก็อาจทำให้หมดไฟหมดพลังไปเสียก่อนได้
.
2) เริ่มต้นลงมือทำในสเกลที่รับมือไหว
.
การเริ่มต้นลงทุนบนทรัพย์สินในสเกลที่หากพลาดก็ยังรับมือไหว ถือเป็นหัวใจสำคัญอันหนึ่งของการเรียนรู้ ในมุมหนึ่งเป็นการจำกัดความเสี่ยง รวมไปถึงจัดการกับความรู้สึกกลัวการลงทุน และในอีกมุมหนึ่งก็เป็นการเริ่มต้นเรียนรู้วิธีการบริหารทรัพย์สินขนาดย่อมๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการถือครองทรัพย์สินในสเกลที่ใหญ่ขึ้นต่อไป
.
3) พื้นฐานการเงินดี
.
คนที่การเงินแย่ หากกระโดดมาลงทุนโดยไม่วางแผนหรือแก้ปัญหาเดิมที่มีให้ทุเลาลงก่อน มีโอกาสที่จะถูกบททดสอบจากจิตวิทยาการลงทุนที่พร้อมจะเพี้ยนไป อันเนื่องมาจากปัญหาทางการเงินรายวันได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการขาดสภาพคล่อง การถูกติดตามทวงถามจากเจ้าหนี้ และหากปล่อยไว้ยาวนาน ก็จะส่งผลเสียกับเครดิต ซึ่งกระทบโดยตรงกับโอกาสกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนด้วย
.
คุณไม่มีเวลาคิดและวางแผนการเงินระยะยาวได้หรอก หากชีวิตประจำวันคุณยังสาละวนอยู่กับปัญหาการขาดเงินทุกๆ 30 วัน
.
4) มีแผนการและกลยุทธ์ของตัวเอง
.
จากทรัพย์เล็กๆ ไม่กี่แห่ง หลายคนพัฒนาสู่พอร์ตอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ได้ด้วยกลยุทธ์การลงทุน ทั้ง Farming Pyramiding หรือการไฟแนนซ์เงินจากทรัพย์เก่าเพื่อไปลงทุนในทรัพย์ใหม่ เมื่อวงเงินสินเชื่อถูกจำกัด ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นกลยุทธ์ที่พาไปสู่ความสำเร็จ ที่นักลงทุนทุกคนต้องรู้ เพราะการมีความรู้รอบด้าน ย่อมทำให้เรามีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น
.
5) การมีแหล่งรายได้หลายทาง
.
วงเงินการกู้ยืมเพื่อซื้อทรัพย์สิน ขึ้นกับเครดิตและความสามารถในการหารายได้ของผู้กู้ คนที่มีรายได้ทางเดียวหรือรายได้น้อย ถ้ารู้จักวิธีสร้างรายได้เพิ่ม ก็จะยิ่งทำให้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการลงทุนให้มากขึ้นตามไปด้วย
.
หลายครั้งมีคนถามว่า เงินรายได้น้อยจะทำยังไงให้กู้ลงทุนอสังหาฯ ได้เยอะๆ ทุกครั้งผมก็จะตอบกลับพวกเขาไปว่า “คำตอบของคุณอยู่ในคำถามของคุณแล้ว!”
.
6) จัดการความเสี่ยงได้ดี
.
ไม่มีทรัพย์สินใดในโลกคงกระพัน อสังหาริมทรัพย์ให้เช่าก็เช่นกัน ความเสี่ยงสูงสุดของทรัพย์สินเพื่อการลงทุนกลุ่มนี้ ก็คือ การปราศจากผู้เช่า และส่งผลให้เราต้องรับภาระผ่อนธนาคารด้วยตัวเอง คนที่วางแผนการเงินของทรัพย์สินไม่ดี ในระหว่างมีคนเช่า มีส่วนต่างค่าเช่า ไม่รู้จักสะสมเงินไว้สำรองเผื่อผู้เช่าย้ายออก ก็คงหลีกหนีไม่พ้นผลกระทบทางการเงินต่อตัวเอง
.
นอกจากนี้เรื่องการเลือกประเภททรัพย์ลงทุน รวมไปถึงกลุ่มผู้เช่า ก็ส่งผลกับการลงทุนและการบริหารจัดการหลังครอบครองอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
.
7) อดทนรอคอยความสำเร็จเป็น
.
อันนี้เป็นอีกหนึ่งหัวข้อสำคัญ มีหลายคนเร่งลงทุนเร่งสำเร็จจนเกินไป กู้ลงทุนพร้อมๆกันหลายหลัง โดยที่ยังไม่มีความรู้ หรือรีบตัดสินใจซื้อ ทั้งที่ยังศึกษาข้อมูลไม่ดีพอ สุดท้ายก็ต้องมาติดดอยอสังหาฯ ปล่อยเช่าก็ไม่ได้ ขายก็ไม่มีคนซื้อ
.
บอกเลยนะครับ! ดอยหุ้นว่าหนาวแล้ว ดอยอสังหาฯ หนาวกว่ากันเยอะ
.
ค่อยๆ ลงมือทำตามแผนการไปเรื่อยๆ ก็ถึงเป้าหมายได้เหมือนกัน ผมเองเคยเจอนักลงทุนมือใหม่ท่านหนึ่ง ตั้งเป้าหมายลงทุน 3 หลังใน 10 ปี เห็นแผนตอนแรกผมคิดและบอกเค้าว่า “ช้าไปมั้ย” สุดท้ายผ่านไป 5 ปี เขามีทรัพย์สินให้เช่าหลังละ 3 ล้าน 3 หลัง
.
ช้าแต่ชัวร์ ดูมีความสุขดี ... เลยกลับมาคิดใหม่ว่า การลงทุนที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด ได้กำไรเร็วๆ อาจไม่ทำให้เรามีความสุขเท่ากับการลงทุนที่ตรงจริตตัวเอง และทำให้เรานอนหลับฝันดีก็ได้นะ
.
ทั้งหมดเป็นมุมมองส่วนตัวที่พบเห็นจากทั้งตัวเอง และน้องๆลูกศิษย์ที่มาเรียนด้วยกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่กำลังจะเริ่มต้นลงทุนอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าทุกคนนะครับ
.
8 โมงตรงวันศุกร์นี้ (10 พ.ย.) เปิดรับสมัครสัมมนาบ้านเช่าหลังแรก รุ่น 4 ที่เพจนี้
.
เรียน 9-10 ธันวาคม เวลา 09.00-17.00 น. โรงแรมอเล็กซานเดอร์ ถ.รามคำแหง ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา 3,750 บาท
.
แล้วพบกันครับ
.
#TheMoneyCoachTH

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

RSI

RSI > 66.66
= แรงซื้อมากกว่าแรงขายในอัตราส่วน 2:1

RSI > 55
= เทรนขาขึ้นเริ่มต้น

RSI >= 40
= อยูในช่วงพักตัว

RSI < 33.33
= แรงขายมากกว่าแรงซื้อในอัตราส่วน 2:1

------------------------------------------

RSI

เมื่อ RSI < 50 Momentum ของหุ้นตัวนั้นๆจะเริ่มเสีย

เมื่อ RSI < 33.33 ข่าวร้ายมักจะตามมาและจะเกิด Panic Sell

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ธรรมะกับ"การเล่นหุ้น"

การเล่นหุ้นคือการแข่งกับตัวเอง
ต่อสู้กับใจของตัวเอง
ไม่ใช่แข่งกับเพื่อนๆๆ
หรือคนอื่นๆๆ
การเล่นหุ้นแบบมีธรรมะเป็นหลัก ประจำใจจะทำให้เกิดปีติ (ความอิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ) ปราโมทย์ (ความร่าเริงเบิกบานใจ) ปัสสัทธิ (ผ่อนคลาย สงบ) สุข (ฉ้ำชื่นใจ) และสมาธิ (มีใจมั่นคง) แต่ถ้าเป็นการเล่นด้วยตัณหาเช่น อยากรวย อยากได้ จะมีแต่ความร้อนรุ่ม ความรู้สึกดีๆๆ เหล่านั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย มีความทุกข์จากสิ่งที่ตัวเองไม่มี ส่วนฉันทะ คือ ความชอบ รู้สึกมีความสุขจากสิ่งที่ตัวเองมี

ในหมู่การลงทุนทั้งหมด การลงทุนในหุ้นสร้างกิเลสได้มากที่สุด ทำให้จิตกระเพื่อมมากที่สุด ผัสสะ (จากข่าว ราคาหุ้น) ทำให้เกิด เวทนา (สุข ทุกข์) และก่อตัวเป็น ตัณหา (อยากซื้อ อยากขาย) พัฒนากลายเป็นอุปาทาน (ตัวกูของกู) ตามวงจร ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพชาติ มนุษย์สามารถใช้กำลังสติ ไปสกัดความรู้สึกช่วงระหว่างที่ผัสสะทำให้เกิดเป็นเวทนา หรือเวทนาเปลี่ยนเป็นตัณหาได้ เช่น เมื่อหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นจะเกิดสุขเวทนา และเกิดตัณหาอยากซื้อเพิ่ม เมื่อสั่งซื้อสำเร็จ ก็จะเกิดอุปาทาน หุ้นของกู ทำให้เกิด ภพ ชาติ ย่อยๆๆ ขึ้น จิตจะผูกพันกับราคาหุ้นตัวนั้นไปเรื่อยๆๆ จนได้พบกับอนิจจัง ทุกขังของราคาหุ้น และสุดท้ายจบลงด้วยการตัดสินใจขายหุ้นตัวนั้นออกไป หมดสิ้นภพชาติย่อยลงไปครั้งหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะขายด้วยสาเหตุใดก็ตาม กำไรหรือขาดทุน ก็จะเกิดอวิชชา คือสัญญาที่เจือไปด้วยกิเลสและอารมณ์ตามมา สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้เกิด สังขาร วิญญาณ และนามรูป เพื่อการเข้ามารับผัสสะในครั้งต่อไป คนที่เคยลิ้มรสชาติของการได้กำไรมาแล้วยากที่จะเลิกเล่นหุ้น และสำหรับคนที่ขาดทุนก็จะหาทางเอาคืน ดังนั้นคนที่หลงเข้ามาในวังวนนี้แล้ว ยากที่จะหลุดพ้นออกไปได้

คนเล่นหุ้นมีภพชาติย่อยๆๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา วันที่หุ้นพุ่งก็มีความสุขราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ บางวันก็ร้อนรุ่มปานอยู่ในนรก ส่วนวันที่ราคาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง หรือวันเสาร์ บางวันก็ร้อนรุ่มปานอยู่ในนรก ส่วนวันที่ราคาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง หรือวันเสาร์ วันอาทิตย์ก็กลับมาอยู่โลกมนุษย์ ได้เล่นกับลูก สังสรรค์กับเพื่อน พุ่งน้อยหน่อยก็ขึ้นชั้นดาวดึงส์ แต่ถ้าวันไหนหุ้นตกติดฟลอร์ จะได้ลงนรกขุมลึกสุดคืออเวจี วิธีแก้ไขก็คือ วันไหน ที่มีความสุขมากให้แยกสติออกมาเป็นผู้ดู สุขหนอ กำไรหนอ ก็แค่นั้นเอง ไม่เอาใจเข้าไปดื่มด่ำ เมื่อสามารถแยกตัวออกจากสุขได้ วันไหนทุกข์ก็จะแยกตัวออกมาจากมันได้เช่นกัน ยิ่งหลงไปกับสุขเวทนาตอนหุ้นขึ้นมากเท่าไร ก็จะเกิดทุกขเวทยสตอนหุ้นตกมากเท่านั้น คนเจ้าอารมณ์ที่ควบคุมความรู้สึกตัวเองไม่ได้ ไม่ควรเล่นหุ้น เพราะจะทนทุกข์ทรมานราวกับอยู่ในนรกทุกวัน วันไหนหุ้นขึ้นก็จะเสียดายจนทุกข์ วันไหนหุ้นตกก็จะเสียใจ คนส่วนใหญ่หมดตัวกับหุ้นก็เพราะอารมณ์โลภ โกรธ หลง อิจฉาริษยา เสียดาย เสียใจ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ตัดสินใจผิดจังหวะ ตลาดหุ้นในแต่ละวันก็มีอารมณ์เป็นของตัวเอง บางวันตลาดตื่นตระหนก บางวันอารมณ์ดี บางวันอารมณ์แปรปรวน คุณสมบัิตที่สำคัญของนักเล่นหุ้นคืออย่าเอาอารมณ์ตลาดเข้ามาเป็นอารมณ์ของตัวเอง อุเบกขาจึงเป็นหลักธรรมในพรหมวิหาร 4 ที่สำคัยของนักเล่นหุ้น ทำให้ไม่ปล่อยใจไปตามอารมณ์ของตลาด

พรหมวิหาร 4 คือ
อุเบกขา คือการรู้จักที่จะปล่อยวาง ในบางครั้งชีวิตของคนเราก็ต้องพบกับส่ิงที่ไม่อาจเข้าไปแก้ไขได้ เมื่อถึงเวลาต้องปล่อยก็ต้องปล่อย บางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้น เป็นไปตามเหตุปัจจัยตามกฎแห่งกรรม เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องรู้จักปล่อยวางไม่เอาใจเข้าไปรับ
Credit : หนังสือจิตของนักเล่นหุ้น โดยทันตแพทย์สม สุจีรา

กฎการเทรด 10 ข้อ

✨ กฏการเทรด 10 ข้อ และการอยู่รอดในตลาด ที่ต้องท่องให้ขึ้นใจ ✨

📌  1. ความอยู่รอดคือจุดเริ่มต้น การเก็งกำไรเป็นธุรกิจที่เสี่ยงสูงมากๆ มันไม่เกี่ยวว่า เราจะชนะ หรือแพ้ มันเกี่ยวกับคำว่าเราจะอยู่รอดอย่างไร เมื่อตลาดอยู่ที่จุดต่ำๆ หรือจุดสูงๆ ถ้าคุณอยู่รอดไม่ได้ คุณไม่สามารถชนะได้
อย่างแรกสุดของการอยู่รอด คุณต้องมีแนวทาง หรือวิธีการเก็งกำไรที่ทำได้จริง
ข่าวลือ วงใน ความรู้สึกไม่ใช่แนวทางการเก็งกำไร โอกาสหรือพื้นที่ในการเก็งกำไรจะมาจากความจริงที่สามารถทำได้จริง
นักเก็งกำไรระยะสั้น และระยะยาวอาจมีแนวทางการทำกำไรต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือวิธีการ และเครื่องมือที่พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้จริง
นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้เวลาเยอะมากในการซื้อ laptop แต่ตัดสินใจเร็วมากในการวางเงินเดิมพันจริงๆ ในตลาดทุน
ปัญหาโดยทั่วไป คือมีเทคนิคเยอะมากที่มันใช้ทำเงินจริงๆไม่ได้ เขาแนะนำได้อย่างนึงคือ คุณต้องใช้เวลาให้มากหน่อยในการเรียนรู้ และตัดสินใจในการเข้าเก็งกำไร ในช่วงวิกฤตต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คุณจะมี การบริหารเงินที่ดี MM มีระบบที่ดี มีรูปแบบการเก็งกำไรที่ทำได้จริง แต่คุณก็ยังต้องควบคุมตัวเองให้ได้อยู่ดี

📌 2. ทั้งหมดนี้ มันคือเกมส์ของอารมณ์ และมันจะเป็นไปตลอด อะไรก็แล้วแต่ที่มันเกี่ยวข้องกับเงิน และยิ่งเป็นเงินของเรา มันทำให้เราตัดสินใจอย่างไร้เหตุผล ความกลัว อารมณ์ต่างๆทำให้นักเทรดเดอร์ทั้งหลายพลาดกับการลงทุนที่ดี หรือเขาเดิมพันที่สูงมาก เมื่อการบริหารเงินถูกคอบงำโดยอารมณ์ โดยปราศจากเหตุผล

