คำว่าNormal” นั้น เริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายน่าจะหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจอเมริกาในปี 2008 ที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างแรงมากที่ทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจลดต่ำลงมากและดูเหมือนว่ามันจะไม่สามารถกลับมาเติบโตเหมือนเดิมได้อีกต่อไป กูรูทั้งหลายเชื่อว่า “ตัวเลขใหม่” ที่ดู “ผิดปกติมาก” เมื่อเทียบกับตัวเลขที่เคยเป็นนั้นจะกลายเป็น “มาตรฐานใหม่” และจะเป็น “ตัวเลขปกติ” ที่จะดำเนินต่อไปในวันข้างหน้า หลังจากนั้น คำว่า New Normal ก็ถูกนำไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ อีกมาก เหตุผลคงเป็นเพราะว่าในระยะหลัง ๆ นี้ โลกได้เปลี่ยนแปลงไปเร็วและมาก สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ “ทำลาย” สิ่งเก่า ๆ ที่เราคุ้นเคย สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่จำนวนมากไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นครั้งเดียวอีกต่อไป ดังนั้น ในฐานะนักลงทุน เราจะต้องตระหนักตลอดเวลามิฉะนั้นเราอาจจะหลงคิดว่า “สิ่งที่เลวร้ายเดี๋ยวก็จะผ่านไป” คำพูดคลาสสิกของเบน เกรแฮมที่ว่า “This too shall past” อาจจะใช้ไม่ได้อีกแล้วในหลาย ๆ เรื่อง มาดูกันว่ามีอะไรที่จะเป็น New Normal ในตลาดหุ้นและการลงทุนของนักลงทุนไทย
เรื่องแรกก็คือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ถึงแม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้จะดูดีขึ้นมากในรอบน่าจะหลายปี แต่ก็น่าจะเป็นการเติบโตจากอัตรา 3% ต้น ๆ เป็น 3% ปลาย ๆ เป็นอย่างมาก และผมคิดว่าโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะโตกลับมาเกิน 4% ต่อปีเป็นเรื่องยาก ไม่ต้องคิดถึงอัตรา 5% หรือ 7% ที่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นเก่า ๆ เคยคุ้นเคยและคิดว่ามันเป็นอัตราการเติบโตตาม “ธรรมชาติ” หรืออัตราเติบโตตามปกติของไทยมายาวนาน เหตุผลก็เพราะว่าคนไทยแก่ตัวลงและขาดแคลนแรงงานซึ่งทำให้ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพหรือกำลังแรงงานที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากนัก ผมคิดว่า New Normal ของการเติบโตของไทยน่าจะอยู่ที่ 3-4% ก็หรูแล้ว และนี่อาจจะทำให้ไทยไม่ใช่เศรษฐกิจที่ “โตเร็ว” อีกต่อไป
การเติบโตของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมเองนั้น ผมก็คิดว่าคงจะช้าลงตามเศรษฐกิจ ในสมัยก่อนนั้น การเติบโตของรายได้และ/หรือกำไร ที่ต่ำกว่า 10% นั้นถูกถือว่า “โตช้า” บริษัทเหล่านั้นก็จะไม่ค่อยมีใครสนใจลงทุนแม้ว่าเศรษฐกิจเองก็โตแค่ 5-6% ประเด็นก็คือ ในยุคก่อนนั้น บริษัทจดทะเบียนมักจะถูกมองว่าต้องโตเร็วกว่าเศรษฐกิจ แต่ถ้าบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้นมีขนาดใหญ่มากจนเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจได้อย่างปัจจุบัน ตามหลักการแล้ว บริษัทจดทะเบียนก็ไม่น่าจะโตกว่าการโตของเศรษฐกิจบวกเงินเฟ้อ และด้วยหลักการนี้ ในระยะยาวแล้ว การเติบโตของรายได้และกำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมก็ไม่น่าจะโตไปกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจบวกเงินเฟ้อได้ ดังนั้น ในความเห็นของผมก็คือ กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่จะเป็น New Normal ก็คือ น่าจะโตประมาณ 5-10% ต่อปี โดยที่บริษัทที่ “โตเร็ว” นั้น น่าจะโตแค่หลัก 10% บวกลบ ในขณะที่บริษัทที่โตปกตินั้นน่าจะอยู่ที่ 5% บวกลบ บริษัทที่โตเร็วมากนั้นอาจจะได้ถึง 15% บวกลบ ที่จะโตมากกว่านั้นน่าจะเป็นเฉพาะบริษัทที่เพิ่งเริ่มและยังเล็กมากเท่านั้น
ผลตอบแทนของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉลี่ยที่ผ่านมาในอดีต 42 ปี อยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น นั่นก็เป็นผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมน่าจะระดับต้น ๆ ของโลก และก็น่าจะเกิดขึ้นเพราะเศรษฐกิจไทยในช่วงเดียวกันก็เติบโตดีในระดับต้น ๆ ของโลกเช่นเดียวกัน แต่ถ้าเศรษฐกิจไทยโตช้าลงมากในอนาคต ตลาดหุ้นก็น่าจะโตหรือให้ผลตอบแทนต่อปีน้อยลง ในความคิดผม ตลาดหุ้นไทยน่าจะมี New Normal นั่นก็คือในอนาคตน่าจะให้ผลตอบแทนตามการเติบโตทางเศรษฐกิจบวกเงินเฟ้อที่ต่ำ ผลตอบแทนต่อปีแบบทบต้นน่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 7-8% โดยตัวเลขที่ผมคิดว่าปลอดภัยก็คือ 5% ต่อปีในระยะยาว
New Normal ของการลงทุนที่ผมคิดว่ากำลังจะเกิดขึ้นตามมาจากเรื่องของการโตช้าลงของตลาดหุ้นไทยก็คือ การลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย ปรากฏการณ์ในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็คือ นักลงทุนโดยเฉพาะที่ยังมีอายุน้อยกว่าต่างก็สนใจและเริ่มลงทุนในต่างประเทศทั้งในตลาดพัฒนาแล้วอย่างอเมริกาและตลาดกำลังพัฒนาอย่างเวียตนาม แม้แต่นักลงทุนสูงวัยและมีเงินมากกว่าต่างก็ลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนรวมทั้งที่เป็นพันธบัตรและหุ้นมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การลงทุนในต่างประเทศจะไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติหรือเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับบางคนอีกต่อไป
เช่นเดียวกับเรื่องของการลงทุนในต่างประเทศ การลงทุนที่อาศัย Robot หรือหุ่นยนต์ก็อาจจะกำลังกลายเป็น New Normal ด้วย เหตุผลก็คือ มันมีความสามารถและประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ จริงอยู่ การให้หุ่นยนต์ทำเองทุกอย่างโดยอัตโนมัตินั้น ยังคงมีน้อยในตลาดหุ้นไทย แต่ผมคิดว่าการใช้ Robot ช่วยในการลงทุนอาจจะเป็นเรื่องปกติขึ้นเรื่อย ๆ เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ ต้นทุนของการใช้นั้นต่ำลงมาก และในหลาย ๆ สถานการณ์ การใช้ Robot ก็อาจจะทำได้ดีกว่าคน
คุณภาพหรือความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมและบริษัทจดทะเบียนในระยะหลัง ๆ นี้ผมก็คิดว่ามี New Normal อยู่ไม่น้อยและเราจะต้องตระหนัก มิฉะนั้นแล้วเราก็อาจจะวิเคราะห์ตามความคิดและความเชื่อเดิมซึ่งอาจจะทำให้ผิดพลาดได้ เหตุผลก็เพราะว่าเทคโนโลยีดิจิตอลพัฒนาขึ้นมาเร็วจนถึงจุดที่มันสามารถ Disrupt หรือทำลายวิธีการเดิม ๆ อย่างรวดเร็วและทำให้เกิดมาตรฐานใหม่ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจสื่อเช่นทีวีนั้น Old Normal หรือแนวความคิดเดิมก็คือมันเป็นธุรกิจที่ดีมาก ดังนั้น บริษัทที่ประสบความสำเร็จจะได้กำไรมากและมีค่า PE สูงมาก แต่ New Normal อาจจะเป็นว่า ธุรกิจทีวีไม่ใช่ธุรกิจที่ดีเยี่ยมอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น กำไรก็อาจจะไม่สูงและค่า PE ของหุ้นก็อาจจะไม่สามารถสูงได้อีกต่อไปแม้ว่าจะเป็นช่องทีวีที่ประสบความสำเร็จ
