วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561

งบกำไรขาดทุนเข้าใจง๊ายง่าย

 หากพูดถึงงบการเงินหลายคนคงจะเบือนหน้าหนีเพราะคิดว่าตัวเองไม่ถนัดเรื่องตัวเลข แต่ถ้าลองคิดดูดีๆ ในการลงทุนเราใช้แค่ + - x ÷ เท่านั้นเองครับ ปัญหาจึงไม่ใช่เราไม่ถนัดเรื่องตัวเลขหรอก แต่เรายังเชื่อมโยงคำศัพท์ต่างๆของงบการเงินไม่ถูกต่างหาก แถมยังไม่รู้อีกว่าจุดไหนสำคัญ จุดไหนไม่สำคัญ ...
สุดท้ายอ่านจบก็ยังงงอยู่ดีว่ากำไรตรงนี้ต่างจากกำไรตรงนั้นยังไง?? คำศัพท์ต่างๆนั้นมีที่มาที่ไปยังไง สุดท้ายก็เลยไม่อ่านมันซะเลย งั้นบทความนี้จะยกตัวอย่างให้เข้าใจที่มาที่ไปของงบกำไรขาดทุนแบบง๊ายง่ายอย่างนี้
สมมุติบริษัท Apble ผลิตโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ uPhone ขายเครื่องละ 10,000 บาท ซึ่งปี 2560 ขายได้ทั้งหมด 1 ล้านเครื่องเท่ากับบริษัทนี้มีรายได้(Revenue) 10,000 ล้านบาท
อันดับแรก นำรายได้มาหักออกด้วย #ต้นทุนสินค้าหรือวัตถุดิบ เช่น แบตเตอรี่ จอภาพ กล้อง ฯลฯ สมมุติว่าต้นทุนทั้งหมด 4,000 ลบ. ส่วนที่เหลือ 6,000 ลบ.จะเรียกว่า กำไรขั้นต้น(Gross profit) แต่ถ้าต้องการนำไปเทียบกับบริษัทอื่นๆ จะต้องแปลงหน่วยเป็น % ซึ่งเรียกว่า อัตรากำไรขั้นต้น(Gross profit margin) แค่เอา (กำไรขั้นต้น x 100) หารรายได้ = 60%
อันดับที่สอง หลังจากเราได้กำไรขั้นต้นมาแล้ว ก็นำมาหัก #ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร  เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าโฆษณาทำการตลาดต่างๆ สมมุติส่วนนี้ 2,000 ลบ. ก็เอา 6,000-2,000 จะเหลือ 4,000 ลบ.จะเรียกว่า กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี(ebit) เช่นเดิมหากต้องการนำไปเทียบก็แปลงเป็น % แล้วเติมคำว่า margin ต่อท้ายก็จะได้ ebit margin แค่เอา (ebit x 100) หารรายได้ = 40%
อันดับสาม นำ ebit มาลบ ดอกเบี้ยและภาษี สมมุติส่วนนี้ 500 ลบ. ก็เอา 4,000-500 จะเหลือ 3,500 ลบ. ถึงจะเรียกว่า กำไรสุทธิ(Net profit) เช่นเดิมแปลงเป็น % แล้วเติมคำว่า margin จะเรียกว่า อัตรากำไรสุทธิ(Net  profit margin) แค่เอา (กำไรสุทธิ x 100) หารรายได้ = 35%
อันดับสี่ บริษัทจะนำกำไรสุทธิเก็บไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรองเพื่อหมุนทำธุรกิจต่อไปหรือเผื่อจะขยายธุรกิจในอนาคต แล้วค่อยแบ่งส่วนที่เหลือให้ผู้ถือหุ้นถึงจะเรียกว่า เงินปันผล(Dividend yield)
 ถ้าเราเข้าใจแบบนี้ก่อนอ่านงบได้ละก็ เราจะเรียงออกมาเป็นภาพได้เลยว่าค่าใช้จ่ายแต่ละจุดมีความสำคัญยังไง แล้วที่ผู้บริหารบอกว่าจะลดค่าใช้จ่ายส่วนนั้น เพิ่มรายได้ส่วนนี้ มันจะส่งผลกับงบการเงินส่วนไหนบ้าง เรียกว่าเดางบได้ล่วงหน้าเลยด้วยซ้ำ ^^
แต่ปัญหาที่เราเชื่อมโยงงบการเงินไม่ถูกนั้น เกิดจากเราเรียนแบบเดิมๆ ที่ใช้วิธีท่องจำมายังไงล่ะ ฉะนั้นถ้าอยากเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้จริงได้แบบนี้ล่ะก็คอร์ส แกะงบเจาะหุ้นร้อนฯ ที่ efin School กันได้นะครับ เพราะคอร์สนี้จะบอกสิ่งที่นักลงทุนอย่างเราต้องรู้ แต่ดันไม่เคยรู้ ไม่งั้นเราจะกลายเป็นทฤษฎีปึ้ก ปฏิบัติแป้กไม่รู้ด้วยล่ะ !!!