📌 3. ความโลภ เมื่อความโลภมีผลต่อเรามากกว่าความกลัว มาดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น
เมื่อคุณเป็นนักเก็งกำไร คุณจะมีความกลัวลดลงกว่าคนทั่วไป เพราะคุณถูกดึงดูดในเรื่องการทำเงินให้ได้ ในขณะที่คนอื่นจะกลัวการขาดทุน
ความโลภเป็นอุปสรรคต่อนักเทรดทั่วไป ความโลภจะทำให้คุณมีความหวังหลงเหลือ ความโลภจะทำให้คุณผลีผลามเข้าในจังหวะที่เสียเปรียบ และออกเร็วเกินไป ความหวังคือศัตรูตัวหลักเพราะมันทำให้คุณฝันถึงกำไรมหาศาล
และออกไปสู่โลกแห่งความฝัน เชื่อผมเถอะ !!! โลกของการเก็งกำไร มันมีจริง และคนมากมายศูนย์เสียเงินที่ตัวเองเก็บมาทั้งชีวิต ชีวิตคู่พัง ครอบครัวแตกแยก จากการได้เสียอย่างมากมายในตลาดนี้
แน่นอน การชนะของเราที่เกิดจากการเก็งกำไร อาจจะชั่วครั้ง ชั่วคราว มันพร้อมจะจากเราไป เหมือนกับเราถูกฟ้องล้มละลาย หรือโกงเลยทีเดียว
ผมไม่สามารถบอกวิธีที่แน่นอนในการจัดการกับความโลภได้ แต่สิ่งที่ผมบอกคุณได้อย่างเดียวคือ คุณต้องควบคุมตัวเองให้ได้ ไม่งั้นคุณจะไม่มีทางรอดจากตลาดแน่นอน

📌 4. ความกลัว
ความกลัวเป็นสาเหตุ ให้คุณไม่กล้าทำในสิ่งที่คุณควรจะทำ ไม่กล้าตัดสินใจเมื่อ ความได้เปรียบมาถึง แน่นอนมันตรงข้ามกับความโลภที่เป็นสาเหตุให้คุณทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ
นักจิตวิทยาบอกว่า ความกลัวทำให้คุณไม่กล้าขยับ ถึงแม้โอกาสที่ดีจะวิ่งเข้าหาคุณอย่างมากมายขนาดไหน แต่พวกเขาก็จะมองผ่าน และไม่ทำอะไรกับมันเลย และแย่ยิ่งกว่านั้นคือเขาพลาดโอกาสที่ดีไปแล้ว ถ้าถามผม ผมก็ไม่รู้
แต่ผมบอกได้อย่างเดียวคือ เมื่อไหร่ก็ตาม ที่ผมกลัวมากเท่าไหร่ โอกาสชนะของผมที่จะได้กำไรกลับมีมากขึ้น นักลงทุนทั่วไปกลัวและเอาตัวเองมาจากตำแหน่งที่ได้เปรียบ

📌 5. Money management คือการสร้างความมั่นคั่ง
แน่นอน คุณสามารถทำเงินจากการเป็นเทรดเดอร์ หรือ นักลงทุนก็ได้ แต่ผมบอกได้เลยว่ากำไรส่วนใหญ่มันไม่ได้มาจาก เทคนิคการเทรด รูปแบบการลงทุน มากเท่ากับวิธีการบริหารเงิน หรือการจัดการเงิน
ผมยกตัวอย่าง ผมทำเงินจาก $10,000 เหรียญเป็น 1 ล้านเหรียญใน 1 ปี ในการแข่งขันรายการนึงด้วยเงินจริง ด้วยวิธีง่ายๆคือ เมื่อกำไรเยอะขึ้นคุณก็เทรดเยอะขึ้น และเมื่อกำไรลดลงคุณก็ต้องเทรดด้วยสัญญาที่น้อยลง
และ 10 ปีต่อมา ลูกสาวเขาอายุ 16 ปี ก็ชนะรางวัลการเทรด โดยทำเงินจาก 10000 เหรียญ เป็น 1 แสนเหรียญ ผมบอกได้เลยว่าไม่มีสูตรลับใดๆ ไม่มีกราฟมหํศจรรย์ใดๆ เธอแค่ทำตามรูปแบบการบริหารเงินเหมือนที่ผมได้ทำ

📌 6. การทำกำไรมหาศาล ไม่ได้มาจากการเดิมพันที่สูง
มีเรื่องราวมากมายของนักเทรด อย่าง jesse livermore, john gates, niederhoffer, frankie joe และอีกมากมาย คนพวกนี้เดิมพันสูงมาก และสูญเสียเงินตัวเองหมดในท้ายที่สุด
การลงทุน หรือเก็งกำไรที่ฉลาดจะไม่เดิมพันสูง และไม่มีทาง ทำไมเหรอ คุณสามารถชนะ และทำกำไรมหาศาลเมื่อคุณเดิมพันไม่เยอะ กลับไปดูข้อ 5 ท้ายที่สุด เมื่อคุณเดิมพันสูง เวลาคุณเสีย คุณก็เสียเยอะเช่นกัน
มันเหมือนการเล่น รูเร็ต คุณสามารถเล่นได้บ่อยโดยคุณไม่แพ้เลย แต่ถ้าคุณเล่นบ่อยมากเท่าไหร่ บ่อยจนเพียงพอต่อผลลัพธ์อันเดียวที่คุณไม่มีทางหนีได้ คือ จุดจบ ความตาย และเมื่อคุณเดิมพันสูง คุณก็จะหมดตัวเช่นกัน ตัวผมก็เคยผ่านมาแล้ว เชื่อผมเถอะ
ผมเดิมพันน้อยลง ควบคุมความเสี่ยงให้ได้ ไม่มีวิธีใดหรอกที่จะอยู่รอดในตลาดโดยปราศจากการควบคุมความเสียหาย

📌 7.พระเจ้าอาจช้า แต่พระเจ้าไม่เคยปฏิเสธ
ผมไม่เคยรู้เลย เมื่อไหร่ผมจะทำเงินได้ มันอาจจะเป็นการเทรดครั้งแรก หรือครั้งสุดท้ายของผมเองก็ได้ แต่คุณต้องเตรียมรบ ให้ได้นานที่สุด
ผมคิดว่าความเชื่อในเรื่องของพลัง คือ ปัจจัยในการสำเร็จของนักเทรด มันช่วยให้เรามีวิสัยทัศน์ในการเก็งกำไร
-.- เริ่มง่วง สรุปคร่าวๆ ขอให้เรามีพยายาม และเชื่อในพลังในตัวเอง และมุ่งมั่น ความสำเร็จจะตาม

📌 8. ผมเชื่อเสมอว่า การเทรดในปัจจุบัน ผมจะขาดทุน
อันนี้คือเคล็ดลับความเชื่อในการเก็งกำไร ให้ประสบความเสำเร็จของผมเลยทีเดียว นักเทรดทั่วไป เชื่อเสมอว่า เทรดครั้งต่อๆไป ในอนาคตพวกเขาจะเทรดได้ดีขึ้น และจะเป็นผู้ชนะ
แต่ไม่ใช่ผม !!! ผมเชื่อว่า หลักๆแล้ว หลักการจริงๆแล้ว คือการเป็นผู้แพ้ ผมถามคำถามคุณ คุณคิดว่า ผมที่มี stop อย่างผม และเทรดอย่างถูกต้อง หรือคนที่เทรดด้วยความเชื่อโดยปราศจากเหตุผล คุณคิดว่าใครจะแพ้
ระหว่างผม หรือ คนที่คิดในแง่ดี
ถ้าคุณยังไม่เข้าใจ ผมจะบอกคุณว่าการที่ผมคิดว่าผมเป็นผู้แพ้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ผมจะปกป้องตัวเอง ในทุกรูปแบบ และทุกเวลา และผมจะไม่อยู่ในความหวัง และความไม่จริง

📌 9. โชคจะมาหาคุณจากการเพ่งความสนใจเพียง 1 ตลาด หรือ 1 เทคนิค
คนที่เทรดหลายๆอย่าง จะไม่ประสบความสำเร็จในการเทรด ทำไม? นักเทรดจะต้องตั้งใจในรายละเอียดของการเทรด โดยปราศจากอารมณ์
การไขว้เขว้อาจหมายถึงต้นทุนคุณที่เพิ่มขึ้น ขาดการใส่ใจ นั่นจะทำให้คุณ ไม่ได้เข้าในจุดที่ควรจะเข้า หรือเพิกเฉยในการเทรดซึ่งนำมาซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้น
เหมือนกับพวกที่โยนบอลขึ้นไปในอากาศ มันค่อนข้างยากที่คุณจะควบคุมบอลที่โยนขึ้นไปอากาศ อย่างเช่นบอล 3 ลูก แน่นอนคุณอาจจะฝึกได้ แต่เมื่อเพิ่มลูกบอลขึ้นเรื่อยๆ น้อยคนมากๆที่จะทำได้ และควบคุมลูกบอลพวกนี้ได้
ดูอย่างพวกนักกีฬาสิ พวกเขามุ่งมั่นอยู่แค่กีฬาอย่างเดียว หรือพวกศิลปิน นักดนตรี ไม่มีหรอกที่จะเป็นดาวดังจากการร้อง country western and opera ดังนั้น ยิ่งคุณมุ่งมั่นได้มากเท่าไหร่ในสิ่งที่คุณทำ คุณจะยิ่งประสบความสำเร็จมากมายในด้านนั้นๆ

📌 10. เมื่อสงสัย ให้กลับไปอ่านข้อหนึ่งใหม่
มีเวลาจะมา edit ใหม่ช่วงหลังง่วงๆ อาจแปลงงบ้าง ^^
BOYLES
ที่มา LARRY WILLIAMS