เรื่องของการใช้ชีวิตหรือการใช้เงินของคนไทยเองนั้น ผมคิดว่าก็มี New Normal เกิดขึ้นมากและอาจจะส่งผลต่อการวิเคราะห์ในเรื่องของการลงทุน ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนก็คือเรื่องของการใช้เวลาซึ่งผมคิดว่าคนไทยใช้เวลาเพิ่มกับการ “ดูหน้าจอแบบเคลื่อนที่” มากขึ้นมาก ซึ่งก็มักจะตามมาด้วยการทำกิจกรรมต่อเนื่องเช่น การสั่งสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ และเรียกรถรับจ้าง เป็นต้น ผลกระทบตรง ๆ ก็คือการที่คนดูทีวีและอ่านหนังสือเล่มน้อยลงมาก ส่วนผลกระทบทางอ้อมนั้นก็มีมหาศาล น่าเสียใจที่คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดก็คือ บริษัทต่างชาติที่ให้บริการดูหน้าจอและขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต ส่วนคนที่เสียประโยชน์มากก็คือบริษัทท้องถิ่นไทยที่ถูกแย่งลูกค้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ
มีเรื่องราวอีกมากมายที่เริ่มจะเกิดขึ้นแล้วในสังคมของประเทศที่พัฒนาสูงและผมเชื่อว่าในที่สุดมันก็จะมาถึงประเทศไทย ตัวอย่างเช่น การใช้รถไฟฟ้าแทนรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน ประเด็นเหล่านี้เราจะต้องพิจารณาว่า “เมื่อไร” และใช้เวลานานแค่ไหนที่มันจะกลายเป็น New Normal ในสังคมหรือตลาดไทย ถ้าเราจะลงทุนหรือเลิกลงทุนขายหุ้นที่เกี่ยวข้องทิ้งเราจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ประเด็นที่ผมต้องเตือนก็คือ อย่าไปคิดว่า “เมืองไทยหรือคนไทยไม่เหมือนคนอื่น” โลกในสมัยนี้เป็นหนึ่งเดียว เราอาจจะไม่เหมือนหรือไม่พยายามเหมือนหรือทำแบบคนอื่นได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในระยะยาวแล้ว เป็นไปไม่ได้ New Normal ก็คือ คนในโลกจะมีวิถีชีวิตและพฤติกรรมเหมือนกันทุกประเทศตามฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละคน
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-------------
วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560
วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560
5เคล็ดลับเจ้าสัวทำไมคนจีนถึงรวยล้นฟ้า?
คิดเล่นๆ คำว่า ‘จีน’ ตัดสระอีทิ้ง ก็จะเป็นคำว่า ‘จน’
หมายถึง อัตคัดขัดสน ฝืดเคือง มีเงินไม่พอยังชีพวิธีคิดเล่นๆ ข้างต้น ก็เปรียบเสมือนการดำรงชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนที่ไม่อยากให้ตัวเองจนนั่นเอง เราจึงมักได้ยินเข้าหูจนชินว่าคนจีนขยัน ส่วนคนไทยชอบชิลๆ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เพราะคนไทยไม่ขยันทำมาหากิน แต่เป็นเพราะคนไทยเชื้อสายจีนมีความขยันมากกว่าจนน่าประหลาดใจ ดังนั้น “แรงผลักดันชีวิต” จึงต่างกันและเป็นจุดยืนสำคัญที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ตามมา
ในประเทศไทยนั้น จะเห็นว่ามีเจ้าสัวหรือคนไทยเชื้อสายจีนที่เป็นเศรษฐีเกิดขึ้นมากมาย จนขนาดทำให้ต้องมาตั้งข้อสงสัยว่าทำไมบุคคลเหล่านี้ จึงร่ำรวยได้ขนาดนั้น คนไทยขาดทักษะด้านใดที่เป็นตัวแปรทำให้คนเชื้อสายจีนรวยกว่า แล้วคนเชื้อสายจีนมีวิธีคิด หรือ กลยุทธ์การใช้ชีวิตอย่างไร? จึงทำให้เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ในหลายๆ บริษัทในประเทศไทยจนติดอันดับความรวยที่สุดในประเทศ ไปดูกันว่า 5 เจ้าสัวที่รวยที่สุดในประเทศไทย เขามีวิธีคิดและทำธุรกิจให้ร่ำรวยกันอย่างไร?