ดูคอร์สเรียนต่างๆของ efin School ได้ที่ https://goo.gl/zCuxqU

ขอบคุณความรู้ดีๆอ่านแล้วชอบเข้าใจง่ายดีครับ


วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เอาไว้อ่านเพื่อเตือนตัวเอง


บทความนี้ผมจะขอนำเอาแนวคิดสำคัญ 5 ข้อสำหรับการพัฒนาเพื่อเป็นเทรดเดอร์ที่ดี ซึ่งถูกถ่ายทอดไว้ในหนังสือ One Good Trade ของคุณ Mike Bellafiore  มาสรุปให้พวกเราได้ลองเรียนรู้กันครับ

1. เตรียมตัวให้พร้อม

Mike Bellafiore สอนให้มองว่าการเทรดนั้นเป็นงานไม่ใช่กิจกรรมอดิเรก (แม้คุณจะนั่งเทรดอยู่ในห้องนอนที่บ้านก็ตาม) ดังนั้นเทรดเดอร์ต้องจริงจัง เตรียมตัวให้พร้อมมากที่สุด ทั้งการหาข้อมูล การทำความเข้าใจแผนระบบเทรด เตรียมร่างกาย และจิตใจ เพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดในตลาด แน่นอนว่าจะมีสิ่งที่เราคาดไม่ถึง

นอกจากนั้นเทรดเดอร์ต้องเตรียมรับมือกับความผิดพลาด ความผิดหวังล้มเหลว เพราะนั้นคือส่วนหนึ่งของเกมส์ สิ่งสำคัญคือการรับมือกับมัน ใช้ประโยชน์เรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิด แล้วก้าวต่อไป

2. ทำงานหนัก

เทรดเดอร์เป็นงานที่มีผลตอบแทนสูง รายได้สูง แม้ไม่ต้องทำงานหนัก 100 ชั่วโมงต่อส้ปดาห์แบบบางอาชีพหรือไม่ต้องหักโหมทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อทำแต้มเอาใจเจ้านาย  แต่ในระยะแรกของการฝึกฝนเพื่อพัฒนาตัวเอง เทรดเดอร์มือใหม่ก็จำเป็นต้องทุ่มเท ทำงานหนักโดยเฉพาะเรื่องการศึกษาหาความรู้ เช่นการอ่านหนังสือ การติดตามข่าวสาร รวมไปถึงการฝึกฝนการวิเคราะห์พฤติกรรมข้อมูลราคาของสินค้า เพื่อให้เกิดทักษะ เกิดการสั่งสมความรู้ที่มากเพียงพอในการพัฒนาต่อยอดต่อไป

3. มีความอดทน

ตลาดหุ้นมีความผันผวนเสมอเป็นธรรมชาติ เทรดเดอร์ต้องเทรดบนราคาที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้ตลอดเวลา ดังนั้นคุณสมบติเรื่องความอดทนจำเป็นต้องมีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การเทรดที่ดี บางกรณีอาจจะอดทนเพื่อรอโอกาส รอจังหวะที่ดีที่คุ้มค่ากับการเสี่ยง ถ้าเทรดเดอร์มีความอดทนต่ำ รอไม่เป็นการรีบเข้าตามอารมณ์ ตามกระแส สุดท้ายก็ผิดพลาด