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

นักลงทุนควรรู้

1.สำหรับการเล่นหุ้นแล้ว อีคิวสำคัญกว่าไอคิว
2.การมีหุ้นก็เหมือนมีลูก คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ
3.ยอดมนุษย์ไวกิ้ง เกิดขึ้นได้เพราะท้องทะเลที่ปั่นป่วนฉันใด
ยอดมนุษย์นักลงทุน จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะตลาดที่ปั่นป่วนฉันนั้น
4.คนคิดลบจะลุ้นให้หุ้นตก และเมื่อตกจริงๆๆ เขาก็จะไม่กล้าซื้ออยู่ดีเพราะคิดลบ ส่วนคนคิดบวกจะลุ้นว่าหุ้นขึ้น และเมื่อขึ้นจริงๆๆ เขาจะซื้อเพิ่มเพราะมองบวก
5.คนที่ถือคติว่า ไม่ขาย ไม่ขาดทุน ลึกๆๆ แล้วความรู้สึกในใจ
ก็จะบอกว่า ไม่ขาย ไม่กำไร เช่นเดียวกัน และคนที่คิดแบบนี้
บทสรุปสุดท้ายจะจบลงที่ ติดดอย และ ขาหมู
6.ในช่วงวัยต้นของชีวิต จงยอมให้เงินใช้เราทำงาน แต่ในช่วงหลังของชีวิตจงใช้เงินทำงานให้เรา
7.ถ้ายังมีเงินเก็บไม่ถึงหนึ่งล้านบาท อย่างเพิ่งคดเรื่องจะให้เงินทำงานแทน
8.คนที่เชื่อว่ามีโอกาสในวิกฤติ ก็จะพยายามมองหาจนเจอ
ภายในวันเดียว ตลาดหุ้นก็เช่นกัน
9.กรุงโรม ไม่ได้สร้างภายในวันเดียว
10.เราต้องเป็นคนเล่นหุ้น อย่าปล่อยให้หุ้นเล่นเรา
11.การซื้อเฉลี่ยขาลง จะมีความทุกข์ทรมานมากกว่า การซื้อเฉลี่ยขาขึ้น
12.ความทุกข์ส่วนหนึ่งของคนเล่นหุ้น เกิดจากการไปนึกเสียดายถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว
13.การ Cut loss เปรียบเสมือนการตัดหางจิ้งจก เพราะเงินสามารถงอกขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา
14.การ Cut loss คล้ายการวิ่งหนีสินามิ แม้วิ่งเก้อสี่ครั้ง
แต่ครั้งที่ห้าเกิดขึ้นจริง ทำให้รอดตาย
15.รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง แต่นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่
มุ่งไปที่รู้เขา โดยละเลยการรู้เรา
16.แม้ย้อนเวลาได้ แต่จิตยังไม่เปลี่ยน การตัดสินใจก็จะเหมือนเดิม
17.สิ่งที่ต้องแก้ไขคือจิต ไม่ใช่การประดิษฐ์เครื่องย้อนเวลา
18.ไม่ต้องสนใจว่าหุ้นมาจากราคาไหน แต่จงสนใจว่ามันจะไปที่ราคาไหนมากกว่า
19.จากการวิจัยพบว่า เวลาขาดทุนในหุ้นผู้หญิงจะเจ็บปวดมากกว่าผู้ชายอย่างน้อย 30%
20.การซื้อหุ้นถูกตัว ไม่สำคัญเท่าการซื้อหุ้นถูกจังหวะ
21.ถ้าได้เงินมาแบบไม่ใช้สมอง ในที่สุดก็จะสูญเสียมันไปแบบไร้สมอง
22.มีเงินแต่ไม่มีเวลา ดีกว่ามีเวลาแต่ไม่มีเงิน
23.อิสรภาพทางจิตใจ ไม่ขึ้นกับอิสรภาพทางการเงิน
24.แนวต้านที่แข็งแกร่ง ถ้าทะลุผ่านไปได้
มันจะกลับกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง
25.ความสุขที่ได้จาก ศิลปะ ดนตรี และ กีฬา คือความสุข
ที่ไม่ต้องใช้เงินทองอะไรมากมาย
26.เมื่อวันสุดท้ายของชีวิตมาถึง ตัวเลขในสมุดบัญชี
ก็เป็นเพียงภาพมายา
27.มรดกที่ดีที่สุดสำหรับลูกหลาน คือมรดกทางปัญญาและอารมณ์
28.แทงหวยหลายๆๆ ตัวโอกาสถูกมากขึ้น แต่แทงหุ้นหลายๆๆ ตัวโอกาสผิดมากขึ้น
29.จำนวนหุ้นในพอร์ต 5 ตัวเหมาะสมที่สุด
30.ซื้อถูกขายแพง ไม่บาป ในทางกลับกันซื้อแพงขายถูก ก็ไม่ได้บุญ
31.ยิ่งดีใจมากเท่าไรตอนได้ ก็จะทุกข์มากเท่านั้นตอนเสีย
32.การเล่นหุ้น คือการต่อสู้กับใจของตัวเอง ไม่ใช่คนอื่น
33.ความโลภ คือเมล็ดพันธ์ที่นอนเนื่องในขันธสันดานของมนุษย์ทุกคนตลาดหุ้นคือปุ๋ยชั้นดี
34.บางคนชอบเสียดายตอนหุ้นขึ้น และเสียใจตอนหุ้นตก
แล้วอย่างนี้จะหาความสุขตอนไหน
35.อย่าเอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาเป็นอารมณ์ของตัวเอง
36.ถ้าเกิดมาเพื่อเป็นมวยแบบเขาทรายแล้วไปเลียนแบบการชกของสมรักษ์ ก็มีแต่แพ้
37.อิสรภาพทางการเงิน เริ่มต้นที่เงินสิบล้านบาท
38.คนที่รู้เรื่องดาบอย่างลึกซึ้ง ไม่จำเป็นต้องฟันดาบเก่งเสมอไป
39.ไม่มีใครเขามาสงสารนักมวยที่ถูกน็อก เช่นเดียวกับไม่สงสารนักเล่นหุ้นที่ขาดทุน
40.คนที่เคยลิ้มรสชาติของกำไรซึ่งได้มาง่ายๆๆ ยากที่จะเลิกเล่นหุ้น
41.นักเล่นหุ้นทุกคนควรมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ของตัวเอง
42.สติคือการรู้ตัวก่อนที่จะซื้อและรู้ถึงผลที่จะตามมา
สัมปชัญญะ คือความรู้ตัวขณะกำลังคลิกซื้อ
43.สิตทำให้เฉลียว สัมปชัญญะทำให้ฉลาด
44.ตลาดหุ้น มีโอกาสใหม่ๆๆ เสมอ วันพระไม่ได้มีหนเดียว
45.จงตระหนักในวันที่ตลาดตระหนก จึงตื่นตัวในวันที่ตลาดตื่นกลัว
46.ต้องวิเคราะห์มากกว่าวิจารณ์ และแก้ไขมมากกว่าแก้ตัว
47.ความคิดเป็นเรื่องของสมอง ความรู้สึกเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ
48.คนที่มีบุญเก่า แค่ซื้อหุ้นตามความรู้สึก ก็รวยได้
49.จงเล่นหุ้นอย่างเหยี่ยว ที่สายตากว้างไกลมององค์รวม
ก่อนจะโฉบลงล่าเหยื่อ
50.การสวนทิศทางความรู้สึก ทำได้ยากกว่าความคิด
51.ร้อยละ 70 ของคนรวยากทั่วโลก ไม่ได้รวยเพราะมรดก
52.คนรวยจะมีรายได้มากกว่าหนึ่งทางเสมอ
53.รายได้มักจะมาจากสามทาง คือรายได้จากเงินเดือน
รายได้จากพรสวรรค์ และรายได้จากดอกผล
54.คนที่เคยไปดิสนี่ย์แลนด์แล้ว จะไม่มีความสุขจากการไปดรีมเวิร์ลอีก
55.ธรรมชาติมอบความสุขให้อย่างยุติธรรมตามกำลังของแต่ละคน
56.ผึ้งก็สามารถหาความสุขแบบผึ้งได้ โดยที่ไม่ต้องไปอิจฉาพญาอินทรี
57.พระภิกษุ มีทั้งอิสรภาพทางการเงิน และอิสรภาพทางใจ
58.คนที่ชอบคิดย้อนอดีต จะไม่มีเวลาสำหรับการคิดถึงอนาคต
59.การทำบุญคือการลงทุนข้ามชาติ
60.ความบังเอิญไม่มีอยู่จริง โชคเกิดจากการเสวยบุญเก่า
61.วิกฤติคือโอกาส ตอนประท้วงปิดสนามบิน AOT ลงไปที่ 16 บาท ตอนน้ำท่วมใหญ่ KCE ลงไป 4 บาท
ตอนวิกฤติน้ำมัน PTT ตกไปที่ 198 บาท
62.สอนให้ลูกรู้จักลงทุน ดีกว่าลงทุนไว้ให้ลูก
63.ระหว่างบำเหน็จที่ได้ทันที 600,000 กับบำนาญที่ได้ตลอดชีวิตเดือนละ 6,000 คนกล้าเสี่ยงจะเลือกบำเหน็จ
64.บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์มักจะช้ากว่าตลาดก้าวหนึ่งเสมอ
65.เงินเป็นทาสที่ซื่อสัตย์ แต่เป็นเจ้านายที่โหดร้าย
66.การพยากรณ์หุ้น มีความแม่นยำน้อยกว่าการพยากรณ์อากาศ
67.ในตลาดหุ้น เหตุผลมักแพ้อารมณ์
68.ซื้อหุ้น New High ดีกว่าซื้อหุ้น New Low
ตัดขายหุ้น New Low ดีกว่าตัดขายหุ้น New High
69.นักเล่นหุ้นที่ดีต้องเป็นได้ทั้งบ๊อกเซอร์ตอนหุ้นลง
และไฟท์เตอร์ตอนหุ้นขึ้น
70.เล่นกีฬายังมีการขอเวลานอกตอนเพลี่ยงพล้ำ
เล่นหุ้นก็ต้องรู้จักขอเวลานอกให้ตัวเอง
71.ไม่มีกีฬาใดที่จำนวนผู้เล่นมากกว่า 11 คน เพราะโค้ชดูแลไม่ทั่วถึงหุ้นก็เช่นเดียวกัน 12 ตัวในพอร์ตมากเกินไป
72.ระดับการศึกษาไม่ได้แปรผันตามความสามารถในการเล่นหุ้น
73.เวลาลงทุนพลาดให้โทษตัวเอง แม้ว่าสิ่งแวดล้อมจะมีส่วนบ้างก็ตาม
74.อดีตเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่อนาคตอยู่ในกำมือ
75.ศึกษาอดีต ทำให้หยั่งรู้อนาคต
76.ทุกๆๆ ปี ตลาดหุ้นจะมีช่วงที่หุ้นตกหนัก รอสวนช่วงนั้นปลอดภัยที่สุด
77.ในการซื้อหรือขายหุ้น ควรแบ่งออกเป็นสามจังหวะ
และเหลือไว้ซื้อหรือขายในจังหวะที่สาม 50%
78.ทุกครั้งที่ขายหุ้นที่ได้กำไรออกไป ต้องตัดขายหุ้นในพอร์ตที่ขาดทุนออกไปด้วย
79.ตลาดขาขึ้นต้องซื้อให้เร็วที่สุด ตลาดขาลงต้องขายออกให้เร็วที่สุด
80.คนคิดบวก จะระวังแต่ไม่ระแวง จะตะหนักแต่ไม่ตระหนก
81.นักวิ่งมาราธอนมาวิ่ง 100 เมตรก็แพ้ นักลงทุนระยะยาวมาเล่นระยะสั้นก็พลาด
82.นักเล่นหุ้นควรมีงานอดิเรกประจำตัว เพื่อใช้เบี่ยงเบนจิตออกจากตลาด
83.ควรประเมินผลงานการลงทุนของตัวเอง ทุกๆๆ สามเดือน
84เงินเก็บล้านแรกยากที่สุด ล้านต่อๆๆไปจะง่ายขึ้นเรื่อยๆๆ
85.แนวรับ แนวต้าน เป็นเรื่องสำคัญมากในทางจิตวิทยาการเล่นหุ้น
86.อย่าไปพยายามแก้ตัวกับหุ้นที่เคยขาดทุน แต่ให้ไปเอาคืนกับหุ้นที่เคยกำไร
87.หุ้นบางตัวเหมือนภูเขาไฟฟูจี ดูสวยแต่เนื้อในไม่มีอะไรเลย
88.เงินที่อยู่นิ่งไม่มีพลัง เหมือนน้ำที่อยู่ในเขื่อน ถ้าต้องการให้เงินทำงาน ต้องให้มันเคลื่อนไหว
89.คนรวยได้ดอกผล คนจนเสียดอกเบี้ย
90.อย่าคร่ำครวญ เสียดายน้ำนมที่หกลงพื้นไปแล้ว
91.การยึดติดกับราคาในอดีต คือกับดักของนักเล่นหุ้น
92.สปริงที่ทนการหดตัว 10% ไม่ได้ ก็จะทนการยืดตัว 10% ไม่ได้เช่นกัน
93.นักมวยต้องเก็บแรงไว้รอสวนเสมอ นักลงทุนต้องเก็บเงินสดไว้บ้างเผื่อจังหวะดีๆๆ
94.คนเล่นหุ้นจะมีภพชาติย่อยๆๆ อยู่ตลอดเวลา บางวันขึ้นสวรรค์ บางวันลงนรก
95.เมื่อ "ขายหมู" จงยินดีที่คนซื้อต่อจากเราไป ได้กำไร
96.ช่วงที่รู้สึกว่ามือตก สติหาย ให้หยุดลงทุน
97.วิกฤติหนักจะมาทุก ๆๆ 10-12 ปีป หุ้นจะตกมากกว่า 50%
98.กล้าได้ ต้องกล้าเสีย ไม่ใช่หวังจะได้อย่างเดียว
Credit : หนังสือจิตของนักเล่นหุ้น โดยทันตแพทย์สม สุจีรา

วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กฏธรรมชาติของหุ้นที่จะขึ้น

1)  หุ้นจะขึ้นเมื่อมีการซื้อ Offer ในราคาที่ผิดธรรมชาติ
   แนวคิด:  ทำไม อยู่ดีๆ ถึงมีคนยอมซื้อแพง ทั้งๆที่ สามารถซื้อถูกได้
   สาเหตุ :  เวลาคนจะสร้างราคา เขาจะต้องทำให้ราคาขึ้น ถ้าไม่ยอมซื้อขวา ราคาก็ไม่มีวันขึ้น

2) ในจังหวะหุ้นที่จะขึ้นจริง คนสร้างราคา เขาจะไม่ทำให้เราได้ซื้อง่ายๆ เพราะเราจะมักไม่เคยซื้อได้ทัน สำหรับราคาที่ดี
     แนวคิด:  ทำไม มีการรวบ  offer  ไม้ใหญ่ๆ ยกช่อง หรือ การรวบแล้ว เติม Bid โดยทันที
      สาเหตุ :  เวลาคนจะสร้างราคา ถ้าเมื่อเป็นจังหวะที่จะเล่นเร็ว เขาจะต้องทำให้ ราคาขึ้นเร็วที่สุดเพื่อให้ห่างจากทุนในการทำราคา เพราะ ถ้าเป็นเรา เราคงอยากให้ ไปไกลจากทุนเรามากที่สุด ในเวลาสั้น ก่อนมีใครจะมาทิ้งหุ้นใส่

3) เวลาหุ้นก่อนจะขึ้นเป็น trend ยาวๆ กราฟเทคนิค มันจะบอกว่า ให้ขายสะ

       แนวคิด :  ทำไม มีการสร้างกราฟเทคนิคให้ขายก่อนขึ้น
       สาเหตุ :  ของดีมักไม่มีใครอยากแบ่ง อยากได้ของให้อยู่ในมือมากที่สุด แล้วค่อยไปขายให้ได้ราคาสูง ในจำนวนที่พอใจ

4) เวลาหุ้นขึ้นแรง มักเปิดราคากระโดด

       แนวคิด : หุ้นที่ขึ้นแรงๆ มักราคาเปิดกระโดด ผ่าน ราคาที่ผิดธรรมชาติ อย่างแนวต้านที่ไม่เคยผ่าน
        สาเหตุ :  กฎการสร้างราคา คนสร้างราคา ต้องทำให้ ราคาขึ้นอย่างรวดเร็ว ป้องกันการขายหุ้นใส่ ถ้ายิ่งมีคนขายใส่มากเท่าไหร่ ภาระของคนทำราคา จะเหนื่อยมากเท่านั้น ในการจะทำราคาขึ้น เพราะ ต้นทุนจะสูงขึ้นไปด้วยโดยทันทีกับการรับของคนที่ขายใส่เพื่อทำราคาไม่ให้ลง

  กฎให้ท่องจำและฝึกฝน
         
             " อย่ากลัวหุ้นเปิดโดด อย่ากลัวการซื้อแบบหวดขวาที่ offer  เพราะ มันคือ กฎธรรมชาติ เวลาที่หุ้นจะขึ้น  แต่เพียงแค่เราจะควบคุมความเสี่ยงอย่างไรกับ การซื้อแบบพฤติกรรมหุ้นขึ้น

Cr โค้ชเหว่ง super trader republic

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หุ้นปลิดชีวิต

หุ้นปลิดชีวิต โดย วีระพงษ์ ธัม

การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น นักลงทุนจะใช้เวลาส่วนใหญ่มุ่งหา “หุ้นดี” ที่สามารถทำกำไรสูง ๆ เพื่อซื้อเข้าพอร์ต อย่างไรก็ดีประสบการณ์ผมพบว่าการพยายามเลี่ยง “หุ้นอันตราย” นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า เพราะนอกจากจะเสียทั้งเงิน เรายังเสียเวลาติดตาม เสียสุขภาพอีกด้วย และนี่คือลักษณะหุ้นปลิดชีวิตที่ผมพยายามระวังหรือหลีกเลี่ยง

1.”หุ้นผู้บริหารสีเทา” การลงทุนเป็นกิจกรรมที่เราต้องพึ่งพาผู้บริหาร 100% ผู้บริหารที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง และผู้บริหารสีเทาก็สร้างปัญหามากกว่าที่เราคิดมาก ศิลปะในการดูผู้บริหารนั้นถูกพูดถึงอยู่ในบทความมากมายหลายครั้ง แต่ผมขอเอาจากงานวิจัยจากหนังสือเลี้ยงลูกเล่มหนึ่งที่ชื่อ How Children Succeed ที่พูดว่าเด็กที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตสูง ต้องมีคุณสมบัติเด่น 7 ข้อ คือ มีความมุ่งมั่น รู้จักควบคุมตนเองรู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ มีความกระตือรือร้น รู้จักเข้าหาสังคม มีความกตัญญูยึดในความดี มองโลกในแง่บวก มีความสงสัยใคร่รู้และชอบค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งผู้บริหารที่ดีก็น่าจะมีลักษณะนี้เช่นเดียวกัน และบทสรุปหนึ่งที่ใช้ได้เสมอคือ ผู้บริหารที่ดีควรจริงจังกับธุรกิจมากกว่าตลาดหุ้น

2.”หุ้นหนี้สูงท่วมหัว” ในตำราการเงิน การก่อหนี้ให้ผลที่ดีเสมอในเชิงตัวเลขให้ผลลัพธ์ที่นักลงทุนชอบ คือเพิ่มกำไรได้ง่าย เพิ่มอัตราส่วนทางการเงินให้ดูสวยงาม แต่หุ้นที่มีหนี้จำนวนมาก คือหุ้นที่เราควรจะหลีกเลี่ยง บริษัทคุณภาพดีจำนวนไม่น้อยก็ประสบปัญหาล้มละลายเพราะหนี้ เพราะในเวลาทุกอย่างดูดี เจ้าหนี้จะไม่ค่อยมายุ่งกับธุรกิจ แต่พอทุกสิ่งเข้าสู่ช่วงยากลำบาก เจ้าหนี้เริ่มตั้งข้อสงสัยและจะดึงเงินกลับอย่างรวดเร็ว วิกฤตเศรษฐกิจจนถึงวิกฤตบริษัทส่วนมากมักเกิดจากปัญหา “สภาพคล่องและหนี้” เช่นกรณีวิกฤตตั๋ว B/E ในปีนี้ก็ทำให้หุ้นหลายตัวเป็นหุ้นปลิดชีวิต

3.”หุ้นล้าสมัย” ในยุคนี้ ความล้าสมัยไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจเติบโตไม่ได้ แต่อาจทำให้ธุรกิจล้มหายไปเลย เพราะการแข่งขันที่ “ข้ามสนาม” สมัยนี้ธุรกิจใหญ่ ๆ หรือหลาย ๆ สินค้าจะเป็นลักษณะกินรวบมากขึ้น และหุ้นล้าสมัยมีลักษณะหนึ่งที่คล้ายกันคือ ลูกค้าใหม่ไม่ปรากฏ ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่อยู่มานาน และเป็นกลุ่มคนสูงอายุ หุ้นลักษณะนี้จะค่อย ๆ ปลิดชีวิตเราอย่างช้า ๆ ผลประกอบการจะทรงและทรุด จนถึงวันที่บริษัทกลายเป็นหุ้นราคาถูกเรื้อรัง