อันดับ 1-5 มหาเศรษฐีไทย ปี 2558
(จัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์บส์)
1. นายธนินท์ เจียรวนนท์ (แซ่เจี๋ย)
เครือซีพี ทรัพย์สิน 4.8 แสนล้านบาท
เคล็ดลับเจ้าสัว:
“ผมทำงานไม่ได้คิดเลยเรื่องกำไร ไม่ได้คิดว่าทำธุรกิจนี้แล้วจะได้กำไรเท่าไร ผมคิดว่าทำธุรกิจอะไร อันดับแรกดูแค่ว่ามีโอกาสสำเร็จไหม”
2. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี (แซ่โซว)
ไทยเบฟเวอเรจ ทรัพย์สิน 4.36 แสนล้านบาท
เคล็ดลับเจ้าสัว:
“ถ้าคุณอดทน เพื่อจะทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ คุณจำเป็นอย่างมากที่จะต้องลงมือศึกษาเรื่องนั้นๆ อย่างเป็นจริงเป็นจัง แต่ถ้าคุณไม่อดทน โอกาสที่คุณจะผิดพลาดก็ย่อมมีสูงเช่นกัน”
3. ตระกูลจิราธิวัฒน์ (แซ่เจ็ง)
ยักษ์ใหญ่แห่งวงการค้าปลีก ทรัพย์สิน 4.1 แสนล้านบาท
เคล็ดลับเจ้าสัว:
“ผมและพี่น้องมี Passion ในการทำงานในธุรกิจเยอะมาก เพราะถูก Built in มาตั้งแต่เด็ก มื่อจบมาทุกคนต้องมาทำเหมือนกันหมด ในเมื่อเรารู้สึกสนุกกับมันจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ก็จะไม่มีวันเบื่อ”…ทศ จิราธิวัฒน์ กล่าว
4. นายเฉลิม อยู่วิทยา (แซ่สี่)
จากกระทิงแดง ทรัพย์สิน 3.221 แสนล้านบาท
เคล็ดลับเจ้าสัว:
“กระทิงแดง หมายถึง มีกำลัง กระทิงมีกำลังมาก ชื่อนี้เป็นชื่อที่ผมคิดขึ้นเอง ออกแบบโลโก้เอง ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่ออกตามมาที่ใช้ชื่อกระทิงแดงนั้นก็ไม่ได้ถือเคล็ดอะไร เพียงแต่เห็นว่าเป็นชื่อทางการค้าที่คนส่วนใหญ่รู้จักและจำกันได้อยู่แล้ว ก็ไม่ควรไปสร้างชื่อใหม่ให้เปลืองค่าโฆษณา ไม่ต้องเสียเวลาไปสร้าง Brand Loyalty อีก”
5. นายกฤตย์ รัตนรักษ์ (แซ่หลี)
บิ๊กบอสช่อง 7 สี ทรัพย์สิน 1.577 แสนล้านบาท
เคล็ดลับเจ้าสัว:
“เก็บตัวเงียบ ไม่ชอบเป็นข่าว ไม่ชอบออกสื่อ แต่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจสูงสุด”
นอกจากเคล็ดลับเจ้าสัวข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนไทยเชื้อสายจีนดังกล่าวก้าวขึ้นมาสู่ระดับท็อปของความมั่งมี ไปดูกันว่า 5 ปัจจัยหลักๆ ที่สร้างเสริมและเป็นตัวขับเคลื่อนทำให้พวกเขาร่ำรวยล้นฟ้า คืออะไรกันบ้าง?
