วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ธรรมะกับ"การเล่นหุ้น"

การเล่นหุ้นคือการแข่งกับตัวเอง
ต่อสู้กับใจของตัวเอง
ไม่ใช่แข่งกับเพื่อนๆๆ
หรือคนอื่นๆๆ
การเล่นหุ้นแบบมีธรรมะเป็นหลัก ประจำใจจะทำให้เกิดปีติ (ความอิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ) ปราโมทย์ (ความร่าเริงเบิกบานใจ) ปัสสัทธิ (ผ่อนคลาย สงบ) สุข (ฉ้ำชื่นใจ) และสมาธิ (มีใจมั่นคง) แต่ถ้าเป็นการเล่นด้วยตัณหาเช่น อยากรวย อยากได้ จะมีแต่ความร้อนรุ่ม ความรู้สึกดีๆๆ เหล่านั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย มีความทุกข์จากสิ่งที่ตัวเองไม่มี ส่วนฉันทะ คือ ความชอบ รู้สึกมีความสุขจากสิ่งที่ตัวเองมี

ในหมู่การลงทุนทั้งหมด การลงทุนในหุ้นสร้างกิเลสได้มากที่สุด ทำให้จิตกระเพื่อมมากที่สุด ผัสสะ (จากข่าว ราคาหุ้น) ทำให้เกิด เวทนา (สุข ทุกข์) และก่อตัวเป็น ตัณหา (อยากซื้อ อยากขาย) พัฒนากลายเป็นอุปาทาน (ตัวกูของกู) ตามวงจร ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพชาติ มนุษย์สามารถใช้กำลังสติ ไปสกัดความรู้สึกช่วงระหว่างที่ผัสสะทำให้เกิดเป็นเวทนา หรือเวทนาเปลี่ยนเป็นตัณหาได้ เช่น เมื่อหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นจะเกิดสุขเวทนา และเกิดตัณหาอยากซื้อเพิ่ม เมื่อสั่งซื้อสำเร็จ ก็จะเกิดอุปาทาน หุ้นของกู ทำให้เกิด ภพ ชาติ ย่อยๆๆ ขึ้น จิตจะผูกพันกับราคาหุ้นตัวนั้นไปเรื่อยๆๆ จนได้พบกับอนิจจัง ทุกขังของราคาหุ้น และสุดท้ายจบลงด้วยการตัดสินใจขายหุ้นตัวนั้นออกไป หมดสิ้นภพชาติย่อยลงไปครั้งหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะขายด้วยสาเหตุใดก็ตาม กำไรหรือขาดทุน ก็จะเกิดอวิชชา คือสัญญาที่เจือไปด้วยกิเลสและอารมณ์ตามมา สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้เกิด สังขาร วิญญาณ และนามรูป เพื่อการเข้ามารับผัสสะในครั้งต่อไป คนที่เคยลิ้มรสชาติของการได้กำไรมาแล้วยากที่จะเลิกเล่นหุ้น และสำหรับคนที่ขาดทุนก็จะหาทางเอาคืน ดังนั้นคนที่หลงเข้ามาในวังวนนี้แล้ว ยากที่จะหลุดพ้นออกไปได้

คนเล่นหุ้นมีภพชาติย่อยๆๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา วันที่หุ้นพุ่งก็มีความสุขราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ บางวันก็ร้อนรุ่มปานอยู่ในนรก ส่วนวันที่ราคาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง หรือวันเสาร์ บางวันก็ร้อนรุ่มปานอยู่ในนรก ส่วนวันที่ราคาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง หรือวันเสาร์ วันอาทิตย์ก็กลับมาอยู่โลกมนุษย์ ได้เล่นกับลูก สังสรรค์กับเพื่อน พุ่งน้อยหน่อยก็ขึ้นชั้นดาวดึงส์ แต่ถ้าวันไหนหุ้นตกติดฟลอร์ จะได้ลงนรกขุมลึกสุดคืออเวจี วิธีแก้ไขก็คือ วันไหน ที่มีความสุขมากให้แยกสติออกมาเป็นผู้ดู สุขหนอ กำไรหนอ ก็แค่นั้นเอง ไม่เอาใจเข้าไปดื่มด่ำ เมื่อสามารถแยกตัวออกจากสุขได้ วันไหนทุกข์ก็จะแยกตัวออกมาจากมันได้เช่นกัน ยิ่งหลงไปกับสุขเวทนาตอนหุ้นขึ้นมากเท่าไร ก็จะเกิดทุกขเวทยสตอนหุ้นตกมากเท่านั้น คนเจ้าอารมณ์ที่ควบคุมความรู้สึกตัวเองไม่ได้ ไม่ควรเล่นหุ้น เพราะจะทนทุกข์ทรมานราวกับอยู่ในนรกทุกวัน วันไหนหุ้นขึ้นก็จะเสียดายจนทุกข์ วันไหนหุ้นตกก็จะเสียใจ คนส่วนใหญ่หมดตัวกับหุ้นก็เพราะอารมณ์โลภ โกรธ หลง อิจฉาริษยา เสียดาย เสียใจ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ตัดสินใจผิดจังหวะ ตลาดหุ้นในแต่ละวันก็มีอารมณ์เป็นของตัวเอง บางวันตลาดตื่นตระหนก บางวันอารมณ์ดี บางวันอารมณ์แปรปรวน คุณสมบัิตที่สำคัญของนักเล่นหุ้นคืออย่าเอาอารมณ์ตลาดเข้ามาเป็นอารมณ์ของตัวเอง อุเบกขาจึงเป็นหลักธรรมในพรหมวิหาร 4 ที่สำคัยของนักเล่นหุ้น ทำให้ไม่ปล่อยใจไปตามอารมณ์ของตลาด

พรหมวิหาร 4 คือ
อุเบกขา คือการรู้จักที่จะปล่อยวาง ในบางครั้งชีวิตของคนเราก็ต้องพบกับส่ิงที่ไม่อาจเข้าไปแก้ไขได้ เมื่อถึงเวลาต้องปล่อยก็ต้องปล่อย บางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้น เป็นไปตามเหตุปัจจัยตามกฎแห่งกรรม เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องรู้จักปล่อยวางไม่เอาใจเข้าไปรับ
Credit : หนังสือจิตของนักเล่นหุ้น โดยทันตแพทย์สม สุจีรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

cahttradingview

AAPL ชาร์ต โดย TradingView