4.”หุ้นบินก่อนผ่อนที่หลัง” หุ้นที่ธุรกิจสบายในวันนี้แต่จะลำบากในอนาคต เป็นหุ้นที่ควรระวัง เช่นธุรกิจที่เลียนแบบได้ง่าย คนทำคนแรกก็จะสบายก่อนและลำบากทีหลังเมื่อคู่แข่งใหม่เข้ามา หุ้นที่หลาย ๆอย่างดูดี โตสูง ต้องระวังว่าอนาคตจะยั่งยืนต่อไปได้หรือไม่ เหมือนกับคำพูดที่ว่าแชมป์เป็นง่ายแต่รักษาแชมป์ยากกว่า หรือธุรกิจวัฏจักรหรือหุ้นโภคภัณฑ์ในวันที่ทุกอย่างสวยหรู คือหุ้นที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากเมื่อวงจรขาลงมาถึง หุ้นประมูล หุ้นโครงการ ก็มีโอกาสเข้าข่ายลักษณะนี้ถ้าแข่งขันกันสูง หรือธุรกิจมุ่งแต่จะคว้างาน ผลสุดท้ายธุรกิจได้งานจำนวนมาก แต่ไม่สร้างกำไร ธุรกิจที่ดีควรจะลำบากในวันนี้ แต่ “สบายสุด ๆ” อย่างถาวรในอนาคต

5.”หุ้นอริเทคโนโลยี” เพื่อนที่จำเป็นที่สุดของธุรกิจในยุคนี้ น่าจะชื่อว่า “เทคโนโลยี” ธุรกิจไหนที่นำเทคโนโลยีมาใช้ได้ดีที่สุดคือผู้ชนะ ยุคนี้คำว่า disruptive technology หรือเทคโนโลยีที่ทำลายล้างนั้นถูกพูดถึงบ่อย แต่ถ้าสังเกตจะพบว่าเทคโนโลยีประจำวันที่เราใช้อยู่ปัจจุบันล้วนทำลายล้างสิ่งเก่า ๆ ทั้งสิ้น หุ้นที่ต่อต้านเทคโนโลยี ส่วนมากจะมีจุดจบที่ไม่ดี ดังนั้นเทคโนโลยีนอกจากต้องไม่เป็นภัยต่อสินค้าบริการ ธุรกิจ กระบวนการ เครื่องจักร บริษัทยังต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดีกว่าคู่แข่ง เทคโนโลยีคือโอกาสและความเสี่ยงที่สุดอย่างหนึ่งของโลกธุรกิจยุคนี้

6.”หุ้นเบี้ยล่าง” บ่อยครั้งนักลงทุนมักให้ราคากับหุ้นผู้ตามมากกว่าผู้นำ เนื่องจากหุ้นผู้ตามมีขนาดเล็กกว่า โอกาสการเติบโตจึงสูงกว่า หุ้นเบี้ยล่างมักมีขนาด market cap ไม่ใหญ่ นักลงทุนก็หวังกำไรโตก้าวกระโดดรายไตรมาส หุ้นเหล่านี้ในสนามธุรกิจเป็นเบี้ย แต่ราคาหุ้นเหมือนเป็นขุน ธุรกิจที่แข่งขันกันหนัก ๆ เราจะรู้ว่าไม่ใช่ง่ายที่ธุรกิจเล็กจะแข่งขันชนะธุรกิจใหญ่กว่าได้ หุ้นเบี้ยล่างที่ประสบความสำเร็จได้ ต้องไม่ถูกธุรกิจใหญ่บีบให้อยู่ในเกมการแข่งขัน แต่ต้องสามารถ “หนี” ไปทำในสิ่งที่ธุรกิจใหญ่ทำไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนในกระดานหมากรุก คือเบี้ยมักจะตายก่อน

7.”หุ้นพึ่งคนอื่น” หุ้นที่ต้องพึ่งปัจจัยบางอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ ย่อมมีเหตุให้เกิดเหตุการณ์ “ที่พักพิง” นั้นหายไป แม้ว่าทุกธุรกิจต้องพึ่งพาคนอื่น แต่จุดสำคัญคือ ธุรกิจที่มี “ทางเลือก” ในการพึ่งคนหลาย ๆ คนย่อมได้เปรียบกว่า เช่น ลูกค้ามีพันคน ย่อมปลอดภัยกว่าลูกค้าไม่กี่คน มีซัพพลายเออร์หลายรายย่อมปลอดภัยกว่ามีรายเดียว พึ่งพาใบอนุญาตเพียงใบเดียวที่ออกจากรัฐ ย่อมเสี่ยงกว่าธุรกิจที่ไม่ต้องพึ่งพาใบอนุญาต

8.”หุ้นเด่นราคาฟ้าประทาน” ไม่ว่าหุ้นจะดีขนาดไหน การซื้อหุ้นในราคาแพงย่อมทำให้ผลตอบแทนเงินลงทุนเราแย่ลง หุ้นกลุ่มนี้มักจะมี story ยอดเยี่ยม ราคาหุ้นขึ้นตลอด มีคนพูดถึงมาก ยิ่งหุ้นขึ้นรุนแรงเท่าไร ยิ่งมีความเสี่ยงเท่านั้น หุ้นน่าเบื่อไม่เคยปลิดชีวิต สิ่งที่หวือหวาต่างหากที่อันตราย

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หุ้นยักษ์แห่งวอลสตรีท

 ผมมักถูกถามอยู่เนือง ๆ  ว่าทำไมไม่ไปลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐที่มีบริษัทที่โดดเด่นระดับโลกมากมายที่น่าจะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก”  ที่เป็นหุ้นที่ผมชอบลงทุน  คำตอบของผมมีหลายข้อซึ่งมักจะรวมถึง  ความจริงที่ว่า  มันเป็นตลาดที่ผมไม่มีความรู้มากพอในการที่จะเลือกหุ้นลงทุน  จริงอยู่  ผมก็อาจจะมีความคิดอยู่บ้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเหล่านั้นผลิตและขายให้กับคนทั่วโลกรวมถึงผม  แต่เมื่อเทียบกับคนหนุ่มสาวโดยเฉพาะที่เป็นนักลงทุนมืออาชีพทั่วโลกแล้ว  ผมก็เป็น  “หมู” ดี ๆ  นั่นเอง  ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่อยากทำ  ผมชอบแข่งในตลาดที่ผมมีความรู้และความสามารถมากกว่าคนอื่นเช่นในตลาดที่กำลังพัฒนามากกว่า   ประเด็นต่อมาก็คือ  ตลาดหุ้นที่วอลสตรีทนั้น  ผมคิดว่ามันเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก  นั่นก็คือ  ราคาหุ้นส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีราคาที่เหมาะสม  เป็นเรื่องยากมากที่จะหาหุ้นราคาถูกซื้อแล้วกำไรงดงาม  การที่เราจะสามารถลงทุนแล้วทำผลตอบแทนดีกว่าตลาดหรือดัชนีในระยะยาวเป็นไปได้ยาก

    แต่คนก็มักจะสงสัยว่าสิ่งที่ผมพูดข้างต้นอาจจะไม่ถูกในโลก “ยุคใหม่”  เหตุผลก็คือ  คนที่ไปลงทุนซื้อหุ้นเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ในตลาดหุ้นนิวยอร์คเมื่อเร็ว ๆ  นี้หรือที่ทำมาแล้วหลาย ๆ ปี  ต่างก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ  ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านั้นต่างก็ขึ้นไปสูงมากและว่าที่จริงมันก็สูงลิ่วมาเป็นสิบปีแล้ว  ดูเหมือนว่ามันไม่ใช่เรื่อง ฟลุ๊กหรือบังเอิญ  เพราะเทคโนโลยีจะเป็นเรื่องของชีวิตในอนาคตของคนทั้งโลก  การลงทุนถือหุ้นเหล่านั้นยาวนานน่าจะเป็นวิธีที่จะให้ผลตอบแทนสูงและมีความมั่นคงและมันเป็นการลงทุนตามหลักการของ Value Investing อย่างแน่นอน  คนที่ไม่ยอมลงทุนในหุ้นเหล่านั้นในที่สุดก็จะ  “แพ้”  เพราะหุ้น  “ยุคเก่า”  นั้น  นับวันจะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ  แม้แต่ วอเร็น บัฟเฟตต์ เองก็เริ่มลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี  เริ่มตั้งแต่ ไอบีเอ็ม  และล่าสุดก็คือหุ้นแอปเปิล

    ผมเองไม่สามารถที่จะตอบได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร  แต่เมื่อ 3-4 วันที่ผ่านมา  ผมได้อ่านงานวิจัยของ GOBankingRates ซึ่งแสดงผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นยักษ์ใหญ่ที่เป็น  “ซุปเปอร์สต็อก” ของตลาดหุ้นอเมริกาที่เราคุ้นเคยกว่าสิบบริษัท  เพื่อแสดงว่าถ้าเราซื้อหุ้นลงทุนย้อนหลังไป 10 ปี  เราจะได้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละกี่เปอร์เซ็นต์  ผมคิดว่าน่าสนใจและมันอาจจะเป็นบทเรียนที่ดีได้

    หุ้นตัวแรกก็คือ  หุ้นแอปเปิล  “สุดยอดหุ้น” ที่กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกในวันนี้  ถ้าเราลงทุนซื้อหุ้นเมื่อสิบปีที่แล้วและถือมาจนถึงวันนี้  ผลตอบแทนต่อปีแบบทบต้นของเราจะเท่ากับปีละ 24.32%  เงิน 1,000 เหรียญจะกลายเป็น 8,818 เหรียญ หรือเงินโตขึ้นเกือบ 9 เท่าในเวลา 10 ปี   นี่สำหรับผมแล้วก็เป็นเรื่อง Surprise! หรือความผิดคาด  เพราะผมเองเคยตั้งเกณฑ์ว่าหุ้นที่จะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก”  นั้น  จะต้องโตขึ้นอย่างน้อย 10 เท่าในเวลา 10 ปี หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 26%   และก็เคยแสดงให้เห็นว่าในตลาดหุ้นไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น  มีหุ้นแบบนี้กว่า 10 ตัว  ดังนั้น  ถ้าถือตามเกณฑ์นี้  หุ้นแอปเปิลก็ไม่ถึงจุดที่เป็นซุปเปอร์สต็อกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

    หุ้นตัวที่สองคือหุ้น NETFLIX ที่กำลังโด่งดังจากการให้บริการภาพยนตร์ซีรีผ่านโปรแกรม Streaming แบบบอกรับเป็นสมาชิก  ถ้าเราลงทุนเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่บริษัทยังเล็ก  เงิน 1,000 เหรียญจะกลายเป็น 69,835 เหรียญ หรือโตขึ้น เกือบ 70 เท่า  หรือคิดเป็นผลตอบแทนแบบทบต้นต่อปีถึง 52.9%  อย่างไรก็ตาม  คงเป็นเรื่องไม่ง่ายนักสำหรับเราที่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักบริษัทเลยเมื่อ 10 ปีก่อนที่จะเข้าไปเลือกหุ้นตัวนี้ได้ถูกต้องเมื่อเทียบกับหุ้นแอปเปิลที่ดังมากแล้วตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน

    หุ้นตัวที่สามคือหุ้นกูเกิลที่หลายคนบอกว่าไม่มีใครทาบได้ในแง่ความสามารถในการแข่งขัน  10 ปีที่ผ่านมาเงิน 1,000 เหรียญโตขึ้นเป็นเพียง 2,940 เหรียญ ให้ผลตอบแทนเพียงปีละ 11.39% ซึ่งน่าจะน้อยยิ่งกว่าซื้อกองทุนรวมอิงดัชนีในตลาดหุ้นไทย  และนี่ก็คือการลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่และโด่งดังมากจนคนรู้จักไปทั่วโลกแล้ว

    ตัวที่ 4 คือหุ้นวอลท์ดิสนีย์  หุ้นธุรกิจยุคเก่าที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมานาน  เงิน 1,000 เหรียญกลายเป็น 3,273 หรือให้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 12.59% นี่ก็เป็นผลงานที่น่าทึ่งมากโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับบริษัทสื่อจำนวนมากที่ต้องล้มหายตายจากไป

    ตัวที่ห้าคือ โค๊ก  หุ้นหลักเก่าแก่ตัวหนึ่งของบัฟเฟตต์ที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นโตขึ้นจาก 1,000 เป็น 2,095 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนปีละแค่ 7.68% พอ ๆ กับดัชนีตลาดหุ้น S&P ของสหรัฐ  ดูเหมือนว่าโค๊กอาจจะกำลังกลายเป็น “อดีต” ซุปเปอร์สต็อกตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว

    ตัวที่ 6 คือหุ้นวอลมาร์ท ที่กำลังต้องต่อสู้กับการถูก Disrupted หรือทำลายโดย E-Commerce  ช่วง 10 ปี เงิน 1,000 ที่ลงทุนในหุ้นวอลมาร์ท ก็ยังโตขึ้นเป็น 2,158 เหรียญ หรือได้ผลตอบแทนปีละ 8% แบบทบต้น  และนี่ก็อาจจะแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของอดีตซุปเปอร์สต็อกที่  “ตายยาก” หรืออาจจะตายอย่างช้า ๆ  มีเวลาให้คนขายหุ้นได้ทัน

    ตัวที่ 7 คือไมโครซอฟท์ “ยักษ์ดิจิตอล” ที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่ง  เงินลงทุน 1,000 เหรียญในช่วง 10 ปีโตขึ้นเป็น 2,893 เหรียญ ให้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 11.21%  ไม่โดดเด่นมากแต่ก็ไม่เลวนักสำหรับหุ้นยักษ์ที่คนถือแล้ว “สบายใจ” เพราะยังไงเสียไม่มีใครมาแทนวินโดว์ได้

    ตัวที่ 8 คือหุ้น ไนกี้  ที่เป็นหุ้น “ยุคเก่า” ที่นักลงทุน “New Gen” อาจจะเบือนหน้าหนีเมื่อ 10 ปีก่อน  แต่ถ้าลงทุน  เงิน 1,000 เหรียญจะกลายเป็น 4,091 เหรียญ หรือได้ผลตอบแทน  “สุดยอด” ถึงปีละ 15.13% แบบทบต้นเป็นเวลา 10 ปี

    ตัวที่ 9 คือหุ้น GE บริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่และ  “เปลี่ยนโลก”  เข้าสู่ยุคเครื่องใช้ไฟฟ้า  แต่เมื่อ 10 ปีที่แล้วถ้านักลงทุนคิดว่ามันจะ “กลับมา” ยิ่งใหญ่ หรือคิดว่าราคาหุ้น “ถูกมาก” พวกเขาก็คิดผิด  เพราะเงิน 1,000 เหรียญจะเหลือเพียง 857 เหรียญ ใน 10 ปี  หรือขาดทุนเฉลี่ยปีละ1.52%

    ตัวที่ 10 คือหุ้น อเมซอน ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นทุกวันและกำลังเปลี่ยนวิถีชีวิตการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนจำนวนมากในโลก  เมื่อ 10 ปีที่แล้วที่บริษัทกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วแต่ขาดทุนอย่างหนักคงมี VI จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถจะลงทุนกับบริษัทที่มี Market Cap. สูงลิ่วแต่ไม่มีกำไรได้  แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผิด  เพราะ เงินลงทุน 1,000 เหรียญโตขึ้นเป็น 12,246 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 28.47% ใน 10 ปี  ถือว่าเป็นซุปเปอร์สต็อกอย่างสมบูรณ์

    ตัวที่ 11 คือหุ้นไฟเซอร์ หุ้นยาที่เป็นเมกาเทรนด์แห่งอนาคต  แต่ถ้าใครลงทุนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เงิน 1,000 เหรียญก็โตขึ้นเป็นเพียง 1,772 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนปีละ 5.89%  บางทีนี่อาจจะไม่ใช่บริษัทที่จะเป็นผู้ชนะในธุรกิจแห่งอนาคตก็เป็นได้ เหนือสิ่งอื่นใด  มันใหญ่มากอยู่แล้วเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

    ตัวที่ 12 คือหุ้นแม็คโดนัลด์  หุ้นอาหารที่ดิจิตัลไม่สามารถทำลายมันได้ เงินลงทุน 1,000 เหรียญ เติบโตขึ้นเป็น 3,836 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 14.39% ในเวลา 10 ปี และนี่ก็คือหุ้นอาหารที่ให้ผลตอบแทนสูงและ  “ไม่เสี่ยง”  ในยุคดิจิตอล

    หุ้นตัวสุดท้ายก็คือหุ้นที่ไม่สนกระแสของดิจิตอลนั่นก็คือหุ้น สตาร์บักส์ ที่กลายเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ในสายตาของคนจำนวนมาก  จากสินค้าพื้น ๆ ที่ “ทุกคนทำได้”   เงิน 1,000 เหรียญที่ลงทุนกับบริษัทกลายเป็น 4,283 เหรียญ หรือให้ผลตอบแทนปีละ 15.66% ในเวลา 10 ปี

    ข้อสรุปที่เป็นภาพใหญ่ที่สุดของผมจากผลตอบแทนของ “หุ้นยักษ์” ในตลาดหุ้นอเมริกาก็คือ  มันไม่สามารถโตเร็วมากเท่ากับซุปเปอร์สต็อกในตลาดที่กำลังพัฒนาได้แม้ว่ามันกำลังจะ “ครองโลก”  ดังนั้น  หากจะลงทุนหุ้นซุปเปอร์สต็อกระดับโลกเพื่อหวังผลตอบแทนสูง ๆ    เราคงจะต้องรู้ก่อนที่บริษัทเหล่านั้นจะดังและใหญ่คับฟ้าแล้ว  อย่างเช่นหุ้น NETFLIX เมื่อ 10 ปีที่แล้ว  เป็นต้น

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-----------------------

วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560

5 สิ่งที่มือใหม่ลงทุนหุ้น?