คนจีนรักษาสัจจะเยี่ยงชีวิต
ไม่ว่าจะทำกิจการงานอะไร คนจีนจะมีนิสัยหนึ่งที่ถือเป็นเครื่องหมายการค้าเลยทีเดียว นั่นก็คือสัจจะในการทำงานหรือการดำรงชีวิต ซึ่งการรักษาคำพูด พูดคำไหนคำนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจและทำให้ได้รับโอกาสดีๆ ในชีวิตที่ทำให้พวกเขาร่ำรวย
ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ
คนจีนถือเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจในหลายๆ อุตสาหกรรม โดยมีคติว่า “ทำธุรกิจ ต้องทำเป็นคนแรก อย่าไปแข่งกับคนที่เขาทำอยู่แล้ว” ความขยันในการคิดและค้นหาสินค้ามาขายก่อนใครๆ ถือเป็นกลยุทธ์การค้าที่สร้างให้พวกเขามั่งคั่งและกลายเป็นเจ้าตลาด
ค้าขายเท่านั้นจึงจะร่ำรวย
คนเชื้อสายจีนส่วนใหญ่มีรากฐานอาชีพค้าขายหรือทำธุรกิจส่วนตัว ไม่ใช่รับราชการ หรือเป็นลูกจ้างประจำ ดังนั้นระยะเวลาที่สั่งสมประสบการณ์ทางการค้าและเริ่มธุรกิจมานาน จึงทำให้ความร่ำรวยเติบโตและมีสายป่านทางการเงินที่มั่นคง
ขยัน ประหยัด อดทน เหมือนมดงาน
ความร่ำรวยของคนจีนนั้น พื้นฐานสำคัญมาจากการมีนิสัยขยัน พร้อมจะทำงานและพัฒนาตัวเองทุกอย่างเท่าที่ทำได้ อีกทั้งยังใช้ชีวิตแบบสมถะ ประหยัด อดออม จึงทำให้มีเงินก้อนเร็วในการเริ่มทำธุรกิจ และยังเป็นนิสัยติดตัวไปตลอดถึงแม้จะร่ำรวยมหาศาลแล้วก็ตาม
มีคอนเน็คชั่นที่แข็งแกร่ง
คนเชื้อสายจีนนั้นมีความผูกพันและกลมเกลียวกันมาก ดังที่เราจะเห็นว่าพวกเขารวมตัวกันจนเป็นปึกแผ่นเช่น China Town ที่มีอยู่แทบทุกประเทศใหญ่ๆ ทั่วโลก แม้กระทั่งเมืองไทยก็มีเยาวราชที่เป็นเสมือนศูนย์กลางธุรกิจและรากฐานของคนเชื้อสายจีนในประเทศไทย และนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเชื่อมต่อโยงใยผู้คน ธุรกิจ การทำงาน และความช่วยเหลือเกื้อกูลกันจนกลายสายป่านที่แข็งแรง
สุดท้ายนี้ องค์ประกอบของความร่ำรวยนั้น ไม่ว่าจะคนไทยแท้หรือคนเชื้อสายจีน หรือคนชาติใดๆ ในโลกก็ตาม หากมีปัจจัยข้างต้นในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ความขยัน ประหยัด อดทน พูดแล้วทำ หรือกล้าบุกเบิก ก็สามารถที่จะร่ำรวยได้ เพียงแต่คุณต้องเริ่มให้เร็วและเริ่มลงมือสร้างมันตั้งแต่วันนี้
ที่มา : Wikipedia Forbesthailand Pixabay
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
หุ้นราคาเบรคหุ้นเบรคราคา
1.หุ้นราคาเบรค200วัน คือ 2.หุ้นโวลุ่มเบรค200วัน คือ 3.สูตรบัวพ้นน้ำ คือ 4.สูตรยกไฮยกโลว์ คือ 5.สูตรตั้งลำ คือ 6.สูตรดั้งเดิม คือ คำถาม...
-
นิทานการตลาด ตอนที่ 19 ทำไมต้องเลข 7 จะเป็นเลขอื่นได้หรือไม่ ? ถ้าสมมุติว่าจะเปลี่ยนชื่อร้านเป็น 8-24 แทนที่จะเป็น 7-11 จะสำเร็จได้หรือไม่...
-
นิทานการตลาด ตอนที่ 35 CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือเรียกว่า การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กั...
-
วิธีใช้ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) ในการซื้อหุ้น เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average สามารถเรียนสั้นๆ ได้ว่า เส้น MA เป็นหนึ่งในเครื่องม...