เช่นเดียวกันแม้มองทิศทางราคาถูก เปิดสถานะได้เข้าถูกทางได้กำไรแต่ถ้าอดทนรอไม่เป็น ใจไม่นิ่งแกว่งไปตามราคาที่ผันผวนระหว่างวัน สุดท้ายไม่เทรดตามแผน  รีบออก ถือสถานะได้ไม่นาน แบบนี้ก็เสียโอกาสและทำให้ไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

4. ต้องมีแผนการเทรด

การเทรดหรือการเก็งกำไร ไม่ใช่การเสี่ยงโชควัดดวงหรือซื้อขายไปตามอารมณ์ ไปตามข่าวลือ เทรดเดอร์มืออาชีพจะต้องมีแผนการเทรด มีการวางแผนการเทรดล่วงหน้าก่อนเข้าไปซื้อขายในตลาดเสมอ เพราะการพัฒนาระบบเทรด การสร้างแผนการเทรดขึ้นมาจะทำให้เรา รู้ว่าควรจะตัดสินใจรับมือกับพฤติกรรมราคาอย่างไร อย่างน้อยต้องรู้จุดเข้า/จุดออก และการประเมินความเสี่ยง เพื่อคำนวณขนาด position size ที่แน่นอนก่อนเข้าไปเทรด

แผนการเทรดจำเป็นเพราะเราอาจจะพบเจอกับสิ่งที่ไม่คาดคิด เจอเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าไม่มีแผน หรือปล่อยให้ทุกอย่างตัดสินใจไปตามอารมณ์ ความผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย และนำมาซึ่งการขาดทุนสูญเสียเงินหนัก

5. มีวินัย

เมื่อพัฒนาแผนการเทรด หรือระบบเทรดขึ้นมาแล้ว สิ่งสำคัญคือเทรดเดอร์ต้องมีวินัยในการบังคับตัวเองให้ตัดสินใจลงมือทำตามแผนให้ได้ แน่นอนว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆในข้ามคืน โดยเฉพาะมือใหม่ ประสบการณ์น้อย เนื่องจากราคาสินค้าที่เคลื่อนไหวไปมาแต่ละวัน บวกกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมีผลต่ออารมณ์ของเทรดเดอร์ อาจจะทำให้เกิดความโลภ ความกลัว การตัดสินใจไปตามอารมณ์เกิดขึ้นได้ง่าย

แม้กระทั่งเรื่องของการจดบันทึกผลการเทรด งานพิเศษที่เป็นกิจวัตรหลังตลาดปิดที่เทรดเดอร์ต้องทำเพื่อทบทวนการเทรดของตัวเอง สิ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของกระบวนการฝึกฝนที่ต้องทำต่อเนื่องทำทุกวันในระยะเวลายาว อาจจะไม่เห็นผลอันสั้น จึงทำให้น้อยคนที่จะสามารถมีวินัยบังคับตัวเองให้ทำต่อเนื่องจนสำเร็จได้

ดังนั้น คุณ  Mike Bellafiore จึงย้ำให้เห็นหลายครั้งว่า การเป็นเทรดเดอร์อาชีพจำเป็นต้องฝึกเรื่องของวินัย การบังคับให้ตัวเองลงมือทำตามแผนตามระบบเทรด เอาชนะจิตใจของตัวเรา

ทั้ง 5 ข้อนี้เป็นแนวทางการพัฒนาไปสู่การเป็นเทรดเดอร์อาชีพ ที่คุณ  Mike Bellafiore ถ่ายทอดเอาไว้ในหนังสือ ที่ผมนำมาฝากให้ได้เรียนรู้กัน แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนในหนังสือ One Good Trade ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับการเป็นเทรดเดอร์ใน prop trading desks รวมถึงกรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนยกเป็นเรื่องเล่าตอนย่อยๆ ทำให้เราสามารถใช้เป็นแนวทางการศึกษาพัฒนาตัวเองให้ไปสู่การเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบสำเร็จได้ ถ้าสนใจลองหาหนังสือมาอ่านกันนะครับ…
Cr: ลืมบันทึก

cahttradingview

AAPL ชาร์ต โดย TradingView