5 สิ่งที่มือใหม่ลงทุนหุ้น..มักประสบพอเจอก่อนจะพลาด !!
1. จังหวะการลงทุนไม่ดี
ใครที่ซื้อพร้อมๆ คนอื่นในตลาด ซื้อตอนใกล้ดอย จังหวะข่าวดี เพื่อนเล่นหุ้นแล้วเขาบอกมาว่าทำกำไรง่าย ได้กำไรเยอะ (แต่พอตอนที่เล่นยากขาดทุนนะ เราไม่เคยได้รู้..เพราะเขาไม่ได้บอกเราไง 555) ซื้อตามเพื่อน ซื้อตามข่าววงใน ต้องระวังให้ดี เพราะ ข่าววงในที่มาถึงเราอาจจะกลายเป็นข่าว วงนอกสุดแล้วก็ได้ !!
2. อยากรวยเร็วๆ
กลุ่มนี้มักเอาเงินทั้งหมดที่มีมาเทรดดิ้งเร็วๆ อยากได้เร็วๆ อยากรวยไวๆ ซึ่งมันเป็นการฝืนธรรมชาติ อาจเพราะ ยังไม่เข้าใจกลไกตลาดหุ้นดีพอ การลงทุนที่ดี เราต้องรู้จักการกระจายความเสี่ยง รักษาเงินต้น และ วาง Money Management ให้ดี
3. หาความรู้ไม่พอ
การเล่นตามคนอื่น พอติดหุ้นก็ยังเชื่อคนอื่น วิธีแก้ คือ ต้องเรียนรู้วิธีค้นหาคัดเลือกหุ้นได้ด้วยตัวเอง เช่น ศึกษาพื้นฐานกิจการหุ้นตัวนั้น ฝึกดูงบการเงินกิจการเบื้องต้น ฝึกดูกราฟเทคนิคอลเพื่อดูรอบและจังหวะลงทุนในหุ้นตัวที่เราสนใจ อ่านหนังสือด้านการลงทุน และติดตามข่าวสาร
4. ขี้กลัวเกินไป
คนที่กลัวเสียเงิน หรือ งก ไม่ควรลงทุนในอะไรที่เสี่ยง เพราะจะทำใจได้ยาก เวลาลงทุนราคาหุ้น อาจจะมีการแกว่งขึ้น และ ลง เดี๋ยวกำไร เดี๋ยวขาดทุน ถ้าใจเราไม่นิ่งพออาจทำให้การตัดสินใจของเราผิดพลาดได้ เช่น กำไรได้นิดเดียวดีใจรีบขาย พอขาดทุนดันขาดทุนเยอะ คิดว่าเดี๋ยวยังไงหุ้นก็ขึ้น ยิ่งถือราคาหุ้นยิ่งลง เพราะไม่รู้จักวิธีการตั้ง "Stop loss"
5. ยอมแพ้ง่ายไป
คนที่เล่นหุ้นผ่านอะไรมาเยอะ จะปล่อยวางกับความผิดหวังได้เก่ง คนพวกนี้ไม่ค่อยใช้อารมณ์นั้นเอง ตอนได้ไม่ดีใจเวอร์ ตอนเสียก็ทำใจเรียนรู้ได้ การลงทุนในหุ้นแบบระยะยาว ถ้าเริ่มตั้งแต่เปิดตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีตลาดจะให้ผลตอบแทนถึงปีละ 10% โดยเฉลี่ย

เพราะฉะนั้นเริ่มลงทุน ต้องใจเย็นๆ ... อยากได้ 5 เด้ง 10 เด้ง มันทำได้ แต่ต้องใช้เวลานะ !!!

วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แนวทาง 7 ประการในการลงทุน

แนวทาง 7 ประการในการลงทุน โดยมีตัวย่อ C-A-N-S-L-I-M ดังนี้


C = ผลกำไรไตรมาสก่อน (Current quarterly earnings) มองหาบริษัทที่เพิ่งประกาศผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 40-500%

A = กำไรต่อปีเพิ่มขึ้น (Annual earnings increases) มองหาบริษัทที่มีความเติบโตติดต่อกัน 5 ปี โดยมีอัตราเติบโตที่ไม่ต่ำกว่า 25% ต่อปี ถ้าหุ้นมีลักษณะอย่างนี้เราไม่จำเป็นต้องสนใจ P/E Ratio ซึ่งช่วงของ P/E อาจจะอยู่ที่ 20 ขึ้นไป

N = สินค้าใหม่ ทีมบริหารใหม่ จุดสูงสุดใหม่ (New products, new management, new highs) หุ้นที่ดีมักจะมีเรื่องราวใหม่ๆอยู่เบื้องหลังมัน เช่น สินค้าใหม่ที่น่าสนใจ หรือ ผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดจุดสูงสุดใหม่

S = อุปสงค์ และ อุปทาน (Supply and demand) หากหุ้นที่มีขนาดเล็กมีปริมาณการซื้อขายสูงๆ จะทำให้โอกาสที่ราคาหุ้นจะถูกขับเคลื่อนสูงขึ้นได้

L = ผู้นำ และ ผู้ตาม (Leaders and laggards) เลือกลงทุนในหุ้นที่มีความเข้มแข็งในอันดับต้นของหมวดนั้นๆ สัก 2-3 บริษัท หุ้นเหล่านี้มักจะปรับตัวดีกว่าหุ้นอื่นๆในหมวดเดียวกันในอัตรา 80-90% ภายใน 12 เดือน อยู่ให้ห่างหุ้นที่ปรับตัวแย่ลงในระยะ 7 เดือน

I = ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบัน (Institutional sponsorship) หาให้ได้ว่าหุ้นตัวใดที่นักลงทุนสถาบันนิยมซื้อ หากเป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนดีและนักลงทุนสถาบันยังมีอยู่น้อย เราอาจจะนำมาเป็นหุ้นที่เราจะเข้าซื้อ

M = ทิศทางของตลาด (Market direction) ตรวจสอบตลาดทุกวันเพื่อหาสัญญาณของการปรับตัวลง และให้ระวังการเข้าซื้อในขณะนั้น
เขาแนะนำให้ทำการขายหุ้นตัดขาดทุนเมื่อหุ้นนั้นตกลงต่ำกว่า 7-8% จากราคาที่ซื้อมาโดยไม่ต้องมีคำถาม และให้ขายหุ้นที่ขึ้นไม่ถึง 20% ภายใน 13 สัปดาห์ ให้ถือหุ้นที่ขึ้นเกิน 20% ภายใน 4-5 สัปดาห์ หุ้นพวกนี้มักจะเป็นหุ้นที่ทำกำไรมากที่สุด
ในกรณีที่หุ้นที่ซื้อมาและมีการปรับตัวขึ้น 25% อย่างรวดเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าอาจจะมีข่าวดี ทำให้นักลงทุนในตลาดแห่กันเข้าเก็บหุ้นอย่างเร่งร้อน เราควรรีบทำกำไรเช่นเดียวกัน

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การขึ้นเครื่องหมายของบริษัทจดทะเบียน

XA, XD, XE, XI, XM, XR, XW, XS, XT (เครื่องหมายแสดงการไม่ได้รับสิทธิต่างๆ) เครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์แสดงไว้บนหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาล่วงหน้า 3 วันทำการก่อนวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหลักทรัพย์นั้น เมื่อตลาดหลักทรัพย์ติดเครื่องหมายประเภทดังกล่าวไว้บนหลักทรัพย์ใด หมายความว่าในวันนั้นผู้ซื้อหลักทรัพย์นี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ประเภทที่ระบุจากการปิดสมุดทะเบียนการพักโอนหุ้นที่กำลังจะเกิดขึ้น 


เครื่องหมาย    ความหมาย
XA    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น
XD    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิเงินปันผล
XE    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิในการแปลงสภาพหลักทรัพย์
XI    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิรับดอกเบี้ย
XM    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
XR    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองหุ้นออกใหม่
XR-CD    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพ
XR-CD/W    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพและใบสำคัญแสดงสิทธิ
XR-D    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นกู้
XR-D/W    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นกู้และใบสำคัญแสดงสิทธิ
XW    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์
XS    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อ หลักทรัพย์ระยะสั้น่
XT    ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิรับใบแสดงสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

" New Normal ของการลงทุน "

คำว่าNormal” นั้น  เริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายน่าจะหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจอเมริกาในปี 2008 ที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างแรงมากที่ทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจลดต่ำลงมากและดูเหมือนว่ามันจะไม่สามารถกลับมาเติบโตเหมือนเดิมได้อีกต่อไป  กูรูทั้งหลายเชื่อว่า “ตัวเลขใหม่”  ที่ดู “ผิดปกติมาก”  เมื่อเทียบกับตัวเลขที่เคยเป็นนั้นจะกลายเป็น  “มาตรฐานใหม่”  และจะเป็น  “ตัวเลขปกติ” ที่จะดำเนินต่อไปในวันข้างหน้า  หลังจากนั้น  คำว่า New Normal ก็ถูกนำไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ  อีกมาก  เหตุผลคงเป็นเพราะว่าในระยะหลัง ๆ  นี้  โลกได้เปลี่ยนแปลงไปเร็วและมาก  สิ่งใหม่ ๆ  ที่เกิดขึ้นได้ “ทำลาย” สิ่งเก่า ๆ  ที่เราคุ้นเคย  สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่จำนวนมากไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นครั้งเดียวอีกต่อไป  ดังนั้น  ในฐานะนักลงทุน  เราจะต้องตระหนักตลอดเวลามิฉะนั้นเราอาจจะหลงคิดว่า  “สิ่งที่เลวร้ายเดี๋ยวก็จะผ่านไป”  คำพูดคลาสสิกของเบน เกรแฮมที่ว่า  “This too shall past” อาจจะใช้ไม่ได้อีกแล้วในหลาย ๆ  เรื่อง  มาดูกันว่ามีอะไรที่จะเป็น New Normal ในตลาดหุ้นและการลงทุนของนักลงทุนไทย

    เรื่องแรกก็คือ  อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย  ถึงแม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้จะดูดีขึ้นมากในรอบน่าจะหลายปี  แต่ก็น่าจะเป็นการเติบโตจากอัตรา 3% ต้น ๆ  เป็น 3% ปลาย ๆ เป็นอย่างมาก  และผมคิดว่าโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะโตกลับมาเกิน 4% ต่อปีเป็นเรื่องยาก  ไม่ต้องคิดถึงอัตรา 5% หรือ 7%  ที่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นเก่า ๆ เคยคุ้นเคยและคิดว่ามันเป็นอัตราการเติบโตตาม  “ธรรมชาติ”  หรืออัตราเติบโตตามปกติของไทยมายาวนาน  เหตุผลก็เพราะว่าคนไทยแก่ตัวลงและขาดแคลนแรงงานซึ่งทำให้ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพหรือกำลังแรงงานที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากนัก  ผมคิดว่า New Normal ของการเติบโตของไทยน่าจะอยู่ที่ 3-4% ก็หรูแล้ว  และนี่อาจจะทำให้ไทยไม่ใช่เศรษฐกิจที่ “โตเร็ว” อีกต่อไป

    การเติบโตของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมเองนั้น  ผมก็คิดว่าคงจะช้าลงตามเศรษฐกิจ  ในสมัยก่อนนั้น  การเติบโตของรายได้และ/หรือกำไร ที่ต่ำกว่า 10% นั้นถูกถือว่า “โตช้า”  บริษัทเหล่านั้นก็จะไม่ค่อยมีใครสนใจลงทุนแม้ว่าเศรษฐกิจเองก็โตแค่ 5-6%  ประเด็นก็คือ  ในยุคก่อนนั้น  บริษัทจดทะเบียนมักจะถูกมองว่าต้องโตเร็วกว่าเศรษฐกิจ   แต่ถ้าบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้นมีขนาดใหญ่มากจนเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจได้อย่างปัจจุบัน   ตามหลักการแล้ว  บริษัทจดทะเบียนก็ไม่น่าจะโตกว่าการโตของเศรษฐกิจบวกเงินเฟ้อ  และด้วยหลักการนี้  ในระยะยาวแล้ว  การเติบโตของรายได้และกำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมก็ไม่น่าจะโตไปกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจบวกเงินเฟ้อได้  ดังนั้น  ในความเห็นของผมก็คือ  กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่จะเป็น New Normal ก็คือ น่าจะโตประมาณ 5-10% ต่อปี  โดยที่บริษัทที่  “โตเร็ว” นั้น  น่าจะโตแค่หลัก 10% บวกลบ  ในขณะที่บริษัทที่โตปกตินั้นน่าจะอยู่ที่ 5% บวกลบ  บริษัทที่โตเร็วมากนั้นอาจจะได้ถึง 15% บวกลบ  ที่จะโตมากกว่านั้นน่าจะเป็นเฉพาะบริษัทที่เพิ่งเริ่มและยังเล็กมากเท่านั้น

    ผลตอบแทนของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉลี่ยที่ผ่านมาในอดีต 42 ปี อยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น  นั่นก็เป็นผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมน่าจะระดับต้น ๆ ของโลก  และก็น่าจะเกิดขึ้นเพราะเศรษฐกิจไทยในช่วงเดียวกันก็เติบโตดีในระดับต้น ๆ  ของโลกเช่นเดียวกัน  แต่ถ้าเศรษฐกิจไทยโตช้าลงมากในอนาคต  ตลาดหุ้นก็น่าจะโตหรือให้ผลตอบแทนต่อปีน้อยลง  ในความคิดผม  ตลาดหุ้นไทยน่าจะมี New Normal นั่นก็คือในอนาคตน่าจะให้ผลตอบแทนตามการเติบโตทางเศรษฐกิจบวกเงินเฟ้อที่ต่ำ  ผลตอบแทนต่อปีแบบทบต้นน่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 7-8%  โดยตัวเลขที่ผมคิดว่าปลอดภัยก็คือ 5% ต่อปีในระยะยาว

    New Normal ของการลงทุนที่ผมคิดว่ากำลังจะเกิดขึ้นตามมาจากเรื่องของการโตช้าลงของตลาดหุ้นไทยก็คือ  การลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย  ปรากฏการณ์ในช่วงเร็ว ๆ  นี้ก็คือ  นักลงทุนโดยเฉพาะที่ยังมีอายุน้อยกว่าต่างก็สนใจและเริ่มลงทุนในต่างประเทศทั้งในตลาดพัฒนาแล้วอย่างอเมริกาและตลาดกำลังพัฒนาอย่างเวียตนาม   แม้แต่นักลงทุนสูงวัยและมีเงินมากกว่าต่างก็ลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนรวมทั้งที่เป็นพันธบัตรและหุ้นมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  การลงทุนในต่างประเทศจะไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติหรือเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับบางคนอีกต่อไป

    เช่นเดียวกับเรื่องของการลงทุนในต่างประเทศ  การลงทุนที่อาศัย Robot หรือหุ่นยนต์ก็อาจจะกำลังกลายเป็น  New Normal ด้วย  เหตุผลก็คือ  มันมีความสามารถและประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ   จริงอยู่  การให้หุ่นยนต์ทำเองทุกอย่างโดยอัตโนมัตินั้น  ยังคงมีน้อยในตลาดหุ้นไทย  แต่ผมคิดว่าการใช้ Robot ช่วยในการลงทุนอาจจะเป็นเรื่องปกติขึ้นเรื่อย ๆ  เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ  ต้นทุนของการใช้นั้นต่ำลงมาก  และในหลาย ๆ  สถานการณ์  การใช้ Robot ก็อาจจะทำได้ดีกว่าคน

    คุณภาพหรือความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมและบริษัทจดทะเบียนในระยะหลัง ๆ  นี้ผมก็คิดว่ามี  New Normal อยู่ไม่น้อยและเราจะต้องตระหนัก  มิฉะนั้นแล้วเราก็อาจจะวิเคราะห์ตามความคิดและความเชื่อเดิมซึ่งอาจจะทำให้ผิดพลาดได้  เหตุผลก็เพราะว่าเทคโนโลยีดิจิตอลพัฒนาขึ้นมาเร็วจนถึงจุดที่มันสามารถ Disrupt หรือทำลายวิธีการเดิม ๆ  อย่างรวดเร็วและทำให้เกิดมาตรฐานใหม่ขึ้นมา  ตัวอย่างเช่น  ในธุรกิจสื่อเช่นทีวีนั้น  Old Normal หรือแนวความคิดเดิมก็คือมันเป็นธุรกิจที่ดีมาก  ดังนั้น  บริษัทที่ประสบความสำเร็จจะได้กำไรมากและมีค่า PE สูงมาก  แต่ New Normal  อาจจะเป็นว่า  ธุรกิจทีวีไม่ใช่ธุรกิจที่ดีเยี่ยมอีกต่อไปแล้ว  ดังนั้น  กำไรก็อาจจะไม่สูงและค่า PE ของหุ้นก็อาจจะไม่สามารถสูงได้อีกต่อไปแม้ว่าจะเป็นช่องทีวีที่ประสบความสำเร็จ

    เรื่องของการใช้ชีวิตหรือการใช้เงินของคนไทยเองนั้น  ผมคิดว่าก็มี New Normal เกิดขึ้นมากและอาจจะส่งผลต่อการวิเคราะห์ในเรื่องของการลงทุน  ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนก็คือเรื่องของการใช้เวลาซึ่งผมคิดว่าคนไทยใช้เวลาเพิ่มกับการ  “ดูหน้าจอแบบเคลื่อนที่” มากขึ้นมาก   ซึ่งก็มักจะตามมาด้วยการทำกิจกรรมต่อเนื่องเช่น  การสั่งสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตตั้งแต่อาหาร  เสื้อผ้า  เครื่องใช้  และเรียกรถรับจ้าง เป็นต้น  ผลกระทบตรง ๆ  ก็คือการที่คนดูทีวีและอ่านหนังสือเล่มน้อยลงมาก  ส่วนผลกระทบทางอ้อมนั้นก็มีมหาศาล  น่าเสียใจที่คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดก็คือ  บริษัทต่างชาติที่ให้บริการดูหน้าจอและขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต  ส่วนคนที่เสียประโยชน์มากก็คือบริษัทท้องถิ่นไทยที่ถูกแย่งลูกค้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ

    มีเรื่องราวอีกมากมายที่เริ่มจะเกิดขึ้นแล้วในสังคมของประเทศที่พัฒนาสูงและผมเชื่อว่าในที่สุดมันก็จะมาถึงประเทศไทย  ตัวอย่างเช่น  การใช้รถไฟฟ้าแทนรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน  ประเด็นเหล่านี้เราจะต้องพิจารณาว่า  “เมื่อไร”  และใช้เวลานานแค่ไหนที่มันจะกลายเป็น New Normal  ในสังคมหรือตลาดไทย  ถ้าเราจะลงทุนหรือเลิกลงทุนขายหุ้นที่เกี่ยวข้องทิ้งเราจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง   ประเด็นที่ผมต้องเตือนก็คือ  อย่าไปคิดว่า  “เมืองไทยหรือคนไทยไม่เหมือนคนอื่น”  โลกในสมัยนี้เป็นหนึ่งเดียว  เราอาจจะไม่เหมือนหรือไม่พยายามเหมือนหรือทำแบบคนอื่นได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ  แต่ในระยะยาวแล้ว  เป็นไปไม่ได้ New Normal ก็คือ  คนในโลกจะมีวิถีชีวิตและพฤติกรรมเหมือนกันทุกประเทศตามฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละคน

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-------------

วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560

5เคล็ดลับเจ้าสัวทำไมคนจีนถึงรวยล้นฟ้า?

คิดเล่นๆ คำว่า ‘จีน’ ตัดสระอีทิ้ง ก็จะเป็นคำว่า ‘จน’

หมายถึง อัตคัดขัดสน ฝืดเคือง มีเงินไม่พอยังชีพ

วิธีคิดเล่นๆ ข้างต้น ก็เปรียบเสมือนการดำรงชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนที่ไม่อยากให้ตัวเองจนนั่นเอง เราจึงมักได้ยินเข้าหูจนชินว่าคนจีนขยัน ส่วนคนไทยชอบชิลๆ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เพราะคนไทยไม่ขยันทำมาหากิน แต่เป็นเพราะคนไทยเชื้อสายจีนมีความขยันมากกว่าจนน่าประหลาดใจ ดังนั้น “แรงผลักดันชีวิต” จึงต่างกันและเป็นจุดยืนสำคัญที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ตามมา

ในประเทศไทยนั้น จะเห็นว่ามีเจ้าสัวหรือคนไทยเชื้อสายจีนที่เป็นเศรษฐีเกิดขึ้นมากมาย จนขนาดทำให้ต้องมาตั้งข้อสงสัยว่าทำไมบุคคลเหล่านี้ จึงร่ำรวยได้ขนาดนั้น คนไทยขาดทักษะด้านใดที่เป็นตัวแปรทำให้คนเชื้อสายจีนรวยกว่า แล้วคนเชื้อสายจีนมีวิธีคิด หรือ กลยุทธ์การใช้ชีวิตอย่างไร? จึงทำให้เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ในหลายๆ บริษัทในประเทศไทยจนติดอันดับความรวยที่สุดในประเทศ ไปดูกันว่า 5 เจ้าสัวที่รวยที่สุดในประเทศไทย เขามีวิธีคิดและทำธุรกิจให้ร่ำรวยกันอย่างไร?

อันดับ 1-5 มหาเศรษฐีไทย ปี 2558
(จัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์บส์)

1. นายธนินท์ เจียรวนนท์ (แซ่เจี๋ย)

เครือซีพี ทรัพย์สิน 4.8 แสนล้านบาท

เคล็ดลับเจ้าสัว:

“ผมทำงานไม่ได้คิดเลยเรื่องกำไร ไม่ได้คิดว่าทำธุรกิจนี้แล้วจะได้กำไรเท่าไร ผมคิดว่าทำธุรกิจอะไร อันดับแรกดูแค่ว่ามีโอกาสสำเร็จไหม”

2. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี (แซ่โซว)

ไทยเบฟเวอเรจ ทรัพย์สิน 4.36 แสนล้านบาท

เคล็ดลับเจ้าสัว:

“ถ้าคุณอดทน เพื่อจะทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ คุณจำเป็นอย่างมากที่จะต้องลงมือศึกษาเรื่องนั้นๆ อย่างเป็นจริงเป็นจัง แต่ถ้าคุณไม่อดทน โอกาสที่คุณจะผิดพลาดก็ย่อมมีสูงเช่นกัน”

3. ตระกูลจิราธิวัฒน์ (แซ่เจ็ง)

ยักษ์ใหญ่แห่งวงการค้าปลีก ทรัพย์สิน 4.1 แสนล้านบาท

เคล็ดลับเจ้าสัว:

“ผมและพี่น้องมี Passion ในการทำงานในธุรกิจเยอะมาก เพราะถูก Built in มาตั้งแต่เด็ก มื่อจบมาทุกคนต้องมาทำเหมือนกันหมด ในเมื่อเรารู้สึกสนุกกับมันจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ก็จะไม่มีวันเบื่อ”…ทศ จิราธิวัฒน์ กล่าว

4. นายเฉลิม อยู่วิทยา (แซ่สี่)

จากกระทิงแดง ทรัพย์สิน 3.221 แสนล้านบาท

เคล็ดลับเจ้าสัว:

“กระทิงแดง หมายถึง มีกำลัง กระทิงมีกำลังมาก ชื่อนี้เป็นชื่อที่ผมคิดขึ้นเอง ออกแบบโลโก้เอง ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่ออกตามมาที่ใช้ชื่อกระทิงแดงนั้นก็ไม่ได้ถือเคล็ดอะไร เพียงแต่เห็นว่าเป็นชื่อทางการค้าที่คนส่วนใหญ่รู้จักและจำกันได้อยู่แล้ว ก็ไม่ควรไปสร้างชื่อใหม่ให้เปลืองค่าโฆษณา ไม่ต้องเสียเวลาไปสร้าง Brand Loyalty อีก”

5. นายกฤตย์ รัตนรักษ์ (แซ่หลี)

บิ๊กบอสช่อง 7 สี ทรัพย์สิน 1.577 แสนล้านบาท

เคล็ดลับเจ้าสัว:

“เก็บตัวเงียบ ไม่ชอบเป็นข่าว ไม่ชอบออกสื่อ แต่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจสูงสุด”

นอกจากเคล็ดลับเจ้าสัวข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนไทยเชื้อสายจีนดังกล่าวก้าวขึ้นมาสู่ระดับท็อปของความมั่งมี ไปดูกันว่า 5 ปัจจัยหลักๆ ที่สร้างเสริมและเป็นตัวขับเคลื่อนทำให้พวกเขาร่ำรวยล้นฟ้า คืออะไรกันบ้าง?

คนจีนรักษาสัจจะเยี่ยงชีวิต

ไม่ว่าจะทำกิจการงานอะไร คนจีนจะมีนิสัยหนึ่งที่ถือเป็นเครื่องหมายการค้าเลยทีเดียว นั่นก็คือสัจจะในการทำงานหรือการดำรงชีวิต ซึ่งการรักษาคำพูด พูดคำไหนคำนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจและทำให้ได้รับโอกาสดีๆ ในชีวิตที่ทำให้พวกเขาร่ำรวย

ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ

คนจีนถือเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจในหลายๆ อุตสาหกรรม โดยมีคติว่า “ทำธุรกิจ ต้องทำเป็นคนแรก อย่าไปแข่งกับคนที่เขาทำอยู่แล้ว” ความขยันในการคิดและค้นหาสินค้ามาขายก่อนใครๆ ถือเป็นกลยุทธ์การค้าที่สร้างให้พวกเขามั่งคั่งและกลายเป็นเจ้าตลาด

ค้าขายเท่านั้นจึงจะร่ำรวย

คนเชื้อสายจีนส่วนใหญ่มีรากฐานอาชีพค้าขายหรือทำธุรกิจส่วนตัว ไม่ใช่รับราชการ หรือเป็นลูกจ้างประจำ ดังนั้นระยะเวลาที่สั่งสมประสบการณ์ทางการค้าและเริ่มธุรกิจมานาน จึงทำให้ความร่ำรวยเติบโตและมีสายป่านทางการเงินที่มั่นคง

ขยัน ประหยัด อดทน เหมือนมดงาน

ความร่ำรวยของคนจีนนั้น พื้นฐานสำคัญมาจากการมีนิสัยขยัน พร้อมจะทำงานและพัฒนาตัวเองทุกอย่างเท่าที่ทำได้ อีกทั้งยังใช้ชีวิตแบบสมถะ ประหยัด อดออม จึงทำให้มีเงินก้อนเร็วในการเริ่มทำธุรกิจ และยังเป็นนิสัยติดตัวไปตลอดถึงแม้จะร่ำรวยมหาศาลแล้วก็ตาม

มีคอนเน็คชั่นที่แข็งแกร่ง

คนเชื้อสายจีนนั้นมีความผูกพันและกลมเกลียวกันมาก ดังที่เราจะเห็นว่าพวกเขารวมตัวกันจนเป็นปึกแผ่นเช่น China Town ที่มีอยู่แทบทุกประเทศใหญ่ๆ ทั่วโลก แม้กระทั่งเมืองไทยก็มีเยาวราชที่เป็นเสมือนศูนย์กลางธุรกิจและรากฐานของคนเชื้อสายจีนในประเทศไทย และนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเชื่อมต่อโยงใยผู้คน ธุรกิจ การทำงาน และความช่วยเหลือเกื้อกูลกันจนกลายสายป่านที่แข็งแรง

สุดท้ายนี้ องค์ประกอบของความร่ำรวยนั้น ไม่ว่าจะคนไทยแท้หรือคนเชื้อสายจีน หรือคนชาติใดๆ ในโลกก็ตาม หากมีปัจจัยข้างต้นในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ความขยัน ประหยัด อดทน พูดแล้วทำ หรือกล้าบุกเบิก ก็สามารถที่จะร่ำรวยได้ เพียงแต่คุณต้องเริ่มให้เร็วและเริ่มลงมือสร้างมันตั้งแต่วันนี้

ที่มา : Wikipedia Forbesthailand Pixabay

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ลงทุนแบบ เบน เกรแฮม

  Value Value tor ที่ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้นไทยในช่วงประมาณ 10-15  ปีที่ผ่านมานั้น  ผมคิดว่ามักอยู่ใน 2 กลุ่มคือ  กลุ่มแรกเน้นการลงทุนในหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก”  สไตล์แบบวอเร็น บัฟเฟตต์  ส่วนกลุ่มที่สองเน้นลงทุนหุ้นธรรมดาที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงสไตล์เบน เกรแฮม  อย่างไรก็ตาม  นักลงทุนในกลุ่มหลังนั้นจะฉีกแนวออกจากวิธีการของเบน เกรแฮมในแง่ที่ว่าพวกเขามักจะลงทุนในหุ้นตัวเล็กที่มีความไม่แน่นอนของผลประกอบการสูง  ลงทุนแบบเน้นหนักในหุ้นน้อยตัวมากและมักจะซื้อขายหุ้นด้วยมาร์จินเต็มที่  นอกจากนั้นยังมีแนวทางการลงทุนอีกหลายอย่างที่ไม่เหมือนเกรแฮมเลย  อาจจะพูดได้ว่าสิ่งเดียวที่เหมือนเบน เกรแฮมก็คือการวิเคราะห์หามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นและซื้อเมื่อราคาต่ำกว่านั้นมาก ๆ และขายเมื่อหุ้นขึ้นไปเกินมูลค่าแล้ว

    สถานการณ์ของตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนแปลงไป  หุ้นซุปเปอร์สต็อกราคาไม่ถูกเลย  ราคาหุ้นถึงจะไม่ลงมากแต่ก็ขึ้นช้ามาก  ส่วนหุ้นตัวเล็กที่ถูกเล่นในแนวของเบนเกรแฮมนั้น  หลายตัวมีราคาตกลงมามาก  กำไรที่เคยทำได้หดหายลงไปไม่น้อย  เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยนั้นแม้ว่าจะไม่ได้เกิดวิกฤติแต่ก็ชะลอตัวลงมาก  แรงเก็งกำไรของนักลงทุนรายย่อยที่เป็นตัวขับเคลื่อน “หุ้น VI” ของไทยในอดีตหดหายไปมาก  นี่เป็นเหตุผลที่ผมเริ่มคิดว่าเราจะต้องเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั่นก็คือ  ลงทุนแบบ Conservative หรือระมัดระวังมากขึ้นและไม่หวังผลเลิศ  และกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในเวลานี้ก็คือ  การลงทุนแบบ เบน เกรแฮม ดั้งเดิมที่ถูกออกแบบมาในช่วงที่ตลาดหุ้นเงียบเหงาคนไม่สนใจการลงทุนในตลาดหุ้นอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงหลังวิกฤติตลาดหุ้นครั้งใหญ่ในตลาดหุ้นอเมริกาหลังปี 1929

    เกณฑ์การเลือกหุ้นแนว เบน เกรแฮม ดั้งเดิมนั้น  จะต้องเป็นหุ้นที่มีราคาถูกหรือถูกมาก  ถ้าวัดจากค่า PE ผมคิดว่าไม่ควรเกิน 10 เท่า  และที่สำคัญกำไรนั้นจะต้องมีความมั่นคงสูง  ซึ่งกำไรจะเป็นแบบนั้นได้ผมคิดว่าเราต้องเน้นหุ้นที่มีขนาดใหญ่พอสมควร  Market Cap. น่าจะต้องหลายหมื่นล้านขึ้นไป  สินค้าที่บริษัทขายมีความผันผวนของมาร์จินหรือกำไรต่อยอดขายไม่สูง  และถ้าจะให้มั่นใจขึ้นไปอีก  เราก็ควรจะมองย้อนหลังไปซัก 3-4 ปีว่ากำไรต่อหุ้นของบริษัทไม่เคยต่ำกว่านั้น  เกรแฮมเองบอกว่าเราไม่ควรจะใช้กำไรปีล่าสุดปีเดียว  แต่ให้ใช้กำไรต่อหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี เป็นตัวคำนวณค่า PE ล่าสุด

    การเติบโตของกิจการนั้น  เบน เกรแฮม เน้นว่าจะต้องเป็นการเติบโตที่แท้จริงในระยะยาวไม่ใช่การขยายตัวของยอดขายและกำไรในระยะสั้น ๆ  ปีสองปี   ถ้าจะยึดแนวเกรแฮมอย่างเคร่งครัด  เราควรจะเอาตัวเลขผลประกอบการย้อนหลังซัก 10 ปี   คำนวณหากำไรเฉลี่ย 3 ปีล่าสุด  เปรียบเทียบกับกำไรเฉลี่ย 3 ปีแรก  แล้วมาคำนวณว่าบริษัทมีกำไรต่อหุ้นเติบโตเฉลี่ยปีละกี่เปอร์เซ็นต์  และนี่ก็คือการเติบโตอย่างแท้จริง  ซึ่งก็แตกต่างจากการเติบโตที่ VI ไทยใช้ที่มักจะดูกันแค่ปีหรือสองปี  ประเด็นนี้อาจจะมีข้อถกเถียงว่าบริษัทในตลาดหุ้นไทยจำนวนมากเพิ่งจะเข้าตลาด  สถิติที่แสดงให้เห็นมีแค่ 3-4 ปี ดังนั้นจึงใช้วิธีคิดแบบนั้นไม่ได้  สิ่งที่พวกเขาทำก็คือการคาดการณ์ไปในอนาคตโดยการวิเคราะห์จากข้อมูลล่าสุดบวกกับการรับฟังกลยุทธ์ของบริษัทจากผู้บริหาร

    ถ้าถามว่าเบน เกรแฮมจะแก้อย่างไรสำหรับประเด็นดังกล่าว  คำตอบก็คือ  เขาไม่เชื่อว่าเราจะคาดการณ์การเติบโตได้ถูกต้อง  เบน เกรแฮม คงเคย “ถูกหลอก” จากผู้บริหารบริษัทมามากในช่วงที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นเฟื่องฟู  ทำให้เขาไม่ค่อยเชื่อผู้บริหาร  และก็มักจะไม่ไปพบหรือฟังผู้บริหารนัก  เขาสนใจที่จะดู  “ของจริงจากตัวเลข”  ที่ยาวนานเพราะมันไม่หลอก  ถ้าบริษัทไม่มีตัวเลขนั้นเพราะเป็นบริษัทใหม่ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่นานเขาก็คงจะไม่สนใจที่จะซื้อหุ้นตัวนั้นเพราะผลประกอบการที่แท้จริงเพียงปีสองปีอาจจะเชื่อถือไม่ได้มากนัก

    ความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในสายตาของเบนเกรแฮม  กฎสำคัญของเขาในการลงทุนแบบ VI ก็คือ  การทำกำไรและลดความเสี่ยงลงให้เหลือน้อยที่สุด  แนวทางหนึ่งที่เขาใช้โดยเฉพาะในยามที่ตลาดหุ้นเลวร้ายที่สุดก็คือ  การหาหุ้นของบริษัทที่มีทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีสภาพคล่องสูงลบด้วยหนี้ทั้งหมดแล้วยังมีมูลค่ามากกว่า Market Cap. หลายสิบเปอร์เซ็นต์  ซึ่งบริษัทแบบนี้ถ้าต้องเลิกบริษัทและขายทุกอย่างทิ้งก็จะยังเหลือเงินมากกว่าราคาหุ้นที่เราจ่าย  คล้าย ๆ  กับว่าเราซื้อเงิน 1 ดอลลาร์  ด้วยเงิน 50 เซ็นต์ ซึ่งไม่มีทางขาดทุนมี  Margin of Safety สูง  คือต่อให้สถานการณ์เลวร้ายมากไม่เป็นอย่างที่คิดก็จะยังไม่ขาดทุน

    ความเสี่ยงที่บริษัทจะ “ล้มละลาย” จากการที่ไม่สามารถใช้หนี้ได้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เบนเกรแฮมให้ความสำคัญ  ดังนั้น  เขาจะเน้นลงทุนเฉพาะในบริษัทที่มีหนี้ไม่สูงเกินไป  และบริษัทที่ทรัพย์สินหมุนเวียนสูงเมื่อเทียบกับภาระหนี้  ความคิดนี้อาจจะมาจากการที่เขาเห็นบริษัทจำนวนมากต้องล้มละลายในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจทั้ง ๆ ที่อาจจะเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดีแต่มีหนี้มากเกินตัวโดยเฉพาะหนี้ระยะสั้น

    ในภาพพอร์ตโฟลิโอโดยรวม  วิธีที่เบนเกรแฮมแนะนำก็คือการถือหุ้นจำนวนมาก  อย่างน้อยอาจจะ 20-30 ตัวเพื่อที่จะกระจายความเสี่ยง  นอกจากนั้น  เขาแนะนำให้ถือพันธบัตรด้วย  สัดส่วนคร่าว ๆ  ก็คือ  ให้ถือหุ้นระหว่าง 25-75%  ที่เหลือเป็นพันธบัตร ตามสภาวะของตลาดหุ้น  ถ้าคิดว่าราคาหุ้นถูกมากก็อาจจะถือหุ้นถึง 75% ถ้าแย่ที่สุดก็ถือเพียง 25%  เป็นต้น

    เรื่องของจิตวิทยาของคนในตลาดหุ้นก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่เบนให้ความสำคัญ  เขาบอกว่าเราต้องพยายามอย่าตามความคิดหรืออารมณ์ของคนอื่นหรือตลาด  การที่คนแห่เล่นหุ้นตัวไหนและทำให้หุ้นมักมีราคาแพงเกินพื้นฐานนั้นไม่ได้หมายความว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นจะสูงตามนั้น  เช่นเดียวกัน  หุ้นบางตัวที่ราคาตกลงมามากก็อาจจะไม่ได้แปลว่าพื้นฐานเลวร้ายลงขนาดนั้น  สิ่งที่เราควรทำก็คือการพิจารณาอย่างรอบคอบและฉกฉวยประโยชน์โดยการขายหุ้นที่แพงเกินและซื้อหุ้นที่ถูกกว่าความเป็นจริงให้กับ Mr Market หรือ  “นายตลาด”  ที่  “อารมณ์แปรปรวนไม่มีเหตุผล”

    เมื่อพบว่าหุ้นถูกหรือแพงกว่าความเป็นจริง  เบนเกรแฮมก็จะพยายามวิเคราะห์ดูว่าอะไรทำให้มัน Undervalue หรือ Overvalue  การเข้าใจประเด็นนี้จะทำให้เราลงทุนได้ถูกต้องขึ้น  เช่น  ถ้าราคาต่ำเพราะว่ามันเป็นธุรกิจ “ตะวันตกดิน”  ที่ไม่มีโอกาสจะดีขึ้นได้มีแต่จะค่อย ๆ  แย่ลงและตายไปในที่สุด  แบบนี้ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเข้าไปลงทุน  เป็นต้น  แต่ถ้า Undervalue เพราะมันเป็นหุ้นที่คนไม่ชอบและไม่ประทับใจ  อาจจะเนื่องจากมันดู “โตช้า” ในช่วงเร็ว ๆ นี้  หรืออาจจะเป็นเหตุผลอื่นที่รุนแรงแต่เกิดขึ้นครั้งเดียวและแก้ไขได้  แบบนี้ก็อาจจะเป็นโอกาสที่ดีของเราในการลงทุน  เป็นต้น

    กลยุทธ์และแนวทางแบบเบนเกรแฮมดั้งเดิมนั้นมีอยู่อีกมากมาย  บ่อยครั้งในบางช่วงเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ตลาดหุ้นสดใส  คนก็จะดูว่ามัน  “ล้าสมัย”  ทำกำไรช้า  และไม่ถูกต้อง  แค่คำกล่าวที่ว่าเขาไม่ค่อยสนใจ “ปัจจัยด้านคุณภาพ”  เน้นแต่ด้านปริมาณ  ก็ทำให้หลายคนเบือนหน้าแล้ว  แต่เราควรจะเข้าใจสภาวะตลาดที่มีอิทธิพลต่อความคิดเขาในขณะนั้นด้วย  เหนือสิ่งอื่นใด  เขาอาจจะสนใจเรื่องปัจจัยคุณภาพด้วย  เพียงแต่ว่าเขาอาจจะไม่เชื่อเรื่องความสามารถในการคาดการณ์ว่าจะมีใครทำได้ถูกต้อง  และอะไรที่ไม่ถูกต้องสำหรับเขาแล้วก็เป็นเรื่องความเสี่ยงที่เขาไม่อยากรับ  หลักการของเขาก็คือ  การลงทุนแปลว่าเราต้องได้รับผลตอบแทนแน่ ๆ  ไม่มากก็น้อย  ถ้าไม่ใช่  มันก็คือการเก็งกำไร  และทั้งหมดนี้ก็คือแนวทางคร่าว ๆ  ของการลงทุนแบบเบน เกรแฮม ที่ผมกำลังนำกลับมาใช้ในยามนี้ที่ตลาดหุ้นกำลังเหงาหงอยลงหลังจากความ “ฟู่ฟ่า” ที่ยาวนาน

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-----------------------

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การลงทุนเกมน่าเบื่อ

'การลงทุน-เกมน่าเบื่อ'

เวลาพูดถึงเรื่องของการลงทุน  คนทั่วไปรวมถึงนักลงทุนหรือคนเล่นหุ้นที่ยังเป็นมือใหม่มักจะคิดถึงกิจกรรมหรือการเล่นที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ  เป็นกิจกรรมที่ “ดุเดือดเลือดพล่าน” ที่นักลงทุนหรือคนเล่นหุ้นต้องมีไหวพริบและกลยุทธ์หรือกลเม็ดเด็ดพรายรอบตัวที่เหนือกว่าคนอื่น  นอกจากนั้น  พวกเขาก็ยังต้องมีความรวดเร็วตัดสินใจเด็ดขาดได้แบบนาทีต่อนาที  จิตใจต้องเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว  บางทีก็ต้องพร้อมที่จะ “ตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต”  บางครั้งก็สามารถ “ทุ่มสุดตัว”  ได้ทันทีเมื่อ  “โอกาสมาถึง”   เรื่องราวหรือ Story ของการลงทุนแต่ละครั้งของนักลงทุนแต่ละคนโดยเฉพาะที่เป็น  “เซียน”  ดูมีสีสันน่าตื่นเต้น  บางครั้งทำกำไรมโหฬารในเวลาอันสั้น  บางคนก็พลาดเสียหายหนัก  ทั้งหมดนั้นดูเหมือนว่าเป็นเรื่องของฝีมือและ/หรือโชคบ้าง  เกมของการลงทุนนั้นดูเหมือนไม่มีใครคิดว่าน่าเบื่อเลย  คนคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนุกและคนจำนวนมากอยากทำ  อยากเลือกหุ้นลงทุน  สนุกกับการ  “ลุ้น” ว่าหุ้นจะขึ้นไปแค่ไหนและจะได้กำไรเท่าไร

    แต่ความเป็นจริงก็คือ  ภาพที่เห็นอาจจะไมตรงกับความเป็นจริง  ความน่าตื่นเต้นเร้าใจอาจจะไม่ได้แปลงออกมาเป็นผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน  คนลงทุนที่ตื่นเต้นและสนุกกับการลงทุนอาจจะแพ้คนที่ลงทุนแบบน่าเบื่อหน่าย  เซียนหุ้นที่ดูน่าตื่นเต้นมีเรื่องราวการลงทุนที่โดดเด่นน่าติดตามมากกรณีนั้นอาจจะแพ้เซียนที่ดูเงียบเหงาน่าเบื่อหน่ายไม่เคยมี “หุ้นเด็ด” ที่ลงแล้ว “เปลี่ยนชีวิต” ภายในปีสองปีหรือน้อยกว่านั้น  ประวัติศาสตร์ของการลงทุนและนักลงทุนนั้นบอกให้เรารู้ว่า  การลงทุนนั้นเป็นเกมที่เชื่องช้าน่าเบื่อ  วอเร็น บัฟเฟตต์ บอกว่าเหมือนตัวสล็อตที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคลื่อนไหวช้าที่สุดในโลก  ผมเองคิดว่ามันเป็นเรื่องของเต่าที่เดินช้าแต่มีกระดองที่ไม่มีใครทำอะไรมันได้   ถ้าเปรียบเทียบกับสงคราม  มันคือสงครามยืดเยื้อที่น่าเบื่อหน่ายไม่ใช่สงครามสายฟ้าแล็บ  ถ้าเปรียบกับการแข่งขันกีฬามันก็เป็นการแข่งวิ่งมาราธอนไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร  มันไม่ตื่นเต้นยกเว้นเฉพาะตอนได้ชัยชนะหรือถึงเส้นชัย  แต่ในระหว่างทางนั้นบางทีก็มีแต่อุปสรรค  หลายครั้งเราหมดหวัง  ความอดทนกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เรายังอยู่ในสนามหรืออยู่ในเกม    การ  “เอาตัวรอด” เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดส่วนหนึ่ง  กลยุทธ์ส่วนใหญ่ที่เราใช้ก็เป็นไปตามนั้น  ไม่ค่อยมีอะไรน่าตื่นเต้นในระหว่างทางที่ยาวไกล

    เรื่องราวของวอเร็น บัฟเฟตต์ นั้นดูมีสีสันและน่าตื่นเต้น  คนอาจจะคิดว่านี่คือสิ่งที่บอกว่าเกมการลงทุนเป็นเกมที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ  แต่นี่เกิดขึ้นเพราะเขารวยมากแล้วและดังระดับโลกเพราะผลงานที่สะสมมานานจนเป็นที่ประจักษ์   แต่ถ้าดูผลงานการลงทุนเฉพาะตัวหุ้นหรือผลงานของพอร์ตของเขาเราก็อาจจะได้เห็นอีกภาพหนึ่งว่าจริง ๆ  แล้ว  หุ้นที่เขาลงและผลงานของพอร์ตของบัฟเฟตต์เองนั้น  ไม่ได้หวือหวาอย่างเซียนในระดับเดียวกันเลย  หุ้นแต่ละตัวที่เขาลงทุนนั้นดูธรรมดามาก  เป็นหุ้นเก่า ๆ  ที่อยู่มานานมีคนซื้อขายกันจนไม่มีอะไรน่าสนใจแล้ว  ราคาหุ้นก็ไม่ได้หวือหวาอะไรเลยก่อนหน้านั้นรวมทั้งผลประกอบการของบริษัทเองก็เป็นแบบเดียวกัน   ตัวอย่างเช่นหุ้นโค๊ก หุ้นใบมีดโกนยิลเล็ต  หุ้นซอสมะเขือเทศไฮนน์ ที่เขาซื้อหลังจากที่บริษัทอยู่มาหลายสิบปีและกิจการก็โตมาจนน่าจะ  “อิ่มตัว”  แล้วในสายตาของคนทั่วไป  เป็นต้น

    หุ้นที่บัฟเฟตต์ซื้อเองนั้น  ก่อนที่เขาจะดังระเบิดอย่างในวันนี้  ราคาหุ้นก็มักจะไม่ได้ปรับตัวขึ้นหวือหวา  และในเวลาต่อมามันก็ไม่เคยปรับตัวขึ้นรุนแรงกลายเป็นหุ้น “ขวัญใจ”  ที่ทุกคนหันมาเล่นกันและราคาขึ้นเป็นเท่า ๆ  หรือหลาย ๆ เท่าในเวลาอันสั้น  หุ้นที่เขาซื้อนั้นมักจะขึ้นไปเรื่อย ๆ  ช้า ๆ  แต่ไม่ค่อยลงเพราะมันเป็นกิจการที่เข้มแข็งมีความสามารถในการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่งอย่างยั่งยืน  ดังนั้น  กำไรมันมั่นคงแน่นอนซึ่งทำให้ราคาหุ้นยืนอยู่ได้ในเกือบทุกสถานการณ์  เวลาผ่านไปยิ่งนาน  ราคาก็ยิ่งขึ้นไป  พอถึงวันหนึ่งคนค่อยตระหนักว่ามันคือหุ้น “สุดยอด”  ที่ไม่เคยดังจริง ๆ  เลย  ไม่เคยขึ้นหวือหวาและคนกล่าวขวัญถึง  คนส่วนใหญ่ไม่เคยคิดจะซื้อในระหว่างทางเพราะมันดูนิ่ง ๆ  ไม่น่าสนใจไม่มีเรื่องราวโดดเด่น  นี่คือหุ้นน่าเบื่อแต่มันทำเงินในระยะยาว  “ที่เส้นชัย”

    พอร์ตของบัฟเฟตต์เองนั้น  ดูน่าประทับใจมาก  แต่นี่เกิดขึ้นหลังจากเวลาผ่านมานานมากหลายสิบปี  ในระหว่างทางนั้นมันก็ไม่น่าตื่นเต้นอะไรนัก  แต่ละปีมีหุ้นน้อยตัวในพอร์ตที่วิ่งขึ้นเป็น “กระทิงดุ”  ดังนั้นมันจึงไม่มีข่าวอะไรที่มีสีสันเหมือนกับเซียนคนอื่น ๆ  หลายคน  ผลงานการลงทุนของพอร์ตของบัฟเฟตต์ที่น่าสนใจแต่ไม่น่าตื่นเต้นก็คือ  เขาไม่ค่อยจะขาดทุนเลยไม่ว่าตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร  ประมาณ 60 ปีที่ผ่านมาพอร์ตของเขาน่าจะขาดทุนไม่เกิน 6 ครั้ง  เช่นเดียวกัน  การเติบโตของพอร์ตของเขาปีต่อปีก็สูงแต่ไม่น่าตื่นเต้นที่ประมาณ 20% บวกลบ แต่แทบจะไม่มีเลยที่พอร์ตจะกำไรเกิน 50% ต่อปี

    เวลาจะซื้อหุ้นหรือเทคโอเวอร์บริษัทเองนั้น  สำหรับบัฟเฟตต์เองก็ดูเหมือนว่ามันไม่ได้ดูตื่นเต้นอะไร  เขานั่งทำงานอยู่ในออฟฟิสตั้งแต่เช้ายันเย็นเป็นส่วนใหญ่  ใช้เวลากับการอ่านเป็นหลัก  เขาไม่เคยดิ้นรนวิ่งไปหาผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการเพื่อหาข้อมูลลึกแนว  Inside หรือขอซื้อหุ้นหรือกิจการในราคาพิเศษ  เขา “รอ”  ไปเรื่อย ๆ  รอให้มีคนเสนอขายกิจการหรือรอให้หุ้นที่เขาสนใจมีราคาที่เหมาะสมแล้วก็ตัดสินใจลงมือทำ  เขาไม่เสนอตัวไปแข่งกับใครหรือพยายามเข้าไปคุยหาดีลกับบริษัท  ดังนั้นเขาจึงค่อนข้างจะมีเวลาว่างมากกว่าทรัพย์สินหรือสถานะของเขามาก  ชีวิตประจำวันของเขานั้น  แม้ว่าส่วนตัวเขาเองจะคิดว่าไม่เป็นชีวิตที่น่าเบื่อเพราะเขาบอกว่าเขารักงานของเขาและมีความสุขทุกวันที่ไปทำงาน  แต่มองจากภายนอกแล้ว  เราคงรู้สึกว่า  “น่าเบื่อ”  เพราะวัน ๆ  ดูเหมือนว่าเขาจะไม่ได้ทำอะไรนัก

    ประสบการณ์ของผมจากการศึกษานักลงทุนที่เป็นหรือเคยเป็น “เซียน”  ทั้งในระดับโลกและในตลาดหุ้นไทยผมคิดว่ามีบทเรียนที่น่าสนใจก็คือ  นักลงทุนส่วนใหญ่และคนในแวดวงตลาดหุ้นต่างก็ชอบลงทุนหรือเล่นหุ้นที่น่าตื่นเต้น  เป็นหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก ๆ  ทั้งในเรื่องของพื้นฐานของกิจการและราคาหุ้น  พวกเขาจะเชียร์กันสนั่นเมื่อมีหุ้นที่เข้าเกณฑ์หรือมีคุณสมบัติดังกล่าว  และก็จะเข้ามาซื้อขายหุ้นหรือลงทุนอย่างหนัก  นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น  “ขาใหญ่” ที่เข้าไปโหมซื้อจนมีสถานะเป็น “ผู้ถือหุ้นใหญ่”  เมื่อมีการประกาศในข้อมูลของบริษัทเขาก็จะได้รับการสรรเสริญชื่นชมว่ามีความสามารถในการวิเคราะห์หุ้นได้ดีเด่นและ “ทำกำไร”  เมื่อหุ้นปรับตัวขึ้นไปแรง  จากนั้นก็อาจจะมีคนซื้อตามและส่งเสริมให้หุ้นได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น  คนจำนวนมากที่เข้าไปซื้อก่อนหน้านั้นได้กำไรและก็รู้สึกถึงความตื่นเต้นและพึงพอใจ   เวลาต่อมาหุ้นตัวนั้นก็อาจจะตกลงมาแรงเมื่อผลประกอบการอาจจะไม่ดีตามที่คาด  หรือบางทีก็อาจจะดีแต่ราคาหุ้นแพงเกินพื้นฐานไปมากทำให้นักลงทุนบางส่วนรวมถึงรายใหญ่อาจจะขายหุ้นทิ้งทำให้ราคาลดลงมามาก  คนจำนวนมากที่เข้าไปทีหลังขาดทุนอย่างหนัก  บางครั้งนักลงทุนรายใหญ่ก็ขาดทุนเช่นกันหาก “ปล่อยของ” ไม่ทัน   โดยรวมแล้วคนที่กำไรและคนที่ขาดทุนอาจจะพอ ๆ  กันหรือแตกต่างกันก็ได้แต่คนที่ขาดทุนมักไม่พูดแต่คนที่กำไรพูดไปแล้วทั้ง ๆ  ที่ต่อมาอาจจะขาดทุนทีหลัง

    ผมเองเห็นคนที่ทำผลงานเป็นกรณี ๆ  หรือหุ้นเป็นตัว ๆ  ได้น่าประทับใจอยู่พอสมควร  ซึ่งก็เกิดความรู้สึกว่ากำไรของพอร์ตโดยรวมน่าจะดีมาก—ทุกปี  อย่างไรก็ตาม  เวลาผ่านไปหลาย ๆ  ปี  ผมเองก็ไม่ได้เห็นว่าเขาเหล่านั้นมีผลการลงทุนแบบทบต้นที่โดดเด่นมาก ๆ  อย่างที่คิด  แน่นอนว่าคนที่ลงทุนหรือแม้แต่เก็งกำไรแบบ Aggressive ในช่วง  “ยุคทอง”  ที่ผ่านมาต่างก็รวยในระดับหนึ่งทั้งนั้น  แต่ก็ดูเหมือนว่าพวกเขาก็ไม่ได้ทำได้เหนือกว่านักลงทุนที่ “ลงทุนเต็มร้อย”  แบบ  “น่าเบื่อ”  เช่นเดียวกัน  ดังนั้น  ผมจึงสรุปโดยอาศัยประสบการณ์การอ่านจากต่างประเทศว่า  การลงทุนแบบที่รู้สึกว่า “น่าเบื่อ”  นั้น  ดีกว่าการลงทุนที่รู้สึกตื่นเต้นตลอดเวลา

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
--------------------

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

แนวทางการลงทุนแต่ละคนไม่เหมือนกัน?

Irwin Duran นักลงทุนท้องถิ่นไม่มีชื่อเสียง แต่เป็นนักลงทุนพันธ์แท้ใช้ชิวิตแบบสมถะ บริจาคเงินแบบเงียบๆ ให้แก่บ้านเกิด เมื่อง Leesburg, Virginia มากกว่า USD30 Million  เขามีเงินมากกว่า 17,000 ล้านบาท แต่ไม่เป็นที่รู้จักแม้แต่คนในเมืองนั้น ความรำ่รวยของเขามาจากการลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก (หุ้นเติบโตที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนัก) และทำกำไรมหาศาลเมื่อบริษัทที่ลงทุนกลายเป็นหุ้นขนาดกลาง (จงให้ความสำคัญแก่ Market Cap เมื่อลงทุนระยะปานกลางและยาว)   กลยุทธในการลงทุน

1. ลงทุนเฉพาะหุ้นขนาดเล็ก แต่ละหุ้นถือไม่น้อยกว่า 3-5 ปี ขายเมื่อบริษัทเติบโตถึงจุดหนึ่งที่ผ่านช่วงขาขึ้นมาแล้ว  2. ลงทุนเฉพาะบริษัทที่เขารู้จักและเข้าธุรกิจเป็นอย่างดี แต่ละตัวลงทุนด้วยปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการจะทำอย่างนั้นได้จะต้องเข้าใจบริษัทที่ลงทุนอย่างลึกซึ้ง 3. ลงทุนแบบไม่สนใจภาวะตลาด ไม่เก็งว่าตลาดจะขึ้นหรือลง สนใจเฉพาะปัจจัยพื้นฐานของหุ้นที่ลงทุน เมื่อราคาหุ้นตกลงโดยไม่มีเหตุผลจะถือเป็นโอกาสให้ลงทุน 4. เมื่อลงทุนผิดพลาด พื้นฐานเปลี่ยน จะขายทิ้งทันที ส่วนหุ้นที่ลงทุนไปแล้วผลการดำเนินงานดีขึ้นเรื่อยๆ ตามคาดจะถูกเก็บไว้ยาวนาน หลายตัวกำไรเป็นสิบเท่าก็ยังไม่ขาย (หุ้นเติบโตที่ดีมักเริ่มต้นจากฐานกำไรที่ต่ำ กำไรค่อยๆ ขยับขึ้นตามแหล่งที่มาของกำไรที่ขยายฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนแบ่งตลาดค่อยๆเพิ่ม ขณะที่ค่าใช้จ่ายคงที่ หรือลดลง)  5.ให้ความสำคัญต่อการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุน การผึกฝน และ ประสบการณ์ในการลงทุนมีความสำคัญ โดยที่นักลงทุนไม่จำเป็นต้องฉลาด หรือ เก่งคำนวณ แต่จำเป็นต้องเข้าใจธุรกิจ และ มองแนวโน้มของการเติบโตในระยะยาวว่ากำไรส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้จากธุรกิจส่วนไหน

นักลงทุนปกติจะกลัวมาก กับ สภาพตลาดหุ้น 2 ลักษณะ:- 1. กลัวว่าดัชนีจะตกต่ำลง และ หุ้นที่เข้าไปลงทุนจะตกตามไปด้วย  ถ้าพอมีกำไรก็รีบชิงขาย กะว่าเมื่อขายไปแล้วจะกลับมาช้อนกลับ  ถ้าเราได้ยินนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตลาดหุ้นจะตกต่ำลง โอกาสตกจริงๆจะมีเพียง 50% ทำนองเดียวกันถ้าคาดการณ์ว่าจะวิ่งขึ้นไป 200 จุดในปีนี้ โอกาสที่มันจะขึ้นไปอย่างนั้นจริงๆคงมีน้อยกว่า 50% สรุป กลยุทธของเราคือ เราไม่ได้ซื้อดัชนี เราซื้อตัวหุ้น  ถ้าตลาดตกจะเป็นผลดีที่จะซื้อหุ้นที่อยู่ใน Watch List ของเราในราคาถูกลง

2. เราจะกลัวหุ้นที่มีราคาสูง ส่วนใหญ่คิดว่าหุ้นคงเหมือนกับต้นไม้ คือ ถ้าสูงแล้วจะสูงไปอีกไม่ได้มาก  ซึ่งเป็นเรื่องของจิตวิทยาโดยแท้ ในความเป็นจริงราคาหุ้นจะขึ้นลงตามปัจจัยพื้นฐานในระยะยาว เมื่อเราสามารถซื้อไม้แรกได้ในราคาต่ำแล้ว  ทำไมเราจะขายออกและหวังช้อนกลับ ในเมื่อความจริงทุกครั้งเราจะซื้อกลับน้อยลงเรื่อยๆ    หุ้นเติบโตที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนัก มักจะมีกำไรที่เติบโตไม่มากในช่วงแรก มันจะเร่งทะยานเมื่อถึงจุดหนึ่ง ที่กำไรจะโตแบบก้าวกระโดด ตามแหล่งที่มาของรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากธุรกิจเดิม และ ธุรกิจใหม่ (ให้ความสำคัญต่อ Demand Trend ของแหล่งธุรกิจ)

Cr:line


ภาพคลิปไม่เกี่ยวกะเนื้อเรื่อง..เด็กทาแป้งเองคับ5555


cahttradingview

AAPL ชาร์ต โดย TradingView